บ นท กขออน ม ต ซ อมแซมศาลพระภ ม

หลายคนเริ่มต้นกลับไปทำงานที่ออฟฟิศกันตามปกติแล้ว การที่เราจะเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ก็ควรเสริมสิริมงคล เพิ่มโชคลาภ บารมี ทั้งเรื่องงานและความสงบภายในครอบครัว ดังนั้นหากใครที่ต้องการไหว้ศาลพระภูมิภายในบ้านหรือของบริษัท ก็ควรจัดของไหว้ศาลพระภูมิให้ถูกต้อง โดยมีของคาว ของหวาน ผลไม้และดอกไม้

ของคาว

นิยมไหว้ด้วยเนื้อสัตว์ จะเป็นหัวหมู ไก่ เป็ด อาหารทะเลพวก ปลา กุ้ง ปู ขึ้นอยู่กับความสะดวกและงบประมาณของผู้ไหว้ ก่อนถวายเนื้อสัตว์ควรล้างทำความสะอาด ผ่านกรรมวิธีทำให้สุกมาแล้ว และนำมาวางในถาดให้สวยงาม

ของหวาน

ส่วนใหญ่จะเลือกขนมหวานที่มีรูปลักษณ์ สีและชื่อเป็นสิริมงคล เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู หรือจะขนมประเภทอื่นๆ อันนี้ขึ้นอยู่กับผู้ไหว้แล้วว่าจะเลือกสรรอะไรมา

บ นท กขออน ม ต ซ อมแซมศาลพระภ ม

เครื่องดื่ม

สามารถวางเครื่องดื่มเพิ่มเติมได้ จะเป็น เหล้า น้ำชา น้ำอัดลม หรือน้ำเปล่า

ผลไม้

คนมักตีความหมายของผลไม้ที่นำมาไหว้ตามความเชื่อ เช่น กล้วยหอมสื่อถึงการทำงานด้วยความราบรื่น มีลูกหลานเต็มบ้าน ส้มหมายถึงความร่ำรวย สาลี่ช่วยให้เงินทองไหลมาเทมา แอปเปิลเสริมสุขภาพ โดยมักจะกำหนดปริมาณผลไม้ประมาณ 5 ลูกต่อชนิด แต่สามารถลดหรือเพิ่มจำนวนตามความสะดวกของผู้ไหว้เป็นสำคัญ

ส่วนผลไม้ที่ไม่ควรนำมาไหว้ศาลพระภูมิ อย่างแรกคือผลไม้ที่เน่าเสียไม่สมบูรณ์ และเป็นผลไม้ที่สื่อความหมายไม่มงคล เช่น น้อยหน่า แค่ชื่อก็ดูน้อยแล้วยังมีความหมายถึงปัญหาอุปสรรค ละมุดหมายถึงทำอะไรไม่เป็นที่เข้าตา มังคุดดวงจะกุดทำอะไรก็ไม่ดี

และอย่าลืมการไหว้ศาลพระภูมิใช้ธูปบูชา 3, 5 หรือ 9 ก็ได้ตามที่เจ้าบ้านนับถือ และควรมีเทียน ดอกไม้สดหรือพวงมาลัยด้วย อย่างไรก็ตามจะมีเวลาไหว้ศาลพระภูมิมากน้อยแค่ไหน เตือนเลยนะ! ห้ามละเลยการทำความสะอาดศาลและบริเวณโดยรอบให้สะอาดอยู่เสมอ

29 ต.ค. 2564 เวลา 18.00 น. ตำรวจในเครื่องแบบสีกากีนายสิบนายพร้อมโล่และอาวุธปืนเดินเข้าใส่ผู้ชุมนุมหน้า สน.ดินแดง ซึ่งตะโกนว่า “เราไม่มีอาวุธ จะมาทำไม” “ประชาชนยังไม่ได้ทำอะไร” หลังนัดรวมตัวกันทำกิจกรรมไว้อาลัย “วาฤทธิ์ สมน้อย” เยาวชนอายุ 15 ปี ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 ต.ค. ที่ผ่านมา หลังถูกยิงขณะร่วมการชุมนุมที่หน้า สน.ดินแดง เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2564 ก่อนที่ตำรวจจะกรูเข้าจับกุมผู้ชุมนุมรวม 3 ราย 1 ในนั้นคือ แซม สาแมท ผู้ต้องหาคดีชุมนุมทางการเมือง นำตัวขึ้นรถผู้ต้องไปที่กองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ส่วนอีก 2 ราย ควบคุมตัวไว้ที่ห้องสืบสวน สน.ดินแดง

บ นท กขออน ม ต ซ อมแซมศาลพระภ ม
แซม สาแมท ขณะถูกควบคุมตัว (ภาพโดย ประชาไท)

การเข้าจับกุมเกิดขึ้นในไม่กี่นาที หลังมีผู้ชุมนุมนำกระดาษไปจุดไฟเผาบนศาลพระภูมิหน้า สน.ดินแดง ซึ่งตำรวจนำถังดับเพลิงมาฉีดดับไฟทันที ก่อนหน้านั้น ประชาชนที่เดินทางมาร่วมไว้อาลัย “วาฤทธิ์” เกิดความไม่พอใจที่ถูกตำรวจวางกำลัง แผงเหล็ก และลวดหนามปิดกั้นทางเข้า กระทั่งมีผู้ชุมนุมนำน้ำแดงราดใส่ศาลพระภูมิ และนำรองเท้าแตะไปแขวน การกรูเข้าจับกุมโดยที่ยังไม่ได้มีเหตุการณ์ความรุนแรงยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่ผู้ชุมนุม และพากันตะโกนใส่ชุดควบคุมฝูงชนในชุดสีกากีว่า “จับเด็กไปทำไม” (ดูคลิปเหตุการณ์ที่ ประชาไท และ สำนักข่าวราษฎรประสงค์)

ภายหลังกิจกรรมหน้า สน.ดินแดง ยุติลงในเวลาประมาณ 19.15 น. เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ถังดับเพลิงฉีดใส่เทียนที่ผู้ชุมนุมจุดไว้อาลัย “วาฤทธิ์” เก็บกวาดดอกไม้และสิ่งของออก ก่อนเปิดการจราจร ยังคงมีประชาชนจำนวนหนึ่งรวมตัวกันที่แยกโรงกรองน้ำ ถ.ประชาสงเคราะห์ โดยมีผู้ถูกจับกุมจากบริเวณดังกล่าวมาที่ สน.ดินแดง อีก 3 ราย ในเวลาราว 21.00 น. และก่อน 23.00 น. อีก 2 ราย รวมมีผู้ถูกจับกุม 8 ราย เป็นเยาวชน 2 ราย

บ นท กขออน ม ต ซ อมแซมศาลพระภ ม
หลังตำรวจใช้ถังดับเพลิงฉีดใส่เทียนที่จุดไว้อาลัย “วาฤทธิ์” (ภาพโดย iLaw)

อย่างไรก็ตาม ทนายความซึ่งอยู่ที่ สน.ดินแดง ตั้งแต่เวลา 18.00 น. รวมทั้งที่ติดตามไปที่ บช.ปส.ในเวลาประมาณ 20.30 น. ไม่ได้รับอนุญาตให้พบผู้ถูกจับกุม ทั้งยังได้รับแจ้งข้อมูลที่สับสนจนไม่ทราบแน่ชัดว่า ผู้ต้องหาจะถูกนำตัวไปสอบสวนที่ใด

กระทั่งประมาณ 03.00 น. ทนายความจึงได้พบกับผู้ถูกจับกุมทั้งหมดที่ห้องสอบสวน สน.ดินแดง รวมทั้งแซม โดยชุดจับกุมซึ่งเป็นตำรวจสืบสวน สน.ดินแดง, บก.น.1 บช.น. และสายตรวจ 191 ทำบันทึกจับกุมเสร็จแล้ว โดยที่ทนายความไม่ได้เข้าร่วม จากนั้น เยาวชนอายุ 16 และ 17 ปี มีผู้ปกครองมารับกลับ เนื่องจากพบว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ส่วน วสันต์ กล่ำถาวร ถูกปล่อยตัว หลังตำรวจเปรียบเทียบปรับฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญ ขณะที่ทนายความพบว่า ในผู้ถูกจับกุม 5 คนที่เหลือ มี 2 คน ที่มีรอยฟกช้ำที่ใบหน้าและตามร่างกาย ทั้งยังมีเลือดออก และแซมมีรอยแดงที่หน้าอก ซึ่งทั้งสามเป็นกลุ่มที่ถูกจับตั้งแต่เย็น

กระบวนการสอบสวนเสร็จในเวลาเกือบ 07.00 น. โดยพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาทั้ง 5 คนว่า ร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (ม.215) โดย 3 คนที่ถูกจับในช่วงเย็น มีข้อหา ไม่เลิกมั่วสุมตามที่เจ้าพนักงานสั่ง (ม.216) ด้วย นอกจากนี้ วีรภาพ วงษ์สมาน และแซม ถูกตั้งข้อหา ทำให้เสียทรัพย์ ยิ่งไปกว่านั้นแซมถูกตั้งข้อหา วางเพลิงเผาทรัพย์, เป็นบุคคลต่างด้าวอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต อีกด้วย

หลังถูกส่งฝากขังในช่วงสายของวันที่ 30 ต.ค. 2564 ศาลอาญามีคำสั่งไม่ให้ประกันแซม อ้างเหตุว่า ผู้ต้องหาเคยได้รับการปล่อยชั่วคราวในความผิดลักษณะเดียวกับคดีนี้ แต่กลับมาร่วมกับพวกก่อเหตุคดีนี้ซ้ำอีก หากปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาจะกลับไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ขณะที่ศาลแขวงพระนครเหนือให้ประกันผู้ต้องหา 3 ราย โดยไม่ต้องวางหลักประกัน ส่วนอีก 1 ราย ซึ่งให้การรับสารภาพ ศาลมีคำพิพากษา จำคุก 6 เดือน 15 วัน และปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี

บ นท กขออน ม ต ซ อมแซมศาลพระภ ม
แซม หลังถูกจับกุมก่อนไม่ได้ประกันในวันต่อมา (ภาพโดย ประชาไท)

จากการรายงานของสื่ออิสระและสำนักข่าวพบว่า ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในเครื่องแบบสีกากี, สีน้ำเงิน และนอกเครื่องแบบ ในช่วงเย็นจนถึงดึกของวันที่ 29 ต.ค. 2564 ทำให้แม่ค้าและเยาวชนในร้านค้าริมถนนประชาสงเคราะห์ใกล้โรงกรองน้ำ ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยางอย่างน้อย 2 ราย ตู้กระจกในร้านเสียหาย สื่อหลายรายถูกข่มขู่คุกคาม ยึดโทรศัพท์, ได้รับบาดเจ็บจากสารเคมีที่บรรจุในถังดับเพลิงที่ตำรวจฉีดเข้าที่ใบหน้า รวมทั้งมีการเชิญไปพูดคุยที่ สน.ดินแดง กว่า 1 ชั่วโมง ก่อนบันทึกประวัติไว้ทุกคน

.

คฝ.เดินหน้าใส่ผู้ชุมนุม หลังกระดาษลุกไหม้ที่ศาลพระภูมิ จับ 3 ราย พบร่องรอยถูกทำร้ายหลังควบคุมตัว 9 ชม.

ผู้ถูกจับกุมในช่วง 18.00 น. หลังมีผู้ชุมนุมจุดไฟใส่กระดาษวางบนศาลพระภูมิรวม 3 ราย ได้แก่ วีรภาพ วงษ์สมาน อายุ 18 ปี, แซม สาแมท อายุ 20 ปี และอรรถสิทธิ์ นุสสะ อายุ 35 ปี

ทั้งสามถูกชุดสืบสวนแยกสอบและทำบันทึกจับกุมโดยไม่ให้ทนายเข้าร่วม วีรภาพและอรรถสิทธิ์แยกห้องสอบที่ฝ่ายสืบสวน สน.ดินแดง ส่วนแซมแยกไปที่ บช.ปส.

บ นท กขออน ม ต ซ อมแซมศาลพระภ ม

บันทึกการจับกุมระบุว่า ทั้งสามถูกจับโดยตำรวจสืบสวน สน.ดินแดง นำโดย พ.ต.ท.พีรรัฐ โยมา รอง ผกก.สส.สน.ดินแดง, บก.น.1 บช.น. นำโดย พ.ต.อ.นิวัฒน์ พึ่งอุทัย ผกก.สส.บก.น.1 และสายตรวจ 191 นำโดย พ.ต.อ.ปิยรัช สุภารัตน์ ผกก.สายตรวจ โดยระบุการกระทำผิดที่กล่าวหาทั้งสามโดยสรุปว่า

ก่อนการจับกุม ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุม จํานวนมากกว่า 100 คน ขึ้นไป มาร่วมกันชุมนุมที่บริเวณหน้า สน.ดินแดง เพื่อเรียกร้องทางการเมืองและขับไล่นายกรัฐมนตรีให้ลาออก ต่อมาได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมพยายามบุกรุกเข้ามาภายในสถานีตํารวจ มีการขว้างปาขวดน้ำ ใช้สีสเปรย์พ่นใส่ศาลพระภูมิ และตามสถานที่ต่างๆ เทราดศาลพระภูมิด้วยน้ำสีแดงคล้ายเลือด มีการใช้รองเท้าแตะแขวนไว้บนยอดศาลพระภูมิ และใช้รองเท้าส้นสูงทุบ จากนั้นมีการเทราดเชื้อเพลิง และจุดไฟเผาบนศาลพระภูมิ ระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่ตํารวจได้ประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมทราบว่า การร่วมกันชุมนุมข้างต้นเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมาย และสั่งให้เลิก หากแต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่เลิก

บันทึกการจับกุมระบุด้วยว่า จากพยานหลักฐานยืนยันได้ว่า แซมเป็นผู้ใช้รองเท้าส้นสูงทุบศาลพระภูมิ ใช้ขวดน้ำปาใส่ และใช้ของเหลวราด ซึ่งตํารวจที่ยืนอยู่ที่บริเวณดังกล่าวได้กลิ่นคล้ายกลิ่นน้ำมันเชื้อเพลิง ต่อมาได้มีผู้ร่วมชุมนุมอีกคนนําไฟมาจุดทําให้เกิดไฟลุกไหม้ ส่วนวีรภาพเป็นผู้ใช้รองเท้าแตะแขวนไว้บนยอดศาลพระภูมิ เทราดด้วยน้ำสีแดงคล้ายเลือด และใช้สีสเปรย์พ่นใส่ ทำให้ศาลพระภูมิได้รับความเสียหาย

นอกจากนี้ หลังแซมถูกจับกุม ตํารวจได้ตรวจค้นตัว ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย แต่แซมไม่สามารถแสดงบัตรประจําตัวประชาชนได้ และแจ้งว่าไม่มี ไม่เคยทํา รวมทั้งเมื่อตํารวจตรวจสอบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ก็ไม่พบข้อมูลของแซม

พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาวีรภาพ, แซม และ อรรถสิทธิ์ว่า ร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 25 คนในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวาย, ไม่เลิกมั่วสุมเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก อันเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และ 216 และแจ้งข้อหาวีรภาพ ฐานทำให้เสียทรัพย์ อีกข้อหา ส่วนแซมถูกแจ้งข้อกล่าวหา ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์, ทำให้เสียทรัพย์ และเป็นบุคคลต่างด้าวอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ด้วย

ทั้งสามให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา อรรถสิทธิ์ให้การด้วยว่า เขาถูกทำร้ายจากเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมและควบคุมตัว

ทั้งนี้ ขณะทนายความได้พบทั้งสามในเวลาราว 03.00 น. หลังการถูกจับกุมและควบคุมตัวในห้องสืบสวนราว 9 ชั่วโมง กรณีของแซมถูกควบคุมตัวทั้งที่รถผู้ต้องขัง, บช.ปส. และห้องสืบสวน สน.ดินแดง หลังถูกส่งตัวกลับมา สน.ดินแดง ในราว 02.00 น. ทนายพบว่า วีรภาพมีรอยฟกช้ำนูนที่โหนกแก้ม ที่ลำตัวมีรอยช้ำหลายจุด รวมทั้งมีคราบเลือดที่เสื้อด้วย โดยเขาให้ข้อมูลว่า ถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายจนสำลักออกมาเป็นเลือด

บ นท กขออน ม ต ซ อมแซมศาลพระภ ม

ด้านอรรถสิทธิ์ มีรอยฟกช้ำขนาดใหญ่หลายจุดทั่วใบหน้า หางตาซ้ายแตกมีเลือดออกเล็กน้อย และมีเลือดคั่งในตา ลำคอและลำตัวมีรอยแดงหลายแห่ง ข้อมือซ้ายบวมแดงขนาดเท่าลูกกอล์ฟ เขาเล่าว่า มาไว้อาลัยให้แก่เด็กอายุ 15 ปี ที่เสียชีวิต และได้วิ่งเข้าไปในซอยตอนตํารวจเดินเข้าใส่ผู้ชุมนุม ก่อนถูกจับกุมและถูกทำร้าย

บ นท กขออน ม ต ซ อมแซมศาลพระภ ม

ส่วนแซมซึ่งมีเพียงรอยแดงที่หน้าอก และมีภาพขณะถูกจับกุมว่าถูกตำรวจล็อกคอ เล่าให้ทนายฟังว่า ถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายทั้งบนรถผู้ต้องขัง ที่ บช.ปส. และที่ สน.ดินแดง จนมีอาการหายใจติดขัด นอกจากนี้ยังถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่ให้กลัวด้วย

.

จับแยกโรงกรองน้ำอีก 2 ราย หลังผู้ชุมนุมยังรวมตัวถึงดึก กล่าวหาร่วมก่อความวุ่นวาย

ผู้ถูกจับกุมดำเนินคดีอีก 2 ราย ได้แก่ ทิน (นามสมมติ) อายุ 35 ปี และสม (นามสมมติ) อายุ 36 ปี ทั้งสองถูกจับกุมในช่วง 20.30 น. บันทึกจับกุมที่จัดทำในห้องสืบสวนที่ไม่ให้ทนายความเข้าร่วมระบุว่า เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมเป็นชุดเดียวกับที่จับ 3 คนในช่วงเย็น และระบุการกระทำที่กล่าวหาเช่นเดียวกัน เพิ่มเติมว่า หลังเจ้าหน้าที่ตํารวจควบคุมฝูงชนเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณหน้า สน.ดินแดง กลุ่มผู้ชุมนุมได้ล่าถอยไปรวมกลุ่มชุมนุมบริเวณแยกโรงกรองน้ำ ต่อเนื่องโค้งพร้อมพรรณ ถ.ประชาสงเคราะห์ ตั้งแต่เวลา 19.00 น. มีการขว้างปาประทัด ระเบิด หรือของแข็งเข้าใส่เจ้าหน้าที่ จุดไฟกลางถนนสาธารณะ ตํารวจจึงได้เข้าควบคุมพื้นที่อีกครั้ง โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้วิ่งหลบหนีเข้าซอยต่างๆ ก่อนเจ้าหน้าที่โดยจับกุมทินได้ที่ซอยรุ่งเมือง และจับกุมสมได้ที่ก่อนถึงโค้งพร้อมพรรณ พร้อมทั้งยึดโทรศัพท์มือถือของทั้งสอง

พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาทินและสมว่า ร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 25 คนในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวาย โดยผู้ร่วมกระทำผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ

ชั้นสอบสวนสมให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยจะให้การเป็นหนังสือภายในวันที่ 19 พ.ย. 2564 ขณะที่ทินให้การรับสารภาพ

.

ศาลอาญาไม่ให้ประกันแซม ต้องเข้าเรือนจำครั้งที่ 3 ขณะศาลแขวงพระนครเหนือให้ประกัน 3 ราย ปรับ-รอลงอาญาอีก 1 ราย

หลังสอบสวนเสร็จในเวลาเกือบ 07.00 น. ของวันที่ 30 ต.ค. 2564 ช่วงสาย พนักงานสอบสวน สน.ดินแดง นำตัวแซมไปขอศาลอาญาฝากขัง และนำตัววีรภาพ, อรรถสิทธิ์ และสม ไปฝากขังต่อศาลแขวงพระนครเหนือ ส่วนทินซึ่งรับสารภาพ ถูกส่งตัวให้อัยการเพื่อยื่นฟ้องด้วยวาจาที่ศาลแขวงพระนครเหนือเช่นกัน

ต่อมา เวลา 12.30 น. ศาลแขวงพระนครเหนือมีคำสั่งให้ฝากขังวีรภาพ, อรรถสิทธิ์ และสม ตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้อง ก่อนอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องวางหลักประกัน หากผิดสัญญาประกันปรับคนละ 20,000 บาท กรณีทิน หลังอัยการฟ้องด้วยวาจา ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน 15 วัน และปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี

ด้านศาลอาญา หลังศาลอนุญาตให้ฝากขังแซมระหว่างการสอบสวน ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยเสนอหลักทรัพย์เป็นเงินสด 70,500 บาท ต่อมา เวลา 16.00 น. พลีส เทอดไทย ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด มีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว ระบุในคำสั่งว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่า ผู้ต้องหาเคยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจากศาลในความผิดลักษณะเดียวกันกับคดีนี้มาแล้ว แต่กลับมาร่วมกับพวกก่อเหตุเป็นคดีนี้ในลักษณะความผิดทำนองเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว กรณีจึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวแล้ว ผู้ต้องหาจะกลับไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นซ้ำอีก

ก่อนหน้านี้ แซม ผู้ต้องหาชาวไทย-กัมพูชา ตกเป็นผู้ต้องหาคดีชุมนุมทางการเมืองมาแล้ว 2 คดี โดยถูกขังหลังถูกจับกุมระยะหนึ่ง และติดโควิดในเรือนจำทั้งสองครั้ง ก่อนได้รับการประกันตัว

คดีแรก คือ คดี #ม็อบ28กุมภา หน้ากรมทหารราบที่ 1 ซึ่งแซมถูกกล่าวหาว่าเป็นชายคนเดียวกับที่ทำท่ายืนปัสสาวะอยู่บนตู้คอนเทนเนอร์ พนักงานสอบสวน สน.ดินแดง แจ้งข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, มั่วสุมก่อความวุ่นวาย, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และ “เป็นบุคคลต่างด้าวเดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต” ได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณาของศาลอาญา หลังถูกขัง 102 วัน

บ นท กขออน ม ต ซ อมแซมศาลพระภ ม

ส่วนคดีที่ 2 คือ คดี #ม็อบ2สิงหา หน้า ตชด.ภาค 1 เรียกร้องให้ปล่อยตัวกลุ่มทะลุฟ้า ซึ่งแซมถูกพนักงานสอบสวน สภ.คลองห้า แจ้งข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, มั่วสุมก่อความวุ่นวาย, ร่วมกันทำร้ายเจ้าพนักงาน และทำให้เสียทรัพย์ แซมถูกขังระหว่างสอบสวนอยู่ 19 วัน ก่อนได้รับการประกันตัวจากศาลจังหวัดธัญบุรี

ทั้งนี้ แซมเกิดและเติบโตในประเทศไทย โดยพ่อเป็นคนไทย ส่วนแม่เป็นชาวกัมพูชา จึงไม่ใช่บุคคลต่างด้าว เพียงแต่ไม่มีสถานะทางทะเบียน เนื่องจากพ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และแยกทางกันตั้งแต่แซมยังเล็ก ปัจจุบันอยู่ระหว่างกระบวนการขอจัดทำเอกสารบุคคล

คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลอาญาครั้งนี้ทำให้แซมถูกขังในเรือนจำเป็นครั้งที่ 3 และทำให้ยอดผู้ต้องขังที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองเพิ่มขึ้นเป็น 28 ราย