การล างข อม ลในโทรศ พท ม อถ อท ถ กขโมย

เผยแพร่: 6 ก.พ. 2552 16:37 โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

บก.น.3 รวบ 3 โจรซื่อบื้อ คนงานโรงงานกระจกลักมือถือจากร้านย่านลาดกระบัง แต่ดันใช้เพื่อนเอาโทรศัพท์ที่ขโมยมาไปขายร้านเดิมที่ขโมยมา ทางร้านตรวจพบเป็นมือถือที่หายไป แจ้งความจับขยายผลตามรวบตัวการ ตรวจค้นพบโทรศัพท์ของกลางอีก 46 เครื่อง รับสารภาพขับรถผ่านร้านดังกล่าวเป็นประจำเห็นแล้วอยากได้จึงลงมือทำ

วันนี้ (6 ก.พ.) เมื่อเวลา 13.00 น.ที่ บก.น.3 พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.3 พ.ต.อ.มานัส ศัตรูลี้ รอง ผบก.น.3 พ.ต.อ.ธนกฤช โภควานิช รอง ผบก.น.3 พ.ต.อ.สมบูรณ์ พุทธพงศ์ รอง ผบก.น.3 พ.ต.อ.สุรัศมิ์ อุดมรัตน์ รอง ผบก.น.3 พ.ต.อ.สมชาย เชยเกลิ่น ผกก.สน.ลาดกระบัง ร่วมกันแถลงข่าวจับกุม นายเอกมล จันทะปิตตา อายุ 27 ปี นายสิทธิพร คุณโพธิ์ อายุ 21 ปี นายมาโนช ช่างบรรจง อายุ 25 ปี พร้อมของกลางโทรศัพท์มือถือยี่ห้อต่างๆ จำนวน 49 เครื่อง

พล.ต.ต.วิชัย เปิดเผยว่า การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อเวลาประมาณ 22.00 น.วันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมาได้มีคนร้ายงัดแงะร้านแทน เทเลคอม ซอยลาดกระบัง 14 แขวงและเขตลาดกระบัง ก่อนขโมยโทรศัพท์มือถือยี่ห้อต่างๆ ไปจำนวน 80 เครื่อง จากนั้นในช่วง 19.00 น.วานนี้ (5 ก.พ.) นายเอกมล กับนายสิทธิพร สองคนงานโรงงานกระจกย่านประเวศก็นำโทรศัพท์มือถือ จำนวนหลายเครื่องมาเสนอขายให้ที่ร้านแทนเทเลคอม เมื่อพนักงานในร้านตรวจสอบก็พบว่า มีโทรศัพท์ของทางร้านที่ถูกขโมยหายไปอยู่ในนั้นด้วย 3 เครื่อง จึงแจ้งตำรวจมาตรวจสอบ พร้อมทั้งเชิญตัวมาสอบสวน

เบื้องต้นทั้งสองคนรับสารภาพว่า โทรศัพท์ดังกล่าวได้มาจากนายมาโนช เพื่อนร่วมงานที่บริษัท เจ้าหน้าที่จึงนำกำลังเข้าตรวจสอบภายในบ้านของนายมาโนชก็พบโทรศัพท์ของกลางจำนวน 46 เครื่อง ซุกซ่อนอยู่ในภายในบ้าน จึงยึดไว้เป็นของกลาง พร้อมควบคุมตัวนายมาโนช มาสอบสวน โดยเจ้าตัวรับสารภาพว่าก่อนหน้านี้เคยนั่งรถบรรทุกขนกระจกไปส่งลูกค้า และผ่านร้านแทน เทเลคอม เป็นประจำ ก็เกิดความคิดอยากจะเข้าไปขโมยโทรศัพท์มือืถอในร้านดังกล่าวขึ้นมา

นายมาโนช ให้การต่อว่า ก่อนเกิดเหตุ 2-3 วัน ตนก็ทำทีเอาโทรศัพท์ไปจำนำที่ร้านดังกล่าวเพื่อดูลาดเลา จากนั้นในวันที่ 4 ก.พ.ช่วงเวลาประมาณ 22.00 น. ตนก็ขี่รถจักรยานยนต์ย้อนกลับไปที่ร้านขายโทรศัพท์ โดยพบว่าข้างร้านโทรศัพท์เป็นร้านขายรถจักรยานยนต์มีกำแพงเตี้ย ตนจึงปีนขึ้นไปบนหลังคา แล้วเปิดแผ่นยิปซัมเพื่อเข้าร้านโทรศัพท์ จากนั้นก็ลักเอาโทรศัพท์มา 80 เครื่อง แล้วมาให้นายเอกมลกับนายสิทธิพรนำไปขาย แต่ทั้งสองคนกลับนำมาขายให้ที่ร้านแทน เทเลคอม ที่ตนเข้าขโมยมาจนทำให้ถูกตำรวจจับได้ดังกล่าว

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหารับของโจรต่อ นายเอกมล และนายสิทธิพร พร้อมทั้งแจ้งข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืนกับนายมาโนช ก่อนส่งตัวให้ พนักงานสอบสวน สน.ลาดกระบัง ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

พล.ต.ต.วิชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.มีนบุรี ยังสามารถจับกุมนายจรูญ ทวงสูง อายุ 45 ปี อยู่บ้านเลขที่ 99 หมู่ 2 ต.โพนบก อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พร้อมของกลาง ยาบ้า 37 เม็ด เครื่องกระสุนปืนขนาด 5.56 มม.จำนวน 37 นัด ซองกระสุนปืนเอ็ม 16 ขนาดบรรจุ 20 นัด จำนวน 3 ซอง กล่องเหล็กสำหรับบรรจุกระสุน 1 กล่อง เครื่องเก็บเสียงสำหรับใช้กับอาวุธปืน 1 อัน และเสื้อเกาะกันกระสุน 1 ตัว โดยสามารถจับกุมได้ที่โกดังไม่มีเลขที่หลังปั๊มแก๊ส ปตท.บริเวณถนนร่มเกล้า แขวงและเขตมีนบุรี กทม.เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 3 ก.พ.52

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่สืบทราบได้ว่า ผู้ต้องหาเป็นเครือข่ายยาเสพติดของนายวันชัย หรือเลาะมาน วงศ์อารี ซึ่งถูกจับกุมไปก่อนหน้านี้ จึงติดตามจับกุมผู้ต้องหาได้ดังกล่าว เบื้องต้นได้แจ้งข้อหามียาบ้าไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเครื่องยุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนส่ง พนักงานสอบสวน สน.มีนบุรี ดำเนินคดีต่อไป

อย่างไรก็ตาม การประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA อย่างเป็นทางการ เป็นผลให้เจ้าของรูปภาพในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างครอบคลุม

และเพื่อให้เราสามารถเข้าใจการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามกฎหมายได้ดียิ่งขึ้น บทความนี้จึงได้รวบรวมสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลว่ามีอะไรบ้างตามกฎหมาย รวมถึงวิธีการรับมือสำหรับกรณีที่มีผู้ไม่ประสงค์ดีนำรูปของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนจะมีขั้นตอนอะไรบ้างนั้นต้องติดตาม

PDPA ให้สิทธิในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเราอย่างไรบ้าง ?

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือที่เรียกกันว่า PDPA จะให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป โดยหลัก ๆ จะมี ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลทางการแพทย์ รวมไปถึงรูปถ่ายด้วยเช่นกัน โดยในรายละเอียดของกฎหมาย PDPA ระบุไว้ว่า เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิต่าง ๆ ดังนี้

  • สิทธิในการถอนความยินยอม ในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้
  • สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด
  • สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิขอให้ลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
  • สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิในการร้องเรียน

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าข้อมูลส่วนบุคคลได้ ที่นี่

สิ่งที่ต้องทำเมื่อมีผู้ไม่ประสงค์ดีนำรูปของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

หากมีใครนำรูปของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เราสามารถดำเนินการตามสิทธิที่ได้กล่าวมาข้างต้น และสามารถแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย PDPA มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีโทษสูงสุด คือ จำคุก 1 ปี ปรับ 3 ล้านบาท จ่ายค่าเสียหาย 2 เท่า โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

ติดต่อผู้ที่นำรูปของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ขั้นตอนแรกที่ต้องดำเนินการ หากบังเอิญพบเห็นหรือได้รับการแจ้งว่ามีบุคคลอื่นนำรูปของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต คือ ติดต่อไปยังผู้ที่นำรูปของเราไปใช้ เพื่อแจ้งสิทธิของเรา ไม่ว่าจะเป็นการขอให้ระงับใช้ ลบ และทำลาย รูปของเราที่ผู้อื่นนำไปเผยแพร่ โดยสามารถบอกให้เขาดำเนินการได้เลยทันที

แคปเจอร์หน้าจอ หรือบันทึกภาพ

เมื่อแจ้งสิทธิของเราแก่ผู้ที่นำรูปของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเรียบร้อยแล้ว ให้เราแคปเจอร์หน้าจอ หรือบันทึกภาพของเราที่ไปปรากฏบนเพจ เว็บไซต์ หรือสื่อออนไลน์อื่น ๆ ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการแจ้งความดำเนินคดี

สามารถแจ้งความได้ทุกท้องที่

สำหรับกรณีที่มีการนำรูปไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตสามารถแจ้งความที่ท้องที่ไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นท้องที่ของผู้ก่อเหตุ ดังนั้นจึงสบายใจได้ว่าถึงเราจะไม่รู้ที่อยู่แน่ชัดของผู้ก่อเหตุ แต่เราก็ยังสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้เช่นกัน

มีหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของรูปที่แท้จริง

สิ่งสำคัญในการแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่นำรูปไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต คือเราต้องมีหลักฐานความเป็นเจ้าของรูปที่แท้จริงและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์รูปต้นฉบับ ข้อมูล วัน เวลา สถานที่ที่ถ่ายรูปนั้น เพื่อเป็นการยืนยันสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของเรา และจะได้เอาผิดผู้ที่ละเมิดสิทธิของเราได้ต่อไป

หากองค์กร หรือหน่วยงานธุรกิจ ต้องการนำรูปของผู้อื่นไปใช้จะต้องทำอย่างไร?

สำหรับองค์กร หน่วยงาน ธุรกิจ ที่ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ รวมถึงรูปภาพของผู้อื่นไปใช้ สามารถทำได้โดยต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ดังนี้

  • เก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลโดยตรงเท่านั้น และเก็บเท่าที่จำเป็น โดยต้องมีการแจ้งสิทธิ รายละเอียด และวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ให้เจ้าของข้อมูลรับทราบเสมอ และต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนจัดเก็บข้อมูล และต้องให้สิทธิในการเพิกถอนการอนุญาตแก่เจ้าของข้อมูลอีกด้วย
  • การนำข้อมูลไปใช้เผยแพร่ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น
  • ต้องมีช่องทางให้เจ้าของข้อมูลสามารถเข้าถึงและแก้ไขข้อมูลได้ด้วยตนเอง

ต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัย และปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ และหากพบว่ามีการรั่วไหลของข้อมูล จะต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลภายใน 72 ชั่วโมง