2024 ทำไม อ มพอต ว ด โอ เข าadobe premiere

Professional trainer in business & thinking skills. Marketing blogger, vlogger, podcaster. Author of marketing books in Thailand.

1 ปี

ระหว่างนั่งคิดว่าทำไมเวลาผมโพสต์เรื่อง Culture องค์กร (โดยเฉพาะเรื่อง Toxic Culture) มักจะได้รับเสียงตอบรับมากเป็นพิเศษจนน่าประหลาดใจ ผมก็คิดไปต่อถึงเรื่องว่าจะแก้วัฒนธรรมองค์กรนั้นจะต้องทำอย่างไรซึ่งก็มักจะไปเจอทางตันว่าแก้ไม่ได้ตราบใดที่คนเป็นหัวไม่ยอมคิดจะแก้ ที่บอกแบบนี้เพราะก็ต้องยอมรับกันจริง ๆ ว่าวัฒนธรรมองค์กรนั้นเกิดขึ้นจากนิสัยของคนเป็นหัวนั่นแหละว่าเป็นคนนิสัยแบบไหน ทำงานอย่างไร ซึ่งก็จะนำมาสู่วิธีการทำงาน วิธีการตัดสินใจ หรือคุณค่าต่าง ๆ ที่องค์กรจะให้ความสำคัญ ประเภทว่าองค์กรมอง "คนดี" ว่าเป็นแบบไหน ก็ไปดูกันนั่นแหละว่าคนเป็นหัวนั้นเป็นอย่างไร เพราะสุดท้ายก็จะได้คนที่ดีแบบที่หัวคิดเข้ามาทำงาน และก็ไม่แปลกที่ดีในแบบนั้นอาจจะค้านสายตาของคนอื่นจนทำให้คนดีที่ไม่เข้าตาหรือต่างไปจากแบบนั้นก็อยู่ไม่ได้เป็นธรรมดา ด้วยเหตุนี้เอง ถ้าเรากลับมาคิดดูแล้วนั้น การจะดูวัฒนธรรมองค์กรว่าจะเป็นอย่างไรก็ลองสังเกตได้ว่าคนเป็นผู้บริหารหรือคนเป็นหัวหน้าขององค์กรนั้น ๆ เป็นคนนิสัยอย่างไร พูดจาอย่างไร ตัดสินใจอย่างไร โดยอย่างไปได้แคร์กับสิ่งที่พรีเซ้นท์ออกมาเวลาไปงานสัมมนาต่าง ๆ หรือบรรดาข่าวพีอาร์ที่บอกว่าองค์กรเป็นแบบนั้นแบบนี้ เพราะเอาเข้าจริง ๆ แล้วเราก็คงพอรู้กันว่ามันเป็นการประดิษฐ์และทำให้ดูดีเพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรทั้งนั้น แถมพนักงานในองค์กรเองก็มักจะมองบนเอามาซุบซิบทำนองแบบ "ใช่เหรอ" กันตามข่าวที่โพสต์ออกมานั่นแหละ สิ่งที่น่าจะคิดต่อจากเรื่องนี้คือหากเราคิดจะสร้างองค์กรที่มีวัฒนธรรมดี ๆ แล้วก็ควรจะคัดสรรคนเป็นหัวหน้าที่ดีเพื่อขึ้นมาสร้างและต่อยอดวัฒนธรรมขององค์กรสืบไป หรือหากเราคิดว่าอยากทำงานกับองค์กรที่มีวัฒนธรรมดี ๆ แล้วล่ะก็ ลองถามตัวเองกันก่อนแล้วกันว่าวันนี้เรารู้จักคนที่ทำงานในองค์กรนั้นบ้างหรือไม่ ? เราพอรู้จักผู้บริหารขององค์กรนั้น ๆ บ้างไหม ? หรือช่วงเวลาที่เราไปสัมภาษณ์งานกับคนเป็นหัวหน้าก็ลองเช็คกันเสียหน่อยว่าเขามีนิสัยหรือท่าทีอย่างไร ถ้าดูแล้ว "คุณค่า" ที่ตัวหัวหน้าหรือผู้บริหารไม่ใช่แบบที่เราให้คุณค่า ก็ดูจะไม่ใช่องค์กรที่น่าทำงานด้วยแล้วนั่นแหละครับ

Culture

Professional trainer in business & thinking skills. Marketing blogger, vlogger, podcaster. Author of marketing books in Thailand.

1 เดือน

วันนี้ผมไปทำธุระที่สีลมคอมเพลกซ์แล้วก็เลยแวะทานอาหารที่ร้านแห่งหนึ่ง พอตอนจะชำระเงินนั้น พนักงานก็บอกอย่างดิบดีว่ามีโปรโมชั่นของทางบัตรเครดิตยี่ห้อหนึ่ง ได้ส่วนลดถึง 23% เลยทีเดียว แน่นอนว่าผมที่มีบัตรเครดิตที่ว่านั้นก็ย่อมอยากใช้สิทธิประโยชน์อยู่แล้ว (แม้ว่าตอนแรกจะไม่ได้รู้ว่ามีสิทธิประโยชน์นี้อยู่หรอก) แล้วผมก็ให้บัตรเครดิตดังกล่าวไปเพื่อนำไปตัดคะแนนสะสมเพื่อนำมาใช้ส่วนลด แต่หลังจากหายไปพักใหญ่ พนักงานก็เดินกลับมาด้วยสีหน้าไม่สู้ดีแล้วขอโทษขอโพยว่าเครื่องมีปัญหาทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์นี้ได้ ผมก็รับบัตรเครดิตกลับมาแล้วชำระด้วยวิธีอื่น แต่ในใจผมยังคงติดค้างกับความรู้สึกไม่พอใจ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะหาใครรับผิดชอบดีระหว่างร้านหรือบัตรเครดิตที่ทำให้สิทธิประโยชน์ที่ตอนแรกจะได้รับนั้นหายวับไปกับตา ----- อันที่จริงแล้วนั้น ถ้ามองในบางมุมก็จะบอกว่าผมไม่เสียอะไรนี่ เพราะตอนเข้าร้านไปก็ไม่ได้คิดแต่ต้นว่าจะใช้สิทธิประโยชน์นี้ (แถมก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามี) ซึ่งตอนท้ายก็น่าจะเรียกว่าเท่าทุน ไม่มีอะไรต้องผิดหวังเสียหน่อย แต่ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่งแล้ว ความคาดหวังใหม่นั้นถูกสร้างขึ้นในตอนที่พนักงานพูดถึงสิทธิประโยชน์เพิ่มให้กับลูกค้า ฉะนั้นบาร์ที่เรียกว่าความคาดหวังจึงไม่ได้อยู่ในระดับเดิมแล้ว และเมื่อประสบการณ์ไม่ได้ตามคาด มันก็เลยกลายเป็นความผิดหวัง แทนที่จากเดิมก็ดูจะแฮปปี้กับการใช้บริการอยู่แล้ว เรื่องนี้เป็นประเด็นที่เราคุยกันในคลาส Custoer Experience อยู่เหมือนกันว่าระดับความคาดหวังของลูกค้า (Customer Expectation) ไม่ได้คงที่ตลอดการใช้บริการแต่อย่าง แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามข้อมูลที่ได้รับเพิ่มเข้ามาระหว่างทาง แน่นอนว่าหลายครั้งที่ธุรกิจก็หวังจะให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีกว่าที่คาดไว้ แต่ก็ต้องระวังด้วยเหมือนกันว่าการให้ข้อเสนอ หรือสิทธิประโยชน์อะไรไปนั้นก็จะเป็นการสร้างความคาดหวังที่สูงขึ้นตามไปด้วย และถ้าเกิดเหตุที่ทำให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวใช้ไม่ได้แล้ว มันก็สามารถนำไปสู่การหยุดใช้บริการหรือความรู้สึกลบที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง ลองคิดง่าย ๆ เหมือนกับการที่ธุรกิจสัญญาว่าจะมอบส่วนลดหรือของสมนาคุณให้กับลูกค้าเพื่อเร่งการปิดการขาย แต่พอเอาเข้าจริงแล้วกลับทำไม่ได้หรือไม่เป็นแบบที่นำเสนอไว้แต่ต้นนั้น ก็จะทำให้เปลี่ยนจากความรู้สึกดีกลายเป็นรู้สึกแย่ แม้ว่าสิ่งนั้นอาจจะไม่ใช่ประเด็นหลักของการใช้บริการก็ตาม ฉะนั้นแล้ว หากจะนำเสนอสิทธิประโยชน์หรือข้อเสนอเพิ่มเติมอะไรให้กับลูกค้าแล้วนั้น ก็ต้องเช็คกันให้ดีเสียก่อนว่ามันทำได้จริง พร้อมให้บริการหรือไม่ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะเปลี่ยนสถานการณ์จากดีกลายเป็นแย่เอาได้นั่นเองล่ะครับ

หากมีคำแนะนำ ติชม หรือข้อเสนอแนะ แก้จุดผิดใดๆ ก็บอกกันมาได้นะครับ จะได้เป็นวิทยาทานให้กับทุกๆ ท่านที่แวะผ่านมาอ่านกันด้วย

บอกก่อนว่า ผมเองก็ไม่ได้เป็นนักรีทัชมืออาชีพแต่อย่างใด เพียงแต่เห็นว่ากระทู้ในลักษณะสอนการใช้งานไม่ค่อยมีเท่าไหร่นักในพันทิป เลยคิดว่าจะแชร์ความรู้ที่ผมเรียนรู้มาด้วยตัวเอง แลกเปลี่ยนกันกับทุกๆ ท่าน (เผื่อว่าท่านใดที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า จะได้สอนผมด้วย win-win เนอะ) หวังว่าพี่ๆ น้องๆ จะได้รับประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

เกริ่นมาพอสมควรละ ขอเปิดด้วยรูปก่อนที่ไม่ได้รีทัชตกแต่งภาพใดๆ และภาพหลังจากตกแต่งแล้วเปรียบเทียบกันชัดๆ ว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นยังไงนะครับ

2024 ทำไม อ มพอต ว ด โอ เข าadobe premiere

กระทู้นี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ - มีโปรแกรม Adobe Lightroom ติดตั้งอยู่ในเครื่องอยู่แล้ว (เวอร์ชั่น 5 จะดีมาก เพราะรายละเอียดบางส่วน ปุ่มต่างๆ หน้าตาอาจจะต่างไปจากเวอร์ชั่นก่อนๆ แต่ถ้ามีเวอร์ชั่นเก่ากว่า ก็ไม่เป็นไร หลักการใช้งานคล้ายๆ กันนะครับ พอเทียบเคียงกันได้ แม้ว่าอาจจะไม่เป๊ๆ นัก) ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมไม่ขอตอบคำถามประเภทว่า จะหาจากไหน ติดตั้งอย่างไร มี serial number มั้ยขอหน่อย นะครับ ไม่มี และไม่สนับสนุนให้ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย

- มีรูปที่ถ่ายด้วยตัวเองอยู่ในเครื่องบ้าง จะได้นำความรู้นี้ ลองหัดเอาไปปรับใช้ได้เลย แต่ถ้าไม่มีรูปอะไร ก็เสิร์ชหาจากกูเกิ้ลเอาได้ครับ http://images.google.com ดึงมาสักรูป แล้วเอามารีทัชเล่นดูได้

- พอจะเคยแต่งรูปมาบ้าง รู้จักคำศัพท์ประเภทว่า exposure, contrast ประมาณนี้ แต่ถ้าไม่รู้จักเลย ก็ถามมาได้นะครับ จะพยายามตอบให้