2024 ทำไม อย ด ๆม keyboard thai pattachote

ตอนนั้นเขาก็วางเรียงตามลำดับตัวอักษร.... แต่เมื่อใช้งานจริงพบว่า ตัวอักขระที่ใช้บ่อย ไปอยู่ในตำแหน่งใช้นิ้วก้อย ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน จึงมีการจัดเรียงตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ใหม่

ผมดูสารคดีเรื่องนี้เมื่อนานนนนนนน มากกกกก แล้ว.... หาแหล่งอ้างอิงให้ไม่ได้นะครับ

หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่าทำไมในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะทำงานทั่วไป เล่นเกม หรือพิมพ์โต้ตอบในโลกออนไลน์ ถึงต้องใช้คีย์บอร์ดที่วางตำแหน่งแบบกระจัดกระจาย ไม่เรียงตามตัวอักษรให้หาเจอได้ง่าย ๆ ตั้งแต่แรก

ทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ หรืออุปกรณ์ใด ๆ ก็ล้วนแต่เป็นคีย์บอร์ดแบบนี้อยู่แทบทั้งสิ้น ซึ่งจุดที่สังเกตได้ง่ายเลยก็คือปุ่มตรงแถวบนจะถูกจัดเรียง 6 ตัวอักษรแรกเป็นข้อความว่า “QWERTY” อันกลายมาเป็นชื่อเรียกของ Layout ที่เราต่างคุ้นเคย

แล้ว QWERTY มันเป็นมาอย่างไร ? อะไรกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังของการออกแบบ เชิญพบกับคำตอบได้เลยจากบทความนี้

กว่าจะมาเป็น QWERTY

ต้องย้อนกลับไปไกลถึงช่วงคริสต์ศักราช 1700 ถึงช่วงต้น ๆ 1800 ที่โลกเราในตอนนั้นอยู่ในยุคที่เริ่มมีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดมาใช้กันหลายรุ่น และยังคงเรียงปุ่มตามตัวอักษร ABC อยู่ ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วก็พบว่ามันไม่ได้สะดวกสบายนัก เพราะหากใครที่ใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดจนคล่อง ก็จะพบกับปัญหาที่ตัวก้านพิมพ์จะเกิดอาการขัดกันเองอยู่บ่อย ๆ

ด้วยเหตุนี้เอง เครื่องพิมพ์ดีดสมัยใหม่ตัวแรกที่จะมาแก้ไขปัญหา จึงถือกำเนิดขึ้นโดย Christopher Latham Sholes วิศวกรเครื่องกลชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งมาพร้อมกับการเรียงตัวอักษรแบบใหม่ คือ QWERTY นั่นเอง โดยถูกออกแบบมาด้วยหลักการที่ว่า ตัวอักษรใดที่จะถูกผสมเป็นคำที่ใช้บ่อย ก็ควรจะแยกออกจากกันอยู่คนละฝั่งของคีย์บอร์ด

2024 ทำไม อย ด ๆม keyboard thai pattachote

คีย์บอร์ดรุ่นแรกที่ Sholes เป็นคนออกแบบ จะมีลักษณะการวางปุ่มในรูปแบบนี้

2024 ทำไม อย ด ๆม keyboard thai pattachote

QWERTY ในยุคแรกเริ่ม

ในช่วงที่เครื่องพิมพ์ดีดของ Sholes ถูกเปิดตัวออกมานั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนกระทั่งเขาขายสิทธิบัตรนี้ให้กับบริษัท Remington เพื่อนำไปผลิตเครื่องพิมพ์ดีดต่อในปี ค.ศ. 1973 ซึ่งนับตั้งแต่นั้นเอง ความนิยมของเครื่องพิมพ์ดีดแบบ QWERTY ก็พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก

ซึ่ง Remington ก็มาปรับปรุงการวางคีย์ของ Sholes ใหม่อีกทอดหนึ่ง และ QWERTY ของ Remington นี้เอง ก็กลายมาเป็นรากฐานของปุ่มคีย์บอร์ดแบบที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน

2024 ทำไม อย ด ๆม keyboard thai pattachote

QWERTY ในปัจจุบัน

ส่วนต่างที่สำคัญที่สุดในตอนนั้น ก็คือ QWERTY ของ Sholes จะมีการตัดตัวเลข 1 และ 0 ออกไปเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเหตุผลในตอนนั้นคือเลข 1 และ 0 สามารถใช้การตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ของ I และ O แทนได้

ซึ่งตัว Sholes นั้น ถึงแม้ว่าจะขายสิทธิบัตรคีย์บอร์ด QWERTY ให้กับ Remington ไปแล้ว แต่เขาเองก็เชื่อว่าการวางปุ่มดังกล่าวไม่ได้สมบูรณ์แบบที่สุด และตลอดชีวิตของเขาก็พัฒนาวิธีวางปุ่มออกมาอีกหลายรูปแบบ แต่ก็ไม่มีอันไหนที่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้างอีกจนกระทั่ง Sholes เสียชีวิตไป

การออกแบบที่คำนึงถึงการยศาสตร์

ไม่เพียงแต่จะแก้ไขปัญหาเรื่องแป้นพิมพ์ขัดซ้อนกัน แต่ Sholes ยังชี้ให้เห็นว่าการจัดวางแบบ QWERTY นั้นจะทำให้ผู้ใช้สามารถเคลื่อนนิ้วไปได้ในระยะที่สั้นที่สุด ลดอาการปวดนิ้วมือจากการพิมพ์ และยังผลให้สามารถพิมพ์ได้อย่างรวดเร็วมากที่สุดด้วย และนี่ก็เป็นคำตอบว่าทำไมแป้นพิมพ์ของเขาจึงไม่เรียงตามตัวอักษร ABC นั่นเอง

อย่างไรก็ดี ต่อมาก็มีผู้ที่พยายามจะคิดค้นการจัดวางคีย์บอร์ดในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อมาสู้กับ QWERTY อยู่ด้วย และหนึ่งในรูปแบบที่มีชื่อเสียงมากนั่นก็คือ Dvorak ซึ่งคิดค้นโดย Antonín Dvořák

2024 ทำไม อย ด ๆม keyboard thai pattachote

Dvorak

Dvořák ประกาศจุดยืนว่าแป้นพิมพ์ของเขานั้นทำให้สามารถพิมพ์เร็วขึ้นไปได้อีก และยังถูกหลักการยศาสตร์ (Ergonomic) มากกว่า QWERTY อีกด้วย ซึ่งก็ส่งผลให้มีหลายบริษัทที่เริ่มนิยมนำไปใช้ด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีงานวิจัยที่นำเอา QWERTY และ Dvorak มาเปรียบเทียบประสิทธิภาพกันอยู่หลายฉบับ ทว่าท้ายที่สุดแล้วก็เป็นทางฝั่งของ QWERTY ที่ครองตลาดและรวบหัวรวบหางความนิยมของผู้ใช้งานไปได้มากกว่า ยิงยาวส่งตรงมาตราบจนถึงปัจจุบัน

และแม้ว่าตอนนี้เราจะไม่ได้ใช้เครื่องพิมพ์ดีดกันแล้ว จึงไม่มีโอกาสจะเจอปัญหาก้านพิมพ์ขัดกันอีกต่อไป แต่ด้วยความคุ้นเคยที่มีมาอย่างยาวนาน ก็ทำให้ไม่มีใครอยากจะมาเริ่มหัดนับหนึ่งใหม่กับรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจาก QWERTY อีกแล้วนั่นเอง

แป้นภาษาไทยก็มีหลายรูปแบบ

หากชาวโลกเคยชินกับ QWERTY ในแป้นภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาไทยแล้วก็เห็นจะหนีไม่พ้น “เกษมณี” (Thai Kedmanee) ซึ่งถูกใช้กันอย่างเป็นมาตรฐาน และถูกคิดค้นขึ้นมาโดยนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี ที่ออกแบบลักษณะการจัดวางอักษรไทยตามสถิติการใช้ตัวอักษรในขณะนั้น ซึ่งต้องอาศัยเวลาประดิษฐ์มันนานถึง 7 ปีเลยทีเดียว และออกมาแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2474

2024 ทำไม อย ด ๆม keyboard thai pattachote

Thai Kedmanee

ในอีก 35 ปีให้หลัง ก็มีอีกหนึ่งรูปแบบแป้นพิมพ์ภาษาไทยอย่าง “ปัตตะโชติ” (Thai Pattachote) ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยนายสฤษดิ์ ปัตตะโชติ โดยอ้างถึงผลวิจัยของตัวเขาเอง ว่าผู้ที่ใช้แป้นเกษมณีนั้นจะใช้มือขวาพิมพ์มากกว่ามือซ้าย และแป้นปัตตะโชติจะมาแก้ไขปัญหาตรงนี้ ทำให้เกิดประสิทธิภาพการพิมพ์ที่ดีขึ้นด้วย ทว่าก็ยังคงเป็นฝั่งของเกษมณี ที่ยังครองความนิยมในหมู่ชาวไทยไปได้มากกว่า

2024 ทำไม อย ด ๆม keyboard thai pattachote

Thai Pattachote

ไม่ว่าจะเป็นแป้นภาษาใด ก็ล้วนแต่มีแนวคิดและเบื้องหลังการออกแบบอยู่เป็นของตัวเอง ซึ่งแม้ว่าจะมีช่วงที่ต้องแข่งขันและประชันการวัดผลกันอยู่ยุคหนึ่ง แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปแล้ว ทุกอย่างก็ดูจะอยู่กับร่องกับรอย และเรื่องหน้าตาของแป้นพิมพ์ก็ไม่ค่อยถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกสักเท่าไร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

ความพยายามที่จะสร้างสิ่งใหม่ ๆ

2024 ทำไม อย ด ๆม keyboard thai pattachote

แม้จะก้าวมาสู่ยุคที่แป้นพิมพ์ถูกจำลองขึ้นมาอยู่บนจอทัชสกรีนแล้ว แต่สาเหตุหลัก ๆ ที่เรายังคงใช้งาน QWERTY กันอยู่ ก็ไม่ใช่แค่ความเคยชินเรื่องการพิมพ์เพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการใช้คำสั่งลัดแบบต่าง ๆ (Shortcut) ด้วยเช่นกัน

เพราะอย่าลืมว่าเมื่อเราต้องเปลี่ยนรูปแบบแป้นพิมพ์, Shortcut เองก็จะต้องเปลี่ยนไปด้วย และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำไมหลาย ๆ คนถึงไม่อยากจะหนีห่างจาก QWERTY นัก เพราะคำสั่งอย่าง Ctrl+C (Copy) หรือ Ctrl+V (Paste) ก็ถูกจัดวางในตำแหน่งที่ผู้ใช้ไม่ต้องเอื้อมนิ้วไปไกลมาก หรือ Shortcut อันเป็นที่รักของเหล่าครีเอเตอร์อย่าง Ctrl+Z (Undo) และ Ctrl+Shift+Z / Ctrl+Y (Redo) เอง ก็ดูจะอยู่ถูกที่ถูกทางดีแล้วแบบไม่ควรจะหลบหนีไปอยู่มุมไหนอีก

ในทางกลับกัน หากสลับไปใช้ Dvorak ก็คงจะวุ่นวายไม่น้อยทีเดียว เพราะถึงแม้ว่าปุ่มสระอย่าง A E I O U จะมากองอยู่ด้านซ้ายให้ใช้ง่าย ๆ แต่กับปุ่ม C ของ Ctrl+C ก็ถูกย้ายไปไกลถึงแถวบน ซึ่งจะกดด้วยมือซ้ายก็เกินเอื้อมไปแล้ว จะฝึกใหม่ด้วยมือขวา ก็เป็นระยะการกดปุ่มที่ไม่คุ้นเท่ากับของเดิมอยู่ดี

ต่อมาจึงมีอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมขึ้นมาใหม่ นั่นก็คือแป้นพิมพ์แบบ Colemak ซึ่งจะสลับปรับเปลี่ยนตัวอักษรจาก QWERTY ไปเพียงแค่ 17 ตำแหน่ง และยังคงไว้ซึ่งปุ่มที่น่าจะถูกใช้เป็น Shortcut สำคัญ ๆ อยู่ที่ตำแหน่งเดิมให้มากที่สุด ทำให้ Colemak ก็กลายมาเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความสนใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในแวดวงของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

2024 ทำไม อย ด ๆม keyboard thai pattachote

Colemak

อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ ก็คือเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เพิ่งมีความพยายามที่จะสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาให้กับการพิมพ์ภาษาไทยด้วยเช่นกัน นั่นก็คือแป้นพิมพ์แบบ “มนูญชัย” (Manoonchai) ที่จะมาเขย่าความนิยมกว่า 50 ปีของเกษมณีและปัตตะโชติ ด้วยการจับเอาเทคโนโลยียุคใหม่มาใช้ นั่นก็คือการประมวลผลด้วย AI จากคำไทยแบบต่าง ๆ และออกมาเป็นแป้นพิมพ์ที่สอดรับกับภาษาไทยสมัยใหม่มากกว่าเดิม

2024 ทำไม อย ด ๆม keyboard thai pattachote

Thai Manoonchai

กล่าวง่าย ๆ ก็คือแนวคิดเบื้องหลังของมนูญชัยนั้นคล้ายกันกับของเกษมณีเลยนั่นเอง ซึ่งจากเดิมที่นายกิมเฮง (สุวรรณประเสริฐ เกษมณี) จะต้องใช้เวลาออกแบบโดยอ้างอิงจากตำรานับสิบ ๆ เล่ม ยาวนานกว่า 7 ปี คราวนี้ก็เปลี่ยนมาให้ AI เป็นคนคิดวิเคราะห์ และยังผลออกมาเป็นแป้นพิมพ์หน้าตาดังกล่าวแทน ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่ามาก จากชุดข้อมูลอันมหาศาลที่ถูกป้อนเข้าสู่ตัวโมเดลความคิดของ AI

แป้นพิมพ์มนูญชัยนั้นมีจุดเด่นอีกประการคือจะลดจำนวนแถวจาก 4 แถว ให้ลงมาเหลือ 3 แถวเท่ากันกับ QWERTY แล้ว (เอาตัวอักษรไทย และเลขไทยออกไปจากแถวตัวเลข) จึงมีความสบายตามากขึ้น และยังให้สมดุลการใช้งานได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งจากเดิมที่เกษมณีจะหนักไปทางมือขวาถึง 70% แต่คราวนี้แป้นพิมพ์มนูญชัยจะมีสัดส่วนมือซ้าย-มือขวา อยู่ที่ 47% ต่อ 53%

ทั้งนี้ก็น่าติดตามกันต่อไป ว่ามนูญชัยจะกลายมาเป็นอนาคตของการพิมพ์ภาษาไทยต่อไปหรือใหม่ โดยตัวโครงการนั้นเป็น Open Source ซึ่งนำไปใช้พัฒนาต่อได้ และสามารถเข้าไปชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ Manoonchai.com หรือถ้าใครเกิดทำคีย์บอร์ดของตัวเองให้เป็นแป้นมนูญชัยขึ้นมาได้แล้ว ก็ลองไปทดสอบประสิทธิภาพการพิมพ์กันได้ที่หน้าเว็บไซต์ Manoontype โดยตรง

ทั้งหมดคือเรื่องของ “ความเคยชิน”

2024 ทำไม อย ด ๆม keyboard thai pattachote

พฤติกรรมการพิมพ์ของเราก็ไม่ต่างอะไรกับวิถีชีวิตแบบอื่น ซึ่งหากผู้ใช้มองว่าสิ่งใหม่ ๆ นั้นมีประโยชน์มากพอที่จะทำให้เราอยากเปลี่ยน ท้ายสุดแล้วเราก็อาจจะได้เห็น Layout คีย์บอร์ดโฉมใหม่ได้รับความนิยมขึ้นมาจริง ๆ

ทว่าเรื่องนี้ก็ไม่ได้อยู่ที่ความสมัครใจของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องดูถึงฝั่งผู้ผลิตคีย์บอร์ดด้วย ที่จะมองว่ามันถึงเวลาเปลี่ยนแล้วจริง ๆ หรือไม่, คุ้มแล้วหรือไม่ที่จะต้องทำลายความเคยชินแบบเดิม ๆ เมื่อดูจากปัจจัยอื่นรอบตัว และกล้าที่จะนำกระแส เพื่องัดเอาแป้นพิมพ์ที่ดีกว่า QWERTY ออกมาใช้ในอนาคต

แต่ก่อนจะถึงตอนนั้น ก็น่าจับตามองว่าโลกของเราจะหมุนไปในทิศทางใด เพราะปัจจุบันการพิมพ์ก็ไม่ได้จบแค่เอานิ้วเคาะกับคีย์บอร์ดอีกต่อไปแล้ว หากแต่มีอิสระมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งคีย์บอร์ดบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่สามารถเลือกตั้งค่า Layout ที่ชอบได้ดังใจนึก รวมไปถึงการใช้ Gesture ลากนิ้วแบบต่าง ๆ เข้ามาช่วยพิมพ์ได้อีกด้วย

ซึ่งหาก “วิธีการพิมพ์” ของเราในวันข้างหน้านั้นเปลี่ยนไปจากเดิมแบบก้าวกระโดด ก็ไม่แน่ว่าอาจจะไม่มีใครสนใจจะมาเสียเวลาเปลี่ยนแปลง “ความเคยชิน” ของ QWERTY อีกแล้วก็เป็นได้

อ่านเพิ่มเติม

รู้จักกับวงการ Custom Keyboard คืออะไร เข้ายังไง ทำไมใคร ๆ ก็หลงรัก

ข้อมูลอ้างอิง

Kathryn H. (2006, Jan). The Great Keyboard Debate: QWERTY versus Dvorak https://www.researchgate.net/publication/237105161

Paul A. D. (1985, May). Clio and the Economics of QWERTY. The American Economic Review https://www.jstor.org/stable/1805621