ว ธ การทำส งประด ษฐ จากไม ไอต ม

เผยแพร่: 30 ก.ย. 2555 15:11 โดย: MGR Online

ส.ส.ปชป.ชำแหละโนยายยิ่งลักษณ์ 8 อย่าง โกงเป็นดอกเห็ด หวั่งชาติล้มละลาย ชี้ “ยงยุทธ” หยิบกรณี “สัก” เทียบเคียงไม่ได้ เชื่อ “ยิ่งลักษณ์” ปรับ ครม.แน่นอน ส่อแย่งชิงเก้าอี้ดุเดือด ชี้ไม่น่าหาคนมีความสามารถนั่งเก้าอี้ รมต.ได้จริง

วันนี้ (30 ก.ย.) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรประชาธิปัตย์ แถลงข่าวชำแหละนโยบายรัฐบาลว่า รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บริหารประเทศได้เพียงปีเศษ แต่กลับมีปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้นเหมือนดอกเห็ด และหากรัฐบาลอยู่ครบ 4 ปีจะทำให้ประเทศชาติมีหนี้สินจนถึงขั้นล้มละลาย ธนาคารรัฐที่ตอบสนองนโยบายจะล้มละลาย ประชาชนจะเป็นหนี้ล้นพ้นตัว เนื่องจากรัฐบาลไม่มีความจริงใจแก้ปัญหา และยังปล่อยให้มีนโยบายที่เอื้อให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ส่อโกงทุกรูปแบบ ซึ่งมีทั้งหมด 8 นโยบาย ได้แก่ 1. การทุจริตจัดซื้อเครื่องยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมปี 2554 ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบแล้วว่ามีการฮั้วการจัดซื้อ

2. นโยบายจำนำหอมแดงที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) สรุปว่ามีการทุจริตที่ทำให้เกิดความเสียหาย 241 ล้านบาท และผู้ตรวจราชการ กระทรวงพาณิชย์ก็ยอมรับว่ามีการทุจริต 3. โครงการจำนำมันสำปะหลัง ฤดูกาล 2554/55 พบว่ามีการสวมสิทธิ์ โกงตาชั่ง โกงราคารับซื้อจากเกษตรกร มีการนำมันสำปะหลังจากประเทศเพื่อบ้านมาสวมสิทธิ์ และล่าสุดโกดังเก็บมันสำปะหลังของรัฐบาล ที่จังหวัดนครราชสีมาก็เกิดไฟไหม้อย่างปริศนา 4. โครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา 1.5 หมื่นล้านบาท พบว่ามีการสวมสิทธิ์ และเงินไม่ถึงมือเกษตรกรชาวสวนยาง ล่าสุดมีเหตุไฟไหม้โกดังเก็บยางพาราของรัฐบาลที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีเงื่อนงำ

5. โครงการรับจำนำข้าวที่รัฐบาลใช้เงินไปกว่า 4 แสนล้านบาท แต่สถาบันทีดีอาร์ไอระบุว่างบถึงมือชาวนา 35-40% เท่านั้น เงินที่เหลือหมดไปกับการบริหารโครงการที่ทำให้เกิดการทุจริตทั้งการสวมสิทธิ์ การโกงตาชั่ง โกงความชื้น ซึ่งขณะนี้เกือบทุกส่วนได้เรียกร้องให้รัฐบาลแก่ไขปัญหาดังกล่าว เพราะเป็นโครงการเมกะโปรเจคที่ใช้เงินถึง 4 แสนล้านบาท 6. นโยบายเงินกองทุนเอสเอ็มแอลที่รัฐบาลอนุมัติเงินไปแล้ว 20,000 ล้านบาท ซึ่งพบว่ามีคนที่กับคนในรัฐบาลวิ่งเต้นขายสินค้าที่ไร้คุณภาพตามหมู่บ้านในแถบภาคอีสาน มีการทำประชาคมปลอมขึ้นมาเบิกเงิน และมีการอ้างว่าเป็นเงินที่ พ.ต.ท.ทักษิณให้มาตอบแทนคนเสื้อแดงทั้งที่เป็นเงินของรัฐบาล

7. โครงการฟื้นฟูภัยพิบัติ 1.2 แสนล้านบาท ที่มีการเปิดช่องให้คนในรัฐบาล ผู้ใกล้ชิด และผู้สนับสนุนได้หากินกันถ้วนหน้า เพราะรัฐบาลใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษไม่ต้องมีการประมูล ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้สุ่มตรวจโครงการในภาคอีสานก็พบว่าส่อทุจริตทุกโครงการ และ 8. โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่ยังไม่ได้ผู้รับจ้าง แต่ก็มีข่าวอื้อฉาวว่ามีการแข่งขันราคาอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งหากมีการโกงตามมาตรฐานของรัฐบาลที่ 30-35% แล้วจะทำให้สูญเงิน 1-1.2 แสนล้านบาท

นายองอาจยังกล่าวถึงกรณีการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ แต่ยังยืนยันว่ามีคุณสมบัติดำรงตำแหน่ง ส.ส.และมีการอ้างกรณีนายสัก กอแสงเรืองนั้นว่า นายยงยุทธกำลังฟังข้อมูลที่คลาดเคลื่อนบกพร่อง และไม่ได้ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เพราะทั้ง 2 กรณีไม่สามารถนำมาเทียบเคียงกันได้ ซึ่งกรณีนายยงยุทธนั้นข้อเท็จจริงที่จะต้องถกเถียงจบไปตั้งแต่ คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งไล่ออกจากราชการ ซึ่งทำให้นายยงยุทธขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.แล้ว ตามมาตรา 102(6) ของรัฐธรรมนูญ ส่วนกรณีนายสักมีปัญหาเรื่องการนับวันเวลาในการเข้าไปเป็น ส.ว.ซึ่งก็ยังมีข้อถกเถียงในขณะนั้น จนต้องมีการยื่นเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตีความและส่งให้ศาลวินิจฉัย ซึ่งแตกต่างกับกรณีนายยงยุทธ

ส่วนกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายองอาจกล่าวว่า แม้นางสาวยิ่งลักษณ์จะออกมาปฏิเสธว่ายังไม่มีการปรับ ครม.ในขณะนี้ แต่ตนเชื่อว่าการปรับ ครม.จะมีขึ้นแน่นอน และจำทำให้การแย่งชิงตำแหน่งดุเดือดมากขึ้นโดยเฉพาะเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่วนสาเหตุที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธก็น่าจะมาจากเพื่อต้องการลดกระแสการวิ่งเต้นแย่งชิงเก้าอี้กันภายในพรรคเพื่อไทย และมีความพยายามต่อสายถึงคนมีบารมีนอกรัฐบาลที่อยู่ในต่างประเทศพิจารณาตนเองให้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ส่วนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์บอกว่าจะพิจารณาคนที่มีความรู้ความสามารถมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น ตนเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่สิ่งที่ น.สงยิ่งลักษณ์พูดไม่น่าจะเป็นความจริง เพราะที่ผ่านมาการพูดและการกระทำจะสวนทางกัน อาทิ การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันที่แถลงนโยบายต่อรัฐบาล แต่การปฏิบัติตรงกันข้าม มีการทุจริตคอร์รัปชั่นเพิ่มขึ้น และมีการให้งบประมาณในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นเพียง 400 ล้านบาท ไม่ถึง 1% ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด และยังมีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม ทั้งการย้ายเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ออกจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งข้าราชการในหลายพื้นที่ก็มีบุคคลที่มีความสำคัญกับรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้อง