ตัวอย่าง การ กรอก ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ ง ด

เข้าสู่ปี 2566 ช่วงต้นปีจะเข้าสู่ฤดูกาล ยื่นภาษีออนไลน์ เงินได้ปี 2565 นำมายื่นภาษีในปี 2566 สำหรับประชาชนที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษี โดยครั้งนี้เว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้ปรับโฉมระบบ E-FILING ยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์รูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานให้กับผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบภาษี ส่วนหน้าตาจะเป็นอย่างไร และจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างนั้นไปดูพร้อมๆ กัน

ยื่นภาษีออนไลน์ 2565 เริ่มวันที่เท่าไร ได้ถึงวันไหน?

ผู้ยื่นแบบสามารถยื่นภาษีออนไลน์ ได้ตั้งแต่วันนี้ไปจน ถึงวันที่ 10 เมษายน 2566 ผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th

ขั้นตอนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบ ได้แก่

  1. แบบ ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่นๆ
  2. แบบ ภ.ง.ด.91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนการยื่นภาษี 2565 มีอะไรบ้าง?

  1. หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง เป็นเอกสารที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่างๆ
  2. รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี ได้แก่ ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา, บุตร หรืออุปการะคนพิการ

เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีที่ เพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน LTF/RMF, เบี้ยประกันชีวิต, ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการลดหย่อนภาษี3

ภ.ง.ด.3 คือแบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคล ที่ทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) จะต้องหักออกจากค่าจ้างที่จ้างบุคคลภายนอกให้มาทำงานให้บริษัท

ส่วน ภ.ง.ด.53 คือแบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระหว่างนิติบุคคลด้วยกัน ซึ่งเอกสารที่ว่านี้จะต้องนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปทุกเดือน หากเดือนไหนไม่มีการหักก็ไม่ต้องนำส่ง แต่ถ้ามีการหักแต่ไม่นำส่ง ก็จะถูกเสียค่าปรับนะจ๊ะ

เลือกอ่านได้เลย!

ให้เราอ่านให้ฟัง

ภ.ง.ด.3 / ภ.ง.ด.53 ทำเมื่อไหร่

สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเข้าอยู่ในรูปบริษัทแล้ว เมื่อมีรายจ่ายต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องว่าจ้างให้ทำของหรือใช้บริการ ยกตัวอย่าง จ้างฟรีแลนซ์ (บุคคลทั่วไป) ให้ทำเว็บไซต์ ออกแบบกราฟิก จ้างช่างมาซ่อมแอร์

หรือการว่าจ้างบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทบัญชี บริษัทออกแบบโฆษณา หรือค่าบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกันภัยสินค้า ค่าประกันขนส่ง ค่าเช่าออฟฟิศ ฯลฯ

รายจ่ายเหล่านี้ ในฐานะเจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจะมีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ของเงินค่าจ้างของผู้ให้บริการออกมาด้วย โดยที่เงินนี้จะไม่ใช่เงินของเรา แต่เป็นเงินที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร

การหัก ณ ที่จ่าย จะหักตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด แบ่งเป็นรายการประเภทที่ต้องหัก คือ

ค่าขนส่ง ร้อยละ 1 ค่าประกันภัย ร้อยละ 1 ค่าโฆษณา ร้อยละ 2 ค่าบริการ/ค่าจ้างทำของ ร้อยละ 3 ค่าเช่า ร้อยละ 5

ส่วนใหญ่แล้วพ่อค้าแม่ขายจะเจอกับค่าบริการ และค่าเช่าแน่นอน จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจต้องทำความเข้าใจเรื่องภาษี หัก ณ ที่จ่าย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

และเป็นเหตุผลที่ทำให้เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องเก็บเอกสารให้ครบทุกครั้งเมื่อมีการดำเนินกิจกรรมใดๆ ในธุรกิจของเราเสมอ เพราะในทุกๆ เดือน ทั้งผู้ให้บริการเรา รวมถึงตัวเราซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจต่างก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีให้กรมสรรพากรนั่นเอง

เมื่อเจ้าของธุรกิจทำการหัก ณ ที่จ่าย มาแล้ว ก็ต้องทำหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ให้กับบุคคลหรือบริษัทที่มาทำงานให้เรา (อ่านวิธีการใช้ FlowAccount ทำหนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่ายได้ ที่นี่)

จากนั้นเอาเอกสารตัวจริงให้เขา เราเก็บสำเนาเอาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บไว้คู่กันกับใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี จากนั้นเก็บเอกสารทั้งหมดในห้องบัญชี เพื่อเอาไว้ใช้เป็นหลักฐานและเป็นข้อมูลเวลาที่จะต้องทำภ.ง.ด.3 และภ.ง.ด.53

นำส่งกรมสรรพากร

ส่ง ภ.ง.ด.3 / ภ.ง.ด.53 เมื่อไหร่

ทั้งภ.ง.ด.3 และภ.ง.ด.53 จะนำส่งต่อเมื่อระหว่างเดือนมีการหัก ณ ที่จ่าย ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ถ้าเดือนนี้ไม่หักบุคคลใด หรือบริษัทไหนเลย ก็ไม่ต้องส่ง

หรือถ้าเดือนนี้มีแต่รายการหัก ณ ที่จ่าย เฉพาะบุคคล ก็ส่งเฉพาะ ภ.ง.ด.3 หรือถ้ามีหัก ณ ที่จ่าย เฉพาะนิติบุคคล ก็นำส่งเฉพาะภ.ง.ด.53

แต่ถ้ายื่นผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถยืดเวลาออกไปได้อีก 8 วัน (ถึงวันที่ 15) และสามารถเช็กย้อนหลังหลังส่งแล้วได้ 3 วัน

ทำ ภ.ง.ด.3 / ภ.ง.ด.53 อย่างไร

เริ่มแรก แยกเอกสารรายรับรายจ่ายของเดือนที่จะนำส่งภาษีออกเป็น 2 กอง เลือกเฉพาะกองเอกสารรายจ่ายทั้งหมดมาคัดเอกสารดูว่า เอกสารรายจ่ายชุดไหนที่เรามีการทำหัก ณ ที่จ่าย ไปบ้าง

จากนั้นแยกเอกสารรายจ่ายออกเป็น เอกสารรายจ่ายที่มีหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่เป็นบุคคล และเอกสารรายจ่ายที่มีหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่เป็นนิติบุคคล

เวลาส่งกรมสรรพากร หากนำส่งเฉพาะภาษี หัก ณ ที่จ่าย ของบุคคลธรรมดา จะมีเอกสาร ภ.ง.ด.3 (ใบปะหน้า) ใบแนบภ.ง.ด.3 (สำหรับลงรายละเอียด) ถ้าหากนำส่งเฉพาะภาษีหัก ณ ที่จ่ายของนิติบุคคล จะมีเอกสาร ภ.ง.ด.53 และ ใบแนบภ.ง.ด.53 ถ้าในเดือนนั้นมีการหักทั้งบุคคลและนิติบุคคลก็ต้องนำส่งเอกสารทั้งหมด

วิธีเขียน ภ.ง.ด.3

เอาข้อมูลจากหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่หักจากบุคคลธรรมดา มาใส่ใน ใบแนบภ.ง.ด.3 โดยใส่ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ที่อยู่ วันเดือนปีที่ออกหนังสือฉบับนี้ ประเภทของเงินได้ (เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าเช่า) อัตราภาษีที่หัก จำนวนเงินที่จ่าย และภาษีที่เก็บจากเขามา

ตัวอย่าง การ กรอก ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ ง ด

ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบภ.ง.ด.3

ส่วน ใบภ.ง.ด.3 ใส่ข้อมูลของกิจการของเรา เดือนที่จ่าย (เช่น ส่งของรอบเดือนมกราคมก็ใส่เครื่องหมายลงช่องมกราคม) ใส่รายละเอียดว่ามีใบแนบมากี่ใบ ยอดรวมของเงินได้ และยอดรวมของภาษี

วิธีเขียน ภ.ง.ด.53

ทำแบบภ.ง.ด.3 เช่นเดียวกัน โดยใส่ข้อมูลเฉพาะนิติบุคคล

ตัวอย่าง การ กรอก ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ ง ด

ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบภ.ง.ด.53

ออก ภ.ง.ด.3 / ภ.ง.ด.53 ด้วยโปรแกรมบัญชี FlowAccount

เจ้าของธุรกิจสามารถออกเอกสารนี้ด้วยตนเองได้ไหม คำตอบคือ ทำเองได้ เพราะเจ้าของธุรกิจเป็นผู้หัก ณ ที่จ่ายด้วยตนเอง ก็จะถือว่าเป็นผู้ที่รู้กิจกรรมต่างๆ ของกิจการดีที่สุด แต่ถ้าคิดว่าไม่สะดวกก็จ้างสำนักงานบัญชีทำให้ก็ได้ หากต้องเช็กดูตัวเลขให้ดีว่าส่งครบอย่างเรียบร้อย

ซึ่งเจ้าของธุรกิจสามารถลดความกังวลเรื่องการคำนวณผิดพลาดโดยใช้โปรแกรมบัญชีช่วยคำนวณตัวเลขให้อัตโนมัติได้

โปรแกรมบัญชี FlowAccount เปิดเอกสารธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา เริ่มต้นได้ง่ายๆ กับ โปรแกรมทำบัญชีออนไลน์ ที่ช่วยบันทึกบัญชีได้ครบทุกรูปแบบธุรกิจ

Credits

Voice Artist พิมวิภา ป๊อกยะดา Scriptwriter สราญรัตน์ ไว้เกียรติ Sound Designer & Engineer อลงกรณ์ สุขวิพัฒน์

ตัวอย่าง การ กรอก ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ ง ด

สราญรัตน์ ไว้เกียรติ Senior Content Marketing Manager ดูแลสื่อและเว็บไซต์ FlowAccount.com มีประสบการณ์ด้านบริหารคอนเทนต์ทั้งในและนอกวงการธุรกิจกว่า 9 ปี