ขอให้คุณมีความสุขในทุกๆวัน ภาษาเกาหลี

  • การกล่าวทักทายพื้นฐาน
  • การกล่าวทักทายตามช่วงเวลา
  • การกล่าวทักทายทั่วไป
  • การกล่าวทักทายตอนรับประทานอาหาร
  • การกล่าวทักทายเวลาเดินทาง
  • การกล่าวทักทายเวลารับโทรศัพท์

안녕하세요 여러분 (อันยองฮาเซโย ยอรอบุน) สวัสดีค่ะทุก ๆ คน วันนี้เราเปิดตัวกันด้วยคำกล่าวทักทายภาษาเกาหลี ซึ่งเรียกได้ว่าตรงคอนเซ็ปต์มากสำหรับบทความในวันนี้ เพราะเราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับคำกล่าวทักทายในภาษาเกาหลีที่ไม่ได้มีแค่คำว่า ‘อันยองฮาเซโย’ บอกเลยว่าน่าสนใจมาก ๆ ค่ะ เพราะเราได้รวบรวมคำกล่าวทักทายไว้กว่า 20 ประโยค เพื่อให้ทุก ๆ คนสามารถเลือกและนำไปใช้ได้ในหลาย ๆ สถานการณ์ที่แตกต่างกัน

ใครที่เป็นสาวกซีรี่ส์เกาหลี ไม่ว่าจะเป็น ซีรี่ส์เกาหลีแนวพีเรียด, ซีรี่ส์เกาหลีแนวกฎหมาย, ซีรี่ส์เกาหลีแนวการแพทย์, ซีรี่ส์เกาหลีแนวสืบสวน หรือจะเป็นเกมโชว์ วาไรตี้เกาหลีต่าง ๆ เชื่อว่าคงเคยได้ยินประโยคเหล่านี้ผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้ว แต่อาจยังงง ๆ ว่าประโยคไหนใช้อย่างไร โดยความยากของภาษาเกาหลีคือ การเรียงรูปแบบประโยคที่ต่างกับประเทศไทย และที่สำคัญเลยคือระดับของภาษาที่คนเกาหลีใช้กันอย่างเคร่งครัด แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ

วันนี้เราจะมาอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจกันอย่างแน่นอน จะได้ไม่นำไปใช้กันผิดสถานการณ์ นอกจากการกล่าวทักทายภาษาเกาหลีแล้ว เรายังมีการกล่าวแสดงความยินดีภาษาเกาหลี และการบอกฝันดี ราตรีสวัสดิ์ภาษาเกาหลี มาให้ทุกคนเลือกอ่านกันอีกด้วยนะคะ เอาล่ะ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เราไปดูคำกล่าวทักทายภาษาเกาหลีกันเลยค่ะ

การกล่าวทักทายพื้นฐาน

안녕? 난 지우야.너는? – อันยอง นัน จีอูยา นอนึน? – หวัดดี เราชื่อจีอู เธอล่ะ

안녕하세요? (อันยองฮาเซโย) สวัสดีค่ะ/ครับ

คำนี้ถือเป็นคำทักทายที่เบสิคที่สุดสำหรับคนเกาหลีเลยก็ว่าได้ค่ะ สามารถใช้ทักทายได้ในทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นคนที่สนิทหรือไม่สนิท อยู่ในรูปสุภาพ สามารถใช้พูดก่อนที่จะถามสารทุกข์สุกดิบกับผู้อื่นก็ได้เช่นกันค่ะ

안녕 (อันยอง) สวัสดี

คำนี้เป็นคำที่ไว้ใช้กับเด็ก ๆ ที่มีอายุน้อยกว่าเรา หรือจะใช้กับเพื่อนสนิทก็ได้เช่นกันค่ะ ถ้าจะให้แปลตรงตามภาษาไทย ก็อาจแปลได้ว่า “หวัดดี” เป็นคำทักทายที่ถือว่าไม่ค่อยสุภาพ ห้ามใช้พูดกับบุคคลที่ไม่รู้จัก ไม่สนิท หรือผู้หลักผู้ใหญ่เด็ดขาดนะคะ ไม่งั้นอาจจะโดนมองค้อนได้โดยไม่รู้ตัว

안녕하십니까? (อันยองฮาชิมนีกา) สวัสดีค่ะ/ครับ

คำว่า 안녕하십니까? (อันยองฮาชิมนีกา) เอาไว้ใช้กับผู้ที่เราเคารพนับถือ หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วมันต่างกับ 안녕하세요? (อันยองฮาเซโย) อย่างไร? จะบอกว่าทั้ง 2 คำนี้สามารถเอาไว้พูดกับผู้หลักผู้ใหญ่ได้เหมือนกัน แต่คำว่า 안녕하십니까? (อันยองฮาชิมนีกา) จะเน้นพูดกับผู้ที่เรายกย่อง ให้เกียรติ อยากแสดงความเคารพ เช่น เจ้านาย, แขกคนสำคัญ, ญาติอาวุโส เป็นต้น

ตัวอย่างประโยค

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย안녕하세요? 저는 이종석입니다.안녕하십니까? 사장님.안녕? 난 지우야.너는?
อันยองฮาเซโย ชอนึน อีจงซอกอิมนีดา สวัสดีครับ ผมชื่ออีจงซอกครับ
อันยองฮาชิมนีกา ซาจังนิม สวัสดีค่ะ/ครับเจ้านาย
อันยอง นัน จีอูยา นอนึน? หวัดดี เราชื่อจีอู เธอล่ะ

การกล่าวทักทายตามช่วงเวลา

여러분 좋은 하루가 보내세요. – ยอรอบุน โชอึน ฮารูกา โพแนเซโย – ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดีนะคะ/นะครับทุก ๆ คน

좋은 하루가 보내세요. (โชอึน ฮารูกา โพแนเซโย) ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดีนะคะ/นะครับ

ประโยคนี้ส่วนใหญ่จะใช้ทักทายกันในตอนเช้า หรือตอนกลางวัน สามารถพูดได้กับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือผู้ที่มีอายุมากกว่าเรา เป็นการกล่าวทักทายที่เปรียบเหมือนการอวยพรให้ทั้งวันเจอแต่สิ่งดี ๆ อย่าให้เจอเรื่องแย่ ๆ นั่นเองค่ะ

좋은 아침이에요. (โชอึน อาชิมมีเอโย) อรุณสวัสดิ์ / สวัสดีตอนเช้า

좋은 아침이에요. (โชอึน อาชิมอีเอโย) แปลว่า อรุณสวัสดิ์ หรือสวัสดีตอนเช้า จะเอาไว้ทักทายในช่วงเช้า ซึ่งจะต่างกับคำว่า 안녕하세요? (อันยองฮาเซโย) ที่สามารถใช้ทักทายได้ตลอดทั้งวัน คำนี้ถือเป็นคำที่สุภาพ สามารถใช้พูดได้กับบุคคลทั่วไป เพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างาน

안녕히주무세요. (อันยองฮีชูมูเซโย) ราตรีสวัสดิ์

안녕히주무세요. (อันยองฮีชูมูเซโย) เป็นหนึ่งในการบอกฝันดีในภาษาเกาหลี คำนี้ก็จะเป็นการผสมคำระหว่าง คำว่า “안녕히” (อันยองฮี) ที่เป็นคำวิเศษณ์แปลว่า ‘สงบสุข’ ผสมกับคำว่า “주무세요” (ชูมูเซโย) ที่แปลว่านอน เมื่อนำมาผันเข้าประโยค ก็จะได้คำว่า “안녕히 주무세요” (อันยองฮี-ชูมูเซโย) ที่แปลว่าราตรีสวัสดิ์ ถือเป็นคำที่สุภาพมาก จะเน้นพูดกับผู้ที่เรายกย่อง ให้เกียรติ อยากแสดงความเคารพ เช่น เจ้านาย, แขกคนสำคัญ, ญาติอาวุโส เป็นต้น

주말 잘 보내세요. (ชูมัล ชัล โพแนเซโย) ขอให้มีความสุขในวันหยุดสุดสัปดาห์นะคะ/นะครับ

คำนี้คงเป็นคำที่หลาย ๆ คนอยากได้ยิน เพราะนั่นหมายความว่าวันหยุดกำลังมาเยือนนั่นเองค่ะ โดยคำนี้จะเอาไว้พูดก่อนวันหยุดสุดสัปดาห์อย่างวันศุกร์ หรือจะพูดในวันเสาร์/อาทิตย์ก็ได้ คำนี้ถือเป็นคำที่สุภาพ สามารถใช้พูดได้กับบุคคลทั่วไป เพื่อนร่วมงาน ผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือสามารถใช้เขียนลงท้ายอีเมล์ที่เราจะส่งก่อนวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ได้เช่นกันค่ะ

ตัวอย่างประโยค

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย여러분 좋은 하루가 보내세요.김민지 씨 좋은 아침이에요.김수현 씨 주말 잘 보내세요.
ยอรอบุน โชอึน ฮารูกา โพแนเซโย ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดีนะคะ/นะครับทุก ๆ คน
คิมมินจี ชี โชอึน อาชิมมีเอโย อรุณสวัสดิ์ค่ะคุณคิมมินจี
คิมซูฮยอน ชี ชูมัล ชัล โพแนเซโย ขอให้มีความสุขในวันหยุดสุดสัปดาห์นะคะคุณคิมซูฮยอน

การกล่าวทักทายทั่วไป

선배 오랜만이에요.보고 싶어요. – ซอนแบ โอแรนมานีเอโย โพโก ชิพพอโย – ไม่ได้เจอกันนานเลยนะคะรุ่นพี่ คิดถึงจังเลยค่ะ

หากเราต้องการจะกล่าวทักทาย โดยการถามว่า สบายดีไหม? เป็นอย่างไรบ้าง? ในภาษาเกาหลีก็สามารถถามได้ โดยรูปประโยคจะต้องขึ้นอยู่กับระดับความสุภาพด้วยนะคะ ต้องสังเกตให้ดีว่าผู้ที่เราพูดด้วยควาสนิทอยู่ในระดับไหน อายุมากกว่าเรารึปล่าว จะได้ไม่นำไปพูดกันผิดนะคะ

잘 계셨어요? (ชัล คเยช็อดซอโย้?) สบายดีไหมคะ/ครับ

ประโยคนี้ถือเป็นรูปแบบการถามที่สุภาพมาก สามารถใช้พูดได้กับบุคคลที่เราเคารพนับถือ ยกย่องให้เกียรติ อาจจะเป็นเจ้านาย หรือผู้ที่มีฐานะทางสังคมสูงกว่าเราก็ได้เช่นกัน โดยคำว่า 잘 แปลว่า ดี และคำว่า 계셨어요? แปลว่าการอยู่อาศัย เป็นการถามในรูปอดีต เมื่อนำมารวมกันก็จะแปลได้ว่า อยู่อาศัยดีไหม หรือสบายดีไหมนั่นเองค่ะ

잘 지냈어요? (ชัล ชีแนซอโย้?) สบายดีไหมคะ/ครับ

ประโยคนี้ก็ถือเป็นประโยคที่สุภาพเช่นเดียวกับ 잘 계셨어요? (ชัล คเยช็อดซอโย้?) แต่จะเอาไว้พูดกับบุคคลที่อายุมากกว่าที่สนิทกันในระดับหนึ่ง แต่ยังเป็นการให้เกียรติกันอยู่ เช่น อาจารย์ประจำชั้น, เพื่อร่วมงาน, รุ่นพี่ หากมีคนมาถามคำถามนี้กับเรา เราก็สามารถตอบได้ว่า 잘 지냈어요. (ชัล ชีแนซอโย) ที่แปลว่า “สบายดีค่ะ/ครับ” นั่นเองค่ะ

잘 있니? (ชัล อิดนิ?) สบายดีป่ะ

ดูจากคำแปลก็น่าจะเดาได้ใช่ไหมคะว่าเป็นประโยคที่เอาไว้ใช้พูดกับคนที่สนิท หรือคนที่อายุน้อยกว่า เป็นการถามเพื่อนว่า “สบายดีป่ะ” และถ้าเราต้องการที่จะตอบว่าสบายดี ก็สามารถพูดได้ว่า “잘 있어” (ชัล อิดซอ) นั่นเองค่ะ

요즘 어떠세요? (โยจึม ออตอเซโย้?) ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ/ครับ

요즘 어떠세요? (โยจึม ออตอเซโย้?) เอาไว้ถามเจ้านาย หรือผู้ที่เราเคารพนับถือเวลาไม่ได้เจอกันเป็นเวลาหนึ่ง และอยากถามสารทุกข์สุกดิบว่าช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหม เพื่อแสดงความห่วงใย และเป็นมารยาทที่ดีด้วยค่ะ

요즘 어때요? (โยจึม ออแตโย้?) ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ/ครับ

ประโยคนี้ก็ถือเป็นประโยคที่สุภาพรองลงมา เอาไว้พูดกับบุคคลที่อายุมากกว่าที่สนิทกันในระดับหนึ่ง แต่ยังเป็นการให้เกียรติกันอยู่ เช่น อาจารย์ประจำชั้น, เพื่อร่วมงาน, รุ่นพี่ หรือแฟนที่อายุมากกว่า หากจะใช้ถามรุ่นน้อง หรือเพื่อนสนิท ก็เพียงตัดคำว่า 요 (โย) ออก จะได้ว่า 요즘 어때? (โยจึม ออแต๊?) แปลว่า ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง นั่นเองค่ะ

오랜만이에요. (โอแรนมานีเอโย) ไม่เจอกันนานเลยนะคะ/ครับ

ประโยคนี้เรียกว่าคนเกาหลีใช้กันบ่อยมากค่ะ เอาไว้บอกกับผู้ที่เราไม่เจอกันเป็นเวลานาน เป็นรูปประโยคที่สุภาพ พูดได้กับบุคคลทั่วไปทั้งสนิทและไม่สนิท อาจจะเอาไว้พูดกับเพื่อนเก่า, เพื่อนบ้านเก่า หรือใครก็ตามแต่ที่ไม่เจอกันนาน โดยมักจะพูดประโยคนี้แล้วตามด้วยการถามว่าสบายดีไหม หรือแล้วแต่สถานการณ์เลยค่ะ

ตัวอย่างประโยค

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย사장님 안녕하십니까? 잘 계셨어요?선생님 안녕하세요? 잘 지냈어요?박보검 씨 요즘 어때요? 잘 지냈죠?선배 오랜만이에요.보고 싶어요.
ซาจังนิม อันยองฮาชิมนีกา ชัล คเยช็อดซอโย้? สวัสดีค่ะ/ครับเจ้านาย สบายดีนะคะ/ครับ
ซอนแซงนิม อันยองฮาเซโย ชัล ชีแนซอโย้? สวัสดีค่ะ/ครับอาจารยฺ สบายดีนะคะ/ครับ
พัคโบกอม ชี โยจึม ออแตโย้? ชัล ชีแนดโจ้? คุณพัคโบกอม ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ/ครับ สบายดีใช่ไหมคะ/ครับ
ซอนแบ โอแรนมานีเอโย โพโก ชิพพอโย ไม่ได้เจอกันนานเลยนะคะรุ่นพี่ คิดถึงจังเลยค่ะ

การกล่าวทักทายตอนรับประทานอาหาร

ประเทศเกาหลีจะมีวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่จะใช้พูดเวลาก่อนและหลังรับประทาน หากใครที่เคยดูซีรี่ส์เกาหลีบ่อย ๆ เชื่อว่าคงเคยได้ยินกันมาบ้างแน่นอนค่ะ จะมีคำว่าอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

잘 먹겠습니다. (ชัล มอกเก็ดซึมนีดา) จะทานให้อร่อยค่ะ / 잘 먹을게. (ชัล มอกกึลเก) จะกินให้อร่อยนะ

ทั้งสองประโยคจะเอาไว้พูดก่อนรับประทานอาหาร เพื่อบอกให้ผู้ที่ทานกับเราได้ทราบว่าเราจะเริ่มทานแล้วนะ จะทานให้อร่อยนะ โดยคำว่า 잘 먹겠습니다. (ชัล มอกเก็ดซึมนีดา) จะเป็นรูปประโยคสุภาพ เอาไว้พูดเมื่อบุคคลร่วมโต๊ะอาหารเป็นผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโส ส่วนคำว่า 잘 먹을게. (ชัล มอกกึลเก) เป็นรูปประโยคที่ใช้สำหรับเพื่อน รุ่นน้อง และคนสนิทที่อายุเท่ากันเท่านั้น อย่าเผลอเอาไปพูดกับผู้หลักผู้ใช้เชียวนะคะ

잘 먹었습니다. (ชัล มอกก็อดซึมนีดา) ทานอิ่มแล้วค่ะ / 잘 먹었어. (ชัล มอกก็อดซอ) กินอิ่มแล้ว

잘 먹었습니다. (ชัล มอกก็อดซึมนีดา) และ 잘 먹었어. (ชัล มอกก็อดซอ) เป็นประโยคที่เอาไว้พูดเมื่อทานอาหารเสร็จแล้ว นอกจากจะแปลว่าทานอิ่มแล้ว ยังอาจแปลได้ว่าอาหารอร่อยมาก เพื่อพูดให้กำลังใจคนทำอาหารก็ได้เช่นกันค่ะ โดยคำว่า 잘 먹었습니다. (ชัล มอกก็อดซึมนีดา) จะเป็นรูปประโยคสุภาพ เอาไว้พูดเมื่อบุคคลร่วมโต๊ะอาหารเป็นผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโส ส่วนคำว่า 잘 먹었어. (ชัล มอกก็อดซอ) ก็จะเอาไว้พูดกับเพื่อน รุ่นน้อง และคนสนิทที่อายุเท่ากันนั่นเองค่ะ

맛있게 드세요. (มัดชิดเก ทือเซโย) รับประทานให้อร่อยนะคะ / 맛있게 먹어. (มัดชิดเก มอกกอ) กินให้อร่อยนะ

ประโยคนี้เอาไว้พูดเวลาที่เราจะเชิญให้ใครทานอาหาร เห็นได้ว่าทั้ง 2 ประโยคจะใช้คำกริยาที่ต่างกันตามความสุภาพ โดยประโยค 맛있게 드세요. (มัดชิดเก ทือเซโย) จะใช้กริยาคำว่า “드시다” แปลว่า รับประทาน ส่วนประโยค 맛있게 먹어. (มัดชิดเก มอกกอ) จะใช้กริยาคำว่า “먹다” ที่แปลว่า กิน ดังนั้นประโยคแรกก็จะเอาไว้พูดกับผู้ใหญ่ ผู้ที่เราเคารพนับถือ หรือผู้ที่ไม่ค่อยสนิทก็ได้ค่ะ ส่วนประโยคที่ 2 จะใช้พูดกับเพื่อน รุ่นน้อง และคนสนิท เพื่อเป็นการบอกหรือเชิญให้ทานอาหารนั่นเอง

식사하셨어요? (ชิกซาฮาช็อดซอโย้?) รับประทานอาหารหรือยังคะ / 밥을 먹었어요? (ผับบึล มอกก็อดซอโย้?) กินข้าวหรือยังคะ

ประโยคพื้นฐานที่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันบ่อยอีกหนึ่งประโยค สำหรับการถามว่า ‘ทานข้าวหรือยัง’ ซึ่งเป็นประโยคที่สามารถถามได้หลายแบบ ในวันนี้เราได้ยกตัวอย่างมาสองประโยค โดยแบ่งตามลำดับความสุภาพนั่นเองค่ะ โดยประโยค 식사하셨어요? (ชิกซาฮาช็อดซอโย้?) จะใช้รูปสุภาพทั้งประโยค ให้ความหมายว่า รับประทานอาหารหรือยังคะ/ครับ ไว้สำหรับใช้ถามผู้อาวุโส ผู้ที่เราเคารพ เป็นประโยคทางการมากที่สุด ส่วนประโยค 밥을 먹었어요? (ผับบึล มอกก็อดซอโย้?) จะแปลว่า กินข้าวหรือยังคะ เป็นรูปสุภาพเหมือนกัน แต่น้อยกว่าประโยคแรก โดยประโยคนี้จะใช้ถามบุคคลทั่วไป เพื่อนร่วมงาน หรือรุ่นพี่ที่โรงเรียนก็ได้ค่ะ

밥 잘 챙겨 먹고 있죠? (ผับ ชัล แช่งคยอ มอกโก อิดโจ้?) กินข้าวตรงเวลาอยู่ใช่ไหมคะ/ครับ

ประเทศเกาหลีเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปากท้องเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศที่เพิ่งผ่านสงครามมาได้ไม่นาน ดังนั้นคุณจะพบเห็นคนเกาหลีถามประโยคนี้กันอยู่บ่อย ๆ เพื่อแสดงความเป็นห่วงเป็นใย และใส่ใจในสุขภาพ เป็นรูปประโยคสุภาพใช้ได้ในทุกสถานการณ์ อย่าลืมเอาไปใช้ถามกันนะคะ 밥 잘 챙겨 먹고 있죠? (ผับ ชัล แช่งคยอ มอกโก อิดโจ้?) เชื่อว่าผู้ที่ได้ฟังมีความสุขแน่นอน

การกล่าวทักทายเวลาเดินทาง

안녕히 계세요. (อันยองฮี คเยเซโย) ลาก่อนค่ะ/ครับ, ขอให้อยู่ด้วยดีนะคะ/ครับ

ประโยคนี้จะเป็นการกล่าวอำลา โดยจะพูดเมื่อเราเป็นคนไป ใช้พูดกับคนที่อยู่ แปลว่า ลาก่อน, ขอให้อยู่ด้วยดี เช่นเวลากำลังจะออกจากบ้าน เราสามารถหันไปพูดกับคุณแม่ได้ว่า 안녕히 계세요 (อันยองฮี คเยเซโย) เพื่อบอกให้คุณแม่อยู่บ้านอย่างปลอดภัยนั่นเองค่ะ

안녕히 가세요. (อันยองฮี คาเซโย) ลาก่อนค่ะ/ครับ, ขอให้ไปด้วยดีนะคะ/ครับ

ประโยคนี้จะเป็นการกล่าวอำลา โดยจะพูดเมื่อเราเป็นคนอยู่ ใช้พูดกับคนที่ไป แปลว่า ลาก่อน, ขอให้ไปด้วยดี เช่นเวลาคุณแม่กำลังจะออกจากบ้าน เราสามารถหันไปพูดกับคุณแม่ได้ว่า 안녕히 가세요 (อันยองฮี คาเซโย) เพื่อบอกให้คุณแม่ไปข้างนอกอย่างปลอดภัยค่ะ

다녀오세요. (ทา-นยอ-โอ-เซ-โย) ไปดีมาดีนะคะ/ครับ, เดินทางปลอดภัยนะคะ/ครับ

ประโยคนี้ความหมายก็จะตรงตัวเลยค่ะ แปลว่า ไปดีมาดี ใช้สำหรับอวยพรให้คนที่กำลังจะไปเดินทางปลอดภัย เป็นรูปประโยคสุภาพ จะใช้พูดกับครอบครัว แฟน หรือญาติผู้ใหญ่ก็ได้เช่นกัน ทำให้ดูเป็นคนใส่ใจผู้อื่นขึ้นมากเลยค่ะ

다녀왔어요? (ทา-นยอ-วัด-ซอ-โย้?) กลับมาแล้วเหรอคะ / 다녀왔어? (ทา-นยอ-วัด-ซ้อ?) กลับมาแล้วเหรอ

ประโยคนี้ก็เป็นอีกหนึ่งในประโยคที่ได้ยินกันบ่อยมาก จะใช้ถามผู้ที่เพิ่งมาถึงว่า ‘กลับมาแล้วเหรอ’ เพื่อแสดงความเป็นห่วงนั่นเองค่ะ ทั้งสองประโยคมีความหมายเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ 다녀왔어요? (ทา-นยอ-วัด-ซอ-โย้?) แปลว่า กลับมาแล้วเหรอคะ/ครับ จะใช้ถามผู้ที่มีอายุมากกว่า อย่างพ่อ, แม่, พี่ชาย หรือญาติ ๆ ส่วน 다녀왔어? (ทา-นยอ-วัด-ซ้อ?) แปลว่า กลับมาแล้วเหรอ มักจะใช้ถามเพื่อน, น้อง หรือผู้ที่อายุเท่า ๆ กัน

다녀왔어요. (ทา-นยอ-วัด-ซอ-โย) กลับมาแล้วค่ะ / 다녀왔어. (ทา-นยอ-วัด-ซอ) กลับมาแล้ว

ประโยคนี้จะเหมือนกับประโยคด้านบน เพียงแค่ตัดคำว่า 요 (โย) ออก ก็จะให้ความหมายว่า กลับมาแล้วค่ะ จะใช้พูดเมื่อเรากลับมาถึงบ้าน และต้องการที่จะบอกให้คนในบ้านรู้ว่าเรากลับมาถึงแล้ว โดยการจะเลือกใช้ประโยคก็ต้องดูว่าบุคคลที่เราพูดด้วยเป็นใคร ถ้าเป็นพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ในบ้านก็ให้ใช้ 다녀왔어요. (ทา-นยอ-วัด-ซอ-โย) แปลว่า กลับมาแล้วค่ะ/ครับ แต่ถ้าเป็นน้อง หรือเด็ก ๆ ในบ้านก็ให้พูดว่า 다녀왔어. (ทา-นยอ-วัด-ซอ) แปลว่า กลับมาแล้วนะ นั่นเองค่ะ

การกล่าวทักทายเวลารับโทรศัพท์

여보세요. (ยอโบเซโย) สวัสดีค่ะ/ครับ

ส่งท้ายด้วยประโยคยอดฮิตอีกหนึ่งประโยค ที่คนเกาหลีใช้กันทั่วประเทศ นั่นก็คือคำว่า 여보세요. (ยอโบเซโย) แปลว่า สวัสดีค่ะ/ครับ แต่จะเอาไว้ใช้เวลารับสายโทรศัพท์เท่านั้น อย่างเวลามีคนโทรมา เมื่อเรารับสายก็จะพูดว่า ‘ยอโบเซโย’ ซึ่งจะให้ความหมายเหมือนกับคำว่า ‘ฮัลโหล’ ในประเทศไทยนั่นเองค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับการกล่าวคำทักทายภาษาเกาหลีที่เราได้คัดสรรค์มาฝากทุกคนในวันนี้ หวังว่าทุกคนจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการสื่อสารเวลาเจอเพื่อนชาวเกาหลี หรือเวลาเดินทางไปเที่ยวที่ประเทศเกาหลีกันได้นะคะ นอกจากนี้ทางเรายังมีบทความดี ๆ เช่น คำเรียกแฟนภาษาเกาหลี, อวยพรวันเกิดภาษาเกาหลี, แคปชั่นวันครบรอบภาษาอังกฤษ, แคปชั่นออกกำลังกายภาษาอังกฤษ, แคปชั่นเที่ยวกับเพื่อนภาษาอังกฤษ, แคปชั่นวันหยุดยาวภาษาอังกฤษ, แคปชั่นฤดูร้อนภาษาอังกฤษ และอีกมากมาย อย่าลืมติดตามกันนะคะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf