พล.ต.อ.เสร พ ศ ทธ เตม ยเวช ม ล กเม ยไหม

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง-โยกย้ายตำรวจชั้นนายพลเมื่อ 10 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งมีผลวันนี้ (1 ต.ค.) หนึ่งในรายชื่อที่น่าสนใจ คือ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ หักพาล ที่ปรึกษา (พิเศษ) สบ.9 ได้รับตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)

เส้นทางรับราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ของ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ นับว่าอยู่ในช่วง "ขาขึ้น" อีกครั้งหลัง คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติรับโอน พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา (พิเศษ) สบ.9 เทียบเท่าผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 17 มี.ค. ที่ผ่านมา

สื่อมวลชนสายตำรวจวิเคราะห์ว่า หากไม่มีอะไรสะดุดหรือที่เรียกกันติดปากในวงการสีกากีว่า "รถทัวร์คว่ำ" พล.ต.ท.สุรเชษฐ์จะกลายเป็นอาวุโสอันดับ 1 ในหมู่นายพลตำรวจเอก ในปี 2569 ที่อาจได้ครองเก้าอี้ ผบ.ตร.ยาวนาน 5 ปี

"โจ๊ก หวานเจี๊ยบ" คือ ฉายาที่เขาได้รับจากคนรู้จัก และผู้สื่อข่าวสายตำรวจ เนื่องจากทำได้สารพัดงาน พูดจาสุภาพอ่อนหวาน ยกมือไหว้ได้ทุกคน ท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตน และความใส่ใจในทุกรายละเอียด

นายตำรวจผู้ใหญ่นายหนึ่งบรรยายถึงลักษณะพิเศษของ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ให้บีบีซีไทยฟังว่า หากเขานำของไปอวยพรผู้ใหญ่หรือให้สิ่งของผู้หนึ่งผู้ใด แม้ราคาค่างวดจะไม่ได้มาก เช่น มะม่วง "มะม่วงของโจ๊ก จะมีความโดดเด่นด้วย 'สตอรี' ขณะที่คนอื่นไม่มี"

บีบีซีไทย ย้อนเส้นทางของนายตำรวจที่วันนี้ถูกจับตาและถูกกล่าวขานว่า "แมว 9 ชีวิต"

  • สองปีที่ผกผัน ก่อนนายกฯ ตั้ง "บิ๊กโจ๊ก" กลับเข้ารับราชการตำรวจ
  • ย้อนเส้นทางเติบโต “บิ๊กโจ๊ก” หลังถูกปลดฟ้าผ่า
  • ที่ประชุม ก.ตร. มีมติ ถอด "บิ๊กโจ๊ก" ออกจากอนุกรรมการแล้ว

พล.ต.อ.เสร พ ศ ทธ เตม ยเวช ม ล กเม ยไหม

ที่มาของภาพ, Getty Images

ลูก "ดาบไหว"

พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ เกิดที่จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายดาบตำรวจไสว และนางสุมิตรา หักพาล พ่อของเขาเป็น ผบ. หมู่อยู่หน่วยพลาธิการ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 ที่ครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เขาเล่าให้สื่อฟังเมื่อ 3 ปีก่อนว่า พ่อของเขาขับรถให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 มากว่า 20 คน รวมถึง พล.ต.ท. เสมอ ดามาพงศ์ (พ่อของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร) ที่ให้ความสนใจในความเป็นอยู่ของผู้ใต้บังคับบัญชา ชักชวนไปทำงานในตำแหน่งอื่น หรือหน่วยอื่น แต่พ่อเขาไม่ไป ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข่าวลือว่าลูกชายของดาบไสวเป็น "เด็กในบ้าน" พล.ต.ท. เสมอ

"คุณพ่อผมขับมา 20 ปีแล้ว ก็ยังอยู่ตำแหน่งเดิมที่สงขลา เพราะท่านต้องการอยู่ใกล้ครอบครัว เพราะหากไปอยู่ที่อื่นก็ต้องย้ายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ก็ทำให้พอต่อมา เมื่อผมมารับราชการตำรวจ ก็มีการจับโยงว่า คุณพ่อเคยขับรถให้ท่านผู้บัญชาการ พล.ต.ท. เสมอ ผมก็ต้องเป็นเด็กในบ้าน ซึ่งจริง ๆ แล้วผมไม่ได้ไปใกล้ชิดขนาดนั้น" ไทยโพสต์อ้างคำให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ในรายงานเมื่อ 10 มิ.ย. 2561

สุรเชษฐ์ เก่งทั้งกีฬาและการเรียน เรียนมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ สถานศึกษาชั้นนำของ จ.สงขลา เป็นนักกีฬาเทนนิสฝีมือระดับเยาวชนทีมชาติ กระทั่งเข้าสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 31 ก่อนเข้ารั้วสามพราน โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 47 เป็นผู้หมวดหนุ่มในวัย 23 ปีเศษ โดยเริ่มต้นชีวิตราชการเหมือนนายตำรวจใหม่ทุกคน เป็นพนักงานสอบสวนในนครบาล 2 ปี

เขาไปขึ้นตำแหน่งสารวัตรที่กองวินัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วขึ้นเหนือไปเป็นสารวัตรทางหลวง 4 กองกำกับการ 5 เชียงใหม่ นับเป็น นรต. 47 กลุ่มแรก ๆ ที่ได้ขึ้นสารวัตร ซึ่งเวลานั้นเมื่อครบหลักเกณฑ์แล้วจะได้เลื่อนชั้นกันเพียงไม่กี่คนในปีแรก ตำแหน่งสุดท้ายที่ทางหลวงคือสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 2 กองกำกับการ 3 ชลบุรี ในปี 2545

พล.ต.อ.เสร พ ศ ทธ เตม ยเวช ม ล กเม ยไหม

ที่มาของภาพ, ข่าวสด

ขวากหนามแรก

เห็นได้ว่า 8-9 ปีแรก ชีวิตในยุทธจักรสีกากีของสุรเชษฐ์เป็นไปตามปกติวิสัย ไม่รุ่งโรจน์รวดเร็วแต่ก็ไม่เชื่องช้า ก่อนจะขยับไปทำหน้าที่นายตำรวจราชสำนักประจำหรือ นรป. จนมีโอกาสได้เป็นนายเวรนายตำรวจราชสำนักประจำ ซึ่งในขณะนั้นคือ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี โดยตำแหน่งนี้เทียบเท่ารองผู้กำกับการ

เมื่อ พล.ต.อ. วิเชียรถูกโยกพ้นนายตำรวจราชสำนักประจำมาประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) อย่างเงียบ ๆ หลังรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 สุรเชษฐ์ก็ติดตามมา เมื่อ พล.ต.อ. วิเชียรเคลียร์ปัญหาในอดีตจบสิ้น ได้โอกาสเข้าตำแหน่งเป็นรอง ผบ.ตร. เขาก็ทำหน้าที่ผู้ช่วยนายเวร โดยนายเวร พล.ต.อ. วิเชียรในขณะนั้นเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นพี่ 1 ปี คือ พล.ต.ต. อาชยน ไกรทอง ผู้ที่ต่อมากลายเป็นลูกน้องคู่ใจของสุรเชษฐ์ เพราะเขาผงาดเป็นนายพล และหนีบ พล.ต.ต. อาชยนตามไปเกือบทุกที่ โดยเฉพาะที่ตำรวจท่องเที่ยวและตรวจคนเข้าเมือง

ช่วงอยู่กับ พล.ต.อ. วิเชียร ผู้ต่อมากลายเป็น ผบ.ตร. ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สุรเชษฐ์เริ่มออกจากผู้กำกับประจำสำนักงาน ไปนั่งผู้กำกับการหลายที่ ตำแหน่งที่สำคัญที่เขาอาจจะต้องจำไปชั่วชีวิตก็คือ ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในปี 2552 เพราะเขาเกือบเอาชีวิตราชการไปทิ้งไว้ที่นั่น เพราะถูกนายเขตสยาม เนาวรังสี นักธุรกิจร้านอาหารใน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ร้องเรียนว่าเรียกรับผลประโยชน์ จนถูก พล.ต.อ. วิเชียรสั่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง จนเกือบถูกออกจากราชการ

  • พล.อ. จักรภพ - พล.ต.ต. จิรภพ สองพี่น้องแห่งสกุล "ภูริเดช"
  • พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ สุขวิมล น้องชายเลขาธิการพระราชวัง ผู้คว้าตำแหน่ง ผบช.ก.
  • พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ สุขวิมล: "ไม่เป็นไร... ให้ ตร. เป็นคนชี้แจง"

การต่อสู้ทั้งวินัยและอาญาสิ้นสุดลง สุรเชษฐ์ชนะทุกข้อกล่าวหา และระหว่างสู้คดี ชื่อเสียงของเขาเงียบหายไปเกือบ 2 ปี ก่อนโผล่มีชื่อเป็นผู้กำกับการอำนวยการ 10 กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในเดือน ก.พ. 2554 มาถึงปี 2555 เขาผงาดไปนั่งผู้กำกับการ สภ.หาดใหญ่ จ.สงขลา บ้านเกิด และขึ้นเป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา

พล.ต.อ.เสร พ ศ ทธ เตม ยเวช ม ล กเม ยไหม

ที่มาของภาพ, Getty Images

"โจ๊ก" กับ "ป้อม"

หลังการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 เขาขยับจากรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ขึ้นรักษาการตำแหน่งผู้บังคับการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่ประสานงานนายกรัฐมนตรี เมื่อ 23 ก.ค. 2558 หลังจากนั้น พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ก็ได้กลายเป็นเงาติดตาม พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล ตร. ในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นับเป็นจุดที่ทำให้เขาก้าวกระโดดมาเป็นคนมีชื่อเสียงระดับประเทศ

ภายในเวลา 2 เดือนเศษ สุรเชษฐ์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยวเมื่อเดือน ต.ค. 2558 ขณะนั้นตำรวจท่องเที่ยวยังไม่ถูกยกฐานะเป็นกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยวเหมือนปัจจุบัน เขาจึงเป็น "หมายเลข 1" ของหน่วย ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ ตร. มีแนวคิดยกฐานะตำรวจท่องเที่ยวเป็นกองบัญชาการ มีผู้บังคับหน่วยเป็นผู้บัญชาการยศ พล.ต.ท.

แนวคิดเรื่องยกสถานะกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวเป็นกองบัญชาการ ถูกมองจากคนในวงการตำรวจว่าเป็นการเตรียมไว้รองรับอนาคตของนายพลหนุ่มผู้สามารถตอบสนองงานให้ "นาย" ได้เสมอ

สุรเชษฐ์สร้างผลงานและชื่อเสียงอยู่ที่กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวเพียง 1 ปี ก็ย้ายกลับมาที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อีกครั้ง หลังจากที่เคยสังกัดอยู่ช่วงสั้น ๆ ขณะเป็นรองสารวัตร และผู้กำกับการอำนวยการ 10 กองบังคับการอำนวยการ บช.น. ในปี 2555

กลับมาครั้งนี้ เขาขึ้นชั้นเป็นผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ หรือ 191 อันเลื่องชื่อ และสร้างผลงานด้านการอำนวยการสืบสวนจับกุมได้อย่างโดดเด่นแม้จะอยู่ในตำแหน่งนี้ไม่ถึง 1 ปี จาก 1 ต.ค. 2559-6 ก.ย. 2560 ก่อนที่จะขึ้นรั้งตำแหน่งรักษาการรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว หลังมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่

แม้ไม่ได้เป็นผู้บัญชาการหน่วยคนแรก แต่สุรเชษฐ์ก็ได้ครองตำแหน่งที่นายตำรวจหลายคนหมายปอง เมื่อได้รับการสนับสนุนจาก พล.อ. ประวิตรให้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเมื่อปี 2561

พล.ต.อ.เสร พ ศ ทธ เตม ยเวช ม ล กเม ยไหม

ที่มาของภาพ, Getty Images

ช่วงก้าวหน้าพุ่งแรง หลายคนคาดว่าคงไม่มีอะไรหยุดยั้งสุรเชษฐ์ได้อีกแล้ว เพราะผลงานทั้งในและนอกหน้าที่อยู่ในระดับ "ท็อปฟอร์ม" โชว์งานด้านการปราบปรามอาชญากรรม ออกสื่อไม่เว้นวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปมกู้นอกกฎหมาย นำคืนโฉนดที่ดิน

เวลาลงพื้นที่พบปะประชาชน สุรเชษฐ์มักได้รับผ้าขาวม้าที่ประชาชนนำมาคาดเอวจนเต็ม เป็นเครื่องการันตีความโด่งดังและเป็นขวัญใจผู้คนในระดับรากหญ้า

ท่ามกลางงานหลายหน้าอันโดดเด่น บริวารต่างวิ่งเข้าหานบนอบ บัญชีแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจทั่วประเทศตั้งแต่สารวัตรยันนายพลใหญ่ ถูกอ้างว่าต้องผ่าน "บิ๊กโจ๊ก" จนเกิดข้อครหา "มารขาว-มารดำ" คือผู้จัดทำบัญชี แม้จะไม่ได้มีชื่อท้ายบัญชีแต่งตั้งโยกย้าย แต่คนที่ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์การันตี เกือบทั้งหมดสมหวัง

สื่อมวลชนสายตำรวจรายงานว่า บางครั้งสุรเชษฐ์ต้องการมือบริหารจัดการงานในหน้าที่ เขาต่อโทรศัพท์หานายตำรวจที่ไม่รู้จักส่วนตัวมาก่อน พร้อมข้อเสนอที่ไม่อาจปฏิเสธได้ "พี่มาทำงานกับผม เดี๋ยวผมให้พี่เป็นรองผู้การ" ซึ่งครั้งนั้น สุรเชษฐ์ทำได้ตามสัญญา โดยไม่ปรากฏว่าเขาเรียกรับผลประโยชน์อื่นใด ที่ผู้คนนำไปร่ำลือ

ช่วงรุ่งเรืองของสุรเชษฐ์ เขาถูกนำไปเปรียบเทียบกับ พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ในขณะนั้น รวมไปถึงนายตำรวจคนอื่น ๆ ใน ตร. จนเกิดตำนาน "เสือหนุ่มกับสิงห์เฒ่า"

พล.ต.อ.เสร พ ศ ทธ เตม ยเวช ม ล กเม ยไหม

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang/BBCThai

คำบรรยายภาพ,

พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา บอกว่า "ผมอดพูดมา 7 วัน ทำงานอย่างเดียว คดีระเบิดจับยากที่สุด เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล"

"ฟ้าผ่า" ที่ สวนพลู

ช่วงเวลาหอมหวาน ในตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ก็แสนสั้น 6 เดือนกับอีกไม่กี่วัน 5 เม.ย. 2562 สุรเชษฐ์ ก็โดนคำสั่งของ พล.ต.อ.จักรทิพย์ สั่งย้ายเขาไปประจำ ตร.โดยให้ขาดตำแหน่งเดิม อีก 4 วันต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 โอนเขาไปเป็นที่ปรึกษาพิเศษ ประจำปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และถูกขึ้นบัญชีบุคคลต้องได้รับการตรวจสอบจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

ช่วงเวลานี้มีคำร่ำลือเกิดขึ้นมากมายกับตัวเขา เพราะบัญชีสื่อออนไลน์ที่เคยเคลื่อนไหวถูกปิดไปจนสิ้น บ้านพักและเซฟเฮาส์ส่วนตัวหลายแห่งถูกค้นกระจุย เงินสดหลายร้อยล้านถูกอายัดไปตรวจสอบ หนักไปถึงขั้น ความผิดพลาดครั้งนี้ อาจหนักถูกไล่ออกจากราชการ หนักไปกว่านั้น "อาจถึงตาย" แต่ทุกอย่างก็ไม่หนักถึงปานนั้น เพราะข้อกล่าวหาหลายข้อได้รับการปกป้องและแสดงให้เห็นว่า สุรเชษฐ์ ได้ทำอะไรที่เป็น "คุณ" ไปบ้าง ขณะรุ่งโรจน์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

สุรเชษฐ์ ใช้ชีวิตเงียบ ๆ ในชีวิตข้าราชการพลเรือนไปถึง 2 ปีเต็ม ท่ามกลางกระแสข่าวเขาพยายามทุกวิถีทางจะโอนกลับไปรับราชการตำรวจอีกครั้งให้ได้ เพราะอายุราชการยังยาวไกลไปถึงปี 2574 เข้าหา "ผู้ใหญ่" เพื่อให้คำอธิษฐานนั้นเป็นจริง เขาเดินสายทำบุญตามวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่การปล่อยสัตว์ พร้อมคำขออธิษฐานที่ถูกนำเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

"อยากกลับไปเป็นตำรวจเหมือนเดิม แต่เราเลือกไม่ได้ ถ้าจะอยู่สำนักนายกรัฐมนตรีจนเกษียณอายุราชการก็ไม่เป็นไร ปัจจุบันมีงานอะไรที่ต้นสังกัดมอบหมายก็ทำหมด ไม่เคยเกี่ยงงอน ไม่สร้างปัญหา.." เขาให้สัมภาษณ์นิตยสาร COPS เมื่อ 3 ม.ค. 2564

สุรเชษฐ์ บอกกับนิตยสารฉบับนี้ด้วยว่า "ผมมาไกลมากแล้ว ผมลูกนายดาบ ผมมาได้เป็นถึงพลตำรวจโท ก็เป็นบุญของผมแล้ว ผมไม่ได้คิดเยอะ ...เมื่อก่อนมีคนแนะนำเรื่อยแหละ ว่า โจ๊ก อายุยังน้อยอยู่ ไม่ต้องไปทำงานเยอะ เก็บเนื้อเก็บตัวไว้ ทำงานเยอะ เดี๋ยวจะเจ็บตัว แล้วจะได้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ"

แม้จะหวนคืนถ้ำเสือ ได้เมื่อกลางปี ด้วยการโอนกลับไปเป็นที่ปรึกษา สบ 9 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เทียบผู้ช่วย ผบ.ตร.ที่เปิดเป็นตำแหน่งเฉพาะตัวให้สุรเชษฐ์ หลังเขายื่นฟ้องนายกรัฐมนตรีที่ออกคำสั่งโยกย้าย แม้ศาลปกครองจะยกฟ้อง เพราะฟ้องผิดขั้นตอนที่กฎหมายปกครองกำหนดไว้ก็ตาม

พล.ต.อ.เสร พ ศ ทธ เตม ยเวช ม ล กเม ยไหม

ที่มาของภาพ, .

จาก 1 ต.ค. 2564

ตั้งแต่ 1 ต.ค. พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ กลับมาผงาดอีกครั้งในตำแหน่งหลักผู้ช่วย ผบ.ตร. แต่บทบาทอาจไม่เปรี้ยงปร้างเหมือนเดิม เพราะบทเรียนหลายครั้งสำคัญ เหมือนเพิ่งเกิดขึ้นไปไม่กี่วัน ยังอยู่ในความทรงจำ

ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา เขาเป็นเพียงนายตำรวจคนเดียวที่อายุราชการเหลือถึง 10 ปี แต่ก้าวมาถึงผู้ช่วย ผบ.ตร.ที่สำคัญ ยังครองอาวุโสลำดับ 4 ที่มีโอกาสเป็น รอง ผบ.ตร. ในปี 2565 เพราะการเลื่อนเป็นไปตามลำดับอาวุโส และตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.จะว่างลงถึง 5 ตำแหน่ง จากการเกษียณของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข และ รอง ผบ.ตร.อีก 4 คน คือ พล.ต.อ.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ พล.ต.อ.มนู เมฆหมอก พล.ต.อ.ปิยะ อุทาโย และ พล.ต.อ.ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร

คนที่ขึ้นพร้อมเขา 5 คนในปีหน้า ผู้อาวุโสกว่าคือ พล.ต.ท.ชินภัทร สารสิน จะเกษียณในปี 2566 พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ปี 2568 พล.ต.ท.สราวุธ การพานิช ปี 2567 ขณะที่อาวุโสลำดับ 5 คือ พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง เกษียณปี 2566 หากจะมีดาวรุ่งขอชิงแซงขึ้น รอง ผบ.ตร.พร้อมกับ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ เพื่อไปวัดท้าชิง ผบ.ตร. หลังปี 2567 ทั้ง พล.ต.ท.ธนา ชูวงษ์ ก็จะไปเกษียณปี 2569 หรือแม้กระทั่ง พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้แนบแน่นกับตระกูล "วงษ์สุวรรณ" มาเนิ่นนาน ก็จะเกษียนในปี 2568 ซึ่งล้วนแต่เกษียณอายุราชการก่อน สุรเชษฐ์ ขณะที่พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ที่เชื่อว่าจะเร่งขึ้น รอง ผบ.ตร.ในปี 2565 ก็จะไปเกษียณในปี 2567

นั่นหมายความว่า บนขบวนรถเดียวกัน พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ไม่ต้องทำอะไรมาก สถานีสุดท้ายปลายทางที่มีเก้าอี้ ผบ.ตร.เป็นเดิมพัน เขาเป็นเพียงคนเดียวที่มีสิทธิ์เดินทางไปถึง ในปี 2569 จึงเป็นปีที่น่าจับตามากที่สุดว่า เขาจะวางบทบาทและถนอมเนื้อ รักษาตัวอย่างไร เพื่อให้ได้เป็น ผบ.ตร.ในวัย 55 ปี ยาวไปจนถึง 2574 ทำสถิติ เท่าพล.ต.อ.จักรทิพย์ ที่ทำไว้ 5 ปีเต็ม

พล.ต.อ.เสร พ ศ ทธ เตม ยเวช ม ล กเม ยไหม

ที่มาของภาพ, ข่าวสด

สิบปีที่เหลือกับเส้นทางสู่เก้าอี้ ผบ.ตร. ยังมีขวากหนามคอยขวางกั้น เพราะไม่ทันขยับตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา พ.ต.อ.กฤษณะพงศ์ กัญจน์ชัยกิจ รองผู้บังคับการกองร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ได้ยื่นหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขอให้ทำการทบทวนสำนวนการสืบข้อเท็จจริง คดีเรียกรับเงินจากนายเขตสยาม เมื่อ 12 ปีก่อน

นายพันตำรวจเอกผู้นี้อ้างว่า พบหลักฐานการบังคับขู่เข็ญ ให้คำมั่นสัญญากระทำมิชอบด้วยประการใด ๆ ต่อพยานหลักฐาน รายนายเขตสยาม และให้ตรวจสอบการเสียชีวิตของนายเขตสยาม ในประเด็นพิรุธข้อสงสัย หลังกลุ่มชายฉกรรจ์ พาตัวนายเขตสยาม มาเบิกความต่อศาลอาญาในกลางเดือนมีนาคม 2558 พร้อมแนบภาพถ่ายมีตำรวจที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีและไม่ใช่เจ้าหน้าที่คุ้มครองพยาน คอยดูแลควบคุมไว้ตลอดเวลาขณะอยู่หน้าบัลลังค์ศาลอาญา ซึ่งนายเขตสยามได้กลับคำให้การ ต่อมา 26 พ.ค. ปีเดียวกัน นายเขตสยามได้เสียชีวิตลง และการเบิกความอาจเกิดจากการขู่เข็ญ