พนักงานลาออกต้องจ่าย เงินเดือน ภายใน กี่วัน

กระทรวงยุติธรรม เสนอกฎหมายน่ารู้ ตอน : “ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย”


เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ และตามกฎหมายลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ดังนี้
1. ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป (รวมถึงการเลิกจ้าง เพราะสถานการณ์โควิด - 19)
• หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน - 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 - 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 - 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 - 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 - 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย


2. ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
•ค่าเสียหายนี้เกิดในกรณีหากนายจ้าง "ไล่ออก" ทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า ถือว่า นายจ้างทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป ตามข้อ 1 แล้ว (มาตรา 118) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน

ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และมาตรา 17/1

เอกสารแนบ

  • กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 289: “ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย” ดูแล้ว 1832 ครั้ง

ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของกระทรวงยุติธรรม

ท่านคิดว่าข้อมูลข่าวสารนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวนี้มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านพึงพอใจในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ส่งข้อมูล

ในแต่ละสถานที่ทำงานย่อมมีกฏระเบียบ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ากฎใดถูกกฎหมายหรือขัดกับกฏหมายบ้าง กฎหมายแรงงานจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นที่คนทำงานควรเรียนรู้ เพื่อปกป้องสิทธิของตน ขณะเดียวกันก็เป็นการเรียนรู้เพื่อป้องกันตนไม่ให้ทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย 

อเด็คโก้ได้รวบรวม 10 ปัญหากฎหมายแรงงานยอดฮิต มาไขข้อข้องใจให้คนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ขาด ลา มา สาย และข้อสงสัยต่างๆ ไว้ให้แล้วดังนี้

หมวดเวลาการทำงาน

  1. มาสายบริษัทมีสิทธิ์หักเงินเดือนหรือไม่?

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยระบุว่า การที่นายจ้างหักเงินค่าจ้างเพราะมาสายนั้นเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้เพราะผิดกฎหมายแรงงาน เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ 

(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้

(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน

(3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวโดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง

(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม 

อย่างไรก็ตามแม้ว่านายจ้างไม่มีสิทธิ์หักค่าจ้าง แต่นายจ้างสามารถจ่ายค่าจ้างตามระยะเวลาเท่าที่ทำงานจริงได้ เช่น หากลูกจ้างทำงานวันละ 8 ชม. แต่มาสาย 30 นาที นายจ้างสามารถจ่ายค่าจ้างในวันดังกล่าวเพียง 7.30 ชม.ได้ โดยคำนวณค่าจ้างเป็นรายนาที แต่การตั้งกฎ เช่น มาสาย 3 ครั้ง เท่ากับขาด 1 วัน ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

  1. นายจ้างให้ทำงานเกินวันละ 8 ชม. โดยไม่จ่ายค่าล่วงเวลา สามารถทำได้หรือไม่?
กฎหมายกำหนดว่า นายจ้างต้องกำหนดเวลาทำงานให้แก่ลูกจ้างต้องไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมกันทั้งสัปดาห์ต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง ถ้าหากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกินเวลาที่กำหนดไว้ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาให้ลูกจ้าง 

แต่มีข้อยกเว้นที่นายจ้างสามารถกำหนดให้ลูกจ้างทำงานต่อวันเกินกว่า 8 ชั่วโมงได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา แต่เมื่อรวมต่อสัปดาห์แล้วต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง เช่น งานที่ใช้วิชาชีพ วิชาการ งานด้านบริหารและงานจัดการ งานเสมียนพนักงาน งานอาชีพเกี่ยวกับการค้า งานอาชีพด้านบริการ งานที่เกี่ยวกับการผลิต หรืองานที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว  ดังนั้นการให้ทำงานเกินวันละ 8 ชม. จึงสามารถทำได้หากระยะเวลารวมต่อสัปดาห์แล้วไม่เกิน 48 ชั่วโมง 

 

หมวดการลา

  1. ลาป่วยไม่มีใบรับรองแพทย์ได้ไหม?

ได้ ถ้าลาป่วยติดต่อกันไม่ถึง 3 วัน แต่ในกรณีการลาป่วยนั้นเป็นที่น่าสงสัยว่าอาจลาป่วยไม่จริง นายจ้างมีสิทธิขอดูใบรับรองแพทย์ได้ และถ้าลูกจ้างไม่แสดงใบรับรองแพทย์ อาจผิดวินัยเรื่องฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างได้

  1. บริษัทสามารถไม่จ่ายค่าจ้างในวันที่ลาป่วยได้หรือไม่?

ไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยโดยได้รับค่าจ้าง 30 วันต่อปี ยกเว้น การลาป่วยตั้งแต่วันที่ 31 เป็นต้นไป ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง

  1. แบบไหนเรียกว่าลากิจ? และลากิจได้สูงสุดกี่วัน?

ตามกฏหมายการลากิจนายจ้างมีสิทธิกำหนดระเบียบการลากิจได้เองและจะจ่ายค่าจ้างในวันลากิจด้วยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นคำถามที่ว่าแบบไหนเรียกว่าลากิจจึงขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท โดยต้องกำหนดให้มีวันลากิจไม่น้อยกว่า 1 วัน

  1. เจ้านายไม่ให้ลาพักร้อน บอกว่าต้องทำงานก่อน 1 ปี จึงจะสามารถหยุดพักร้อนได้ บริษัทมีสิทธิ์ทำได้หรือไม่?

ได้ เพราะกฎหมายกำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน (หมายความว่าเมื่อครบ 1 ปี ได้ 6 วัน และ เมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 ได้อีก 6 วันรวมเป็น 12 วัน) โดยในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้
 

หมวดลาออก

  1. ลาออกโดยไม่บอกล่วงหน้าได้ไหม? การลาออกต้องให้บริษัทอนุมัติหรือไม่?

กฎหมายกำหนดว่าการลาออกต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 รอบการจ่ายค่าจ้าง เช่นหากลูกจ้างได้รับเงินเดือนทุก 30 วัน จะต้องบอกล่วงหน้า 30 วัน และเมื่อลูกจ้างแจ้งลาออกแล้ว จะมีผลได้ทันที แม้นายจ้างไม่ได้อนุมัติ

หมวดทดลองงาน

  1. นายจ้างสามารถ ต่ออายุการทดลองงานได้หรือไม่?

ทำได้ เพราะกฎหมายไม่มีกำหนดเรื่องระยะเวลาทดลองงาน ดังนั้น นายจ้างจะจัดให้มีระยะเวลาทดลองงานมากน้อยเพียงใดก็ได้

ลาออกจากงาน ได้เงินเดือนวันไหน

เมื่อออกจากงานแล้วจะต้อง "จ่าย" ในวันที่เลิกจ้าง ได้แก่ ค่าชดเชย 2) กลุ่มที่สอง จ่ายภายใน 3 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง(ไม่รวมลาออก ซึ่งต้องรอกำหนดจ่าย เช่น ออกกลางเดือน หากเขาจ่ายเงินเดือนกันปลายเดือนก็ต้องรอให้ถึงกำหนดก่อน) ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุด

พนักงานรายวันต้องลาออกล่วงหน้ากี่วัน

กฎบริษัทฯส่วนใหญ่ ระบุไว้ว่า ลาออกให้ “แจ้งล่วงหน้า 30 วัน” ความจริงแล้ว หลานๆ สามารถยื่นลาออกให้มีผลวันถัดไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน

ลาออกจากงานได้เงินเดือนไหม

ตามกฎหมาย การแสดงเจตนาลาออกของลูกจ้างไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม แจ้งทางโทรศัพท์ ส่งอีเมล์ ส่งไลน์ ก็มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้าง และ "นายจ้างไม่มีสิทธิอายัดเงินเดือนลูกจ้าง หรืออ้างว่าจะไม่เงินจ่ายเงินเดือนเพราะการลาออกกะทันหันของลูกจ้างทำให้นายจ้างเสียหายไม่ได้"

ใบลาออกมีผลตอนไหน

ลูกจ้างลาออกมีผลได้ทันที ไม่แจ้งล่วงหน้า 30 วัน แต่ที่นายจ้างกำหนดให้พนักงานต้องแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน ก็เพื่อให้นายจ้างมีเวลาเตรียมจัดหาคนมาดูแลงานแทนส่วนที่ลูกจ้างเคยรับผิดชอบ และเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างกันเองด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf