กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง

[stextbox id=”info”]เรดาร์บางตัวอาจหยุดทำงานไปบางช่วงเวลา ให้สังเกตเวลาอัพเดทที่เป็นตัวหนังสือเล็กๆในภาพ ทั้งของ กทม และ กรมอุตุ โดยเรดาร์ของกรมอุตุ ใช้เวลาของ UTC ซึ่งท่านต้อง +7 ชั่วโมงเอาเอง ส่วนเรดาร์ของ กทม ใช้เวลาไทยแล้ว [/stextbox]

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
กดตรงนี้ถ้ามองไม่เห็นเรดาร์หนองแขมแบบเคลื่อนไหว

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
กดตรงนี้ถ้ามองไม่เห็นภาพเรดาร์หนองจอกแบบเคลื่อนไหว

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง

เรดาร์ TMD สุวรรณภูมิ

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง

เรดาร์กรมฝนหลวงที่ อ.ตาคลี นครสวรรค์

รูปภาพและข้อมูลในหน้านี้ ได้มาจากกรมอุตุนิยมและสำนักระบายน้ำ กทม นำมาไว้รวมกันเพื่อความสะดวกของประชาชนกรุงเทพและปริมณฑลที่จะช่วยเหลือตัวเองในการเฝ้าระวังฝน

เรียงตามชื่อสถานี

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง

Fondue

Citizen Engagement & Empowerment Platform

  • หน้าหลัก
  • สำหรับประชาชน
    • วิธีการแจ้งปัญหา และติดตามความก้าวหน้า
    • คำถามที่พบบ่อย
  • สำหรับหน่วยงาน
    • เปิดการใช้งานและบริหารจัดการปัญหา
    • เปิดการใช้งานทุกหน่วยงานทั้งจังหวัด
    • คำถามที่พบบ่อย
    • ข่าวสารจากหน่วยงาน
    • ความก้าวหน้าและฟีเจอร์ใหม่
    • รางวัลหน่วยงานดีเด่น
    • กิจกรรม Traffy Fondue
    • วิดีโอสัมมนา Traffy Fondue
  • การต่อยอด
    • บริหารจัดการเก็บขยะ Traffy Waste
    • นโยบายกรุงเทพฯ Bangkok Open Policy
    • รับแจ้งและบริหารจัดการปัญหาเมืองสำหรับ อปท. (ได้รับทุนสนับสนุนจาก กทปส.)
    • รับเรื่องและบริหารจัดการปัญหาเมืองสำหรับ กทม.
    • ปภ. 1784 แจ้งและบริหารจัดการเหตุสาธารณภัย
    • สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ (เฟส 2)
    • สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ (เมืองใจดี สสส.)
    • สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ (เจอ แจ้ง แจ่ม แจ๋ว)
    • สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ (ช่วยกันสร้าง ช่วยกันชี้)
    • ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111
    • ป.ป.ช. รับแจ้งเบาะแสการทุจริต
    • ป.ป.ท. รับแจ้งเบาะแสการทุจริต
    • Traffy Share – Chatbot รวบรวบข้อมูลด้วยพลังมวลชน
    • ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์โควิด-19
    • โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่เปิดการจัดการศึกษาพิเศษ
  • อื่น ๆ
    • แบบสอบถามการใช้งานเว็บไซต์ Traffy
    • ติดต่อ
    • Teams
    • ร่วมงาน/ฝึกงานกับเรา

รับเรื่องและบริหารจัดการปัญหาเมืองสำหรับ กทม.

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง

คนไทยทุกคนต้องรู้อย่างแน่นอนว่ากรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทยนั้นมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมบ่อย ๆ หลายปีติดต่อกัน ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ทั้งที่มีปัญหานี้ตลอดแต่ทำไมถึงยังมีเหตุการณ์แบบเดิมเกิดขึ้นทุกปีกันล่ะ นั่นเป็นเพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในกรุงเทพฯ นั้นมาจากหลายสาเหตุ ทั้งเหตุผลทางภูมิศาสตร์และสาเหตุที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้นการแก้ปัญหาและป้องกันน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่จริง ๆ เป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมสามารถรับรู้และช่วยกันป้องกันแก้ไขได้ ซึ่ง ร้านไทยจราจร คิดว่าถ้าเราทุกคนได้ศึกษาสาเหตุของการเกิดน้ำท่วมในกรุงเทพฯ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะจะได้ช่วยกันมองหาแนวทางรับมือกับปัญหานี้ได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดความรุนแรงของน้ำท่วมขังในเมืองลง หรือการรับมือเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมขึ้นในพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ ซึ่ง 10 สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในกรุงเทพฯ มีดังนี้

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
1. ฝนตกปริมาณมาก เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร โดยกรุงเทพฯ อยู่ภายใต้เขตมรสุม ทำให้มีฝนตก และยิ่งตั้งแต่ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนของประเทศไทย ในช่วงนี้ในกรุงเทพฯ จะมีฝนตกเกือบจะทุกวัน ซึ่งถ้าปีไหนได้รับผลกระทบจากพายุก็จะส่งผลให้ฝนตกหนักมากจนเกิดอุทกภัยหรือไฟฟ้าดับ ต้องเตรียม ไฟฉุกเฉิน กันทุกปี

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
2. สภาพภูมิประเทศของกรุงเทพฯ เนื่องจากกรุงเทพฯ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีลักษณะเหมือนแอ่งรับน้ำ การระบายน้ำลงสู่แม่น้ำหรือทะเลจึงทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นในช่วงฤดูฝนที่ปริมาณน้ำฝนพุ่งสูงถึงประมาณ 60-120 มิลลิเมตรต่อวัน ซึ่งถ้าช่วงไหนฝนตกหนักจะทำให้ปริมาณน้ำที่เข้าสู่พื้นที่กับปริมาณที่น้ำระบายออกได้ไม่สมดุลกัน

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
3. ชนิดของดินในเขตกรุงเทพฯ มีลักษณะเป็นดินในที่ราบลุ่มแม่น้ำ โดยช่วงผิวดินจะเป็นดินเหนียวที่มีการระบายน้ำค่อนข้างยาก นอกจากนั้นยังเป็นชั้นดินที่มีการกักเก็บน้ำบาดาล ทำให้เมื่อสูบน้ำบาดาลมาใช้ชั้นดินจะยุบตัวลงและต่ำกว่าระดับน้ำทะเลไปเรื่อย ๆ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมได้เช่นกัน

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
4. น้ำจากทางเหนือไหลลงมาปริมาณมาก ลักษณะการไหลของน้ำในประเทศเราคือจะมีการไหลของน้ำจากพื้นที่ทางเหนือลงมาสู่ที่ราบลุ่มภาคกลาง ซึ่งก็คือตำแหน่งที่ตั้งของกรุงเทพฯ นั่นเอง ถ้าปีไหนมีปริมาณน้ำเยอะไหลลงมาก็จะทำให้พื้นที่กรุงเทพฯ รับน้ำไม่พอจนเกิดน้ำท่วม จึงต้องมีการสร้างเขื่อนตามแนวการไหลของน้ำ เพื่อกักน้ำไว้แล้วค่อย ๆ ปล่อยออกมา เมื่อน้ำระบายได้ทันน้ำก็ไม่ท่วมนั่นเอง

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
5. น้ำทะเลหนุนสูง ทุกคนต้องรู้แน่นอนว่ากรุงเทพฯ ของเรามีแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยานี้เป็นแม่น้ำใหญ่อยู่บริเวณปากทะเลอ่าวไทย ตามปกติน้ำในแม่น้ำก็จะไหลลงไปสู่ทะเล แต่ถ้าช่วงไหนน้ำทะเลเยอะและมีระดับสูงขึ้นล่ะ น้ำทะเลก็สามารถทะลักกลับเข้ามาในแม่เจ้าเจ้าพระยาได้เช่นกัน ซึ่งช่วงที่ว่านั้นก็คือช่วงเดือนธันวาคมนั่นเอง เมื่อน้ำล้นออกจากแม่น้ำ ก็เกิดน้ำท่วม

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
6. แผ่นดินทรุดเนื่องจากการใช้น้ำบาดาลมากเกินไป ใต้พื้นดินกรุงเทพฯ นั้นมีชั้นน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลในปริมาณที่สามารถนำมาใช้เพื่ออุปโภคบริโภคได้ ทำให้เมื่อก่อนทั้งครัวเรือนและบริษัทมีการขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้กันในปริมาณมาก โดยที่ไม่ได้ศึกษาผลเสียมาก่อน ผลเสียนั้นก็คือเมื่อสูบน้ำบาดาลอกมาจะเกิดโพรงช่อว่างอยู่ใต้ดิน ดินจึงทรุดลงเพื่อไปแทนที่ช่องว่างเหล่านั้น แล้วกรุงเทพฯ ก็ไม่ได้อยู่สูงจากระดับทะเลมากนัก เมื่อดินทรุดก็จมตัวลงจนเริ่มอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล จึงเกิดน้ำขังน้ำท่วมไม่สามารถระบายออกไปได้

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
7. การวางผังเมืองที่ไม่เป็นระบบ การวางผังเมืองก็เป็นเรื่องที่เป็นปัญหาในกรุงเทพมากทีเดียว เพราะไม่ได้มีการศึกษาพื้นที่น้ำขังน้ำท่วมมาก่อนที่จะสร้างชุมชนสร้างเมือง ทำให้มีการขยายตัวของเมืองไปในเขตที่จะเกิดน้ำท่วมเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยในพื้นที่นั้นต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วม บริเวณชุมชนจึงควรติดตั้ง กำแพงกั้นน้ำ เพื่อให้ไม่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเกินไป

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
8. ช่องระบายน้ำไม่เพียงพอ เนื่องจากเป็นเมืองใหญ่จึงมีการเปลี่ยนการระบายน้ำจากทางน้ำธรรมชาติมาเป็นช่องท่อระบายน้ำ ซึ่งเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำที่มีนั้นไม่เพียงพอ น้ำจึงเกิดการท่วมขังตลอด

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
9. การจัดการขยะไม่ดีทำให้อุดตันช่องทางระบายน้ำ ยิ่งไปกว่านั้นผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ยังไม่มีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ช่องระบายน้ำที่น้อยอยู่แล้วโดนขยะเข้าไปอุดตัน น้ำก็ระบายไปไหนไม่ได้ในที่สุด

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
10. การรุกล้ำคลองที่เป็นเส้นทางไหลของน้ำ เนื่องจากช่องทางการระบายน้ำในกรุงเทพฯ ที่เคยเป็นทางน้ำธรรมชาติกลายเป็นพื้นที่เมือง ทำให้ช่องทางเหล่านั้นถูกปิดถูกกั้นจนน้ำไม่สามารถไหลผ่านได้ แต่ธรรมชาติของน้ำก็ยังพยายามไหลผ่านทางเดิม แต่คนกรุงดันไปอยู่ขวางทางน้ำซะได้ คนกรุงเทพจึงต้องยก กำแพงกั้นน้ำ มาใช้งานทุกปีนั่นเอง

กทม.ต อไปน จะไม ให ม น ำท วมข ง ตามถนนหนทาง
จาก 10 เหตุผลที่ ร้านไทยจราจร นำมาให้ได้อ่านกันจะเห็นว่าน้ำท่วมในกรุงเทพฯ นั้นเกิดจากทั้งสภาพภูมิประเทศทางธรรมชาติ แต่ก็ทวีความรุนแรงขึ้นด้วยการกระทำของมนุษย์ การแก้ไขปัญหาก็ไม่สามารถทำได้ในทันที แต่เราก็ยังต้องอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ กันต่อไป การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์เหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ละบ้านแต่ละหน่วยงานต้องเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สำคัญก็เช่น กำแพงกั้นน้ำ เพื่อลดการเสียหายของทรัพย์สินลง หรือกักตุนอาหารหรือสิ่งจำเป็นไว้ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถเดินทางออกไปจากบ้านได้ เพื่อให้สามารถบรรเทาความรุนแรงจากน้ำท่วมลงและสามารถมีชีวิตรอดในช่วงน้ำท่วมนั่นเอง