ค ม อการควบค มภายในและการบร หารจ ดการความเส ยง บมจ.น ำตาลขอนแก น

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ เป็นผู้กําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง ปัจจัยความเสี่ยง และกระบวนการบริหารความเสี่ยงให้ฝ่ายจัดการนำไปปฏิบัติ เพื่อช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถวางแผนการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนวิเคราะห์ กำหนดแผนงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานหรือออกแบบระบบงานที่สามารถควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ โดยคํานึงถึงปัจจัยเสี่ยงทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก จึงกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง ดังนี้

บริษัทฯได้ให้ความสำคัญต่อการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการเงิน การปฏิบัติงาน การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดให้มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมเพียงพอ มีประสิทธิภาพตลอดจนป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชื่อเสียงของบริษัทฯ รวมทั้งประเมินการปฏิบัติงานตามแนวทางการกำกับกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance : GCG)

บริษัทฯ ได้รับประกาศนียบัตรรับรองฐานะสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption : CAC) ซึ่งเป็นการต่ออายุรับรองเป็นวาระที่สองของบริษัท โดยคณะกรรมการบริษัท ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดต่างๆ และฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน รวมทั้งกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ โดยกำหนดโครงสร้างองค์กรและสายงานการบังคับบัญชาที่ชัดเจนในการถ่วงดุลอำนาจ และการควบคุมภายในอย่างเหมาะสม รวมทั้งกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ และดัชนีชี้วัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators: KPI) เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานและติดตามผลการดำเนินงานเปรียบเทียบ กับเป้าหมายขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัท ได้มีการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในเป็นประจำทุกปี ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ตามกรอบการควบคุมภายในของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่อ้างอิงจาก COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission) ทั้ง 5 องค์ประกอบ และ 17 หลักการย่อย ซึ่งคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นสอดคล้อง ว่าบริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสมตามลักษณะธุรกิจ ดังนี้

การบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ เป็นผู้กําหนดนโยบายการจัดการความเสี่ยง ปัจจัยความเสี่ยง และกระบวนการบริหารความเสี่ยงให้ฝ่ายจัดการนําไปปฏิบัติ เพื่อช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถวางแผนการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนวิเคราะห์ กำหนดแผนงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานหรือออกแบบระบบงานที่สามารถควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ โดยคํานึงถึงปัจจัยเสี่ยงทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

ในระหว่างปี 2563 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและสํานักบริหารความเสี่ยงได้จัดให้มีการดําเนินการตามแผนพัฒนากิจกรรมการบริหารความเสี่ยง ดังนี้

1.ทบทวนกฎบัตรกรรมการบริหารความเสี่ยง วัตถุประสงค์ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ คู่มือการบริหารความเสี่ยงและคู่มือการปฏิบัติงานของสำนักบริหารความเสี่ยง

2.กําหนดความเสี่ยงขององค์กร และผู้รับผิดชอบความเสี่ยงตามสายงาน สําหรับแต่ละปัจจัยเสี่ยง ประจําปี 2562/2563 ที่ผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

3.จัดทําแผนสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยงใหม่ ประจําปี 2563/2564 พร้อมทั้งจัดหาแนวทางและมาตรการในการตอบสนองต่อความเสี่ยง

4.ประชุมเตรียมการให้สํานักบริหารความเสี่ยง ลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามแผนสนับสนุนข้างต้น

5.สนับสนุนการจัดทํารายงานสรุปสถานะความเสี่ยง ให้กับผู้รับผิดชอบความเสี่ยงตามสายงานของกลุ่มบริษัททั้ง 7 สถานประกอบการพร้อมสำนักงานใหญ่

6.สรุปรายงานสถานะความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทต่อคณะกรรมการของบริษัท โดยแสดงข้อมูลรายการความเสี่ยงที่คงที่ ความเสี่ยงที่ลดลง และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งสาเหตุอย่างละเอียดเพื่อให้ฝ่ายจัดการนําไปดําเนินการและวางแผนให้เหมาะสม เป็นประจำทุกไตรมาส

7.จัดทำและทบทวนแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ

ด้วยความทุ่มเทและความร่วมมือของบุคลากรทุกส่วน ทำให้ระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทอยู่ในเกณฑ์ที่องค์กรยอมรับได้ และยังสามารถพัฒนาการให้สอดคล้องกับการกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายขององค์กรและส่วนงานต่างๆ อีกด้วย