ก พ ไมค ไม ม ประมาณและเม อม งม มากมาย

ตามประกาศรับสมัครส่วนมากจะรับสมัครสอบอยู่ 3 ประเภทครับ คือ ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ข้าราชการ ส่วนมาก จะบังคับต้องสอบผ่านภาค ก. (ความรู้ความสามารถทั่วไป) ของ ก.พ. มาก่อน ถึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) และ ค. (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง) แต่ทั้งนี้ ข้าราชการเอง ก็มีหลายประเภท ทั้ง ขรก.พลเรือน, ขรก.กทม., ขรก.ท้องถิ่น, ขรก.รัฐสภา, ขรก.ครู, ขรก.ศาลฯ, ขรก.ตำรวจ ฯลฯ ข้าราชการบางประเภทไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก. ของ ก.พ. เช่น ข้าราชการทหาร/ตำรวจ แต่ถึงอย่างไรก็จะมีการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปที่คล้ายๆ ภาค ก. ของ ก.พ. อยู่ดี ข้าราชการบางประเภทจะมีการสอบ ภาค ก. ของตัวเอง เช่น กทม., ท้องถิ่น, ศาล, ครู ฯลฯ จะไม่ใช้ ภาค ก. ของ ก.พ. ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญ (ข้าราชการที่สังกัด กระทรวง กรม ฯลฯ ต่างๆ) จะใช้ผลสอบภาค ก. ของ ก.พ. ครับ แต่จะมีข้าราชการส่วนน้อยมากๆอยู่เหมือนกันที่บรรจุแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ ไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก. เช่นในกรณี บรรจุในสาขาขาดแคลน, บรรจุด้วยสัญญาผูกพักกับราชการ ฯลฯ ซึ่งกรณีนี้หายากมากครับ ข้าราชการมีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง มีฐานเงินเดือนปัจจุบันก่อนปรับ 4% ในรัฐบาล คสช. ตามนี้ครับ ระดับ ปวส. 11,500 บาท/เดือน ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน ระดับปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน ระดับปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน บางตำแหน่งในทุกส่วนราชการ อาจะจะมีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ เช่น นิติกร ได้รับ 3,000 - 6,000 บาท แล้วแต่ระดับ ตามเงื่อนไขที่กำหนด http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/salary/w2-2554.pdf บางองค์กร อาจจะมีเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษ หรือที่เรียกอย่างอื่นให้ เช่น ศาล, ปปช., กรมสอบสวนคดีพิเศษ, รัฐสภา ฯลฯ ทำให้รายรับรวมจะมากกว่าข้าราชการบางกลุ่มครับ เช่น พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ เงินเดือน 15,000 + ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับตำแหน่ง 7,000 + เงินส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการที่ดีของข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง 6,000 รวม พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ ทำงานครบ 1 ปี รวมรายรับ/เดือน 28,000 บาท http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1681.pdf http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1682.pdf ข้อมูล เปรียบเทียบเงินเพิ่มพิเศษ, เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ http://www.vichakankunapab.com/forum/index.php?topic=81.0 ทั้งนี้ข้าราชการถือเป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของสายงานราชการ หากคิดจะเอาดีทางสายงานราชการ ต้องเป็นข้าราชการให้ได้ครับ

พนักงานราชการ ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก็สามารถสมัครสอบภาค ข. ได้ พนักงานราชการ เป็นลูกจ้างสัญญาจ้าง โดยจะเป็นฝ่ายสนับสนุนข้าราชการเท่านั้น ไม่มีการสั่งสมประสบการณ์เพื่อเลื่อนขั้น เทียบได้เป็นทหารที่ไม่มียศ (ข้าราชการจะเทียบเท่าชั้นยศทหารตั้งแต่ สิบตรี - พลเอก) เป็นลูกน้องข้าราชการตลอดอายุงาน เงินเดือนขึ้นปีละ 1 ครั้ง ไม่มีสิทธิสวัสดิการใดๆทั้งสิ้น ใช้ระบบประกันสังคม (ด้อยกว่านายสิบที่เป็นข้าราชการทหารอีกครับ) ต่อสัญญาจ้างไม่เกินคราวละ 4 ปี มีความมั่นคงพอสมควร แต่ก็แล้วแต่ผู้บริหารด้วย โดยหน่วยงานสามารถไล่เราออกอย่างถูกต้องตามสัญญาได้โดยการไม่ต่อสัญญา (กรณีนี้มีน้อยครับ) ไม่สามารถเลื่อนเป็นข้าราชการจากตำแหน่งพนักงานราชการได้ หากจะเป็นข้าราชการต้องสอบบรรจุใหม่ ฐานเงินเดือนพนักงานราชการจะสูงกว่าข้าราชการ ดังนี้ครับ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557) ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557 (ยังไม่รวม 4% รัฐบาล คสช.) วุฒิ ปวช. 11,280 บาท วุฒิ ปวส. 13,800 บาท วุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี บริหารทั่วไป 18,000 บ. วุฒิปริญญาโท บริหารทั่วไป 21,000 บ. วุฒิปริญญาเอก บริหารทั่วไป 25,200 บ. http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/GEIS/PrakardSalary6.pdf

ต่อ คห. ถัดไป

อาณาจักรสัตว์

เมื่อ :

วันจันทร์, 22 กุมภาพันธ์ 2564

อาณาจักรสัตว์ (1)

อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia หรือ Metazoa) ปัจจุบันอาณาจักรสัตว์จัดเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ บางพวกเซลล์ยังไม่รวมกลุ่มเป็นเนื้อเยื่อ เช่น พวกฟองน้ำ สิ่งที่เหมือนกันในกลุ่มสัตว์ คือ เป็นพวกเฮเทอโรโทรปซึ่งไม่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตัวเอง (Heterotrophic Organism) หรือในแง่ของนิเวศวิทยาจัดสัตว์ไว้ในกลุ่มผู้บริโภค (Consumer) ต้องได้อาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวเพื่อรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดี

ก พ ไมค ไม ม ประมาณและเม อม งม มากมาย

ภาพที่ 1 ความหลากหลายของอาณาจักรสัตว์ ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ea/Animal_diversity.jpg, MathKnight

กำเนิดของสัตว์อาณาจักรสัตว์ การศึกษาเสนอว่าบรรพบุรุษของสัตว์มีวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษของฟังใจ โดยบรรพบุรุษร่วมอาจมีลักษณะคล้ายโคแอนโนแฟลเจลเลต (Choanoflagellate) ในปัจจุบัน แต่หลักฐานแรกทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่ยอมรับได้มีลักษณะคล้ายสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) พบซากดึกดำบรรพ์มากขึ้นในต่อ ๆ มาซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของสัตว์อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีแก๊สออกซิเจนมากพอที่สัตว์ใช้ในการดำรงชีวิต ทำให้สัตว์ต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด

ลักษณะของสัตว์ โดยทั่วไปเราสามารถแยกสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์ได้โดยใช้ลักษณะดังต่อไปนี้

  1. เป็นเซลล์ชนิดยูคาริโอต (Eucaryotic Cell)
  2. เป็นผู้บริโภคตลอดชีวิตเพราะสังเคราะห์อาหารเองไม่ได้
  3. มีหลายเซลล์ (Multicellular) บางพวกยังไม่มีเนื้อเยื่อแต่ส่วนใหญ่หลายเซลล์รวมกันเป็นเนื้อเยื่อเป็นอวัยวะ และเป็นระบบอวัยวะ
  4. การเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ตอบสนองสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็ว บางชนิดอาจมีการเคลื่อนที่บางช่วงของชีวิต เช่น ฟองน้ำ ในระยะเป็นตัวอ่อนจึงจะมีการเคลื่อนที่

ลักษณะต่าง ๆ ที่ใช้แยกกลุ่มของสัตว์

  1. ลักษณะโครงสร้างภายนอก หากมีลักษณะเหมือน ๆ กันจัดไว้กลุ่มเดียวกัน
  2. เนื้อเยื่อสัตว์ บางชนิดยังไม่แยกเนื้อเยื่อออกเป็นชั้น ๆ เช่น ฟองน้ำสัตว์ บางพวกมีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น (Diploblastic) บางพวกมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastic)

พวกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้โดยใช้ช่องว่างลำตัว (Coelom; coel =ช่องว่าง)

ก. พวกที่ไม่มีช่องว่างในลำตัว (Acoelomate) คือ ไม่มีช่องว่างในชั้นของเนื้อเยื่อหรือระหว่างชั้นของเนื้อเยื่อ ได้แก่ หนอนตัวแบน

ข. พวกที่มีช่องว่างเทียมในลำตัว (Pseudocoelomate; pseudo = เทียม) คือ ช่องว่างที่ไม่ได้อยู่ในเนื้อเยื่อชั้นกลาง (Mesoderm) ช่องว่างนั้นอาจอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm) กับเนื้อเยื่อชั้นกลาง หรืออยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นกลางกับเนื้อเยื่อชั้นใน (Endoderm) สัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ หนอนตัวกลม บางพวกมีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ได้แก่ หนอนตัวกลม โรติเฟอร์ (Rotifer)

ค. พวกที่มีช่องว่างที่แท้จริง (Coelomate) หมายถึง สัตว์ที่มีช่องว่างอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm) ได้แก่ กุ้ง ปู แมลง หอย ไส้เดือนดิน และสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นต้น

  1. สมมาตร (Symmetry) การแบ่ง 2 ซีกที่มีลักษณะเหมือนกันเรียกว่า สมมาตร แบ่งได้ 2 ชนิด คือ

ก. สมมาตรแบบครึ่งซีกหรือแบบด้านข้าง (Bilateral Symmetry) สัตว์พวกนี้ผ่าได้ในแนวเดียวเท่านั้น ที่ให้ซีกซ้ายและซีกขวาเหมือนกัน พบใน ไส้เดือนดิน หอย สัตว์ที่มีขาเป็นปล้อง (Arthropod) หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน และสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด

ข. สมมาตรแบบรัศมี (Radial Symmetry) แบ่งตามรัศมีแล้วได้สมมาตรทุกครั้ง สัตว์เหล่านี้จะมีรูปโคน (Cone Shape) หรือรูปกรวยหรือรูปจาน ได้แก่ แมงกะพรุน ไฮดรา หวีวุ้น

  1. โครงร่างแข็งหรือกระดูก (skeleton) บางชนิดมีโครงร่างแข็งอยู่นอกร่างกาย (Exoskeleton) เช่น กุ้ง ปู บางชนิดมีโครงร่างแข็งอยู่ภายในร่างกาย (Endoskeleton) เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง
  2. การมีปล้อง (Segmentation) ที่เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลางสัตว์ที่ไม่มีปล้อง ได้แก่ ฟองน้ำแมงกะพรุน เป็นต้น ส่วนสัตว์ที่มีปล้อง ได้แก่ ไส้เดือนดิน อาร์โทรพอด (Arthropod) คอร์เดท (Chordate)
  3. ทางเดินอาหาร ทางเดินอาหารของสัตว์สามารถใช้เป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่มสัตว์ได้

ก. ใช้ช่องทางเดินน้ำแทนทางเดินอาหาร (Spongocoel) พบในฟองน้ำ

ข. ทางเดินอาหารที่มีทางเข้าออกทางเดียวกันช่องว่างนี้เรียกว่าช่องแกสโตรวาสคูลาร์ (Gastrovascular Cavity) ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ลำเลียง หายใจ และขับถ่าย ได้แก่ ไฮดรา ปะการัง แมงกะพรุน

ค. ทางเดินอาหารชนิดสมบูรณ์มีทางเข้าทางหนึ่งและทางออกอีกทางหนึ่ง ทำหน้าที่ย่อยอาหารอย่างเดียว ส่วนใหญ่พบในสัตว์ที่มีสมมาตรชนิดครึ่งซีก ยกเว้นหนอนตัวแบน

  1. การสืบพันธุ์ มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในสัตว์ชั้นต่ำ เช่น ฟองน้ำ ไฮดรา แมงกะพรุน ในสัตว์ชั้นสูงจะมีการสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
  2. การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์ (Blastopore) บลาสโทพอร์ที่เกิดในระยะแกสตรูลา (Gastrula) ของตัวอ่อน จะมีการเปลี่ยนแปลง 2 แบบ คือ แบบโพรโทสโทเมีย (Protostomia) คือพวกที่บลาสโทพอร์เจริญไปเป็นปาก และแบบดิวเทอโรสโทเมีย (deuterostomia) คือพวกที่บลาสโทพอร์เจริญไปเป็นทวารหนัก
  3. การเจริญในระยะตัวอ่อน ในสัตว์พวกโพรโทสโทเมียมีการเจริญของตัวอ่อน 2 แบบ คือ แบบที่มีตัวอ่อน (Larva) ระยะโทรโคฟอร์ (Trochophore) เรียกว่าพวกโลโฟโทรโคซัว (Lophotrochozoa) และกลุ่มที่มีการลอกคราบ (Ecdysis) ระหว่างการเจริญเติบโต เรียกว่าพวกเอกไดโซซัว (Ecdysozoa)

นักชีววิทยาเชื่อว่าสัตว์ต่าง ๆ มีวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เดียว ปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้ถึง 9 ไฟลัม ดังนี้

  1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera) ได้แก่ ฟองน้ำ (Sponges)
  2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Coelenterata) หรือไนดาเรีย (Cnidaria) เช่น ไฮดรา แมงกะพรุน กัลปังหา ปะการัง เป็นต้น
  3. ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส (Platyhelminthes) เช่น พลานาเรีย พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ เป็นต้น
  4. ไฟลัมนีมาเทลมินทิส (Nemathelminthes) หรือนีมาโทดา (Nematoda) เช่น หนอนตัวกลมชนิดต่าง ๆ พยาธิแส้ม้า พยาธิปากขอ พยาธิโรคเท้าช้าง เป็นต้น
  5. ไฟลัมแอนเนลิดา (Annelida) เช่น ไส้เดือนดิน ปลิง ทากดูดเลือด แม่เพรียง เป็นต้น
  6. ไฟลัมมอลลัสคา (Mollusca) เช่น หมึก หอยฝาเดียว หอยสองฝา ลิ่นทะเล เป็นต้น
  7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Arthropoda) ได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ กุ้ง ปู แมงมุม แมงดาทะเล หมัด เห็บ เพรียงหิน กิ้งกือ ตะขาบ เป็นต้น
  8. ไฟลัมเอไดโนเดอร์มาตา (Echinodermata) เช่น ดาวทะเล เม่นทะเล ปลิงทะเล พลับพลึงทะเล อีแปะทะเล (เหรียญทะเล) เป็นต้น
  9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Chordata) ได้แก่ เพรียงหัวหอม และสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดต่าง ๆ

แหล่งที่มา

ปรีชา สุวรรณพินิจ และนงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. (2556). High School Biology ชีววิทยา ม.4-6 เล่ม 5 (รายวิชาเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

พจน์ แสงมณี. (2552). Compact ชีววิทยา ม.6 เล่ม 5. กรุงเทพฯ: แม็ค.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.

ต้องได้กี่คะแนนถึงจะผ่าน กพ

วิชาความสามารถในการวิเคราะห์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน เกณฑ์สอบผ่าน 60% หมายความว่าต้องได้คะแนน ตั้งแต่ 60.00 คะแนนขึ้นไป (หรือ 30 ข้อจาก 50 ข้อ) จึงจะผ่าน วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี คะแนนเต็ม 50 คะแนน เกณฑ์สอบผ่าน 60% หมายความว่าต้องได้คะแนน ตั้งแต่ 30.00 คะแนนขึ้นไป (หรือ 15 ข้อจาก 25 ข้อ) จึงจะผ่าน

สอบกพ. ใช้เวลากี่ชม.

สอบก.พ.ใช้เวลากี่ชั่วโมง? ข้อสอบ ก.พ. มีทั้งหมด(รวม 3 วิชา) 100 ข้อ มีเวลาในการทำข้อสอบทั้งหมด 3 ชั่วโมง เฉลี่ยข้อละ 1.8 นาทีหรือ 1 นาทีกับอีก 48 วินาที

ค่า สมัคร สอบ ก พ 66 กี่ บาท

– ค่าสมัคร 100฿/วิชา – สมัครสอบ 1-10 ก.พ. 66 (ระบบกระดาษเท่านั้น/เลือกสนามสอบได้ไม่เกิน 5 ลำดับ) น้องๆ สามารถดู Blueprint ของแต่ละวิชาได้ >>ที่นี่<<

สมัครสอบกพต้องใช้วุฒิอะไร

คุณสมบัติของผู้เข้าสอบ สำนักงาน ก.พ. จะรับสมัครสอบทั้งผู้ที่จบการศึกษาและผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้าย โดยมีระดับวุฒิการศึกษา ดังนี้ ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)