บทคความเร องโรค ม อ เท า ปาก สสส

การติดต่อเกิดขึ้นได้จากการสัมผัส หรือรับประทานสิ่งที่ปนเปือนกับเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ที่ติดเชื้อ ผู้ที่ติดเชื้อโรคเฮอร์แปงไจน่ามักพบได้ในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 10 ปี ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่มีภูมิต้านทานของเชื้อนี้เพียงพอ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่รวมกันในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานเลี้ยงเด็ก เพราะเด็กมักเล่นของเล่นร่วมกัน หยิบจับสิ่งของร่วมกัน ดังนั้นโรคนี้จึงมักระบาดได้ง่าย เพราะมีโอกาสติดต่อได้ง่าย โดยเชื้อนี้จะอยู่ได้นานในอากาศเย็น และชื้น จึงมักระบาดมากในฤดูฝน แต่ก็สามารถพบได้ตลอดทั้งปี โรคเฮอร์แปงไจน่าอันตรายแค่ไหน? โดยทั่วไปแล้วโรคเฮอร์แปงไจน่ามักจะมีอาการไม่รุนแรง ยกเว้นไข้สูง แต่ก็ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้จากโรคนี้ เช่น การอักเสบของก้านสมอง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวพบได้น้อย โรคมือ เท้า ปาก VS เฮอร์แปงไจน่า แตกต่างกันอย่างไร? แม้ว่า “โรคมือ เท้า ปาก” และ “เฮอร์แปงไจน่า” เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน แต่อาการแสดงแตกต่างกัน คือ โรค มือ เท้า ปาก จะมีไข้ มีผื่น ตุ่มน้้าใส หรือเม็ด แดงๆ ในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางรายอาจมีอาการ อาเจียน ถ่ายเหลวรุนแรง ร่างกายขาดน้้า ปอดบวมน้้า หอบเหนื่อย ซึม ชัก เกร็ง ช็อกเสียชีวิต ส่วน “โรคเฮอร์แปงไจน่า” จะไม่พบผื่นบริเวณฝ่ามือ และฝ่าเท้า จะสังเกตอาการของโรคนี้ได้ค่อนข้างลำบากในช่วงแรก ต่อเมื่อเริ่มมีผื่นขึ้นจึงจะสามารถสังเกตอาการได้ บางรายอาจพบเพียงผื่น และแผลตื้น ๆ กราย ๆ ในช่องปาก เท่านั้น การรักษา โรคนี้ส่วนใหญ่หายได้เองเนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียารักษาเฉพาะการรักษา เป็นเพียงการรักษา ตามอาการ เช่น มีไข้ เช็ดตัวลดไข้ ให้รับประทานยาลดไข้ร่วมกับให้ยาบรรเทาอาการอื่นๆ ลดความเจ็บปวดจากผื่นแผลในปาก กระตุ้นให้ดื่มน้้า และรับประทานอาหารเหลวทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง หากรับประทานอาหารได้น้อย และมีภาวะขาดน้้าเกิดขึ้น ได้แก่ ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อยลงและมีสีเหลืองเข้ม ให้รีบไปพบแพทย์ .jpg) เมื่อพบติดโรคเฮอร์แปงไจน่า” ดูแลอย่างไร? สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ สามารถรับประทานอาหารได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเด็กคนไหนมีอาการเจ็บในปากมาก ไม่ยอมรับประทาน หรือไม่ยอมกลืนอาหาร ควรหาของอ่อนๆ ให้เด็กรับประทาน หรือในบางครั้งให้รับประทานอาหารประเภทน้ำหรือนมเย็นๆ หรือไอศกรีมก็ได้ ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยเฉพาะ ดังนั้น การรักษาจึงให้การรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ และยาชาทาแผลในปาก เพื่อบรรเทาอาการเจ็บ โดยทั่วไปสามารถหายได้เอง เพียงแต่ต้องเฝ้าระวังเรื่องภาวะแทรกซ้อนดังที่ได้กล่าวไป ถ้าหากเด็กรับประทานอาหารไม่ได้ หายใจหอบ มีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือชัก ควรรีบมาพบแพทย์ วิธีการป้องโรคเฮอร์แปงไจน่า การป้องกันโรคทำได้โดยแยกผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ที่ไม่สบาย หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่ชุมชนแออัดรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ควรล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งด้วยน้ำและสบู่ หากลูกหลานไม่สบายควรให้หยุดเรียนเพื่อจะได้ลดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ กุมารเวช

โรคนี้มักระบาดในเด็กเล็ก ซึ่งอยู่รวมกันในโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงดูเด็ก เน้นเรื่องการล้างมือ ทำความสะอาดของเล่น ความสะอาดของน้ำดื่มและอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะร่วมกันโดยเฉพาะ แก้วน้ำ ขวดนม ช้อน จานอาหาร ที่สำคัญควรให้เด็กที่ติดเชื้ออยู่บ้านไม่ควรให้ออกมาเล่นกับเด็กคนอื่นๆ เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ

เมื่อบุตรหลานเริ่มไปโรงเรียน อาจเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บที่ติดต่อได้ง่ายขึ้น โรคมือ เท้า ปาก เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบการแพร่กระจายได้โดยง่าย และพบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี บทความนี้จะช่วยให้ท่านรู้จักกับโรคและวิธีป้องกันโรคนี้ เพื่อให้บุตรหลานอันเป็นที่รักยิ่งของท่าน ห่างไกลจากโรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร?

โรคมือ เท้า ปาก (Hand, foot, and mouth disease, HFMD) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักพบในเด็กทารก และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถพบในเด็กโตและผู้ใหญ่ได้ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ เจ็บในปาก มีตุ่มพองในปาก มีผื่นขึ้น

โรคมือ เท้า ปาก มีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 สัปดาห์ หลังสัมผัสเชื้อ ดังนั้น จึงสามารถติดต่อกันได้แม้จะยังไม่มีอาการแสดงใดๆ

อะไรคือสาเหตุของโรคมือ เท้า ปาก?

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากไวรัสในตระกูล Enterovirus โดยส่วนใหญ่เป็น Coxsackievirus A16, Coxsackievirus A6 และ Enterovirus 71 ในช่วงสัปดาห์แรกหลังสัมผัสเชื้อเป็นระยะที่มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายมากที่สุด มักพบการระบาดของโรคนี้ได้บ่อยในช่วงฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม)

อาการของโรคมือ เท้า ปาก มีอะไรบ้าง?

อาการแสดงของโรคในระยะเริ่มแรก ได้แก่

  • มีไข้
  • ไม่อยากอาหาร
  • เจ็บคอ
  • ไม่สบายตัว

หลังจากมีไข้ 1-2 วัน จะเริ่มมีอาการเจ็บในปาก ต่อมาเริ่มมีจุดแดงบริเวณด้านหลังของปาก และเกิดแผลตุ่มพอง ซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บ เกิดผื่นบนฝ่ามือและฝ่าเท้า ซึ่งจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น อาจพบผื่นแบบเรียบ จุดแดง หรืออาจพบเป็นแผลตุ่มพองได้ ในบางครั้งผื่นอาจแพร่กระจายไปยังหัวเข่า ข้อศอก ก้น และอวัยวะเพศในเด็กเล็กอาจเกิดการสูญเสียน้ำจากร่างกายได้ ถ้าไม่สามารถรับประทานอาหารหรือกลืนได้เนื่องจากเจ็บแผลในช่องปาก ควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรักษาอาการดังกล่าว อาการที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นสามารถพบได้ในผู้ป่วยเด็กเป็นส่วนใหญ่ ในกรณีเกิดการติดเชื้อไวรัสนี้ในผู้ใหญ่ อาจเกิดอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่แสดงอาการออกมาเลย และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอาการรุนแรง อย่างไรก็ตาม ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่นได้

ท่านสามารถติดโรคมือ เท้า ปาก จากทางใดได้บ้าง?

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายได้ง่าย ทั้งผ่านทางระบบทางเดินหายใจ จากการสัมผัสน้ำลาย เสมหะ น้ำมูก และระบบทางเดินอาหาร จากการสัมผัสอุจจาระของผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสของเล่น น้ำ และอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสได้อีกด้วย

โรคมือ เท้า ปาก รักษาได้อย่างไร?

ไม่มีการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจงสำหรับโรคมือ เท้า ปาก มีเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น ท่านสามารถบรรเทาอาการโรคมือ เท้า ปาก และลดความรุนแรงของโรคได้ ดังนี้

  • ใช้ยาแก้ปวดลดไข้ Paracetamol หรือ Ibuprofen หลีกเลี่ยงการใช้ยา Aspirin ในเด็ก
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มร้อน โซดา อาหารที่เป็นกรด รสเค็ม และรสเผ็ดจัด
  • บ้วนปากหลังรับประทานอาหาร หรือใช้สเปรย์พ่นคอเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก
  • สามารถรับประทานไอศกรีม หรือดื่มเครื่องดื่มเย็น เพื่อลดอาการเจ็บแผลในปากได้
  • ควรรับประทานอาหารเหลว เพื่อลดการใช้ช่องปากในการบดเคี้ยวอาหาร
  • ถ้ามีแผลในปาก และเจ็บจนไม่สามารถกลืนได้ ควรดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเสียน้ำออกจากร่างกาย แต่ถ้าไม่สามารถกลืนหรือดื่มน้ำได้เลย อาจต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดต่อไป

โรคมือ เท้า ปาก สามารถป้องกันได้อย่างไร?

วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก คือการดูแลสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ ดังนี้

  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ อย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมและหลังการใช้ห้องน้ำ หากกรณีไม่มีสบู่ล้างมือ สามารถใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือแทนได้
  • ทำความสะอาดพื้นที่และสิ่งของให้สะอาดบ่อยๆ โดยเฉพาะของเล่นเด็ก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น การจูบ การกอด
  • ไม่ใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะจาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ
  • เด็กควรหยุดเรียนเพื่อไม่ให้โรคแพร่กระจาย รอจนกระทั่งไม่มีไข้และไม่มีแผลในปาก

นอกเหนือจากวิธีปฏิบัติข้างต้น ในปัจจุบันยังมีวัคซีนเพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก โดยเฉพาะ ท่านสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพาบุตรหลานรับวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ได้

วัคซีนโรคมือ เท้า ปาก คืออะไร?

วัคซีนโรคมือ เท้า ปาก ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเป็นวัคซีนเชื้อตาย ที่ประกอบไปด้วยแอนติเจนของเชื้อเอนเทอโรไวรัสชนิด 71 (Enterovirus type 71, EV71) วัคซีนนี้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อ EV71 เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ที่เกิดจากการติดเชื้อ EV71 ได้ แต่ไม่สามารถป้องกันโรคมือเท้าปากที่เกิดจากไวรัสชนิดอื่นๆ (เช่น Coxsackievirus A16 เป็นต้น) จากการศึกษาพบว่าการฉีดวัคซีนโรคมือ เท้า ปาก ครบ 2 เข็ม สามารถป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ที่เกิดจากการติดเชื้อ EV71 ได้สูงถึง 97.3% ในช่วง 1 ปีแรกหลังฉีดวัคซีน และป้องกันได้ 93.77% ในช่วงปีที่สองหลังฉีดวัคซีน

ใครควรได้รับวัคซีนโรคมือ เท้า ปาก?

วัคซีนนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยฉีดทั้งหมด 2 โดส ห่างกัน 1 เดือน และเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีนโรคมือ เท้า ปาก มีอะไรบ้าง?

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้:

  • พบบ่อยมาก (≥10%): ไข้
  • พบบ่อย (1%-10%):
    • อาการบริเวณที่ฉีดยา: ปวด แดง บวม ผิวหนังแข็ง
    • อาการอื่นๆ: ไม่อยากอาหาร, หงุดหงิด, ถ่ายเหลว, คลื่นไส้, อาเจียน, อ่อนเพลีย
  • พบไม่บ่อย (0.1%-1%): มีอาการคัน

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตลอด 24 ชั่วโมง