ตัวอย่าง การ เขียน ขั้น นำ เข้า สู่ บทเรียน

สรุปได้ว่า นอกจากการำเข้าสู่บทเรียนในตอนเริ่มตอนแต่ละคาบในการเริ่มหัวข้อใหม่ระหว่างคาบชั่วโมง ครูก็ควรเตรียมความพร้อม ก่อนเริ่มหัวข้อใหม่ กิจกรรมนั้นอาจจะเป็นการเล่าเรื่อง การใช้คำถาม หรือกิจกรรม อื่นๆ ที่เหมาะสม

การเตรียมตัวเมื่อจัดกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน ในการเตรียมกิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียน ครูควรรู้ข้อมูล เทคนิค วิธีการที่สำคัญบางประการ เพื่อใช้ในการเตรียมตัว เตรียมความพร้อมเพื่อความสามารถดำเนินกิจกรรม สุวรรณี ศรีคุณ (2527:187) อ้างถึง อินทิรา บุณยาทร, 2542:218) กล่าวถึงเวลาที่ใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนว่า ถ้าช่วงเวลาที่สอน50-60 นาที จะใช้เวลาทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาเนื้อหาที่สอน 2. ศึกษากิจกรรมที่จะนำมาใช้ 3. ความรู้ประสบการณ์หรือความรู้เดิมของนักเรียน

สรุปได้ว่า ในการจักกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน ครูควรปฏิบัติในสิ่งต่างๆ 1. ครูควรรู้ประสบการณ์ หรือความรู้เดิมของนักเรียน 2. ศึกษาเรื่องที่จะสอน และเลือกกิจกรรม 3. ศึกษากิจกรรมที่จะนำมาใช้ และมีความพร้อม

เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน 1. ใช้อุปกณ์ที่สัมพันธ์กับบทเรียนเช่น ใช้ของจริง หุ่น รูปภาพ 2. ให้นักเรียนทำกิจกรรม 3. สนทนาซักถามแล้วเชื่อมโยงไปยังเรื่องที่เรียน 4. เล่านิทาน เล่าเร่องราว เล่า เหตุการณ์ 5. ร้องเพลงเล่น การแสดงต่างๆ 6. ทบทวนเรื่องเรียนเดิมที่สัมพันธ์กับใหม่ 7. สาธิต ทดลอง 8. ให้ฟังเสียงดนตรี วิทยุ 9. ให้ดูภาพยนตร์ สไลด์

สรุปได้ว่า กิจกรรมการเรียนการสอนที่ครูควรใช้ในการเข้าสู่บทเรียนมีหลายหลากกิจกรรมและรูปแบบ ซึ้งอาจจะเป็นเพลง เกมหรือคำถาม ครูต้องเลือกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ สภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้สอดคล้องกับบทเรียนการสอน

ความหมาย

เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน หมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ครูใช้ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมตัวนักเรียนก่อนเริ่มเรียนและก่อนครูจะสอนเนื้อหาทุกวิชาซึ่งเป็นการเตรียมนักเรียนให้รู้ว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร สามารถนำความรุ้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูกำลังจะสอนได้ โดยการหากิจกรรมที่จะเร้าความสนใจของนักเรียนแล้วเชื่อมโยงไปสู่บทเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น (ณรงค์ กาญจนะ, 2552 : 10-11)

วัตถุประสงค์ของการนำเข้าสู่บทเรียน

กิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อเร้าความสนใจของนักเรียนหรือดึงดูดความสนใจของนักเรียนมาอยู่ที่การสอนของครู และเป็นการเตรียมนักเรียนให้มีสมาธิในการฟังเรื่องที่คุณครูจะสอน นักเรียนรู้ว่าต่อไปจะเรียนเรื่องอะไร และสามารถนำเอาความรู้และทักษะเดิมที่มีอยู่มาสัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ ซึ่งทำให้นักเรียนเห็นแนวทางในการเรียนรู้ และจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนใหม่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น(ณรงค์ กาญจนะ, 2552 : 10-11)

ประโยชน์ของการนำเข้าสู่บทเรียน

พึงใจ สินธวานนท์ และคณะ, ( 2550 : 349) อ้างถึงใน เสริมศรี ลักษณศิริ, (2540 : 319) กล่าวถึงประโยชน์ของการนำเข้าสู่บทเรียน ดังนี้

1.สามารถเรียกร้องความตั้งใจของนักเรียนให้พร้อมที่จะเรียน

2.สามารถเร้าและจูงใจให้นักเรียนคงความสนใจในบทเรียน

3.สามารถบอกลักษณะและวิธีการสอนของเรื่องที่จะเรียนได้

4.สามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมกับเรื่องที่จะเรียนต่อไปได้

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใช้กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน

ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และคณะ (2549 : 167) ได้แนะนำสถานการณ์เฉพาะที่ควรใช้ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน ดังนี้

1.เมื่อเริ่มเรื่องหรือเริ่มบทเรียนใหม่ เพื่อโยงเข้าสู่เรื่องที่จัดการเรียนรู้

2.เมื่อจะมอบหมายการบ้านหรือการทำงาน เพื่อแนะนำวิธีการทำงานนั้น

3.เมื่อเตรียมการอภิปราย เพื่อแนะนำให้นักเรียนดำเนินการได้ตรงตามเป้าหมาย

4.ก่อนที่จะให้นักเรียนดูภาพยนตร์ ภาพนิ่ง วีดีทัศน์ ฟังวิยุและเทป เพื่อแนะนำให้นักเรียนจับประเด็นของเรื่องที่ดูหรือฟังนั้นได้

การเตรียมตัวเพื่อจัดกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน

ในการจัดกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนครูควรปฏิบัติในสิ่งต่างๆที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

1.ครูควรรู้ประสบการณ์ หรือความรู้เดิมของนักเรียนเพื่อโยงให้สัมพันธ์กับกิจกรรมเข้าสู่บทเรียนและเนื้อหาสาระบทเรียนใหม่

2.ศึกษาเรื่องที่จะสอน แล้วพิจารณาเลือกกิจกรรมนำเข้าสู่หน่วยให้ผสมกลมกลืนกัน

3.ศึกษากิจกรรมที่จะนำมาใช้และฝึกฝนหรือเตรียมความพร้อมให้เกิดทักษะความชำนาญและความมั่นใจที่จะนำเสนอ

เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน

เสริมศรี ลักษณศิริ (2540 : 320) กล่าวว่า การนำเข้าสู่บทเรียนอาจจะทำได้ ดังต่อไปนี้ คือ

1.ใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเนื้อหาวิชา เช่น ใช้ของจริง หุ่น รูปภาพ เป็นต้น

2.ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่สัมพันธ์กับบทเรียน

3.สนทนาซักถามแล้วเชื่อมโยงไปยังเรื่องที่จะสอน

4.ร้องเพลง หรือเล่นละคร หรือการแสดงบทบาทสมมติ

5.ตั้งปัญหา ทายปัญหา

6.ทบทวนบทเรียนเดิมที่สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่

7.เล่านิทาน เล่าเรื่องราว เล่าเหตุการณ์ต่างๆ

8.สาธิต ทดลอง เพื่อนำเข้าสู่เรื่องที่จะสอน เช่น ครูอาจเรียกเด็กหลายคนออกมาสาธิตการไหว้แบบต่างๆ การทำความเครารพ เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับการสอนเรื่องวิธีทำความเคารพ เป็นต้น

สรุป

เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน หมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ครูใช้ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมตัวนักเรียนก่อนเริ่มเรียนและก่อนครูจะสอนเนื้อหาทุกวิชาซึ่งเป็นการเตรียมนักเรียนให้รู้ว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร สามารถนำความรู้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูกำลังจะสอนได้ โดยการหากิจกรรมที่จะเร้าความสนใจของนักเรียนแล้วเชื่อมโยงไปสู่บทเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น

กิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อเร้าความสนใจของนักเรียนหรือดึงดูดความสนใจของนักเรียนมาอยู่ที่การสอนของครู และเป็นการเตรียมนักเรียนให้มีสมาธิในการฟังเรื่องที่คุณครูจะสอน นักเรียนรู้ว่าต่อไปจะเรียนเรื่องอะไร และสามารถนำเอาความรู้และทักษะเดิมที่มีอยู่มาสัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ ซึ่งทำให้นักเรียนเห็นแนวทางในการเรียนรู้ และจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนใหม่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การนำเข้าสู่บทเรียนมีประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นเทคนิควีการที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความพร้อมเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นสื่อเชื่อมโยงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนก่อนดำเนินการสอนในขั้นต่อไป และช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมกับเรื่องที่จะเรียนต่อไป

นอกจากการนำเข้าสู่บทเรียนในตอนเริ่มสอนแต่ละคาบหรือชั่วโมงแล้วในการเริ่มหัวข้อใหม่หรือเริ่มกิจกรรมใหม่ระหว่างคาบหรือชั่วโมง ครูก็ควรเตรียมความพร้อมของนักเรียนด้วยกิจกรรมต่างๆ ก่อนเริ่มหัวข้อใหม่หรือกิจกรรมใหม่นั้นด้วย กิจกรรมนั้นจะเป็นการเล่าเรื่อง การใช้คำถาม หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนสามารถตามทันเนื้อหาและสามารถเรียนรู้ได้ดี

ในการจัดกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน ครูควรปฏิบัติในสิ่งต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ครูควรรู้ประสบการณ์ หรือความรู้เดิมของนักเรียนเพื่อโยงให้สัมพันธ์กับกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนและเนื้อสาระบทเรียนใหม่ และศึกษาเรื่องที่จะสอน แล้วพิจารณาเลือกกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนให้ผสมกลมกลืนกัน รวมทั้งศึกษากิจกรรมที่จะนำมาใช้ และฝึกฝนหรือเตรียมความพร้อมให้เกิดทักษะความชำนาญและความมั่นใจที่จะนำเสนอ

กิจกรรมการเรียนการสอนที่ครูควรใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนนั้นมีหลากหลายกิจกรรมและรูปแบบ ซึ่งอาจจะเป็นเพลง เกม หรือคำถาม ครูต้องเลือกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ สภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสอดคล้องกับบทเรียนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้มีขึ้นในลำดับต่อมาและกิจกรรมที่เลือกนั้นต้องสามารถเร้าความสนใจ และเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนที่จะเรียนเนื้อหาสาระสำคัญได้ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีบรรลุผลตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของการสอนในแต่ละครั้ง

http://www.youtube.com/watch?v=oeM9HYI9zf8