จบว ทย ส ตวว ทยา ทำงานในรพ.ส ตว ได ม ย

ใครที่อยากเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ ยกมือขึ้น! สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่มีคณะวิทยาศาสตร์เป็นคณะในฝัน แต่ยังไม่ชัวร์ว่าถ้าเรียนไปแล้ว จบไปจะทำงานอะไรดี หรือจะหางานยากหรือเปล่า วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว ว่าอาชีพเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง พร้อมคะแนนสอบที่ต้องใช้ในการศึกษาต่อในคณะนี้ แต่จะมีรายละเอียดอย่างไร ติดตามกันได้เลย

จบว ทย ส ตวว ทยา ทำงานในรพ.ส ตว ได ม ย

1. คณะวิทยาศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร?

คณะวิทยาศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคณะในใจของน้อง ๆ ที่เรียนสายวิทย์ โดยเฉพาะคนที่ชอบเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวะแบบจัดเต็ม แต่หากจะเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ หลาย ๆ คนคงอยากจะรู้ก่อนว่าคณะวิทยาศาสตร์นั้นเรียนเกี่ยวกับอะไร และมีสาขาวิชาใดให้เลือกเรียนบ้าง

คณะวิทยาศาสตร์ เป็นคณะที่มีการเปิดสอนเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ ในเชิงลึก โดยเนื้อหาจะครอบคลุมเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเราตั้งแต่เรื่องที่เล็กที่สุด ไปจนถึงใหญ่ที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความเป็นมาของสิ่งต่าง ๆ ลักษณะ คุณสมบัติ ไปจนถึง ความสัมพันธ์ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ด้วย ซึ่งการเรียนในคณะวิทยาศาสตร์จะครอบคลุมเกี่ยวกับ 4 เรื่องหลักคือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และแคลคูลัส

สิ่งที่จะได้เรียนในแต่ละปี

หลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์จะมีการเรียนการสอนทั้งหมด 4 ปี โดยในแต่ละปีจะได้เรียนเนื้อหาดังนี้

ปี 1 : ในปีการศึกษาที่ 1 นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์จะได้เรียนพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะแคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ นอกจากนั้น ก็ยังมีวิชาบังคับที่นักศึกษาทุกคณะต้องเรียนด้วยเช่นกัน ทั้งวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และจิตวิทยา

ปี 2 และ 3 : โดยส่วนมากแล้วในปีที่ 2 จะเป็นปีที่น้อง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์จะได้เข้าเรียนวิชาประจำเอกหรือสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เลือก ซึ่งเนื้อหาจะมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เป็นเนื้อหาเชิงลึก และการนำไปใช้

ปี 4 : ในปีการศึกษาสุดท้าย โดยส่วนมากแล้วจะเป็นปีที่น้อง ๆ นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้จากการเรียนในปี 1 - 3 ไปใช้จริงในการฝึกงานตามหน่วยงาน สถาบัน หรือบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามวิชาเอก หรือสาขาวิชาที่เลือก

อย่างไรก็ตาม หลักสูตร และการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์ในแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีความแตกต่างกันไป หากน้อง ๆ คนไหนสนใจอยากจะเรียนในมหาลัยใด ก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของหลักสูตรในแต่ละคณะผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ก่อนได้เลย เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ และเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสำหรับการเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์ที่ตามที่ตั้งใจด้วย

2. เรียนจบแล้วไปทำอะไรได้บ้าง?

สำหรับน้อง ๆ ที่อยากรู้เรียนจบคณะวิทยาศาสตร์แล้วจะทำงานอะไรได้บ้าง วันนี้เราลิสต์อาชีพเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาให้แล้ว

อาชีพสำหรับสาขาวิชาฟิสิกส์

  • นักฟิสิกส์รังสี ฟิสิกส์ธรณี ฟิสิกส์
  • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทางรังสีวิทยา
  • นักฟิสิกส์การแพทย์
  • นักนิติวิทยาศาสตร์
  • นักอุตุนิยมวิทยา

จบว ทย ส ตวว ทยา ทำงานในรพ.ส ตว ได ม ย

อาชีพสำหรับสาขาวิชาเคมี

  • นักวิทยาศาสตร์ด้านเคมี, อาหาร, เครื่องสำอาง
  • นักพัฒนาสินค้า และผลิตภัณฑ์
  • พนักงานในห้องปฏิบัติการ

อาชีพสำหรับสาขาวิชาชีววิทยา

  • นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษในภาคอุตสาหกรรม
  • ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

อาชีพสายวิชาการ

สำหรับผู้ที่จบการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ยังสามารถนำความรู้มาใช้ในสายอาชีพด้านวิชาการได้เช่นกัน

  • นักวิชาการ
  • นักวิจัย
  • ครู หรืออาจารย์มหาวิทยาลัย

3. อยากเข้าคณะวิทยาศาสตร์ ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง?

แม้ว่าเกณฑ์คะแนนที่แต่ละมหาวิทยาลัยใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์จะแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมากแล้วจะมีคะแนนที่จำเป็นต้องใช้หลัก ๆ ดังนี้

  • TGAT ข้อสอบวัดสมรรถนะทั่วไป
  • TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
  • A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน และเพิ่มเติม)
  • A-Level ฟิสิกส์
  • A-Level เคมี
  • A-Level ชีววิทยา

เมื่อรู้แล้วว่าหากจบจากคณะวิทยาศาสตร์ ทั้งเอกฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แล้วจะทำงานอะไรได้บ้าง ก็อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อมุ่งสู่คณะในฝัน ด้วยคอร์สเรียนพิเศษฟิสิกส์ ม.ปลายสุดเข้มข้น ที่ Applied Physics เลือกเรียนได้ทั้งที่สาขาและออนไลน์ อัดแน่นด้วยเนื้อหาที่อัปเดตใหม่ ให้น้อง ๆ เรียนแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง! สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-3060867, 02-3060868, 02-3060869, 085-4925599 หรือ แอดไลน์ @appliedphysics (มี @ ด้วย)

แม้นโยบายเรื่องการบรรจุแพทย์จบใหม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวไว้ในการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมาจะยังไม่มีความคืบหน้านัก แต่แนวคิดนี้ก็ยังเป็นประเด็นร้อนในแวดวงบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งนักศึกษาแพทย์ที่กำลังจะจบการศึกษา

การแถลงนโยบายในวันนั้น นายอนุทินกล่าวว่า "การที่มี รพ.สต.เกือบ 8,000 แห่งทั่วประเทศ ทำให้เราสามารถเพิ่มการจ้างแพทย์จบใหม่ไปประจำที่แห่งนั้น ก็จะเป็นการลดภาระพี่น้องประชาชนที่ต้องไปรับการบริการตามโรงพยาบาลใหญ่ ๆ"

  • เลือกตั้ง 2562 : ชีวิตคนไทยกับความหวังด้านการรักษาพยาบาล ประเด็นหลักหาเสียงของพรรคการเมือง
  • แพทย์หญิงไทยผู้คุมความเป็นไปของห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลอังกฤษ
  • หมอมน สัตวแพทย์ฮีโร่ช่วยเด็กทารกแรกคลอด

แนวคิดนี้ทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า เป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ที่ตรงจุดหรือไม่ และหากบังคับใช้จริงขึ้นมา จะมีผลกระทบต่อบรรดา "แพทย์จบใหม่" ซึ่งกำลังนับถอยหลังสู่การออกไปปฏิบัติหน้าที่คุณหมอในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าอย่างไร

บีบีซีไทยคุยกับแพทย์หญิงจบใหม่ 2 คน ที่มาบอกเล่าถึงสิ่งที่แพทย์จบใหม่ต้องเจอ และความเห็นของพวกเธอต่อแนวคิดเรื่องการส่งแพทย์จบใหม่ไปประจำ รพ.สต.

"หมออีฟ" และ "หมอเอม"

ธนาภา ขวัญนุ้ย หรือ อีฟ และ อิชยา ดวงสุวรรณ หรือ เอม วัย 26 ปี เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ชั้นมัธยม ทั้งคู่มีความฝันเดียวกันคืออยากเป็นหมอรักษาคนป่วย และเรียนจบจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมกันเมื่อ 2 ปีก่อน

การเรียนแพทย์นั้นใช้ระยะเวลากว่า 6 ปี โดย 3 ปีแรกจะเรียนในห้องเรียนเป็นหลัก พอขึ้นชั้นปีที่ 4 จึงได้เริ่มขึ้นวอร์ดดูแลผู้ป่วยใน เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 5 นักศึกษาแพทย์จะถูกส่งไปสังเกตการณ์ทำงานของทีมแพทย์และพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน รวมทั้งช่วยงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นล้างแผล ซักประวัติผู้ป่วยในช่วงที่เข้าเวร

เมื่ออยู่ชั้นปีที่ 6 นักศึกษาแพทย์จะต้องฝึกงานหรือที่เรียกว่า "เอ็กซ์เทิร์น" ซึ่งอีฟและเอมได้ไปประจำที่โรงพยาบาลมหาราช จ.นครศรีธรรมราช อีฟยังจำได้ดีถึงความรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ทำหน้าที่หมอจริง ๆ เป็นครั้งแรก แต่จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์แพทย์

จบว ทย ส ตวว ทยา ทำงานในรพ.ส ตว ได ม ย

ที่มาของภาพ, อิชยา ดวงสุวรรณ

คำบรรยายภาพ,

หมอเอมมีความสุขกับการใช้ทุนที่โรงพยาบาลขนาดเล็กในชุมชนเพราะทำให้เธอได้พัฒนาตัวเอง

แม้จะเรียนมาแล้ว 6 ปี แต่สำหรับนักศึกษาแพทย์ การจบปี 6 นั้นถือว่าการเรียนรู้เพิ่งเริ่มต้น เพราะเขาและเธอยังต้อง "ใช้ทุน" ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่แพทย์จบใหม่ต้องปฏิบัติตาม นั่นคือการไปประจำยังโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นเวลา 3 ปี

เป็นที่รู้กันในหมู่นักศึกษาแพทย์ว่า การเลือกโรงพยาบาลที่จะไป "ใช้ทุน" นั้นแทบไม่ต่างจากการซื้อลอตเตอรี่ ที่ไม่รู้ว่าจะต้องขึ้นเหนือหรือลงใต้ เมื่อฤดูกาลเลือกโรงพยาบาลใช้ทุนมาถึง ซึ่งตรงกับเดือน พ.ค. ของทุกปี แพทย์จบใหม่จากทั่วประเทศต้องเดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อจับฉลากพร้อมกันว่าจะได้ไปประจำยังโรงพยาบาลใด

ช่วงการเป็น "หมออินเทิร์น" หรือแพทย์ใช้ทุนนี่เองที่ทำให้อีฟและเอมต้องแยกทางกันเดิน เนื่องจากอีฟเลือกสอบชิงทุนเรียนต่อเฉพาะทาง ทำให้เธอไม่ต้องจับฉลากเลือกโรงพยาบาลใช้ทุน ส่วนเอมจับฉลากได้ไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง

แพทย์จบใหม่ในโรงพยาบาลใหญ่

หมออีฟเล่าถึงเหตุผลที่เธอเลือกสอบชิงทุนเรียนต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางว่า "อยากเรียนต่อเลยโดยไม่ออกไปใช้ทุน เพราะมันต้องจับฉลากว่าเราจะได้ไปอยู่ที่ไหน ถ้าจับฉลากแล้วต้องไปอยู่ไกล ๆ เราก็ไม่อยากไปอยู่ อยากอยู่ใกล้บ้าน อย่างน้อยก็ได้ดูแลครอบครัว"

อีฟสอบชิงทุนเรียนต่อเฉพาะทางด้านหู คอ จมูก ได้ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเธออธิบายว่าการเรียนต่อเฉพาะทางของนักศึกษาแพทย์นี้ ต้องทำงานที่โรงพยาบาลเช่นเดียวกับเพื่อนที่ใช้ทุน เพียงแต่เธอต้องเรียนต่อไปด้วยและได้ทำงานในโรงพยาบาลที่สอบชิงทุนได้ ซึ่งก็คือโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

กิจวัตรของหมออีฟเริ่มตั้งแต่ 6 โมงเช้าด้วยการขึ้นวอร์ดตรวจอาการผู้ป่วยในความรับผิดชอบ 8 โมงเช้าเข้าชั้นเรียน เพื่อนำเสนองานตามที่อาจารย์มอบหมายให้เพื่อนร่วมชั้นฟัง ต่อด้วยการเข้าไปประจำห้องผ่าตัด (OR) และแผนกผู้ป่วยนอก (OPD)

เจอเรื่องยากจนไม่รู้จักเรื่องง่าย

"การอยู่โรงพยาบาลใหญ่มีข้อดีตรงที่ได้เจอเคสที่ยาก ๆ แปลก ๆ ที่ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่น ถ้าไม่ได้อยู่ที่นี่ เราก็จะไม่ได้เจอเคสแบบนี้" หมออีฟให้ความเห็น

นอกจากนี้ โรงพยาบาลใหญ่อย่าง รพ.สงขลานครินทร์ยังมีทีมแพทย์รุ่นพี่ที่มีประสบการณ์สูงคอยเป็นทีมสนับสนุน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการทำงานผิดพลาดของเหล่าแพทย์จบใหม่

จบว ทย ส ตวว ทยา ทำงานในรพ.ส ตว ได ม ย

ที่มาของภาพ, ธนาภา ขวัญนุ้ย

คำบรรยายภาพ,

หมออีฟมองว่าการทำงานของแพทย์จบใหม่ที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่มีข้อดีคือได้เจอเคสยาก ๆ

ข้อเสียของการเป็นแพทย์จบใหม่ในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ในมุมมองของหมออีฟคือ ด้วยความที่มีหมอใหญ่คอยช่วยเหลืออยู่เยอะ แพทย์จบใหม่จึงอาจจะไม่ได้เผชิญหน้ากับสถานการณ์ยาก ๆ ด้วยตัวเองมากเท่ากับแพทย์จบใหม่ในโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ขาดแคลนบุคลากร

แพทย์จบใหม่ในโรงพยาบาลเล็ก

ขณะที่อีฟเป็นหมอจบใหม่อยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่ใน จ.สงขลา เอมเลือกจับฉลากมาเป็นแพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาลวังวิเศษ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กขนาด 30 เตียงใน อ.วังวิเศษ จ.ตรัง

"ที่โรงพยาบาลวังวิเศษเหมือนเราเป็นหมอใหญ่ เพราะที่นี่ไม่มีหมอเฉพาะทางอะไรเลย เรากลายเป็นหมอใหญ่ที่ต้องทำทุกอย่างเองหมดเลย แต่ถ้ามีเคสที่หนักเกินความสามารถของโรงพยาบาลชุมชน ก็ต้องส่งต่อโรงพยาบาลประจำจังหวัด"

ไม่รู้ว่าเป็นโชคดีหรือร้าย ปีที่เธอมาเป็นแพทย์ใช้ทุนที่นี่ รพ.วังวิเศษเหลือหมอประจำอยู่แค่คนเดียว แม้แต่ ผอ.โรงพยาบาลก็เพิ่งจะย้ายไป เธอและเพื่อนหมออีกคนจึงต้องรับภาระใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่นี่กลับเป็นพลังให้เธออยากพัฒนาตัวเอง

"เราไม่มีหมอที่มีประสบการณ์มากกว่าหรือหมอเฉพาะทางที่จะให้คำปรึกษาได้ หัตถการทุกอย่างเราต้องทำเป็นจริง ๆ คนไข้อยู่ในมือเราเลย ถ้าเราไม่รู้จริง ๆ เราก็อยากหาข้อมูล อยากที่จะมีความรู้เพื่อที่จะมารักษาเขา เราก็ไม่อยากให้คนไข้เป็นอะไร"

หมอเอมเริ่มทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้า ตรวจผู้ป่วยใน 2 ชั่วโมงครึ่ง แล้วย้ายไปตรวจผู้ป่วยนอกซึ่งเป็นหน้าที่หลักของโรงพยาบาลชุมชน มีเวลาพักเที่ยงไม่นาน ก็ต้องเข้าประจำห้องตรวจเพื่อตรวจผู้ป่วยนอกต่อไปจนถึง 4 โมงเย็น นอกจากนั้นหมอเอมยังต้องผลัดเวรประจำห้องฉุกเฉินหรือห้องคลอด รวมถึงการเข้าเวรดึก

จบว ทย ส ตวว ทยา ทำงานในรพ.ส ตว ได ม ย

ที่มาของภาพ, BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว. สาธารณสุข เชื่อว่าการส่งแพทย์จบใหม่ไปประจำ รพ.สต. จะช่วยแก้ปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล

มุมมองต่อนโยบายส่งแพทย์จบใหม่ไปประจำ รพ.สต.

หมออีฟแสดงความเห็นว่า นโยบายดังกล่าวใช่ว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่หากจะบังคับใช้จริงจะต้องมีการเตรียมความพร้อมอีกมาก

"ถ้าให้แพทย์จบใหม่ไปอยู่ รพ.สต. ก็พอได้อยู่ แต่ถามว่าการที่มีหมอมาอยู่ รพ.สต. แล้วจะยกระดับการให้บริการของ รพ.สต. ได้ทันทีคงไม่ใช่ เพราะนอกจากหมอแล้ว ยังต้องมีทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่พร้อม"

อีกทั้งต้องยอมรับว่า "หมอจบใหม่" ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการรักษา ซึ่งเป็นความเสี่ยงทั้งสำหรับแพทย์และผู้ใช้บริการ

ด้านหมอเอมมองว่า เป็นไปได้ยากที่จะส่งแพทย์จบใหม่ไปประจำที่ รพ.สต. เพราะแพทย์จบใหม่เป็นที่ต้องการและถือเป็นกำลังสำคัญของโรงพยาบาล โดยเฉพาะในต่างจังหวัด

"หมอที่จบใหม่ในแต่ละปี ส่งไปประจำอยู่โรงพยาบาลจังหวัดก็แทบจะยังไม่พอเลย เราทำงานกันแทบเป็นแทบตาย ยิ่งอินเทิร์นปีหนึ่งเป็นช่วงชีวิตที่ทำงานหนักมาก แล้วโรงพยาบาลจังหวัดต้องการแพทย์จบใหม่กลุ่มนี้มาก การที่จะให้ไปอยู่ รพ.สต.จึงน่าจะเป็นไปได้ยาก"

หมอเอมให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน รพ.สต.จะมีพยาบาลเวชปฏิบัติในการรักษาเบื้องต้นประจำอยู่ หากพบผู้ป่วยที่เป็นเคสหนักหรือยาก ก็จะมีการติดต่อขอปรึกษาหมอในโรงพยาบาลใกล้เคียง อีกทั้งโดยปกติจะมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว คอยหมุนเวียนลงไปยังพื้นที่ ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่าการให้หมอจบใหม่ลงไปอยู่ประจำ

นอกจากนี้ การให้แพทย์จบใหม่ไปประจำที่ รพ.สต. ยังอาจปิดโอกาสของแพทย์จบใหม่ที่จะได้เรียนรู้จากหมอที่มีประสบการณ์ในโรงพยาบาล หมอเอมให้ความเห็น

อาชีพที่ทำงานในโรงพยาบาลมีอะไรบ้าง

กลุ่มอาชีพแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข.

นักกายภาพบำบัด.

ทันตแพทย์.

นายสัตวแพทย์.

นายแพทย์.

นักโภชนาการ.

นักวิชาการพยาบาล.

นักวิชาการสุขาภิบาล.

นักวิทยาศาสตร์การแพทย์.

สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์จบมาทำงานอะไร

​ ทำงานในห้องปฎิบัติการภายในโรงพยาบาล ศูนย์/สถาบันวิจัย เพื่อศึกษา ค้นคว้าและวิจัย ในการหาสาเหตุ การป้องกัน และการรักษาโรคต่างๆ เช่นการทำงานเกี่ยวกับ การตัดชิ้นเนื้อเยื่อ การผลิตวัคซีน งานวิจัยทางแพทย์ เป็นต้น​หรือห้องปฎิบัติการภายในโรงงานอุตสาหกรรม อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยาและสารเคมีเพื่อตรวจตอบคุณภาพและปน ...

สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีอะไรบ้าง

สรุปสาระสำคัญหลักสูตรปริญญาตรี.

มอดูลชีวเคมีทางการแพทย์และชีวอณูโมเลกุล.

มอดูลชีววิทยาโครงสร้างและเทคโนโลยีแนวหน้าที่เกี่ยวข้อง.

มอดูลสรีรวิทยาและการชะลอวัย.

มอดูลเภสัชวิทยาพิษวิทยาและเภสัชภัณฑ์.

มอดูลโรคติดเชื้อและการวินิจฉัยเชิงบูรณาการ.

นักจุลชีววิทยามีบทบาทอย่างไรในสังคมปัจจุบัน

หน้าที่หลักของนักจุลชีววิทยาคือการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับจุลชีววิทยา หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายไม่ว่าจะเป็น อุตสาหหกรรมการแพทย์ สิ่งแวดล้อม หรือเทคโนโลยีชีวภาพ