กองท นส ารองเล ยงช พ เอาออกมาต อเส ยภาษ ม ย

ตามที่ท่านทราบกันดีว่าเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ เงินสะสม (ส่วนที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุน) เงินสมทบ (ส่วนที่นายจ้างจ่ายให้) ผลประโยชน์เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสมทบ (สิ่งประโยชน์ที่งอกเงยจากการลงทุน)

เงินที่เป็นสิทธิของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแน่นอนคือ “เงินสะสม”และ”ผลประโยชน์เงินสะสม” ส่วน”เงินสมทบ”และ”ผลประโยชน์เงินสมทบ” จะได้รับก็ต่อเมื่อสมาชิกปฏิบัติตามเงื่อนไขของกองทุนฯ เช่น มีอายุงานถึงเกณฑ์ที่กำหนด เป็นต้น

เมื่อท่านออกจากงานจะมีวิธีในการจัดการกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรนั้น วันนี้เราขอนำเสนอทางเลือกสำหรับท่านสมาชิก 2 ทางคือ

  1. ท่านสามารถขอรับเงินกองทุนทั้งก้อน โดยถือว่าเป็นการลาออกจากระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ
  1. ยังไม่ประสงค์ที่จะรับเงินก้อนนี้ โดยขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อน
  1. ถ้าท่านประสงค์ที่จะรับเงินจากกองทุนทั้งจำนวน

ข้อพึงระวังคือ หากสมาชิกลาออกจากกองทุนโดยที่ยังไม่เข้าเงื่อนไขการได้รับการยกเว้นภาษี สมาชิกอาจจะเสียผลประโยชน์จากเงินสมทบที่จะได้รับไม่เต็มจำนวน อีกทั้ง เงินที่ได้รับจากกองทุนในส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสะสม และเงินสมทบ จะต้องถูกหักภาษี ตามเงื่อนไขเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย โดยขอชี้แจงหลักเกณฑ์ในเบื้องต้นดังนี้

สมาชิกจะต้องตรวจสอบว่าเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของสมาชิกทั้ง 3 ส่วน อันได้แก่ ผลประโยชน์เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์เงินสมทบ เข้าเงื่อนไขการได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ ซึ่งปกติเงินดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวนก็ต่อเมื่อสมาชิกออกจากงานโดยมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ใหม่ที่เคยนำเสนอให้ท่านในวารสารครั้งที่แล้ว หรือกรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพเท่านั้น

ถ้าสมาชิกไม่ได้เข้าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เงินกองทุนทั้ง 3 จำนวนสามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้บางส่วนกรณีที่สมาชิกลาออกจากงานโดยอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป (หักค่าใช้จ่ายได้ 2 ส่วน 7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน ที่เหลือหักค่าใช้จ่ายได้ครึ่งหนึ่ง และสามารถนำไปแยกยื่นภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมกับรายได้อื่นเพื่อคำนวณภาษี) แต่ถ้าท่านมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปีจะต้องนำเงินทั้ง 3 ส่วนนั้นไปรวมกับรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี

  1. ยังไม่ประสงค์ที่จะรับเงินก้อนนี้ โดย ”คงเงิน” ไว้ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

การคงเงินเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการออมอย่างต่อเนื่องโดยไม่ขาดช่วงแม้มีการเปลี่ยนงาน จึงมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน

ที่นี้มาดูประโยชน์จากการคงเงิน

อายุสมาชิกต่อเนื่องเมื่อมีการย้ายงาน

ถ้าท่านได้งานใหม่กับนายจ้างที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายในก่อนสิ้นระยะเวลาการคงเงิน ท่านสามารถขอให้โอนเงินจากกองทุนเดิมไปเข้ากองทุนใหม่ได้โดยท่านไม่จำเป็นต้องรับเงินออกจากกองทุน ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกยังไม่มีภาระภาษี เนื่องจากเงินที่ขอคงไว้ยังไม่ถือเป็นเงินได้ของสมาชิก

คงเงินไว้เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี

สมาชิกที่ต้องการคงเงินต่อเพื่อรออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามเงื่อนไขของทางกรมสรรพากร เพื่อที่จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เพื่อรอตลาดปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น

ตามที่ทราบกันว่าเงินที่อยู่ในกองทุนนั้นจะถูกนำไปลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่ท่านกำหนด ซึ่งอาจมีทั้งกำไรและขาดทุน ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดแต่ละขณะ โดยเฉพาะการลงทุนในนโยบายตราสารทุน ซึ่งเมื่อตลาดอยู่ภาวะที่มีความผันผวน และส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นลดลง การคงเงินเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ท่านสามารถให้เงินในกองทุนยังคงลงทุนต่อเพื่อให้ตลาดมีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นและค่อยนำเงินออกจากกองทุนต่อไป

ทั้งนี้ ท่านสมาชิกอาจต้องศึกษาข้อบังคับกองทุนของตน ว่ามีระยะเวลาที่สามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้นานเท่าใด ซึ่งข้อบังคับต้องกำหนดเวลาไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออกจากงาน และมีค่าธรรมเนียมในการคงเงินอยู่ที่ 500 บาทต่อปี นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้สมาชิกดังกล่าวยังคงสภาพป็นสมาชิกกองทุนต่อเนื่อง ทำให้เงินที่สมาชิกคงไว้ในกองทุนสามารถนำไปลงทุนและได้รับผลประโยชน์งอกเงยได้ และสมาชิกก็จะยังคงได้รับ ”ใบรับรอง/รายงานยอดเงินสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund Statement)” แจ้งยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตนคงเงินไว้ตามรอบปกติอีกด้วย

กองทุนสำรองสำรองเลี้ยงชีพ หรือ PVD เป็นหนึ่งสวัสดิการของมนุษย์เงินเดือน เพื่อเป็นเงินไว้ใช้หลังเกษียณ แต่ถ้าเราย้ายที่ทำงานใหม่ หรือลาออกไปทำงานอิสระ เราก็จำเป็นต้องลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปด้วย และหากการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนอายุ 55 ปีหรือตอนที่ยังทำงานไม่ครบ 5 ปีนั้น จะต้องเอาเงินที่ได้ไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

ทำไงดี? กับเงิน PVD เมื่อย้ายงาน หรือลาออกไปเป็นฟรีแลนซ์

มนุษย์เงินเดือนไม่ต้องตกใจ หากที่ทำงานใหม่ ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เหมือนที่ทำงานเดิม คำถามคือ หากเราต้องนำเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะต้องเสียภาษีเงินได้ !!

“ดังนั้น การโอนเงินจาก PVD ไป RMF จะช่วยให้เราออมเงินเพื่อเกษียณได้อย่างต่อเนื่อง และประหยัดภาษี เพราะไม่ต้องนำเงินออกจาก PVD ก่อนกำหนดอีกด้วย”

ทั้งนี้ ถ้าไม่อยากเสียภาษี ปัจจุบันก็มีทางเลือก โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ให้สามารถโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ไปอยู่ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ได้แล้ว

ข้อดีของการโอนเงินจาก PVD ไป RMF

การโอนเงินจาก PVD ไป RMF ช่วยให้เราไม่ต้องเสียภาษีเพราะไม่ต้องนำเงินออกจาก PVD ก่อนอายุเกษียณ และสามารถนำมาบริหารพอร์ตการลงทุนได้ด้วยตนเอง

เนื่องจากการโอนเงินจาก PVD ไป RMF มีหลักการเหมือนกับการคงเงินไว้ใน PVD คือ สามารถนับอายุสมาชิกต่อเนื่องได้โดยไม่จำเป็นต้องซื้อหน่วยลงทุนเพิ่ม ซึ่งนับเฉพาะ RMF ที่เราเลือกรับโอนเงินมาจาก PVD เท่านั้น ไม่ได้รวมถึง RMF ที่เราซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีทั่วไป

หากนำเงินออกจาก กองทุน PVD จะต้องโดนคำนวณรายได้ เพื่อเสียภาษีอย่างไร?​

ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่า เงินกองทุนฯ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

1. เงินสะสม คือ เงินที่เราหักจากเงินเดือนเราทุกเดือน

2. เงินสมทบ คือ เงินที่เราได้จากนายจ้างทุกเดือน

3. ผลประโยชน์เงินสะสม คือ เงินที่งอกเงยจากการลงทุนของเงินสะสม

4. ผลประโยชน์เงินสมทบ คือ เงินที่งอกเงยจากการลงทุนของเงินสมทบ

ส่วนที่ ไม่ต้องนำมาเสียภาษี นั่นคือ “เงินสะสม” (ก้อนที่ 1) เพราะเป็นส่วนที่เราได้สะสมเข้าเองจากเงินเดือนที่เรานำไป เสียภาษีแล้ว แต่ส่วนอื่น ๆ คือ “เงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม และ ผลประโยชน์เงินสมทบ” (ก้อนที่ 2) นั้น จะต้องนำมาคำนวณภาษี ซึ่งมีเงื่อนไขในการคำนวณที่แตกต่างกันดังนี้

กรณีที่ 1 หากมีระยะเวลาทำงานไม่ถึง 5 ปี

เงินก้อนที่ 2 ทั้งหมด ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่นเดียวกับเงินเดือนที่เราได้รับทั้งจำนวน

กรณีที่ 2 หากมีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี

เงินก้อนที่ 2 จะได้รับสิทธิแยกคำนวณภาษีเงินได้ ซึ่งทำให้เสียภาษีน้อยลง โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายในส่วนแรก (คำนวณโดยใช้ 7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน หลังจากนั้นเหลือเท่าไร ให้หักค่าใช้จ่ายได้อีกครึ่งหนึ่ง) และจึงค่อยนำมาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป

ข้อควรจำ : เงินที่โอนจาก PVD มา RMF นั้น จะไม่สามารถนำมารวมคำนวณยอดเงินลงทุนสูงสุดใน RMF ของปีภาษีนั้นได้ เพราะเงินที่โอนจาก PVD มา RMF ได้ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีไปแล้ว

ใครบ้าง? ที่สามารถโอนเงินจาก PVD ไป RMF : ผู้ที่สามารถโอนเงินจาก PVD ไป RMF ได้ เช่น

(1) ลูกจ้างที่ออกจากงาน : ไม่ว่าจะเป็นการลาออกเพื่อไปทำธุรกิจส่วนตัว หรือการออกจากงานเพราะสิ้นสุดสัญญาจ้าง

(2) ลูกจ้างที่เปลี่ยนย้ายงาน : โดยที่นายจ้างใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

(3) นายจ้างเลิกกิจการหรือยกเลิกการจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

(4) ไม่สามารถคงเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานเดิมต่อได้ เพราะหมดระยะเวลาคงเงิน

โอนเงินจาก PVD ไป RMF มีขั้นตอนอย่างไร?

สำหรับขั้นตอนการโอนเงินจาก PVD ไป RMF ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงติดต่อกับบริษัทจัดการกองทุน เพื่อแจ้งความประสงค์ว่าจะโอนเงินจาก PVD มา RMF โดยต้องเป็น “RMF for PVD” คือมีการระบุในหนังสือชี้ชวน (Fact Sheet) ว่า “รองรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” จากนั้นก็นำเอกสารจากบริษัทจัดการกองทุนมาแจ้งความประสงค์ต่อนายจ้างภายใน 30 วันนับจากวันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

โดยสามารถโอนเงินจาก PVD ไป RMF ได้ทั้งจำนวน ไม่มีค่าธรรมเนียมในการโอนย้าย และไม่ต้องเสียค่ารักษาสมาชิกรายปีแบบ PVD อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อโอนเงินจาก PVD ไป RMF แล้ว เราก็สามารถสับเปลี่ยนไปยัง RMF กองทุนอื่นได้ แต่ต้องเป็น RMF for PVD ด้วยกัน

จะเห็นได้ว่า การที่เราสามารถโอนเงินจาก PVD ไป RMF ได้นั้นช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุน ไม่ต้องเสียภาษีเพราะนำเงินออกจาก PVD เร็วกว่ากำหนด ที่สำคัญ ยิ่งนำเงินออกมาเร็ว ยิ่งมีโอกาสที่เงินจะหมดได้เร็ว

ดังนั้น ถ้าจะต้องออกจากงาน หรือสิ้นสุดการเป็นสมาชิก PVD อย่าเพิ่งรีบนำเงิน PVD ออกมา เราควรโยกไป RMF ก่อน เพื่อให้เงินก้อนนี้เป็นเงินใช้จ่ายในยามเกษียณเพื่อชีวิตที่สุขสบาย

หากสนใจย้ายจาก PVD ไป RMF จากบลจ.กสิกรไทย สามารถดูรายละ​เอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>Click​​

บทความโดย บลจ.กสิกรไทย

ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธ.ค. 2565

คำเตือน

- ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน

- กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน