กฎหมายจ ดสรร บ งค บให ม ถ งด บเพล ง

เงินได้ประเภทที่ 3 คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปัญญาหรือค่า Goodwill และเงินรายปีอื่นๆ ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(3)

Show

อย่างไรก็ดี ถ้าคุณมีคู่สมรสที่จะแยกยื่นภาษีเองอยู่แล้ว คุณสามารถเลือกให้คู่สมรสนำเงินได้ประเภทนี้ของคุณไปยื่นเป็นรายได้ของเขาแทนก็ได้

การหักค่าใช้จ่าย

เงินได้ประเภทที่ 3 นี้ มีเพียงค่าลิขสิทธิ์ ค่ากู๊ดวิลล์ และค่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Royalty) เท่านั้นที่หักค่าใช้จ่ายได้

เงินได้เหล่านี้จะหัก ค่าใช้จ่าย ได้วิธีเดียว คือ หักแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน ฿100,000 หรือหักตามจริง

รายได้ ค่าใช้จ่ายที่หักได้

  • ค่าลิขสิทธิ์
  • ค่าสิทธิ์ในทรัพย์สินในปัญญา (Royalty)
  • ค่า Goodwill หักแบบเหมา 50% แต่ไม่เกิน ฿100,000 หรือหักตามจริง เงินปีและเงินรายปีจากนิติกรรมหรือคำพิพากษาของศาล –

ดังนั้น วิธีคิดง่ายๆ คือ ทันทีที่เราได้รับค่าลิขสิทธิ์เกิน ฿200,000 คุณจะหักค่าใช้จ่าย ได้สูงสุดแค่ ฿100,000 เท่านั้น

ตัวอย่าง

ถ้าคุณมีเงินได้จากค่าลิขสิทธิ์ตลอดท้ังปี ฿360,000 เมื่อกฎหมายอนุญาตให้คุณหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ได้เพียงทางเดียวเท่าน้ัน คุณจึงน่าจะหักค่าใช้จ่ายสำหรับค่าค่าลิขสิทธิ์ของคุณได้

฿360,000 x 50% = ฿180,000

แต่เนื่องจากกฎหมายกำหนดเพดานให้หักค่าใช้จ่ายสำหรับค่าลิขสิทธิ์ได้สูงสุดเพียง ฿100,000 ดังน้ัน เราจึงหักค่าใช้จ่ายสำหรับค่าค่าลิขสิทธิ์ได้

-฿180,000- ฿100,000 เท่าน้ัน

อะไรเป็นเงินได้ประเภทที่ 3 ได้บ้าง?

  • ค่าลิขสิทธิ์

ค่าลิขสิทธิ์ จะมาจากค่าตอบแทนหรือค่าจ้างจากงานเขียนคอลัมน์ บทประพันธ์ งานเพลง website โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือผลงานลิขสิทธิ์อื่นๆ ที่ผู้ว่าจ้างตกลงให้คุณเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อนุญาตให้ผู้ว่าจ้างใช้ประโยชน์

ค่าลิขสิทธิ์รวมถึงเงินได้จากการขายสินค้าดิจิตอลโดยให้โหลดโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป, เกมส์, วีดีโอ, รูปภาพ, ภาพยนต์, เพลง, มิวสิควีดีโอ ผ่านระบบ online เป็นต้น

แต่การโอนลิขสิทธิ์ให้แบบขายขาด หรือการขายสินค้าลิขสิทธิ์เหล่านี้เป็นของมีรูปร่าง เช่น ขายเป็นแผ่น หรือขายหนังสือหรือพิมพ์หนังสือขายเอง ไม่นับเป็นค่าลิขสิทธิ์แต่เป็น เงินได้ประเภทที่ 8

  • ค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปัญญา (Royalty)

นอกจากค่าลิขสิทธิ์แล้ว เงินได้ประเภทที่ 3 ยังครอบคลุมถึงค่าแฟรนไชส์ (Franchise) หรือค่า Royalty ตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิในสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า know-how หรือสูตรลับต่างๆ (Licensing agreement)

แต่ค่า Royalty ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายทรัพย์สินทางปัญญาแบบขายขาด เช่น โอนกรรมสิทธิ์ในสิทธิบัตร

  • ค่า Goodwill

เงินได้ประเภทที่ 3 ยังครอบคลุมค่า Goodwill หรือชื่อเสียงทางการค้า (ค่าความนิยม)

  • เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์และเงินรายปีจากนิติกรรมหรือคำพิพากษาของศาล

เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์หรือเงินที่กำหนดกันเป็นเงินรายปีที่มาจากนิติกรรม หรือคำพิพากษาของศาล เช่น เงินปี (Annuity) ที่ไม่ได้มาจากพินัยกรรมหรือมรดก ค่าเลี้ยงดูรายปีเนื่องจากการหย่า ค่าตอบแทนจากการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของคุณ ค่าตอบแทนจากการให้คนอื่นเซ้งสิทธิการเช่าต่อจากคุณ ซึ่งรายได้กลุ่มนี้กฎหมายไม่อนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายได้

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

ในกรณีที่คุณอยู่ในประเทศไทยแล้วได้รับเงินจากการขาย LINE Creator Sticker จากประเทศญี่ปุ่น หลายคนมักเข้าใจผิดว่าต้องนำเงินก้อนนั้นมาเสียภาษีในไทยด้วย แต่ที่จริงแล้วโดยทั่วไปคุณไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินจากการขาย LINE Creator Sticker จากญี่ปุ่นมาเสียภาษีหรือแม้แต่ ยื่นภาษี ในไทยอีกแล้ว

เพราะประเทศญี่ปุ่นเป็นคู่สนธิสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย ดังนั้นเมื่อคุณถูกหักภาษีที่ญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว สนธิสัญญาจึงช่วยยกเว้นให้คุณไม่ต้องเสียภาษีหรือยื่นภาษีในไทยอีก


อ้างอิง

  1. มาตรา 40(3) ประมวลรัษฎากร
  2. ข้อ 2.2 หน้า 2-3 คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา (ฉบับที่ 2), www.rd.go.th
  3. มาตรา 42 ตรี ประมวลรัษฎากร, มาตรา 4 ทวิ พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502, พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 634) พ.ศ. 2560
  4. ภาษีค่าสิทธิ (2), สรรพากรสาส์น: http://sanpakornsarn.com

ข้อ 3 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2505, ข้อ 12.2 และ 12.3 อนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้

สอนยื่นภาษีออนไลน์ปี 2566 ทำตามง่าย ๆ Step-by-Step พร้อมเคลียร์ทุกข้อสงสัย ใครต้องยื่นภาษี ยื่นภาษีได้ถึงวันไหน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ช่องทางการจ่ายภาษี และยื่นภาษียังไงให้ได้เงินคืน มาเตรียมความพร้อมก่อนยื่นภาษีปีนี้กันเลย

สำหรับคนไทยทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือชาวฟรีแลนซ์ หน้าที่ที่ต้องทำเป็นประจำทุกปีคือการ “ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา”

บทความนี้เราจึงสรุป “วิธียื่นภาษีออนไลน์ ฉบับมือใหม่ทำตามได้ง่ายสุด ๆ” มาฝากทุกคนเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนยื่นภาษีในช่วงต้นปี 2567 ที่จะถึงนี้กัน จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ติดตามไปพร้อมกันได้เลย!

กองทุนลดหย่อนภาษีปีนี้ มาซื้อที่ฟินโนมีนา ฟันด์ เปิดบัญชีที่เดียว ซื้อ SSF-RMF ได้หลากหลาย บลจ. พร้อมโปรโมชันพิเศษ ดูรายละเอียดได้ที่ https://finno.me/tsf-23-ws

สารบัญ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร?

กรมสรรพากรได้นิยามความหมายของคำว่า “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ไว้ว่า

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดข้ึนในปีใด ๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป

ใครมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีบ้าง?

คนไทยทุกคนที่มีรายได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งเกณฑ์ตามสถานะโสดและสมรส โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. คนโสดที่มีรายได้เป็นเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาท ต่อเดือน (ภ.ง.ด. 91) หรือ 120,000 บาท ต่อปี รวมถึงคนโสดที่มีรายได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน (ภ.ง.ด. 90) ตั้งแต่ 5,000 บาท ต่อเดือน หรือ 60,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี
  2. คนที่สมรสแล้วที่มีรายได้เป็นเงินเดือน (ภ.ง.ด. 91) ตั้งแต่ 18,333 บาท ต่อเดือน หรือ 220,000 บาท ต่อปี รวมถึงคนที่สมรสแล้วที่มีรายได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน (ภ.ง.ด. 90) ตั้งแต่ 10,000 บาท ต่อเดือน หรือ 120,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี

อ่านเพิ่มเติม สรุปวิธีคำนวณภาษี: รายได้เท่าไรต้องเสียภาษีเท่าไร?

ยื่นภาษีได้ถึงวันไหน?

ปกติการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะยื่นปีละ 1 ครั้ง ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป เช่น รายได้เกิดขึ้นในปี 2566 (ปีภาษี 2566) ต้องยื่นภาษีภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2567

หากเป็นเงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นภาษีตอนกลางปี ภายในเดือนกันยายนของทุกปี

เอกสารที่ต้องเตรียมตอนยื่นภาษีออนไลน์

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว และ ภ.ง.ด. 90 สำหรับผู้ที่มีรายได้อื่น ๆ นอกเหนือจากเงินเดือน โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับยื่นภาษีดังนี้

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) โดยเป็นเอกสารที่แสดงถึงรายได้รวมทั้งปี หลังจากหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ – อ่านเพิ่มเติม ใบทวิ 50 คืออะไร ขอได้ที่ไหน? I TAX เพื่อนๆ EP7
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา ค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อประกอบการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ เป็นต้น

สอนยื่นภาษีออนไลน์ ฉบับมือใหม่ทำตามได้ง่ายสุด ๆ

ขั้นตอนที่ 1: เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

กฎหมายจ ดสรร บ งค บให ม ถ งด บเพล ง

เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/ และเลือก “ยื่นแบบออนไลน์”

กฎหมายจ ดสรร บ งค บให ม ถ งด บเพล ง

หากท่านใดยังไม่มีบัญชีให้กด “สมัครสมาชิก” ก่อน โดยระบบจะให้กรอกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน (เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร) วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน ที่อยู่ อีเมล พร้อมสร้างรหัสผ่านเพื่อใช้ในการเข้าสู่ระบบ E-filing สำหรับยื่นภาษีออนไลน์

ขั้นตอนที่ 2: เข้าสู่ระบบ E-filing ของกรมสรรพากร

กฎหมายจ ดสรร บ งค บให ม ถ งด บเพล ง

เข้าสู่ระบบ E-filing โดยการกรอกเลขบัตรประชาชนในช่องชื่อผู้ใช้งาน พร้อมกรอกรหัสผ่าน และกด “ตกลง” จากนั้นยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP 6 หลัก ผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือ

ขั้นตอนที่ 3: เลือกยื่นแบบภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90/91

กฎหมายจ ดสรร บ งค บให ม ถ งด บเพล ง

อ่านและยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร จากนั้นกด “เข้าสู่ระบบ” และเลือก “ยื่นแบบ” ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91

ขั้นตอนที่ 4: กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี

กฎหมายจ ดสรร บ งค บให ม ถ งด บเพล ง

ตรวจสอบข้อมูลผู้เสียภาษี ได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด และสถานที่ติดต่อ จากนั้นเลือกสถานะ และกด “ถัดไป”

ขั้นตอนที่ 5: กรอกเงินได้

กฎหมายจ ดสรร บ งค บให ม ถ งด บเพล ง

กรอกข้อมูลรายได้จากเงินเดือน โดยนำข้อมูลมาจากหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) พร้อมกรอกเลขผู้จ่ายเงินได้ (เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่เราทำงานอยู่)

ทั้งนี้สำหรับคนที่เปลี่ยนที่ทำงานระหว่างปีให้ขอหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) กับที่ทำงานเก่าเพื่อนำมากรอกข้อมูลยื่นภาษีเงินได้

กฎหมายจ ดสรร บ งค บให ม ถ งด บเพล ง

และหากใครมีรายได้อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือน เช่น รายได้จากฟรีแลนซ์ รับจ้างทั่วไป และวิชาชีพอิสระ, รายได้จากทรัพย์สิน และการทำธุรกิจ, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหรือได้รับมา ให้กรอกข้อมูลลงไปด้วย

หลังจากกรอกข้อมูลเงินได้เรียบร้อยแล้วให้กด “ถัดไป”

ขั้นตอนที่ 6: กรอกค่าลดหย่อน

กฎหมายจ ดสรร บ งค บให ม ถ งด บเพล ง

กรอกข้อมูลค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่มี เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา ค่าลดหย่อนบุตร เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF RMF กองทุน Thai ESG และเงินบริจาค เป็นต้น

หลังจากกรอกข้อมูลค่าลดหย่อนเรียบร้อยแล้วให้กด “ถัดไป”

อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

ขั้นตอนที่ 7: ตรวจสอบข้อมูล

กฎหมายจ ดสรร บ งค บให ม ถ งด บเพล ง

ตรวจสอบข้อมูลเงินได้และค่าลดหย่อนทั้งหมดที่ได้กรอกไป โดยระบบจะทำการคำนวณภาษีที่ต้องชำระให้อัตโนมัติ ซึ่งหากมีการชำระภาษีไปแล้วระบบจะแจ้งยอดที่ชำระเกิน โดยสามารถขอคืนภาษีที่ชำระเกินได้ รวมถึงนำเงินภาษีที่ชำระเกินไปอุดหนุนพรรคการเมืองได้

หลังจากตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดเรียบร้อยแล้วให้กด “ถัดไป”

ขั้นตอนที่ 8: ยืนยันการยื่นแบบ

กฎหมายจ ดสรร บ งค บให ม ถ งด บเพล ง

เมื่อตรวจสอบข้อมูลครบถ้วนแล้ว กด “ยืนยันการยื่นแบบ” เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านช่องทางออนไลน์

ผลการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ หรือมีภาษีชำระไว้เกิน

ในกรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ระบบจะแจ้งผลการยื่นแบบและหมายเลขอ้างอิง พร้อมออกเอกสารแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและใบเสร็จรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบ

กรณีมีภาษีชำระไว้เกิน กรมสรรพากรจะทำการอนุมัติคืนภาษีให้ทันที โดยสามารถเลือกรับคืนเงินภาษีที่ชำระเกินได้ทั้งช่องทางพร้อมเพย์ และบัญชีของธนาคารกรุงไทย พร้อมติดตามสถานะคืนเงินภาษีได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/

กรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม

ในกรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่มสามารถเลือกชำระภาษีได้หลายช่องทาง ได้แก่ QR Code, E-Payment, Internet Credit Card, ATM on Internet, บัตรภาษี และชำระผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น Pay-In Slip ผ่านช่องทาง Counter Service, Tele-Banking และอื่น ๆ

ทั้งนี้หากมียอดภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถเลือกผ่อนชำระภาษีได้สูงสุด 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในกรณีที่ชำระเงินภายในวันที่กำหนด (หากไม่ชำระภายในวันที่กำหนดจะคิดดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ) โดยระบบจะคำนวณยอดชำระพร้อมกำหนดวันที่ต้องชำระให้ทั้ง 3 งวด และจะมี SMS จากกรมสรรพากรแจ้งเตือนเมื่อครบกำหนดวันที่ต้องชำระภาษี