ตัวอย่าง หนังสือ สอบถาม ความ คืบ หน้า ของ คดี

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย ๒

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น ๓ เลขที่ ๑๒๐ หมู่ที่ ๓ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทร : ๐ ๒๑๔๓ ๙๔๗๕, ๐ ๒๑๔๒ ๑๔๙๙ โทรสาร : ๐ ๒๑๔๓ ๙๔๗๕ E-mail : [email protected]

ที่ ฝสร.9/2551

วันที่ 15 สิงหาคม 2551

เรื่อง สอบถามและขอให้ชี้แจงความคืบหน้าของการดำเนินการสำรวจบุคคลผู้ไม่มีสถานะ

ทางทะเบียนราษฎรในอำเภอสามร้อยยอด

เรียน นายอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อ้างถึง ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 มกราคม 2548

และระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการสำรวจและจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทาง

ทะเบียน พ.ศ.2548 และหนังสือ มท.0309.1/ว.28 ลว.10 พฤษภาคม 2548, มท.0309.1

/ว 60 ลว 13 พฤษภาคม 2551 และ 24 พฤษภาคม 2551

สืบเนื่องจาก โครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (Stateless Watch) และโครงการแสวงหาองค์ความรู้ในการบังคับใช้กฎหมายใหม่เพื่อแก้ปัญหาความไร้รัฐและไร้สัญชาติของมนุษย์ในสังคมไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับแจ้งจากองค์กรเครือข่าย คือ โครงการแก้ปัญหาคืนสัญชาติไทยจังหวัดระนอง ชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ ถึงปัญหาจากการดำเนินงานของอำเภอสามร้อยยอดในการสำรวจบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน (ผู้ถือบัตรประจำตัวเลข 0) ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 มกราคม 2548 ที่มีวัตถุประสงค์มุ่งที่จะลดและขจัดการไร้รัฐของบุคคลที่ปรากฎตัวในประเทศไทย โดยต่อมาได้มีการออกเป็นระเบียบและหนังสือสั่งการเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานของสำนักทะเบียนต่างๆ ได้แก่ ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการสำรวจและจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ.2548 และหนังสือ มท. 0309.1 /ว.28 ลว.10 พฤษภาคม 2548, มท.0309.1/ว 60 ลว 13 พฤษภาคม 2551 และ 24 พฤษภาคม 2551ซึ่งวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ฯ โดยบุคคลเป้าหมายของยุทธศาสตร์ฯ และระเบียบฯ นี้ได้แก่ บุคคลที่ไม่มีเอกสารแสดงตนใดๆ เลย หรือคนไร้รัฐที่ปรากฎตัวในประเทศไทย

แต่ข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากพื้นที่อำเภอสามร้อยยอด ทางโครงการฯ ได้รับแจ้งว่า ทางอำเภอได้ดำเนินการสำรวจบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ในพื้นที่อำเภอสามร้อยยอด เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 โดยทางอำเภอได้ออกแบบ 89/1 ให้ผู้ได้รับการสำรวจถือไว้เป็นหลักฐาน, 20 กุมภาพันธ์ 2551 และล่าสุดคือวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลา 1 ปี 7เดือน (นับจากวันที่ 16 ธันวาคม 2549), 1 ปี 5 เดือน (นับจากวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551) และร่วม 90 วัน (นับจากวันที่ 6 พฤษภาคม 2551) แล้ว ปรากฎว่าจนถึงปัจจุบัน (เดือนสิงหาคม) ก็ยังไม่ปรากฎว่ามีการดำเนินการในขั้นตอนของการให้ประชาคมหมู่บ้าน/ชุมชนตรวจสอบรับรองบุคคล ในกรณีของกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวพันกับชนกลุ่มน้อยเดิม แต่ตกสำรวจ หรือไม่ปรากฎว่ามีการดำเนินการในขั้นตอนของการบันทึกข้อมูลเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและจัดทำบัตรประจำตัว ในกรณีของกลุ่มเด็กในสถาบันศึกษาแต่อย่างใด

ทางโครงการฯ เห็นว่า อำเภอสามร้อยยอด ในฐานะสำนักทะเบียนมีอำนาจหน้าที่ต้องดำเนินการสำรวจบุคคลผู้ไม่มีเอกสารแสดงตนใดๆ ตามนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และการสำรวจถึง 3 ครั้งในช่วงเวลาร่วม 2 ปี ย่อมสร้างความสับสนให้กับกลุ่มคนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ฯ และระเบียบฯ ดังกล่าว และบุคคลที่ได้รับการสำรวจไปแล้ว ต้องการทราบถึงขั้นตอนการดำเนินงานต่อไปของทางอำเภอ

ทางโครงการฯ จึงเรียนมาเพื่อขอให้ทางอำเภอชี้แจงถึงการดำเนินการและความคืบหน้าต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการประสานความเข้าใจระหว่างอำเภอสามร้อยยอด กับบุคคลผู้ไม่มีเอกสารแสดงตนใดๆ และเพื่อสนับสนุนหลักการดำเนินงานที่ถูกต้องตามหลักวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

จีงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการ

ขอแสดงความนับถือ

( ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล )

นักวิชาการด้านนิติศาสตร์และทนายความ

โครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ

สำเนาถึง:

  1. ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  1. ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ
  1. ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย
  1. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
  1. ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ติดต่อ ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล 083-134 3276, อัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์ 081 805-2132

ดาวน์โหลดไฟล์จดหมาย

2551-08-15_legalopiniontoamphursamroiyod1

สิงหาคม 15, 2008 - Posted by | ความเห็นทางกฎหมาย