2024 ทำไม ข นช างถวายฎ กา ได ร บการยกย อง

ผู้แต่ง

  • กรนิษฐ์ ชายป่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พิงพร ศรีแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ศิวพร จติกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ขุนช้างขุนแผน, คุณค่าวรรณคดี, วรรณคดีไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารข้อเท็จจริง วิเคราะห์คุณค่าและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งเป็นวรรณคดีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมได้รับคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อไป การศึกษานี้เป็นการนำเนื้อหาข้อมูลจริงมาสำรวจและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

ผลการศึกษา พบว่า เสภาขุนช้างขุนแผนมีคุณค่าซึ่งจำแนกได้ ดังนี้ 1. ทางด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ การใช้ภาษาคำเจรจา การใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพพจน์ การใช้คำให้เกิดจินตภาพ การใช้ภาษาที่รวบรัดของกวี 2. คุณค่าทางด้านวัฒนธรรม จำแนกได้ดังนี้ 2.1 ขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรม ได้แก่ การเกิด การโกนจุก การบวชเรียน การแต่งงาน การทำศพ ประเพณีการทำบุญในวันสงกรานต์ ประเพณีการฟังเทศน์มหาชาติ ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อในเรื่องความฝัน 2.2 ความเป็นอยู่ค่านิยม จำแนกเป็นลักษณะบ้านเรือน ลักษณะครอบครัว การต้อนรับ หลักความสามัคคี คุณค่าที่กล่าวมาเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องรักษาวรรณคดีให้ทรงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ในฐานะเป็นตำราไทยคดีศึกษา เพราะประกอบด้วยความรู้ในทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งยังคงความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมคู่กับชาติตลอดไป ส่วนองค์ความรู้ใหม่มี ดังนี้ ประการแรก การเป็นศาสตร์และศิลป์ของบรรพชน ประการที่สอง การบูรณาการความเชื่อด้านศาสนาและวัฒนธรรมอย่างลงตัว และประการที่สาม ความร่วมสมัยของเนื้อหา

Downloads

Download data is not yet available.

References

กุสุมา รักษ์มณี. (2531). ลักษณะเฉพาะของวรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 200 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บรรเทา กิตติศักดิ์ และกัมพุชนาฎ เปรมกลม. (2524). วรรณคดีมรดก. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

มิ่งขวัญ ทองพรหมราช. (2546). ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณร. กรุงเทพมหานคร: ทองพูลการพิมพ์จำกัด.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2545). มิใช่เป็นเพียง “นางเอก”. กรุงเทพมหานคร: ประพันธ์ สาส์น.

สายสมร ยุวนิมิ. (2539). คุณค่าของเสภาขุนช้างขุนแผน. สารสถาบันภาษาไทย. 3 (1), 97-103.

สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2562, จาก https://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ

“ถวายฎีกา” แผนร้ายทำลายสถาบัน

เผยแพร่: 29 มิ.ย. 2552 10:00 โดย: ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

ไม่ว่า “แผนตากสิน” จะมีอยู่จริงหรือไม่ แต่ความเคลื่อนไหวที่ขบวนการเสื้อแดงกำลังดำเนินการอยู่ ณ ขณะนี้ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของ “แผนทักษิณ”...

ขบวนการเสื้อแดงของทักษิณได้ชุมนุมที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่ในการชุมนุมที่อ้างว่าจะโค่นอำมาตย์ กลับมีประเด็นสำคัญอยู่ที่การพยายามหาทางรอดจากคุกจากตะรางให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะด้วยการ “ถวายฎีกา”

เรื่องนี้ นายวีระ มุสิกพงศ์ เป็นผู้พูดขึ้นมาบนเวที ระหว่างการสนทนากับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่โทรศัพท์เข้ามาปราศรัยกับคนเสื้อแดง โดยนายวีระทำทีเป็นถามขึ้นมาก่อนว่า “ทำไมไม่ถวายฎีกา?”

พ.ต.ท.ทักษิณ ปราศรัยตอบว่า “แล้วแต่พระมหากรุณาธิคุณ”

หลังจากนั้น นายวีระจึงอ้างว่า มีพระมาบอกตน และตนจะดำเนินการให้ประชาชนร่วมลงชื่อเยอะๆ โดยจะไม่ใช่มีแต่ลายเซ็นชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณคนเดียว แต่จะเอาสักล้านชื่อมาร่วมลงชื่อกับ พ.ต.ท.ทักษิณด้วย

พูดง่ายๆ ว่า จะเอาประชาชนมาร่วมลงชื่อจำนวนมากๆ ในการถวายฎีกาเพื่อทักษิณ

การถวายฎีกาในแบบที่ขบวนการเสื้อแดงของทักษิณริอ่านจะทำกันนั้น น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของ “แผนทักษิณ” เป็นรูปแบบที่ไม่บังควรอย่างยิ่ง และไม่เคยมีพสกนิกรผู้จงรักภักดีทำแบบนี้มาก่อน 1. การถวายฎีกา เพื่อขออภัยโทษแก่นักโทษนั้น โดยปกติ นักโทษจะต้องกลับมารับโทษตามคำพิพากษาของศาลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสียก่อน

พูดง่ายๆ ว่า จะต้องเข้าไปอยู่ในคุกเสียก่อน ยอมรับโทษตามคำพิพากษาเสียก่อน

2. ระหว่างการรับโทษทัณฑ์อยู่ในคุก ก็จึงดำเนินการตามขั้นตอนวิธีปฏิบัติ เรื่องการถวายฎีกา ซึ่งจะต้องกระทำไปเงียบๆ โดยตัวนักโทษเอง จะไม่มีการไปเอาชื่อประชาชนจำนวนมากๆ มากดดัน หรือแสดงพลังกดดันพระราชวินิจฉัยอย่างเด็ดขาด

แต่กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ นอกจากจะไม่ยอมรับโทษ ยังหลบหนีความผิด แล้วยังมีพฤติกรรมโจมตี ทำลายกระบวนการยุติธรรมและศาลยุติธรรมของประเทศ

ยิ่งกว่านั้น ยังมีพฤติกรรมจาบจ้วง ล่วงละเมิด บงการ ใช้ หรือจ้างวาน หรือกระทำการอันกระทบกระเทือนต่อพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสถาบันพระมหากษัตริย์

3. ท่าทีและพฤติกรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สะท้อนอยู่ในคำพิพากษาของศาลอาญา ที่ให้ยกฟ้องในคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณฟ้องหมิ่นประมาทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กรณีถูกกล่าวหาว่าอยากกลับมาเป็นประธานาธิบดี

ในคำพิพากษาดังกล่าว บางตอนมีการเอ่ยถึงพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ดังนี้

(1) ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า การกระทำของนายสุเทพ เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม

(2) พ.ต.ท.ทักษิณ เคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี 2544 ถึง 2549 ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เห็นว่ามีพฤติการณ์เหยียบย่ำ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงได้เทศนาสั่งสอนเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 ว่า อย่าคิดอาจเอื้อมเป็นประธานาธิบดี

(3) ระหว่างเป็นนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณได้แสดงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ คือ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2548 ได้พูดกลับกลุ่มบุคคลที่หอประชุมอินดอร์สเตเดียมหัวหมาก ด้วยข้อความไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 โจทก์ได้พูดในรายการนายกทักษิณคุยกับประชาชน เรื่องการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ และเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ได้พูดต่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ว่ามีผู้บารมีนอกรัฐธรรมนูญมาก่อความวุ่นวายต่อระบอบประชาธิปไตยมากเกินไป จนทำให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า การกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยว่าไม่ปกป้องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

(4) เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วได้มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ต.ท.ทักษิณได้โทรศัพท์พูดคุยกับ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ระหว่างสัมมนาที่โรงแรมที่อำเภอเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยยอมรับว่าคนเสื้อแดงเป็นพลังสนับสนุนที่สำคัญของตนเอง และการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงทุกครั้งได้นำรูปของ พ.ต.ท.ทักษิณขึ้นนำขบวน และเรียกร้องให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และ พรรคเพื่อไทย ขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวทีของคนเสื้อแดง นอกจากนี้ ร้อยตำรวจโท เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ก็ได้อภิปรายยอมรับต่อที่ประชุมสภา เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า “พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย มีความเชื่อมโยงกันเป็นเนื้อเดียวกัน และพรรคเพื่อไทยก็ได้จัดทำเสื้อแดงเตรียมไว้ให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2551” และการชุมนุมของคนเสื้อแดงทุกครั้งมักจะพูดพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น การชุมนุมเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550, วันที่ 10 มิถุนายน 2551, วันที่ 15 สิงหาคม 2251

โดยเฉพาะการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 กลุ่มคนเสื้อแดงได้นำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ติดไว้ที่ฉากหลังเวที โดยมีข้อความที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2552 มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง และมีการตั้งโต๊ะเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

จากพฤติกรรมทั้งหลายของของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผลให้ พล.ต.อ.วิสิษฐ เดชกุญชร เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณหลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ก็ยังได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า มีความพยายามจ้องล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ถึงขนาดนี้แล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ น่าจะหยุดการกระทำอันไม่บังควร แต่กลับไม่หยุด กลับให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเซี่ยลไทม์ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ควรทราบเรื่องแผนการรัฐประหารมาล่วงหน้า” ตามหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 15 พ.ค.2552

(5) พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้ให้การสนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดงให้มาชุมนุมกันที่ถนนราชดำเนิน ลานพระบรมรูปทรงม้า จนนำไปสู่การจลาจล ในช่วงสงกรานต์ เดือนเมษายน 2552 ซึ่งชวนให้เห็นว่า เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติโดยประชาชนตามคำชักชวนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งนี้ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณกับกลุ่มคนเสื้อแดงย่อมรู้อยู่แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยรูปแบบอื่นตามที่ตนต้องการไม่อาจทำได้โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ม.291 วรรค 2

พฤติการณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มคนเสื้อแดง บ่งชี้ให้เห็นว่ามีเจตนาที่ส่อไปในทางที่สอดคล้องกับคำเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโน

4. ขบวนการเสื้อแดงของทักษิณ ได้ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง

ตั้งแต่การเลือกตั้งซ่อม ที่จงใจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และหากเลือกพรรคเพื่อไทย พ.ต.ท.ทักษิณจึงจะสามารถกลับประเทศไทยได้

ยิ่งกว่านั้น ในการจะถวายฎีกาครั้งนี้ ก็พยายามจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดอีกครั้ง ว่าหากมีการถวายฎีกา ทักษิณจึงจะสามารถกลับประเทศไทยได้

ดังปรากฏว่า หนังสือพิมพ์บางฉบับ ถึงกับพาดหัวข่าวว่า “เสื้อแดงล่าชื่อ ถวายฎีกา ช่วยทักษิณกลับประเทศ”

ทั้งๆ ที่ ในความเป็นจริง ทักษิณสามารถกลับประเทศไทยได้อยู่แล้ว และทางการทุกฝ่ายล้วนต้องการให้กลับเข้ามารับโทษและต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม เฉกเช่นประชาชนคนไทยทุกคน เพียงแต่ทักษิณตัดสินใจหลบหนีออกไปเอง

และที่ไม่ยอมกลับเข้ามา ก็เพราะตนเองไม่ต้องการติดคุก

5. สิ่งที่ทักษิณต้องการมากที่สุด 2 อย่าง คือ 1) ไม่ติดคุก และ 2) ไม่ถูกยึดทรัพย์

6. ทักษิณให้สัมภาษณ์โจมตีอำนาจตุลาการ องคมนตรี และกองทัพ หลายครั้ง รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

"ศาล" คือ สถาบันยุติธรรม ทำหน้าที่ตัดสินพิพากษาอรรถคดีไปตามกฎหมาย เพื่อเป็นที่ยุติของข้อขัดแย้งทั้งปวง โดยปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

"คณะองคมนตรี" คือ สถาบันที่ปรึกษาส่วนพระองค์ หรือเป็นสัญลักษณ์ของผู้ทำงานแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

"กองทัพ" คือ สถาบันที่มีกำลังอำนาจ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นจอมทัพไทย

พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจกล่าวหาต่อสถาบันเหล่านี้ เพื่อยกระดับตัวเองให้คนดูเสมือนว่า ตนถูกกลั่นแกล้งหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสถาบันดังกล่าวทั้งหมด อันเป็นการใส่ร้ายสถาบันดังกล่าว และกระทบกระเทือนถึงสถาบันเบื้องสูง

7. ก่อนหน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณ เคยปราศรัยต่อหน้าคนเสื้อแดงที่สนามกีฬาหัวหมากว่า หนทางที่ตนเองจะกลับบ้านมี 2 ทาง คือ 1.คนเสื้อแดงพากลับ และ 2.พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานอภัยโทษ

ปรากฏต่อมาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เลือกใช้วิธีการให้คนเสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหว สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายในบ้านเมือง กระทั่งลุกลาม กลายเป็นเหตุการณ์จลาจลในช่วงสงกรานต์ แต่ก็ไม่บรรลุเป้าหมาย

8. พ.ต.ท.ทักษิณก็ดี นายวีระก็ดี ต่างก็รู้กันว่า การถวายฎีกาที่แท้จริง ตามแบบแผนและขั้นตอนปฏิบัติที่ถูกต้อง ในแบบวิธีที่คนที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์พึงกระทำนั้น ควรต้องกระทำเยี่ยงไร