ตัวอย่าง คำร้องขอ ถอน การ ยึดทรัพย์

การบังคับคดี คือ การดำเนินการเพื่อให้โจทก์ได้รับสิทธิตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล โดยการตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี สังกัดกรมบังคับคดี ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

บริการสืบทรัพย์ บังคับคดี

» สืบค้นทรัพย์สินจำเลย เช่น ที่ดิน บ้าน ห้องชุด คอนโดมิเนียม รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป็นต้น

» ยึด อายัดทรัพย์สิน

» ขายทอดตลาด

» ขับไล่ ดำเนินการรื้อถอน

ขั้นตอน

ภายหลังศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง > คำบังคับ > หมายบังคับคดี โจทก์ขอตั้งเรื่องขอบังคับคดี ณ สนง.บังคับคดี

ขั้นตอนการตั้งเรื่องขอบังคับคดี

1 สืบหาทรัพย์สิน

2 เตรียมเอกสารส่งประกอบการยึด อายัดทรัพย์สิน

3 ยื่นคำขอยึด - อายัด โดยแสดงรายละเอียดทรัพย์สิน

4 วางเงินประกันค่าใช้จ่าย

5 เตรียมพาหนะ นำเจ้าพนักงานไปดำเนินการ

เตรียมเอกสารประกอบการยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ

ยึดที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้

1 ต้นฉบับโฉนดที่ดิน ถ้าเป็นสำเนาต้องให้เจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

2 หนังสือรับรองราคาประเมิน

3 สัญญาจำนอง (ถ้ามี)

3.1 กรณียึดจาก developer ต้องขอคัดหนังสือเฉลี่ยหนี้ พร้อมโฉนดที่ดินหลักด้วย

4 สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ คู่สมรสของจำเลย ทายาทของจำเลยผู้ตาย ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

5 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล ของโจทก์และจำเลย (ถ้ามี)

6 หนังสือรับรองบริษัท / ห้องหุ้นส่วน / บริษัทจำกัด(มหาชน) กรณีเป็นนิติบุคคล

7 แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่ยึด พร้อมสำเนา 1 ชุด

8 ภาพถ่ายปัจจุบัน ของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว

9 หนังสือมอบอำนาจ(หากมี)

10 เขียนคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการ(แบบ 3ก)

11 วางเงินค่าใช้จ่าย สำนวนละ 2,500 บาท

ยึดห้องชุด หรือคอนโดมิเนียม ดังนี้

1 ต้นฉบับหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด ถ้าเป็นสำเนาต้องให้เจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

2 หนังสือรับรองราคาประเมิน

3 สัญญาจำนอง(ถ้ามี)

3.1 กรณียึดจาก developer ต้องขอคัดหนังสือเฉลี่ยหนี้ พร้อมโฉนดที่ดินหลักด้วย

4 สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ คู่สมรสของจำเลย ทายาทของจำเลยผู้ตาย ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

5 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล ของโจทก์และจำเลย (ถ้ามี)

6 หนังสือรับรองบริษัท / ห้องหุ้นส่วน / บริษัทจำกัด(มหาชน) กรณีเป็นนิติบุคคล

7 แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่ยึด พร้อมสำเนา 1 ชุด

8 ภาพถ่ายปัจจุบัน ของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว

9 หนังสือรับรองนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

10 หนังสือมอบอำนาจ(หากมี)

11 เขียนคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการ(แบบ 3ก)

12 วางเงินค่าใช้จ่าย สำนวนละ 2,500 บาท

ยึดทรัพย์สิน ประเภทสังหาริมทรัพย์

1 สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย หรือคู่สมรส (กรณีสินสมรส) ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

2 หนังสือมอบอำนาจ(หากมี)

3 เขียนคำขอยึดทรัพย์ตาม แบบ 7 แจ้งสถานที่ที่จะไปยึดทรัพย์สิน

4 วางค่าใช้จ่าย สำนวนละ 1,500 บาท

5 เตรียมยานพาหนะ สำหรับรับ ส่ง เจ้่าพนักงานบังคับคดี

6 เตรียมยานพาหนะและคนเพื่อนขนย้ายทรัพย์สินที่ยึดไปเก็บรักษา ณ สำนักงานบังคับคดี

ขับไล่และรื้อถอน

1 เขียนคำร้อง แบบ 7 ขอให้ขับไล่ รื้อถอน

2 หนังสือมอบอำนาจ(หากมี)

3 เตรียมยานพาหนะ สำหรับรับ ส่ง เจ้่าพนักงานบังคับคดี

4 เตรียมคนงานในการรื้อถอนและยานพาหนะ สำหรับขนย้าย

5 วางค่าใช้จ่าย สำนวนละ 1,500 บาท

ระยะเวลาในการบังคับคดี : ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง(ม.275)

เมื่อแจ้งการยึดไปยังลูกหนี้และผู้มีส่วนได้เสียแล้ว เจ้าพนักงานจะดำเนินการ รายงานศาลขอนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาด

ขั้นตอนการประกาศขายทอดตลาด

1 จัดทำประกาศขาย ระบุ รายละเอียดทรัพย์ ราคาประเมิน วัน เวลา สถานที่ขาย พร้อมข้อสังเกต คำเตือน เงื่อนไข

ถอนยึดทรัพย์ใช้เวลากี่วัน

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดระยะเวลา ๑๔ วันต้องเริ่มนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ทำการ บังคับคดีแทนส่งเงินที่ได้จากการอายัดมายังเจ้าพนักงานบังคับคดีในเขตอำนาจของศาลที่ออกหมายบังคับคดี ดังนั้น เมื่อล่วงพ้นกำหนดระยะเวลา ๑๔ วันตามมาตรา ๒๕๐ วรรคห้า แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา

ค่าถอนบังคับคดีกี่บาท

การถอนการบังคับคดี ผู้ถอนจะต้องวางค่าธรรมเนียมร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์ที่ยึด เจ้าหนี้ตามคาพิพากษา

การวางค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์กี่บาท

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องวางค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. การยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการ วางค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี จำนวน 2,500 บาท 2. การยึดทรัพย์นอกที่ทำการ ขับไล่, รื้อถอน, กักเรือ วางค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี จำนวน 1,500 บาท

ค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์ คิดอย่างไร

ค่าธรรมเนียมถอนการยึด การยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงิน เสียค่าธรรมเนียมถอนในอัตราร้อยละ 2 บาทของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึด การยึดเงิน เสียค่าธรรมเนียมถอนในอัตราร้อยละ 1 บาท สำหรับคดีใดที่ยังไม่มีการยึดทรัพย์ แต่โจทก์ประสงค์จะถอนการบังคับคดี ก็จะมีเฉพาะค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีเท่านั้น