2024 ทำไม อ สราเอล ถ งม สงครามก บ ปาเลสไตน

อิสราเอล-ปาเลสไตน์ มีปัญหาอะไรกัน ?


8/10/2566 | 77,611 |

ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ มีต้นตอจากความเชื่อของทั้งศาสนายูดายและอิสลาม โดยเชื่อว่าดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของอิสราเอลและปาเลสไตน์ในปัจจุบันนั้นเป็นดินแดนที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาไว้เมื่อต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ชาวยูดายเริ่มลี้ภัยการถูกปราบปรามจากยุโรปเข้ามายังดินแดนแห่งนี้ ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ภายใต้จักรวรรดิออโตมันและถูกเปลี่ยนมือมายังจักรวรรดิอังกฤษ การอพยพมาครั้งใหญ่ดังกล่าวถูกคัดค้านจากชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ เพราะมองว่าไม่ใช่ดินแดนแห่งนี้ไม่ใช่ของชาวยิวเพียวกลุ่มเดียว ทำให้รัฐยิวที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ในชื่ออิสราเอลนั้นต้องต่อสู้กับชาติอาหรับหลายครั้ง สงครามเมื่อปี 1967 เปิดทางให้อิสราเอลได้เข้าไปควบคุมดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน หรือที่เรียกกันว่าเวสต์แบงค์ (West Bank) และฉนวนกาซา ที่อยู่ติดชายแดนประเทศอียิปต์การเข้าไปควบคุมดังกล่าวส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ไม่เห็นด้วย โดยกลุ่มที่มีแนวคิดหัวรุนแรง หันไปจับอาวุธ หนึ่งในนั้นคือกลุ่มติดอาวุธฮามาส ที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมในอิสราเอลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 • คู่ขัดแย้งอิสราเอล – ฮามาส ขณะที่ความขัดแย้งของ 2 เชื้อชาติยังดำเนินไป ความขัดแย้งภายในปาเลสไตน์ก็ดำเนินอยู่ เมื่อกลุ่ม PLO (องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ หรือ Palestine Liberation Organization : PLO) และกลุ่มฮามาส เลือกใช้วิธีการปกครองคนในพื้นที่ด้วยการเลือกตั้ง และผลก็ออกมาว่ากลุ่มฮามาสชนะ และการประกาศกร้าวถึงความแข็งแกร่งของตนคือเข้ายึดครองพื้นที่ฉนวนกาซาได้สำเร็จ ชาวอิสราเอลต้องอพยพออกจากพื้นที่ แต่ก็ตั้งกองกำลังไว้บริเวณชายแดนฉนวนกาซา เพื่อป้องกันการลุกล้ำของกลุ่มฮามาส หลังจากนั้น กลุ่มฮามาสก็ดำเนินการรบกับอิสราเอลมาตลอด สร้างความขัดแย้งแทนสันติภาพ อิสราเอลใช้การสร้างกำแพงกั้นบริเวณชายแดนฉนวนกาซา นั่นหมายถึงประชาชนที่อยู่ในฉนวนกาซาถูกตัดขาดจากการช่วยเหลือใด ๆ ทั้งสิ้น สาธารณสุข อาหาร ยา สุขอนามัย และแน่นอนว่าสหประชาชาติต้องยื่นมือเข้ามาช่วย โดยอ้างความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม รวมถึงองค์กรระดับโลกอีกมากมาย เช่น EU, สหรัฐฯ ก็พยายามเข้ามาพูดคุย แต่ดูเหมือนว่าเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุเท่านั้น เพราะต้นตอของปัญหายังคงอยู่ ฮามาสคือใคร เป็นกองกำลังติดอาวุธปาเลสไตน์ที่เคร่งศาสนาอิสลามซึ่งปกครองฉนวนกาซา กลุ่มฮามาสสาบานว่าจะทำลายล้างอิสราเอล และได้ทำสงครามกับอิสราเอลหลายครั้งนับตั้งแต่เข้ายึดครองฉนวนกาซา ในปี 2007 ในระหว่างการสู้รบ กลุ่มฮามาสได้ยิงหรืออนุญาตให้กลุ่มอื่น ๆ ยิงจรวดหลายพันลูกใส่อิสราเอล และเปิดฉากโจมตีอิสราเอลรุนแรงหลายต่อหลายครั้ง ทั้งนี้ กลุ่มฮามาสได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านทั้งด้านเงินทุน การจัดหาอาวุธ และการฝึกซ้อมรบ • ลำดับเหตุการณ์ฮามาสเปิดฉากโจมตีอิสราเอล เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ต.ค 66 เวลา 06.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น กลุ่มฮามาส (Hamas) หรือองค์กรการเมืองติดอาวุธของชาวปาเลสไตน์ ได้ยิงจรวดถล่มพื้นที่อิสราเอลตอนใต้ ทำให้ทางการอิสราเอลต้องเปิดเสียงไซเรนแจ้งเตือนสถานการณ์ฉุกเฉิน ฮามาสรายงานว่า ได้ปล่อยจรวดกว่า 5,000 ลูกในการโจมตีครั้งแรก แต่กองทัพอิสราเอลกล่าวว่ามีการยิงจรวดมาเพียง 2,200-2,500 ลูกเท่านั้น กระนั้น ก็เกิดผลกระทบและความเสียหายต่ออิสราเอล โดยพื้นที่ที่อยู่อาศัยหลายแห่งถูกโจมตี ผู้คนต้องหลบภัยอยู่ใต้อาคารต่าง ๆ มีรายงานผู้หญิงอย่างน้อย 1 รายถูกจรวดสังหาร ต่อมาในเวลา 07.40 น. มีรายงานว่า กองกำลังปาเลสไตน์ได้ส่งกำลังทหารเข้ามาในอิสราเอลทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยอาศัยการโจมตีด้วยจรวดขีปนาวุธเป็นเครื่องกำบังดึงความสนใจของกองทัพอิสราเอล ทำให้มีนักสู้ของปาเลสไตน์จำนวนมากแทรกซึมเข้ามาในอิสราเอลได้สำเร็จ กองทัพอิสราเอลเปิดเผยว่า นักสู้ปาเลสไตน์ที่แทรกซึมเข้ามานั้น มีบางส่วนที่ใช้พาราไกลเดอร์ร่อนข้ามเขตแดนมา จากนั้นกองทัพอิสราเอลก็เริ่มการตอบโต้กลับในปฏิบัติการดาบเหล็ก (Operation Iron Swords) โดยเวลา 09.45 น. มีรายงานการระเบิดในเขตฉนวนกาซา (Gaza Strips) ของปาเลสไตน์ ซึ่งโฆษกกองทัพอิสราเอลออกมายืนยันว่า ได้มีการโจมตีทางอากาศใส่พื้นที่ฉนวนกาซาจริง10.00 น. นักสู้ปาเลสไตน์ได้บุกเข้าไปในฐานทัพทหารของอิสราเอลได้สำเร็จอย่างน้อย 3 แห่งรอบชายแดน ได้แก่ จุดผ่านแดนอีเรซ (Erez) ฐานทัพไซคิม (Zikim) และอาคารบัญชาการหน่วยทหารอิสราเอลประจำกาซาในหมู่บ้านเรม (Reim) อย่างไรก็ตาม การโจมตีทางอากาศของอิสราเอลใส่ฉนวนกาซายังคงดำเนินอยู่ เช่นเดียวกับการยิงจรวดของกลุ่มฮามาสใส่พื้นที่ทางตอนใต้ของอิสราเอล ขณะที่มีรายงานว่า กองทหารอิสราเอลยังคงต่อสู้กับนักสู้กลุ่มฮามาสใน 22 จุดใกล้ฉนวนกาซา ซึ่งบ่งชี้ว่าการโจมตีครั้งนี้ของกลุ่มฮามาสเกิดขึ้นในวงกว้างมาก • ทำไมกลุ่มฮามาสเปิดฉากโจมตีอิสราเอล ชนวนเหตุการปะทะรุนแรงครั้งนี้ หลัก ๆ ยังคงเป็นผลพวงมาจากความขัดแย้งยาวนานนับร้อยปีระหว่าง ชาวอาหรับปาเลสไตน์และชาวยิวอิสราเอล ประกอบกับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2023 ที่ผ่านมา อิสราเอลได้มีการโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์หลายครั้ง และส่วนใหญ่มีผู้เสียชีวิต โดยสงครามครั้งล่าสุดระหว่างกลุ่มฮามาสและรัฐบาลอิสราเอลเกิดขึ้นเมื่อปี 2021 ครั้งนั้นการปะทะกินเวลา 11 วัน มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิต 250 ราย และชาวอิสราเอลเสียชีวิต 13 ราย


2024 ทำไม อ สราเอล ถ งม สงครามก บ ปาเลสไตน
รูปภาพ


2024 ทำไม อ สราเอล ถ งม สงครามก บ ปาเลสไตน



กล้าพูดเหรอว่าครองอยู่มาแต่เดิม ชาวปาเลสไตน์ไม่ได้มีสิทธิมีเสียงใดๆ ตั้งแต่เมื่อก่อนแล้ว เป็นแค่สินทรัพย์ของมหาอำนาจในยุคนั้นแค่นั้น

ปาเลสไตน์เป็นแค่ผู้อยู่อาศัยเหมือนยิวอิสราเอลเมื่อก่อนอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงเข้าไปอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ หลังจบสงครามโลก ครั้งที่ 2 สหประชาติเสนอแผนแบ่งประเทศให้ทั้งยิวและปาเลสไตน์ ยิวตกลงแต่ฝั่งปาเลสไตน์ และอาหรับไม่ยอม

ฝั่งอาหรับ ปาเลสไตน์สีส้ม

2024 ทำไม อ สราเอล ถ งม สงครามก บ ปาเลสไตน

ฝ่ายยิวไม่สนดำเนินตามแผนของ UN ชิงตั้งประเทศ เมื่ออังกฤษถอนตัวในปี คศ 1948 ฝ่ายอาหรับจึงเปิดฉากโจมตีอิสราเอลทันที กลายเป็นสงครามประกาศอิสรภาพของประเทศอิสราเอล

หลังจากจบสงครามทั้งอียิปต์และจอร์แดนต่างครอบครองและผนวกรวมพื้นที่ที่เคยเป็นของปาเลสไตน์ก่อนที่จะสูญเสียให้อิสราเอลในสงครามหกวัน

ทำไมเรียกฉนวนกาซ่า

ผลจากสงครามครั้งนั้นทำให้ปาเลสไตน์เสียพื้นที่บางส่วนที่สหประชาชาติแบ่งให้ หนึ่งในพื้นที่ดังกล่าวคือ กาซา ซึ่งหลังจากสงครามปี 1984 สิ้นสุดลง กาซาได้ถูกกำหนดให้เป็นเขตกันชนระหว่างอียิปต์และอิสราเอล จึงเรียกว่า ฉนวนกาซา นับแต่นั้นมา โดยให้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลออลปาเลสไตน์ภายใต้สหพันธ์อาหรับ (Arab League)

West Bank ใครปกครอง

การยึดกาซาของฮามาสแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ทางการเมือง โดยฟาตาห์ของอับบาสส่วนใหญ่ปกครองเวสต์แบงก์ และนานาชาติรับรองเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ ฉนวนกาซาภายในพรมแดนถูกฮามาสปกครอง ขณะที่พื้นที่เวสต์แบงก์ส่วนมากปกครองโดยองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ซึ่งตั้งอยู่ที่รอมัลลอฮ์ ทว่า มีความตกลงเมื่อเดือนเมษายน 2557 ...

ภาษาประจำชาติของปาเลสไตน์คือภาษาใด

อาหรับปาเลสไตน์ / ภาษาทางการnull

ประเทศปาเลสไตน์อยู่ตรงไหน

ปัจจุบันดินแดนที่เรียกว่า ปาเลสไตน์ (Palestine) และ อิสราเอล (Israel) หรือที่ดินศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land) นั้นตั้งอยู่ในดินแดนที่มีชื่อในสมัยโบราณว่า “คานาอัน” (Canaan) ของภูมิภาคตะวันออกกลาง (Middle East) ในพื้นที่ราบตามชายฝั่งด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean) โดยทางทิศเหนืออยู่ติดกับประเทศเลบานอน ( ...