280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ก่อนเทพื้นคอนกรีต อันดับแรกที่ต้องให้ความสำคัญจะต้องปรับระดับหน้าดินให้มีความสม่ำเสมอกัน อัดบดดินให้เรียบเสมอกัน หากเป็นพื้นที่ภายในบ้าน ควรถมดินสูงกว่านอกบ้านประมาณ 50 – 80 เซนติเมตร หากสูงกว่านี้ หรือหากไม่ปรับหน้าดินให้เสมอกัน จะส่งผลให้เกิดแรงดันและเกิดความเสียหายได้ หลังจากนั้นเททรายให้มีความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร และอัดบดให้แน่น หากไม่บดให้แน่นจะทำให้ทรายยุบตัว และต้องใช้คอนกรีตปริมาณมากกว่าเดิม

2. กำหนดความกว้างและรอยต่อของการเทพื้นคอนกรีต

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: รอยต่อบนพื้นคอนกรีต

ควรกำหนดพื้นที่ให้ที่ต้องการเทพื้นคอนกรีตให้เรียบร้อย ก่อนวางแบบหล่อ และควรกำหนดของรอยต่อ เนื่องจากคอนกรีตนั้นมักจะยืดหรือหดตัวตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง และอาจส่งผลให้เกิดการแตกร้าวได้ ดังนั้นควรกำหนดรอยต่อกว้างประมาณ 5-10 มิลลิเมตร โดยควรกำหนดผนังของรอยต่อให้รอบคอบ เพราะหากทำรอยต่อไม่เหมาะสม จะทำให้ไม่สามารถป้องกันการแตกร้าวได้อย่างที่ควรจะเป็น

3. วัดความหนาของพื้นที่

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: ความหนาของพื้นคอนกรีต

หลังจากปรับพื้นผิวให้เรียบเสมอกันและวัดพื้นแล้ว ควรวัดความหนาของมุมต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้กะปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้ผสมปูนเทพื้น โดยควรวัดจากหน้างานโดยตรง เพราะหากใช้เพียงข้อมูลจากการจดบันทึกเพียงอย่างเดียวอาจเกิดปัญหากะปริมาณปูนซีเมนต์ผิดได้ ซึ่งทำให้งานเทพื้นคอนกรีตล่าช้าและเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นได้

4. การเตรียมแบบหล่อที่แข็งแรง

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: แบบหล่อไม้

แบบหล่อปูนในการเทพื้นคอนกรีต สามารถใช้ได้ทั้งไม้ พลาสติก เหล็กสำเร็จรูป แต่จะต้องให้ความสำคัญกับความแข็งแรง และบริเวณที่อาจเกิดรอยรั่วต่าง ๆ เพื่อป้องกันน้ำปูนไหลทะลัก โดยเฉพาะบริเวณใกล้กับเหล็กเสริม แนะนำใช้เหล็กกระทุ้ง หรือเครื่องจี้ไม่ให้น้ำปูนไหลออกจากแบบหล่อ ในกรณีที่ใช้ไม้แบบพลาสติกหรือเหล็กสำเร็จรูป มักไม่ค่อยมีปัญหานัก เพราะวัสดุเหล่านี้ถูกออกแบบเพื่อการใช้งานหล่อเทพื้นปูนอยู่แล้ว

5. วางตะแกรงเหล็กเสริมในตำแหน่งที่ถูกต้อง

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: การวางตะแกรงเหล็กเสริม

การวางตะแกรงเหล็กเสริม (Wire Mesh) ควรอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าผิวคอนกรีตประมาณ 3-5 เซนติเมตร หรือหากต้องการวางตะแกรงเหล็กเสริมให้สะดวกมากขึ้น สามารถหนุนเหล็กด้วยปูน เพื่อใหม่ให้เหล็กสัมผัสกับดิน อีกทั้งเหล็กยังช่วยเพิ่มความแข็งแรง ลดโอกาสเกิดการแตกร้าว รวมถึงช่วยให้ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิช่วงกลางวันและกลางคืน

หลังจากเตรียมพื้นสำหรับเทพื้นคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็เป็นเทคนิคการเทพื้นให้เรียบสวยและแข็งแรง จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันได้เลย!

เทคนิคการเทพื้นคอนกรีตให้เรียบสวย

1. ผสมปูนให้ได้ปริมาณที่ถูกต้อง

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: การผสมคอนกรีต

การผสมปูนเทพื้นบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะต้องใช้วิธีผสมปูนซีเมนต์เทพื้นในอัตราส่วนที่เหมาะสม สำหรับโครงการสร้างทั่วไป นิยมใช้ปูนซีเมนต์ ทราย หิน ในอัตราส่วน 1 : 2 : 4 ช่วยให้พื้นคอนกรีตที่ได้แข็งแรง และรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี หากไม่แน่ใจเรื่องสูตรผสมปูนเทพื้น ควรปรึกษาผู้เชียวชาญ หรือศึกษาการผสมปูนในอัตราส่วนที่ถูกต้องบนถุงบรรจุปูนซีเมนต์แต่ละประเภท

2. เทคอนกรีตลงในพื้นที่ที่ต้องการ

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: การเทพื้นคอนกรีต

หลังจากเตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ให้เทปูนที่ผสมเสร็จแล้วลงบนพื้นที่ที่กำหนดไว้ จากนั้นเกลี่ยให้ทั่วถึง เมื่อได้ระดับที่ต้องการจึงวางตะแกรงเหล็กลงไปอีกชั้นหนึ่ง และเทคอนกรีตทับลงไปอีกครั้งหนึ่ง ตามลำดับที่กำหนดไว้ หรือจะใช้วิธีเสริมลูกปูนก่อนวางตะแกรงเหล็กเสริมทับ แล้วเทคอนกรีตให้เข้าทั่วตามระดับที่ต้องการ การใช้วิธีนี้จะช่วยลดขั้นตอนการเทพื้นคอนกรีตได้อีกทางหนึ่ง

3. แต่งหน้าพื้นผิว

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: แต่งพื้นผิวคอนกรีต

หลังจากเทปูนพื้นให้ได้ตามระดับที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ก็ปรับแต่งพื้นผิวหรือเกลี่ยพื้นผิวให้เรียบเสมอกัน ด้วยการใช้พลั่วตบผิวคอนกรีต วิธีนี้จะช่วยลดฟองอากาศบนพื้นผิว จะช่วยให้ผิวหน้าเรียบมากยิ่งขึ้น หากมีน้ำเยิ้มที่ผิวหน้าพื้นปูนซีเมนต์ ให้ทิ้งไว้จนน้ำหายเยิ้มเสียก่อน แล้วปาดน้ำทั้งหมดทิ้ง เพื่อช่วยป้องกันผิวหน้าเป็นฝุ่นหลังแห้งตัว

4. ตรวจสอบความผิดปกติ

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: พื้นคอนกรีตที่เริ่มเซ็ตตัว

หลังเทพื้นคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว ควรสังเกตดูความผิดปกติต่าง ๆ เช่น รอยรั่ว รอยร้าว รวมไปถึงตรวจสอบว่ามีคอนกรีตโก่งตัวหรือไม่ เพื่อที่จะแก้ข้อผิดพลาดได้เลยทันที ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ที่อาจทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเป็นจำนวนมาก

5. บ่มคอนกรีต

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: การบ่มคอนกรีต

หลังจากเทพื้นคอนกรีตและปรับพื้นผิวเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนบ่มคอนกรีต โดยปล่อยคอนกรีตให้เริ่มแข็งตัว และฉีดน้ำให้ชุ่ม แล้วทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 7 วัน จะช่วยให้พื้นคอนกรีตที่ได้แข็งแรง ทนทานมากยิ่งขึ้น โดยขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก หากไม่บ่มคอนกรีตในระยะเวลาที่เหมาะสม จะทำให้พื้นรับแรงได้น้อยกว่าที่ควร และทำให้เกิดการแตกร้าวได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดสนิมที่เหล็กเสริมได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: จระเข้ แอดมิค เคียว

เพื่อให้การบ่มคอนกรีตมีคุณภาพ และเสริมความแข็งแรงให้มากยิ่งขึ้น ควรเลือกใช้น้ำยาทาคอนกรีตจระเข้ แอดมิค เคียว ซึ่งเป็นน้ำยาบ่มคอนกรีตชนิด Sodium Silicate ประสิทธิภาพสูง โดยน้ำยาจะก่อตัวเป็นแผ่นฟิล์มเคลือบบนผิวพื้นคอนกรีต ช่วยป้องกันน้ำระเหยจากเนื้อคอนกรีตเร็วเกินไป ลดการหดตัวและแตกร้าวจากการสูญเสียน้ำ และยังลดฝุ่นจากผิวหน้าคอนกรีต ช่วยให้การเกิดปฏิกิริยาในคอนกรีตเป็นไปอย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ชมรายละเอียดจระเข้ แอดมิค เคียว

นอกจากเทคนิคการเทพื้นคอนกรีตแล้ว ก็มีข้อควรระวังเล็กน้อยที่ควรทำระหว่างการเทพื้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดระหว่างทำงาน หรือได้พื้นปูนที่ไม่มีคุณภาพมากเพียงพอ

ข้อควรระวังในการเทพื้นคอนกรีต

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: พื้นคอนกรีตแตกร้าว

  • เลือกใช้ปูนซีเมนต์ให้เหมาะสมกับประเภทของผิวหน้างาน เพื่อลดโอกาสเกิดการแตกร้าวและพื้นผิวซีเมนต์หลุดล่อน เช่น งานผิวหน้าขัดหยาบ ควรใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัด 280 ksc หรืองานพื้นผิวหน้าขัดมัน ควรใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัด 350 ksc
  • ควรเทพื้นคอนกรีตทั้งหมดในคราวเดียวกัน ไม่ควรทิ้งช่วงเวลาในการเทนานเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อคอนกรีตไม่รวมตัวแน่น และไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
  • ควรเช็คสภาพอากาศก่อนเทพื้นคอนกรีต ควรเลือกวันนี้ที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป เพราะหากสภาพอากาศร้อน ลมแรง อาจทำให้คอนกรีตแข็งตัว แห้งเร็วเกินไป
  • หลักจากผสมปูนเสร็จแล้ว ควรใช้เทพื้นให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง เพราะหากเกินกว่านี้แล้วจะทำให้เนื้อปูนมีประสิทธิภาพลดลง อาจเกิดการแตกร้าวได้ง่าย
  • ไม่ควรเติมน้ำหรือสารพิเศษอื่น ๆ เพิ่ม ระหว่างการผสมปูนเทพื้น อาจทำให้คอนกรีตเสื่อมคุณภาพ และยังส่งผลให้กำลังอัดลดลงอีกด้วย
  • ห้ามเหยียบพื้นผิวคอนกรีตที่ยังไม่แห้งและแข็งตัวดีโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้พื้นผิวได้รับการกระทบกระเทือน และส่งผลต่อเนื้อคอนกรีตภายในได้

คำถามที่พบบ่อยในการเทพื้นคอนกรีต

1. คอนกรีตผสมเสร็จ 1 คิว เทพื้นได้กี่ตารางเมตร

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: คอนกรีตผสมเสร็จ

สำหรับการสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมาใช้ที่หน้างาน โดยปกติจะต้องสั่งเป็นจำนวนที่ใช้หน่วยคิว โดยคำว่าคิว ย่อมาจาก คิวบิกเมตร ซึ่งเป็นปริมาตรคอนกรีตทรงลูกบาศก์ที่มีขนาดกว้างxยาวxสูง อยู่ที่ 1x1x1 เมตร หรือ 100x100x100 เซนติเมตร เมื่อนำมาตัดเป็นแผ่นหนา 10 เซนติเมตร จะได้ทั้งหมด 10 แผ่น หรือ 10 ตารางเมตร หรือหากตัดหนา 15 เซนติเมตร จะได้ประมาณ 6.67 ตารางเมตร

สูตรการคำนวณปริมาณคอนกรีต (คิว)

ความกว้าง x ความยาว x ความหนา = ปริมาตรคอนกรีต (คิว)

สรุปง่าย ๆ ก็คือ คอนกรีต 1 คิว เทพื้นบ้านหนา 10 เซนติเมตร ได้ 10 ตารางเมตร เทพื้นหนา 15 ซม. ได้ 6.7 ตารางเมตร โดยสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่าควรจะซื้อปูนมาเทพื้นในปริมาณเท่าไรดี จระเข้มีสูตรการคำนวณง่าย ๆ มาฝากกัน สำหรับการคำนวณจะต้องใช้หน่วยเมตรในการคำนวณ เช่น ต้องการเทพื้นปูนหน้าบ้านกว้าง 7 เมตร ยาว 7 เมตร และหนา 0.10 เมตร จะได้ 7x7x0.10 = 4.9 คิว

2. สูตรผสมปูนคอนกรีตเทพื้น ควรใช้อัตราส่วนเท่าไร

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: การผสมคอนกรีตด้วยเครื่องผสม

สำหรับการผสมคอนกรีตเองที่หน้างาน ควรใช้อัตราส่วน 1 : 2 : 4 ซึ่งก็คือ ปูน 1 ส่วน ทราย 2 ส่วน หิน 4 ส่วน โดยค่อย ๆ เทหินทีละ 1 ส่วน เพื่อให้ใช้แรงน้อยผสมน้อยลง เมื่อผสมจนครบหมดแล้ว ก็สามารถนำไปเทพื้นคอนกรีตได้เลยทันที ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับการเทพื้นที่ที่ไม่มากจนเกินไป สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเรียกรถโม่ปูนมาเท จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก

280 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ภาพ: จระเข้ แอดมิค พรูฟ

การเทพื้นคอนกรีตส่วนใหญ่ไม่ยากอย่างที่คิด และไม่ค่อยมีเทคนิคอะไรมาก เพียงเลือกวัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน และการคำนวณสูตรผสมปูนเทพื้นในปริมาณที่ถูกต้อง และเพื่อให้พื้นบ้านเรียบสวย แข็งแรง ทนทานมากยิ่งขึ้น ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จระเข้ แอดมิค พรูฟ น้ำยาผสมคอนกรีตลดการซึมน้ำ ช่วยปรับสภาพของเนื้อคอนกรีตหนาแน่นมากขึ้น ช่วยลดรูพรุนที่ทำให้น้ำซึมผ่านได้ อีกทั้งยังช่วยให้คอนกรีตไหลตัวดีขึ้น ตกแต่งผิวหน้าได้อย่างสะดวกมากขึ้น เพื่อให้การเทพื้นปูนหน้าบ้านหรือบริเวณที่ต้องการ เรียบเนียนและสวยงามคงทนตราบนานเท่านาน