กร งช นบ ญชรหลวงป ท ม ว ดพระขาว

  • กร งช นบ ญชรหลวงป ท ม ว ดพระขาว

สยามรัฐออนไลน์ สยามรัฐพระเครื่อง

กร งช นบ ญชรหลวงป ท ม ว ดพระขาว

ราม วัชรประดิษฐ์ www.arjanram.com พระครูภาวนาภิรัติ หรือ หลวงปู่ทิม อิสริโก อดีตเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ จ.ระยอง พระเกจิชื่อดังของจังหวัดผู้ทรงคุณวิเศษ ทั้งเป็นพระนักพัฒนา เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างสูงของชาวระยองและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน แม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านยังคงปรากฏอยู่เป็นนิรันดร์ ว่ากันว่าท่านบำเพ็ญเพียรจนถึง “อภิญญา” ทรงพุทธาคมและวิทยาอาคมแก่กล้า วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่ท่านสร้างล้วนปรากฏพุทธคุณและปาฏิหาริย์เป็นที่ประจักษ์ ทั้งอยู่ยงคงกระพันและเมตตามหานิยมครบถ้วนเป็นที่กล่าวขาน ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างกว้างขวางสืบมา

กร งช นบ ญชรหลวงป ท ม ว ดพระขาว
หลวงปู่ทิม เป็นชาวบ้านค่าย จ.ระยอง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2422 ที่บ้านหัวทุ่งตาบุตร ต.ละหาร อ.บ้านค่าย จ.ระยอง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายแจ้-นางอินทร์ และยังเป็นหลานของ หลวงปู่สังข์ พระเกจิชื่อดังผู้ทรงวิทยาอาคมสูงในสมัยนั้น ผู้ก่อตั้งวัดละหารไร่ แต่ต่อมาได้รับนิมนต์ไปครองวัดเก๋งจีน เมื่อวัยเด็กบิดานำไปฝาก พระอาจารย์สิงห์ ที่วัดละหารไร่ เพื่อศึกษาร่ำเรียนหนังสือไทย แล้วกลับมาช่วยบิดามารดาทำงานจนอายุ 19 ปี ถึงวัยเกณฑ์ทหารได้รับคัดเลือกเป็นทหารอยู่ 4 ปี จึงได้กลับมาบ้านเกิด ปี พ.ศ.2449 อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดละหารไร่ โดยมี พระครูขาว วัดทับ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และ พระอาจารย์เกตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “อิสริโก”
กร งช นบ ญชรหลวงป ท ม ว ดพระขาว
พระภิกษุทิมศึกษาคันถธุระและวิปัสสนากรรมฐาน กับ หลวงพ่อสิงห์ รวมทั้งศึกษาตำรับตำราของหลวงปู่สังข์ที่เก็บสะสมไว้ที่วัดละหารไร่ จนแตกฉานเชี่ยวชาญ จากนั้นเริ่มออกธุดงค์ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อปลีกวิเวกและฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน รวมทั้งร่ำเรียนวิทยาอาคมกับพระเกจิอาจารย์และฆราวาสผู้มีวิทยาอาคมสูงจนมีพุทธาคมแก่กล้า จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดละหารไร่จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส หลังจากนั้นท่านก็ไม่ยอมรับตำแหน่งใดๆ ที่ทางเจ้าคณะจังหวัดแต่งตั้งมาเลย อาทิ ในปี พ.ศ.2478 แต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน เจ้าคณะอำเภอก็ต้องไปรับแทน แม้กระทั่งในปี พ.ศ.2507 ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น ‘พระครูภาวนาภิรัติ’ ท่านก็ไม่รับ จนชาวบ้านต้องจัดขบวนแห่ไปรับหมายตราตั้งและพัดยศจากเจ้าคณะจังหวัด เพื่อมามอบให้ท่าน แต่ท่านก็หาได้สนใจ พัดยศก็เอาไปเสียบไว้ข้างฝากุฏิ ในการนี้ บรรดาลูกศิษย์ลูกหา กรรมการวัด และชาวบ้าน มีความประสงค์จะจัดงานฉลองสมณศักดิ์ให้ท่าน พร้อมทั้งหารายได้สมทบทุนก่อสร้างกุฏิและบูรณะเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมต่างๆ จึงขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นครั้งแรกรุ่นแรก ชื่อรุ่น “ฉลองสมณศักดิ์” ประกอบด้วย เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ทิม, ผ้ายันต์ แล ะตะกรุด ซึ่งหมดลงอย่างรวดเร็ว ได้รับทุนทรัพย์มาสร้างกุฏิ บ่อน้ำ ส้วม และเครื่องไฟขยายเสียง จากนั้นก็มีการจัดสร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังเรื่อยมา เพื่อหาปัจจัยมาบูรณะถาวรวัตถุภายในวัดและงานสาธารณประโยชน์ต่างๆ หลวงปู่ทิม มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2518 สิริรวมอายุ 96 ปี พรรษา 72
กร งช นบ ญชรหลวงป ท ม ว ดพระขาว
วัตถุมงคลที่หลวงปู่ทิมปลุกเสกทุกรุ่นทุกประเภท จะทำอย่างพิถีพิถันและให้ดีที่สุด ตามตำราที่ได้รับการถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์หรือประสบการณ์ที่ได้สั่งสม ดังนั้นไม่ว่าจะสร้างออกมาอีกกี่รุ่นกี่แบบ ก็ล้วนได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสหลวงปู่ทิมและประจักษ์ในพุทธคุณทั้งสิ้น พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ชินบัญชร ปี 17 นับเป็นหนึ่งในยอดวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสะสมอย่างสูงในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ ซึ่งปัจจุบันหาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่ง
กร งช นบ ญชรหลวงป ท ม ว ดพระขาว
พระกริ่งชินบัญชร สร้างทั้งหมด 6 ประเภท ดังนี้ 1. เนื้อทองคำ ปิดก้นด้วยแผ่นทองคำ มีโค้ดรูปศาลาตอกไว้ใต้ฐาน สร้างทั้งหมด 13 องค์ องค์ที่ 1-12 มีเลขไทยกำกับใต้ฐาน ส่วนองค์ที่ 13 ไม่ได้ตอกหมายเลข 2. เนื้อนวโลหะ หุ้มก้นด้วยแผ่นทองคำ เป็นรุ่นพิเศษ เนื่องจากเอาพระกริ่งรุ่นก้นทองแดงมาแกะเปลี่ยนก้นเป็นทองคำ มีโค้ดรูปศาลาตอกไว้ใต้ฐาน และมีโค้ดเม็ดงา “ตัวนะ” อยู่ด้านหลัง สร้างจำนวน 16 องค์ 3. เนื้อนวโลหะ ก้นเงิน มีโค้ดรูปศาลาและโค้ดเม็ดงาเช่นกัน สร้าง 390 องค์ 195 องค์ ตอกเลขไทยที่โคนฐานด้านหลังใต้โค้ด “ตัวนะ” ส่วนอีก 195 องค์ ไม่ได้ตอกตัวเลข 4. เนื้อนวโลหะ ก้นผงพรายกุมาร รุ่นนี้มี 104 องค์ บางองค์มีโค้ด “ตัวนะ” บางองค์จะมีโค้ด “ตัวอิ” ที่ใช้ตอกเหรียญเจริญพรของหลวงปู่ทิม และมีการตอกตัวเลขไทยเพียง 101 องค์เท่านั้น 5. เนื้อนวโลหะ ก้นทองแดง รุ่นนี้จะไม่มีโค้ดรูปศาลา มีแต่โค้ด “ตัวนะ” และเลขไทยกำกับใต้ฐาน สร้าง 2,595 องค์ 6. พระกริ่งชินบัญชร เนื้อพิเศษ เป็นเนื้อโลหะที่เหลือจากการสร้าง ‘พระกริ่งบรมพุทโธ’ มีเพียง 9 องค์ ลักษณะเป็นเนื้อกลับดำเงามัน มีโค้ดรูปศาลา และโค้ด “ตัวนะ” เช่นกัน
กร งช นบ ญชรหลวงป ท ม ว ดพระขาว
สำหรับ พระชัยวัฒน์ชินบัญชร สร้างโดยถอดแบบจากพระชัยกะไหล่ทองของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระพุทธรูปลอยองค์ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น สร้างทั้งหมด 3 เนื้อ คือ 1. เนื้อทองคำ มีโค้ด “ตัวนะ” ตอกไว้ที่ปลายสังฆาฏิด้านหลัง สร้างจำนวน 59 องค์ 2. เนื้อกะไหล่ทอง มีโค้ดแบบเดียวกับพระกริ่งชินบัญชร สร้างจำนวน 95 องค์ 3. เนื้อนวโลหะ ตอกโค้ดที่ปลายสังฆาฏิเหมือนเนื้อทองคำ สร้าง 1,746 องค์ โดยมีลักษณะพิเศษอยู่ 4 องค์ คือ 2 องค์แรกอุดก้นด้วยเทียนชัยของหลวงปู่ทิม ส่วนอีก 2 องค์ อุดก้นด้วยผงพรายกุมาร ข้อแนะนำสำหรับผู้สนใจสะสมพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ชินบัญชร ปี 17 ของหลวงปู่ทิม คือ ต้องสอบถาม ‘กูรู’ ผู้รู้จริงและไว้วางใจได้ จะได้ไม่ผิดหวังครับผม