ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

พุทธศาสนากับสังคมไทยมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นและมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนไทยอย่างยาวนานตั้งแต่โบราณกาลถึงปัจจุบัน โดยจะเห็นค่านิยมของชาวไทยส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญต่อพุทธศาสนาและมีการทำนุบำรุงสร้างศาสนสถานมากหลายแห่ง

Show

หากท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน หรือภาคใต้ จะเห็นว่าแต่ละอำเภอหรือแต่ละจังหวัดมักจะมีวัดประจำตามชุมชนมากมายหลายแห่งที่มีเรื่องราวสุดยูนิคที่สร้างคุณค่าทางประวัติศาสตร์และทางจิตใจให้ผู้คนในท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป การสร้างวัดของคนในสมัยโบราณมักจะเป็นการแสดงถึงความศรัทธาและความเชื่อของคนในสมัยนั้นๆ อีกทั้งยังแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เศรษฐกิจและเป็นการอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู่ที่ล่วงลับ โดยกรุงศรีอยุธยาถือเป็นเมืองที่มีการสร้างวัดวาอารามเยอะที่สุดก่อนที่จะเกิดการเสียกรุง ซึ่งปัจจุบันนี้สามารถเห็นวัดร้างต่างๆ มากมายที่เหลือแต่เพียงซากปรักหักพังตามป่าเขาและบางที่ก็ไม่เหลือคุณค่าใดๆ ให้คนในสังคม

แต่วันนี้ Trip.com อยากบอกข่าวดีและแนะนำผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยววัดในกรุง และหลงไหลในวัฒนธรรมไทยกับวัดศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองไทยมาอย่างช้านาน มีความงดงามไม่เสื่อมคลายและยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สำคัญอีกหนึ่งของโลกด้วย

ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

บริเวณรอบๆวัดพระเชตุพนฯ หรือ วัดโพธิ์ (Source: Unknown by Trip.com )

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (ตามที่บันทึกในพจนานุกรมของสำนักงานราชบัณฑิตยสถาน อ่านว่า [วัด-พฺระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คะ-ลา-ราม][1] หรือ [วัด-พฺระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คฺลา-ราม]) มีชื่อเรียกทั่วไปกันว่าวัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ (Wat Pho) สันนิษฐานว่าในอดีตวัดโพธิ์เป็นเพียงวัดราษฎร์เล็กๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนที่จะเกิดการบูรณปฏิสังขรโดยพระเจ้าตากสินมหาราชของกรุงธนบุรีและถูกสถาปนาและถูกย้ายมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือราชกาลที่ 1 ในปี พ.ศ. 2331

วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ตั้งอยู่ใกล้วัดพระแก้วและทางทิศใต้ของพระบรมหาราชวังและติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดยวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและเป็นวัดประจำของรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรกรีไทย มีเนื้อที่ทั้งหมด 51 ไร่และถูกออกแบบและสร้างขึ้นมาโดยช่างชั้นสูงที่มีความเชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาอีกทั้งยังมีการผสมผสานศิลปะไทย ฝรั่ง จีน ไว้กันอย่างกลมกลืน

โดยในสมัยเริ่มแรกของการบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ๆ นั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากกรุงเก่าและหัวเมืองต่างๆ ทางฝ่ายเหนือ และพระพุทธรูปองค์สำคัญๆ ขนาดใหญ่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากศิลปะหลายยุคหลายสมัย (ศิลปะลพบุรี ศิลปะล้านนา ศิลปะสุโขทัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ศิลปะอยุธยาตอนกลาง – ตอนปลาย และศิลปะรัตนโกสินทร์) มาประดิษฐานในพระวิหารทั้งหมด 1,248 องค์ การบูรณปฏิสังขรณ์ใช้เวลาทั้งสิ้น 7 ปี 5 เดือน 28 วัน หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชทานนามใหม่ให้กับวัดโพธิ์ว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ"แปลว่า “ที่อยู่อันงดงามของพระพุทธเจ้า” ซึ่งอีกหลายรัชสมัยต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม" โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

ครั้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เศรษฐกิจบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองเพราะสยามได้ทำการค้าขายสำเภากับต่างชาติทำให้เกิดกำไรมากมายมหาศาลและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) มีความทรุดโทรมเป็นอย่างมากจึงได้สั่งให้รื้อพระอุโบสถและบูรณะวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ใหม่เพื่อถวายเกียรติแด่รัชกาลที่ 1 ให้มีขนาดที่ยิ่งใหญ่และมีความวิจิตรศิลป์มากกว่าเดิม โดยการบูรณะครั้งนี้ใช้เวลายาวนานถึง 16ปี 7 เดือน การก่อสร้างสถาปัตยกรรมครั้งนี้มีการนำกระเบื้องเคลือบจากจีนมาตกแต่งเจดีย์ทรงย่อมุมไม้สิบสองภายในวัดและมีการนำ “เขามอ” เข้ามาแทรกในการตกแต่งสถาปัตยกรรมไทย

วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำของโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Regional Register)จากยูเนสโกในปี พ.ศ. 2551

5 จุดเช็กอินสำคัญในวัดโพธิ์

จุดที่ 1 พระวิหารพระพุทธไสยาสน์หรือพระนอนวัดโพธิ์

ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

พระพักตร์พระนอนวัดโพธิ์ Photo by Mario La Pergola/Unsplash

พระนอนวัดโพธิ์ถือเป็นจุดไฮไลท์แรกที่ไม่ควรพลาด เพราะที่นี่มีพระนอนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ พระนอนเป็นพระพุทธรูปที่ถูกสร้างขึ้นด้วยช่างทองฝีมือขั้นสูงในสมัยราชกาลที่ 3 และถือเป็นจุดกำเนิดของศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยพระพุทธไสยาสน์นี้เป็นพระปางไสยาสน์หรือพระประจำคนเกิดวันอังคาร พระพักตร์ของพระพุทธรูป ที่สวยงาม โดดเด่นอีกโดยพระนอนวัดโพธิ์มีลักษณะพิเศษคือที่พระพุทธบาททั้งสองข้างวางซ้อนเสมอกันทั้งซ้ายและขวาและมีการฝังมุกด้วยเครื่องหมายมงคล108 ประการที่พระบาทและมีกงจักรขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง พระนอนวัดโพธิ์มีสัญลักษณ์ถึงการไถ่ถอนและความรัก ซึ่งใครที่ต้องการเสริมมงคลชีวิต ให้สมหวังในความรัก หรือตัดขาดจากใครสักคน สามารถมากราบไว้ขอพรที่นี่ได้เลย

ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (Source: Unknown by Trip.com )

นอกจากนั้นภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์ยังมีจิตรกรรมฝาผนังต่างๆ แบ่งออกเป็น 6 ส่วนๆให้ผู้ชมได้เรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่น ภาพจิตรกกรรมเรื่องราวของเอตทัคคะ เรื่องมหาวงศ์ เรื่องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภาพเขียนลายรดน้ำต่างๆ ภาพเบ็ดเตล็ด ภาพนิทานชาดกและวรรณคดีไทยและภาพตำราดาวต่างๆ

จุดที่ 2 ตุ๊กตาจีน

ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

ตุ๊กตาหินจีนหน้าซุ้มประตู (Source: Unknown by Trip.com )

ตุ๊กตาจีนเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่ทุกคนไม่ควรพลาด เพราะตุ๊กตาจีนถือเป็นสิ่งบรรทุกที่สำคัญในการบาลานส์น้ำหนักของเรือสำเภาในสมัยอดีต รูปปั้นตุ๊กตาจีนภายในวัดเชตุพนฯทั้งส่วนใหญ่ล้วนนำเข้าจากจีนที่มาจากการทำสัมพันธมิตรกับพ่อค้าชาวจีนสมัยนั้น โดยตุ๊กตาจีนที่ประดับตามประตูต่างๆ ภายในวัดพระเชตุพนฯ นั้นมีทั้งงานทำมาจากงานปูนปั้นและงานแกะสลักหิน เมื่อนับรวมๆ แล้วมีมากกว่าหลายพันตัวเลยทีเดียว

หากสังเกตสังเกตดีๆ แล้วจะเห็นว่าตุ๊กตาจีนมีหน้าตาและลักษณะการแต่งการที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นตุ๊กตาหินถืออาวุธ ใส่เสื้อเกราะ หรือแต่งตัวแบบงิ้ว (เรียกว่าลั่นถัน) บ้างก็เป็นตุ๊กตาจีนรูปร่างยิ้มแย้ม ใส่หมวกทรงสูง ถือใบพัด ถือหนังสือ ตุ๊กตาจีนแต่งกายแบบฝรั่ง ตุ๊กตาจีนเหมือนคนสามัญชนถือจอบถือแห และมีรูปสาวจีนโบราณ และตุ๊กตารูปสิงโตคราบแก้ว เป็นสัตว์มงคลจีน โดยบริเวณซุ้มประตูพระระเบียงชั้นนอกจะมีสิงโตสองตัวที่เป็นทั้งเพศผู้และเพศเมียเฝ้าอยู่ด้านหน้า โดยสิงโตทั้งสองเพศจะอยู่ในท่าวางเท้าเดียวกันแต่เพศผู้จะมีลูกแก้วระหว่างอกกับเท้าและสิงโตเพศเมียจะมีลูกเล็กๆ อยู่ โดยช่างสมัยนั้นได้ออกแบบให้ลูกแก้วที่อยู่ในปากสามารถกลิ้งได้

จุดที่ 3 พระระเบียงคดชั้นนอก-พระระเบียงคดชั้นใน

ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

พระระเบียงชั้นนอก (Source: Unknown by Trip.com )

ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

พระระเบียงชั้นใน (Source: Photo by Kevin Olson/Unsplash)

วัดเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานมากเป็นอันดับต้นๆ ของไทย ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านี้ได้มาจากการอัญเชิญมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือกับพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิมและมีการซ่อมแซมปรับปรุงให้มีขนาดหน้าตัก ลำตัวและฐานที่เท่าๆ กัน โดยบริเวณพระระเบียงชั้นนอกจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ 224 องค์ และบริเวณพระระเบียงชั้นในจะมีพระพุทธประดิษฐานทั้งหมด150 องค์

จุดที่ 4 จารึกวัดโพธิ์

จารึกวัดโพธิ์ที่แสดงให้เห็นรอบพระมหาเจดีย์และศาลารายเป็นแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยพระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้ศิลาจารึกเหล่านี้เป็นดั่ง “มหาวิทยาลัยเปิด”ที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชนให้ผู้คนได้มีโอกาสรับความรู้เหล่านี้ไปใช้ได้จริง

จารึกวัดโพธิ์ถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนไทยเพราะจารึกในแผ่นศิลาเหล่านี้เป็นสิ่งของล้ำค่าที่มีความสำคัญต่อโลก(เหมือนกับหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง)ที่แสดงถึงวัฒนธรรมของสังคมไทย ประวัติศาสตร์ การศึกษาและความรู้วิชาต่างๆ ที่สำคัญจนได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำของโลกในปี พ.ศ. 2554 จารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 แผ่นถูกจำแนกออกเป็น 6 หมวดสาระสำคัญ ดังนี้

หมวดพระพุทธศาสนา หรือหมวดธรรมะ

หมวดเวชศาสตร์ การอนามัย(ตำรายาการใช้พืชสมุนไพร ฤาษีดัดตน (โยคะ) การนวดและจุดสำคัญต่างๆบนร่างกาย) โรคที่เกี่ยวกับแม่และเด็ก หรือตำราที่ว่าด้วยสมุฏฐานของโรค เป็นต้น)

หมวดวรรณคดีและสุภาษิต

หมวดทำเนียบ

หมวดประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)

หมวดประเพณี (ภาพเขียนการแห่กฐินของสมัยราชกาลที่ 1)

จุดที่ 5 พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล (Source: Unknown by Trip.com)

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ถือเป็นไฮไลท์ที่สำคัญหนึ่งของวัดที่ไม่ว่าชาวต่างชาติหรือไทยมักจะหยุดและตั้งกล้องถ่ายรูปกันเสมอ เพราะพระมหาเจดีย์มีการประดับตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบที่มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และสวยงาม พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ องค์พระมหาเจดีย์เป็นแบบย่อมุมไม้ยี่สิบที่มีหยักเหลี่ยมออกมาให้รูปภาพที่สุดประทับใจสุดๆ Trip.com จะพาทุกคนมารู้จักพระมหาเจดีย์สี่รัชกาลกัน

พระมหาเจดีย์ที่ 1 เป็นพระมหาเจดีย์ประจำของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มีชื่อเรียกว่า "พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ" ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่มหาเจดีย์ พระมหาเจดีย์แรกนี้มีลักษณะเด่นทำมาจากกระเบื้องเคลือบสีเขียว พระมหาเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ภายในพระมหาเจดีย์นั้นได้มีการบรรจุหุ่นพระศรีสันเพชรพระศรีสรรเพชญไว้ข้างในดังเป็นที่มาของชื่อ

พระมหาเจดีย์ที่ 2 มีชื่อเรียกว่า "พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิธาน" ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณทำมาจากกระเบื้องเคลือบสีขาว และพระมหาเจดีย์ที่ 3 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของของพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณมีชื่อเรียกว่า"พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร"ทำมาจากกระเบื้องเคลือบสีขาว

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ที่สองและสามด้วยรูปแบบและความสูงที่เท่ากับพระมหาเจดีย์แรกทุกประการ โดยพระองค์ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ที่สองเพื่อเป็นพระราชอุทิศถวายแด่รัชกาลที่ 2 และถือว่าพระมหาเจดีย์นี้เป็นพระมหาเจดีย์ประจำของพระบรมราชนกของพระองค์ท่าน ส่วนพระมหาเจดีย์ที่ 3 นั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาแต่อย่างไรก็ตามผู้คนต่างนับว่าพระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขารนี้เป็นพระมหาเจดีย์ประจำของพระองค์ด้วย

พระมหาเจดีย์สุดท้าย คือ "พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย" เป็นพระมหาเจดีย์ที่แตกต่างจากพระมหาเจดีย์อื่นๆ เพราะได้สร้างแบบตามพระเจดีย์ศรีสุริโยทัยจากวัดสวนหลวงสบสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยา พระมหาเจดีย์ทรงสุริโยทัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของ"พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ" ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีน้ำเงิน มีประตูแคบๆ สามารถลอดผ่านไปได้

นอกจากนี้ทางวัดเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ยังจัดเทศกาลประจำปีให้ประชนได้ไหว้พระ ขอพรทำบุญตักบาตรในวันพระและในช่วงเทศกาลประจำปีที่สำคัญของไทยอีกด้วย สามารถติดตามประกาศได้ที่หน้าข่าวและกิจกรรมของเว็บไซต์หลักของวัดเชตุพนฯ

ทริปในการท่องเที่ยว

วันนี้ Trip.com ได้รวบรวมสิ่งสำคัญที่ทุกๆ คนควรจะทราบก่อนไปวัด 9 อย่างดังนี้

แผนผังวัด

ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

แผนผังวัดวัดพระเชตุพนฯ

สิ่งแรกที่ทุกคนควรรู้ก่อนจะเข้าไปเยี่ยมชมวัดในไทย คือควรจะรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและแผนที่ต่างๆ ของวัดว่ามีการจัดวางอย่างไร มีอะไรบ้าง จากศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์ ระบุว่าภายในวัดนั้นแบ่งบริเวณออกเป็น 2 หลักคือเขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส ซึ่งหลังจากลงทะบียนผ่านจุดคัดกรองแล้วเราควรจะเยี่ยมชมตามแผนที่ที่ทางวัดจัดให้เท่านั้น เนื่องจากสถานการณ์โควิดในปัจจุบัน ประตูทางเข้า-ออกของวัดเหลือเพียงประตูเดียวเป็นทางหลัก

แต่งตัวสุภาพและสำรวมจิต

นักท่องเที่ยวทุกคนควรแต่งตัวสุภาพเพื่อแสดงความเคารพและให้เกียรติแก่สถานที่ วัดถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระ ผู้ที่เข้าไปเยี่ยมชมวัดควรแต่งกายสุภาพ สตรีไม่ควรใส่ชุดสั้นเลยหัวเข่าขึ้นไป และผู้ที่มาที่วัดทุกท่านควรสำรวมจิตเพื่อให้เกียรติแก่สถานที่และคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณวัด

ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

แต่งตัวชุดสุภาพ (Source: Photo by Napat Noppadolpaisal/Unsplash)

ปฏิบัติตามมาตรการโควิด

ถึงแม้หลายๆที่จะมีการผ่อนคลายมาตรการโควิดไปแล้วแต่ก็ยังมีความจำเป็นที่เราหลายๆคนต้องปฏิบัติมาตรการโควิด รักษาระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออยู่เสมอๆ เพราะวัดเชตุพนฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่มีผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนมาอยู่บ่อยๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องตัวเองและผู้อื่น Trip.com ขอย้ำเตือนให้ทุกคนอย่าลืมรักษาอนามัยและปฏิบัติตามมาตรการโควิดอย่างเคร่งครัด

ไม่นั่งบนตักพระพุทธรูปหรือทำลายสิ่งของภายในวัด

พระพุทธรูปและสถาปัตยกรรมต่างๆ บริเวณวัดเป็นสิ่งของที่มีค่าที่ไม่อาจหาสิ่งใดทดแทนได้แม้กาลเวลาจะสูญไป เพื่อเป็นการรักษาสภาพวัตถุให้สมบูรณ์และให้คนรุ่นต่อๆ ไป ยังคงได้สัมผัสวัฒนธรรมไทยและความสวยงามของโบราณวัตถุได้อย่างยาวนานมากขึ้น Trip.com ขอเตือนทุกคนอย่าขีดเขียนฝาผนัง พระพุทธรูป ทำลายสิ่งของภายในวัดหรือนั่งบนตักพระพุทธรูปเพราะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวศาสนิกชนให้ความเคารพและกราบไว้

ระวังโจรล้วงกระเป๋า

เมื่อมาเที่ยววัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ก็อย่าชมโบราณสถานและถ่ายรูปจนเพลินล่ะ Trip.com ขอเตือนให้ทุกคนระวังและดูแลทรัพย์สินของตนเพราะอาจมีผู้ไม่หวังดีแอบล้วงกระเป๋าเราในตอนที่เรากำลังเผลออยู่ก็ได้

เช็คสภาพอากาศ เตรียมร่ม

ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

(Source: Photo by Chris Arthur-Collins/Unsplash)

อีกสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ลืมไม่ได้เลยก็คือการเช็คสภาพอากาศของไทยนั่นเอง ช่วงนี้สภาพอากาศมักจะแปรปรวนบ่อย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน เดี๋ยวหนาว เมื่อมาเที่ยวที่วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ก็อย่าลืมพกร่มติดตัวมาด้วยนะเพื่อไม่ให้ตนเองต้องผิวไหม้หรือตัวเปียกปอน เดี๋ยวจะเป็นไข้ไม่สบายได้

สังเกตป้ายและไม่ควรเปิดแฟลชขณะชมภาพฝาผนังในวัด

หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าแสงแฟลชที่มาจากกล้องนั้นสามารถทำให้ควาลิตี้ของภาพจิตรกรรมนั้นดรอปลงไปได้เพราะความร้อนและรังสีจากกล้องสามารถทำให้สีของภาพจิตรกรรมนั้นจางหายไปได้โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้แฟลชซ้ำๆอย่างต่อเนื่อง Trip.com อยากจะให้ทุกคนระมัดระวังเรื่องนี้กันเป็นพิเศษหน่อย และเพื่อรักษาความเป็นมิตรภาพที่ดีระหว่างนักท่องเที่ยวและสถานที่อยากให้ทุกคนสังเกตดูป้ายต่างๆ อย่าถ่ายรูปหรือเข้าไปในเขตหวงห้ามที่ไม่ได้นับอนุญาต

รักษาความสะอาด

ข้อนี้ทุกคนก็อย่ามองข้ามเด็ดขาด เมื่อเข้าแวะชมสถานที่ต่างๆ ถึงแม้เราอาจจะไม่ได้นำพลาสติก ขนมหรืออาหาร เข้าไปในสถานที่ก็ไม่ได้แปลว่าเราไม่จำเป็นต้องรักษาความสะอาดหรือต้องรับผิดชอบกับสิ่งใด เราจำเป็นต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือในการดูแลรักษาความสะอาดที่เป็นของส่วนรวมโดยเฉพาะห้องน้ำภายในวัด เพราะในแต่ละวันมีคนเข้าใช้ห้องน้ำจำนวนมากไม่ซ้ำหน้า ดังนั้นการช่วยกันรักษาความสะอาด ทิ้งขยะให้ถูกที่ และตรวจสอบความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนออกไปถือเป็นการแสดงจิตใจเอื้อเฟื้อให้แก่ผู้อื่นที่จะมาใช้ห้องน้ำต่อและเป็นการประหยัดเวลาให้แก่ผู้ที่ทำความสะอาดไม่ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ อีกด้วย

วิธีการเดินทาง

วิธีการเดินทางมายังวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) มีวิธีการเดินทางที่ค่อนข้างสะดวกและมีตัวเลือกที่หลากหาย สามารถเลือกเดินทางแล้วแต่สะดวกไม่ว่าจะเป็น

การเดินทางโดยรถส่วนตัว ขับรถมาจอดที่สถานที่จอดรถของวัดได้

เดินเท้าเปล่ามาจากวัดพระแก้วใช้ระยะเวลาเดินทางเพียง 6 นาที

เดินทางโดยเรือ สามารถเดินทางจาก BTS สะพานตากสิน ใช้ทางออก 2 แล้วนั่งเรือไปยังท่าเรือเตียนจากนั้นเดินไปวัดโพธิ์

ว ดโพธ โบราน อ.ภ เข ยว จ.ช ยภ ม

(Source: Photo by Chris Arthur-Collins/Unsplash)

เดินทางโดยตุ๊กๆ แท็กซี่ หรือวินมอเตอร์ไซค์ โดยราคาเริ่มต้นจะแตกต่างออกไปแล้วแต่ระยะทางและพื้นที่

เดินทางโดยรถเมย์ แบบธรรมดา (หมายเลข 1, 3, 6, 9, 12, 25, 32, 43, 44, 47, 48, 51, 53, 82, 103) แบบปรับอากาศ (ปอ.1, ปอ.6, ปอ.7, ปอ.8, ปอ.12, ปอ.44)

เดินทางโดย MRT ลงจากสถานีสนามไชยติดอยู่กับโรงเรียนวัดราชบพิธ ใช้ทางออกที่ 1 (มิวเซียมสยาม) จากนั้นจะเจอถนนสนามไชยแล้วสามารถเดินหรือนั่งรถโดยสารประจำทาง (รถเมย์สาย 47, วินมอเตอร์ไซค์, แท็กซี่) ตรงไประยะทาง 850 เมตรทางด้านซ้ายมือ

เวลาเปิด-ปิด

วัดพระเชตุพนฯ เปิดบริการให้ทุกวันตั้งแต่เวลา 8:30 -17:30 น.

ค่าเข้า

ต่างชาติต้องชำระค่าทางผ่าน 200 บาท

คนไทยเข้าชมฟรี

บริการภายในวัด

นอกจากวัดพระเชตุพนฯ จะมีชื่อเสียงด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมแล้วยังมีชื่อเสียงด้านการนวดแผนโบราณอีกด้วย โรงเรียนแพทย์แผนโบราณและนวดแผนโบราณเป็นสถานที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการนวด (ตามจารึกวัดโพธิ์) และนำไปปรับปรุงและขยายความรู้ สาขาออกไปมากมายหลายแห่ง โดยที่วัดเปิดการนวดให้กับผู้ที่สนใจด้วย โดยโรงเรียนแพทย์แผนโบราณและนวดแผนโบราณจะเปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 08:00 - 17:00 น. อัตราค่าบริการเริ่มต้น 260 บาท/ชั่วโมง

นวดไทย 260 บาท/ชั่วโมง

นวดฝ่าเท้า 280 บาท/30 นาที

นวดฝ่าเท้า 420 บาท/ชั่วโมง

FAQเกี่ยวกับที่เที่ยวเชียงราย

  • ในวัดโพธิ์มีอะไรบ้าง?

    ภายในวัดโพธิ์มีสถาปัตยกรรมล้ำค่ามากมายที่รวบรวมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา-สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์กว่าพันองค์ มีแหล่งความรู้จากศิลาจารึกและมีเจดีย์ประจำรัชกาลที่วิจิตรงดงาม

วัดโพธิ์ขึ้นชื่อเรื่องใด?

วัดโพธิ์ขึ้นชื่อในเรื่องของการนวดและการรักษาโรคตามอาการเพราะสถานที่แห่งนี้รวบรวมความรู้ทางการแพทย์ของคนสมัยโบราณมาสู่คนยุคใหม่ ทั้งนี้ภายในวัดโพธิ์ยังมีเจดีย์ที่ทำมาจากกระเบื้อง และลายดอกกุหลาบที่สวยงามซึ่งเหมาะแก่การถ่ายรูป