2024 ว ธ ทำไม ให หน าล อคอ นเฟจบ คโชว ในคอม

บริษัท สยามสปอร์ต ซินติเคท จำกัด (มหาชน) เลขที่ 66/26 - 29 ซอยรามอินทรา 40 ถนนรามอินทรา แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

โทร : 02-5088-000 อีเมล์ : [email protected] เว็บไซต์ : www.siamsport.co.th

สสส. กับ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ว่าด้วยวินัยทางการคลังและการขัดกันแห่งผลประโยชน์

เผยแพร่: 25 ต.ค. 2558 19:21 ปรับปรุง: 25 ต.ค. 2558 19:22 โดย: อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สาขาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย (Business analytics and research) คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สสส. สนับสนุนโครงการปฏิทินอุดมคติและความหวังเพื่อสร้างสรรค์สู่คุณภาพชีวิตและสังคมสุขภาวะใหม่เพื่อเตรียมงานรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อปลายปี 2556 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจพบว่า การให้เงินอุดหนุนโครงการดังกล่าวจำนวนหนึ่งล้านบาทแก่องค์การเอกชน (มูลนิธิ) แห่งหนึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขเนื่องจากมูลนิธิแห่งนั้นไปรับเงินอุดหนุนการจัดทำจดหมายข่าวรายเดือนของมูลนิธิจากบริษัทผลิตเหล้าเบียร์แห่งหนึ่งเป็นเงินหกหมื่นบาท ทั้งยังขาดการติดตามตรวจสอบว่าได้มีการรณรงค์เรื่องการงดเหล้างดบุหรี่ ในการจัดงานดังกล่าวหรือไม่อย่างหละหลวม

ผมได้ทราบข่าวนี้แล้วทำให้อดรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในหลายเรื่อง แต่มีอยู่สองเรื่องที่ผมคิดว่าอาจารย์ป๋วยเองจะเสียใจมากแม้ว่า สสส. จะรำลึกถึงและร่วมให้ทุนสนับสนุนการจัดงานรำลึก 100 ปี ชาตกาลก็ตาม นั่นคือเรื่องของวินัยทางการคลังและการขัดกันแห่งผลประโยชน์

อาจารย์ป๋วย เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยยาวนานนับสิบปี สิ่งที่อาจารย์ป๋วยแสดงจุดยืนมากที่สุดยาวนานหนักแน่นที่สุดประการแรกคือ วินัยทางการคลัง อาจารย์ป๋วยไม่ยอมให้รัฐบาลก่อหนี้สาธารณะหรือใช้เงินผิดสุรุ่ยสุร่ายหรือใช้เงินผิดประเภท หากอาจารย์ป๋วยเองได้มาเห็นการใช้เงินผิดประเภทไม่ได้เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยตรงท่านน่าจะเสียใจมาก ซึ่งเรื่องนี้ สตง. คตร. ปปท. ป.ป.ช. กำลังดำเนินการตรวจสอบอยู่

เรื่องการขาดวินัยทางการคลังและการใช้เงินผิดประเภทของ สสส. นั้นมีมานาน รายงานของคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาศึกษารายงานประจำปี 2549 กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีกรรมการคือนางจุรี วิจิตรวาทการ นายโคทม อารียา นายบดินทร์ อัศวาณิชย์ ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา ร้อยตำรวจเอกปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ นายพรชัย มาตังคสมบัติ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายสมชาย แสวงการ นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ และนายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นคณะกรรมการวิสามัญ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า

“การพิจารณาอนุมัติทุนสนับสนุนโครงการ โดยต้องเป็นโครงการที่อยู่ภายในกรอบวัตถุประสงค์ของการตั้งกองทุนฯ อย่างถูกต้องและรัดกุม เนื่องจากคณะกรรมการวิสามัญฯ มีข้อสังเกตว่า บางโครงการอาจมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายไปทางด้านอื่นซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของกองทุน และโครงการดังกล่าวได้มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณไปเป็นจำนวนมาก”

ประการที่สอง อาจารย์ป๋วย ท่านเน้นย้ำเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตลอดมา ในปี พ.ศ. 2507 ดร.ป๋วย ได้กล่าวสุนทรพจน์ของสมาคมธนาคารไทย เพื่อเตือนสติผู้มีอำนาจ (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นผู้มีคำขวัญประจำใจว่า "จงทำดี จงทำดี จงทำดี") ว่าไม่ควรไปเป็นกรรมการธนาคารต่างๆ เพราะจะเกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ได้โดยง่าย โดยกล่าวเป็นกลอนไว้ว่า

ยังจนในไม่รู้อยู่หนึ่งข้อจอมพล ถ ท่านแถลงแจ้งเป็นเรื่อง ท่านปรารมภ์ผมก็เห็นเด่นประเทือง ว่าใครเฟื่องเป็นผู้ใหญ่ในราชการ ตัวอย่างเช่นเป็นรัฐมนตรี ไม่ควรมีการค้ามาสมาน อย่าเกี่ยวข้องเที่ยวรับทำเป็นกรรมการ สมาจารข้อนี้ดีจริงเจียว ผมสงสัยไม่แจ้งกิจการค้า หมายความว่ากิจการใดบ้างยังเฉลียว กิจการธนาคารท่านผู้ใหญ่จะไม่เกี่ยว หรือจะเหนี่ยวรั้งไว้ไม่นับค้า”

ส่งผลให้รัฐมนตรีทุกคนต้องลาออกจากการเป็นกรรมการธนาคารทั้งหมด ซึ่งต้องนับว่าอาจารย์ป๋วยท่านกล้าหาญมากที่ออกมาเตือนสติรัฐบาลเผด็จการทหาร

การขัดกันแห่งผลประโยชน์ใน สสส. นั้นมีมานาน รายงานของคณะกรรมการวิสามัญ ฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติในปี 2549 ได้ตั้งข้อสังเกตว่า

จากการรายงานของคณะกรรมการประเมินผลกองทุนฯ ตามที่ปรากฏในรายงานประจำปี 2549 ระบุว่า “จากการคัดเลือกโครงการสำคัญที่มีงบประมาณมากกว่า 10 ล้านบาทจำนวน 61 โครงการ มีสถานการณ์ที่ดูเหมือนมีผลประโยชน์ทับซ้อน 14 โครงการ”

เพื่อเป็นการแก้ไขกรณีการมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ ในลักษณะที่ว่าผู้พิจารณาอนุมัติทุนกับผู้ขอรับทุนไม่ควรเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นหากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในกองทุนฯ จะเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนควรลาออกจากตำแหน่งก่อนและควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายในมาตรา 18 (7) ดังนี้

“…(7) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับกองทุน หรือในกิจการที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

เว้นแต่เป็นผู้ดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์และมิได้แสวงกำไร”

ทั้งนี้ให้ตัดข้อความ “

เว้นแต่เป็นผู้ดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์และมิได้แสวงกำไร

หากยังจำกันได้เมื่อสิบปีก่อน ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นคนแรกที่ออกมาตั้งข้อสังเกตความไม่โปร่งใสและผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเงินของ สสส. และได้รับแรงต้านจากองค์การเอกชนไม่แตกต่างจากที่ คตร. และ คสช. กำลังเผชิญในปัจจุบัน

หากยังจำกันได้ เมื่อกลางๆ ปีนี้ไม่กี่เดือนก่อน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของ คสช. ได้ประกาศเจตนารมณ์ว่าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าการจัดเก็บภาษีและการจัดสรรเงินภาษี บาป ต้องนำมาเข้าสู้ระบบการเงินการคลังของประเทศและผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาเยี่ยงงบประมาณแผ่นดินโดยปกติ ทำให้ถูกรุมถล่มจาก NGOs และ สสส. ว่า เงินนี้เป็นเงินพิเศษที่เก็บเพิ่มจากภาษีปกติที่บริษัทเหล้าบุหรี่ส่งให้รัฐ ถ้าดึงกลับไปก็แค่ทำให้บริษัทไม่ต้องจ่ายภาษี และเริ่มมีขบวนการปล่อยข่าวว่าคนที่นำเสนอเช่นนี้ได้รับเงินจากบริษัทสุราและบุหรี่ข้ามชาติ อย่างเป็นสูตรสำเร็จทุกครั้งไป

ล่าสุด สตง. ได้ตั้งข้อสังเกตเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ใน สสส. เอาไว้ว่า

“มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ สสส. และผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อกลั่นกรองทางวิชาการ จัดตั้งมูลนิธิหลายแห่งและได้เงินอุดหนุนโครงการจากกองทุน สสส. และบางโครงการที่ได้รับเงินอุดหนุนมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติโครงการ ผู้ประสานงานโครงการ และเจ้าหน้าที่กองทุน สสส. ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศกับผู้ได้รับทุนตามโครงการ ทำให้มีข้อร้องเรียนหรือกล่าวหาในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน”

ขอยกตัวอย่างผลประโยชน์ทับซ้อนที่ว่า

นพ.ประเวศ วะสี ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากรรมการ สสส เมื่อ สสส. ให้เงินทุนมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ จำนวนประมาณ 520 ล้านในรอบสิบปีที่ผ่านมา ผ่าน นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เช่นนี้ก็เกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์สำเร็จแล้ว

และยังมีส่วนที่ทาง คตร. หรือ สตง. น่าจะเข้าไปดำเนินการตรวจสอบได้แก่ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนจาก สสส. มาอย่างต่อเนื่องจำนวนมาก

ส่วนอีกสองมูลนิธิที่ควรเข้าไปตรวจสอบคือมูลนิธิแพทย์ชนบทและมูลนิธิเด็ก ซึ่งมี นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ดำรงตำแหน่งต่างๆ ใน สสส. มากมาย ได้แก่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ตั้งแต่ พ.ศ.2547 - 2552 รองประธาน สสส. คนที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ.2553 ถึงปัจจุบัน และได้รับการสรรหากลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกในการสรรหาปี 2557 กำลังนำเรื่องเสนอเพื่อแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี (โดยมีผู้จัดการ สสส. ทันตแพทย์กฤษฎา เรืองอารีรัตน์ ที่เพิ่งลาออกเป็นกรรมการสรรหา) ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาสำนักงาน สสส. ตั้งแต่แรกจนปัจจุบัน (เกิน 10 ปี) ประธานคณะอนุกรรมการบริหารแผน สสส กรรมการสรรหาผู้จัดการ สสส (ทันตแพทย์กฤษฎา เรืองอารีรัตน์ทั้งสองวาระ-วนเวียนสรรหากันเองเป็น conflict of interest) คณะอนุกรรมการอำนวยการเรียบเรียงรายงานประจำปี คณะอนุกรรมการนโยบายการเงิน ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนากฎระเบียบ สสส. ประธานคณะกรรมการอำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ คณะทำงานบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานโครงการต่างๆ เช่น แผนงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม

แต่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ดำรงตำแหน่งกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท ตั้งแต่ พ.ศ.2527 ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท กับรองประธานมูลนิธิเด็กด้วย หากสองมูลนิธินี้ได้รับเงินทุนใดๆ จาก สสส. ก็ต้องถือได้ว่าเกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์สำเร็จลงแล้วด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้กฎหมายสองฉบับที่เกี่ยวข้องกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์คือ ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 152ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554)

มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินกิจการ (๑) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี

(๔) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุมหรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้นอาจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น

เจ้าหน้าที่ของรัฐตําแหน่งใดที่ตองห้ามมิใหดําเนินกิจการตามวรรคหนึ่ง ใหเปนไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้นําบทบัญญัติในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคสองโดยให้ถือว่าการดําเนินกิจการของคู่สมรสดังกลาว เป็นการดําเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ