2024 มหาวิทยาลัย สยาม ศิษย์ เก่า ที่ มี ชื่อเสียง

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Faculty of Communication Arts Siam University

2024 มหาวิทยาลัย สยาม ศิษย์ เก่า ที่ มี ชื่อเสียง
สถาปนาพ.ศ. 2532คณบดีรศ.ดร.ศิริชัย ศิริกายะที่อยู่

235 ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10163

วารสารนิเทศสยามปริทัศน์สีสีน้ำเงิน

มาสคอต

กล้องถ่ายรูปและฟิล์มเว็บไซต์[1]

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 เป็นคณะลำดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยสยาม โดยมี อาจารย์ประธาน รังสิมาภรณ์ เป็นคณบดี

เปิดสอนทั้งสิ้น 6 สาขาวิชา ได้แก่ หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์, การประชาสัมพันธ์, การโฆษณา, สื่อดิจิทัล, วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และศิลปะการแสดง โดยนักศึกษาต้องผ่านการเรียน ซึ่งประกอบด้วยวิชาหลักต่าง ๆ จำนวน 141 หน่วยกิต และวิชาเลือกเสรีจำนวน 3 หน่วยกิต และต้องผ่านการฝึกงานติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 200 ชั่วโมง จึงจะสำเร็จหลักสูตร ใช้เวลาเรียน 4 ปี

มหาวิทยาลัยสยาม (อังกฤษ: Siam University; ชื่อย่อ: มส. - SU) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและสถานีเอ็มอาร์ที รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลสายสีน้ำเงิน เพียง 200 เมตร เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2508 จาก "โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม" และได้สถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยอาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช เดิมคือ "วิทยาลัยเทคนิคสยาม" ต่อมายกระดับเป็น "มหาวิทยาลัยเทคนิคสยาม" และเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยสยาม" ตามลำดับ มหาวิทยาลัยสยามนับได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในย่านฝั่งธนบุรี อธิการบดีคนปัจจุบันคือ ดร.พรชัย มงคลวนิช

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยสยาม เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 สถาบันแรกของประเทศไทย ได้รับการริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2508 และได้สถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2516 โดยอาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ใช้ชื่อเดิมว่า "วิทยาลัยเทคนิคสยาม" ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น "มหาวิทยาลัยเทคนิคสยาม" และเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยสยาม" ในลำดับต่อมา โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยสยามมีสถานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มี พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย และ ดร.พรชัย มงคลวนิช เป็นอธิการบดี

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสยามมีนักศึกษารวมกว่า 10,000 คน มีนักศึกษานานาชาติกว่า 1,000 คนจากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก เปิดดำเนินการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ รวมทั้งสิ้นกว่า 50 หลักสูตร โดยแบ่งออกเป็น 16 คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยดนตรีและศิลปะการแสดง บัณฑิตวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์(ก่อตั้ง 2565) ได้ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมแล้วกว่า 80,000 คน

มหาวิทยาลัยสยาม ได้รับการรับรองให้เป็นภาคีสมาชิกของสมาคมมหาวิทยาลัยนานาชาติ (International Association of Universities-IAU) สมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศ (International Association of University Presidents - IAU) ซึ่งอธิการบดีได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการบริหารสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน และมหาวิทยาลัยยังได้รับการรับรองให้เป็นสมาชิกของสมาคมการศึกษาขั้นอุดมศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Institutions of Higher Learning - ASAIHL) สมาคมสถาบันการศึกษาด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวแห่งภาคพื้น ยุโรป (EUHOFA) และสมาคมฝึกอบรมและพัฒนาองค์กรแห่งภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Asian Regional Training and Development Organization-ARTDO) และเป็นพันธมิตรทางการศึกษากับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างประเทศชั้นนำกว่า 54 สถาบันทั่วโลก

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

  • ตราประจำมหาวิทยาลัยสยาม ประกอบด้วย ฟันเฟือง แผนที่ประเทศไทย และเรือใบ ซึ่งหมายถึงสถาบันที่ขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศไทยก้าวหน้าถาวรสืบไป
  • สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ พระวิษณุกรรม บรมครูแห่งการช่าง ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยยังเป็น "วิทยาลัยเทคนิคสยาม" ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บริเวณประตูด้านหน้ามหาวิทยาลัย
  • สีประจำมหาวิทยาลัยคือ สีเหลือง-น้ำตาล โดยสีเหลือง หมายถึง ปัญญา ส่วนสีน้ำตาล หมายถึง ความรู้ความเชี่ยวชาญ สอดคล้องกับคำขวัญของมหาวิทยาลัยที่ว่า "ปัญญาเป็นรัตนของนรชน"
  • ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นหูกวาง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในมหาวิทยาลัยสยาม ในฤดูผลัดใบจะมีใบสีเหลืองและผลสีน้ำตาล สอดคล้องกับสีประจำประจำมหาวิทยาลัย
  • สัตว์สัญลักษณ์ ได้แก่ ช้าง ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของชาว "สยาม" มาแต่โบราณ
  • แนวคิดของมหาวิทยาลัย เน้นเรื่อง FREEDOM OF THOUGHT การให้อิสรภาพนักศึกษาทางความคิด เพราะอิสรภาพคือบ่อเกิดแห่งปัญญา นั่นก็คือ THINK FREELY WORK WISELY หรือ “คิดด้วยอิสระ ทำด้วยปัญญา”

คณะวิชา[แก้]

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
      • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
      • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
      • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
      • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
      • สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์
      • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
    • หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
      • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
      • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
      • สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์
  • คณะวิทยาศาสตร์
    • หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
      • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • คณะพยาบาลศาสตร์
    • หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
      • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

(ปัจจุบันยกระดับเป็นภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์)

  • คณะบริหารธุรกิจ
    • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
      • สาขาวิชาการบัญชี
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
      • สาขาวิชาการเงินและการลงทุน
      • สาขาวิชาการตลาด
      • สาขาวิชาการจัดการทั่วไปและการประกอบการ
      • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
  • คณะนิติศาสตร์
    • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
  • คณะรัฐศาสตร์
    • หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
    • หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
  • คณะนิเทศศาสตร์
    • หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
      • สาขาวิชาการโฆษณา
      • สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
      • สาขาวิชาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์
      • สาขาวิชาวิทยุ-โทรทัศน์-ภาพยนตร์
      • สาขาวิชาสื่อสารการแสดง
      • สาขาวิชาการโฆษณา
      • สาขาวิชาสื่อดิจิทัล (Digital Media)
  • คณะศิลปศาสตร์
    • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
      • สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว
      • สาขาวิชาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ
      • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร
  • คณะเภสัชศาสตร์
    • หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • สาขาแอนิเมชันและสื่อสร้างสรรค์
      • สาขาการตลาดดิจิทัล
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
      • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    • International Program in Hotel and Tourism Management
  • คณะแพทยศาสตร์
    • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
    • หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต
      • ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • บัณฑิตวิทยาลัย
  • คณะทันตแพทยศาสตร์
    • หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
  • วิทยาลัยดนตรีและศิลปะการแสดง
    • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์
      • สาขาวิชาดนตรี
      • สาขาวิชาศิลปะการแสดง
  • วิทยาลัยนานาชาติ

หน่วยงานต่างๆ[แก้]

  • สำนักอธิการบดี
  • สำนักทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม
  • สำนักวิชาการ
  • สำนักประกันคุณภาพ
  • สำนักรับสมัครนักศึกษา
  • สำนักทะเบียนและวัดผล
  • สำนักแผนงานและวิจัยสถาบัน
  • สำนักสหกิจศึกษา
  • สำนักประชาสัมพันธ์
  • สำนักวิเทศสัมพันธ์

การประสาทปริญญาบัตร[แก้]

มหาวิทยาลัยสยาม จัดพิธีประสาทปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสยามเป็นประจำทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2566 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม โดยมีพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธานในพิธี