วัดอรุณ ราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ประวัติ

ประวัติวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์เพิ่ม แล้วทรงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน //winne.ws/n447

โดย Pansasiri

17 มี.ค. 2559 - 12.42 น. , แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 2559 - 12.42 น.

2.0 หมื่น ผู้เข้าชม

Tags :

ขอบคุณภาพจาก www.google.com

ขอบคุณภาพจาก www.google.com

        วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" ตามชื่อ ตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น "วัดมะกอกนอก" เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอก ใหญ่ชื่อ "วัดมะกอกใน" ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชม พระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทาง ชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง 

        ชื่อ "วัดแจ้ง" นี้ มีเรื่องสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทูลสมเด็จฯ กรมพระยานริศรา นุวัตติวงศ์ไว้ว่า "หม่อมฉันเคยเห็นแผนที่เมืองธนบุรีที่ฝรั่งเศสทำเมื่อรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ในแผนที่นั้นมีแต่วัดเลียบกับวัดแจ้ง เวลานั้นยังเป็นชานป้อมใหญ่ ซึ่งอยู่ราวโรงเรียนราชินี เพราะฉะนั้นวัดโพธิ์เป็นวัดสร้างเมื่อล่วงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มาแล้ว

        เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรี และได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลาง พระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา

        นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้าน คู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)ได้ไว้ในมณฑป และมีการสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วัน(ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดพระราชทานคืนไปนครเวียงจันทร์)

         เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ ๑ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มี พระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ร. ๒) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง แต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ เสียก่อน

        ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน ในพระอุโบสถ และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วโปรดพระราชทาน พระนามวัดว่า "วัดอรุณราชธาราม" 

        ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง //www.watarun.org/history.html

   

        หากนึกถึง สถานที่สำคัญ ในประเทศไทย นอกเหนือจากพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว ภาพของ วัดอรุณราชวรารามย่อมปรากฎอยู่ในความนึกคิดของทุกคนเมื่อนึกถึง ประเทศไทย เสมอ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญยิ่งที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้ว อีกทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อีกด้วย

วัดอรุณราชวราราม

       หากกล่าวถึงวัดอรุณราชวราราม หลายๆคน มักนึกถึงตำนาน ยักษ์วัดอรุณ และยักษ์วัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนฯ) ตีกัน จนพื้นที่บริเวณวัดพระเชตุพนฯ หรือวัดโพธิ์ บริเวณนั้นราบเรียบเป็นหน้ากลอง จึงทำให้หลายคนเชื่อว่า เป็นที่มาของชื่อ ท่าเตียน ในปัจจุบัน แต่หากไม่ลงในเรื่องตำนานดังกล่าว พื้นที่บริเวณนี้ในสมัยก่อน เคยถูกเพลิงไหม้จนเหี้ยนเตียนไม่เหลือสิ่งใด ซึ่งเหตุการณ์หลังนี้มีความเป็นไปได้กว่ามากสำหรับชื่อท่าเตียนที่เรารู้จักกันดี

        วัดอรุณราชวรารามเดิมมีชื่อว่า วัดมะกอก ตามชื่อตำบลที่ตั้ง และเปลี่ยนมาเป็น วัดแจ้ง เนื่องจากครั้งที่  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ถือเอามงคลอุดมฤกษ์ ครั้งเสด็จกอบกู้อิสรภาพคืนกลับมาเป็นของไทย และทรงเสด็จทางชลมารค ล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงวัดมะกอกในเวลารุ่งแจ้งพอดี …. และอีกมูลเหตุที่มาเกี่ยวกับชื่อวัดแจ้ง ยังมีกล่าวไว้ว่า เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายแล้ว และยังมีชื่อ “แจ้ง” ปรากฎอยู่ในนิราศเมืองเพชรบุรี ซึงแต่งโดยหม่อมภิมเสน กวีราชสำนึกอยุธยา ช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยกล่าวถึงการล่องเรือจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองเพชรบุรี และเมื่อล่องผ่านมายังบริเวณเมืองกรุงธนบุรี ได้แวะค้างคืนที่เมืองกรุงธนบุรีอีกด้วย โดยมีปรากฎชื่อวัดแจ้งเป็นหลักฐานดังนิราศเมืองเพชรบุรีที่เล่าไว้ว่า

แนะนำหนังสือน่าอ่าน ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม

หนังสือ”ตามรอยสมเด็จพระเจ้าตากสินและขุนนางคู่พระทัย ใครเป็นใครในวันยึดกรุงธนบุรี” เล่มนี้ ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นโดยศึกษาวิเคราะห์จากพระราชพงศาวดาร เอกสารทางประวัติศาสตร์ เรื่องเล่าและตำนาน จากลูกหลานของบุคคลผู้เคยสนองพระเดชพระคุณ และมีความใกล้ชิดกับสมเด็จพระเจ้าตากสินในรัชสมัยกรุงธนบุรี เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลอง 250 ปี แห่งการประกาศเอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสิน

<< สั่งซื้อหนังสือ ทางออนไลน์ >>

“.. ถึงตัวไกลใจน้องยังผูกพัน จนไก่ขันกระชั้นเร่งรวีวร

เขาแจวเรือมาจอดหน้าวัดแจ้งแรงี้อนข้อนคิดขุ่นสมร

ประทับร้อนระทมอารมณ์ร้อน แต่ถอดทอนใจหาทุกนาที ..”

     ลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมของพระปรางค์แต่เดิมนั้น ไม่ได้สูงใหญ่ หรือมีขนาดพระปรางค์ใหญ่โตเช่นปัจจุบัน แต่วัดแจ้ง ก็นับได้ว่าเป็นวัดหลวงที่สำคัญ เนื่องด้วยใน สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างอาณาจักรกรุงธนบุรีขึ้น มีพระราชวังเดิม และวัดแจ้งอยู่เคียงข้างกัน เป็นวัดหลวงประจำอาณาจักรกรุงธนบุรีที่สำคัญ อีกทั้งยังเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต และพระบาง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ในขณะนั้น ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ไปสู้รบกับนครเวียงจันทน์ และได้ชัยชนะกลับมา พร้อมได้อัญเชิญพระแก้วมรกต กลับคืนสู่แผ่นดินสยาม รวมถึง พระบาง พระคู่บ้านคู่เมืองของทางอาณาจักรล้านช้างมาประดิษฐานด้วย วัดอรุณราชวราราม จึงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญถึง ๒ องค์

     เดิมทีในสมัยรัชกาลที่ ๒ วัดนั้น มีนามตามปรากฎว่า วัดอรุณราชธารามตามนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เมื่อครั้งทรงโปรดให้บูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้เรียกขานใหม่ เป็น วัดอรุณราชวราราม จนถึงปัจจุบัน

       งานสถาปัตยกรรม วัดอรุณราชวราราม นับได้ว่ามีความโดดเด่น เป็นศรีและความสง่างามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ ด้วยการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกอุ ดังเช่น พระปรางค์ และพระเจดีย์บริวาร มีนัยสอดคล้องกับเรื่องของไตรภูมิกถา คือ เป็นงานสถาปัตยกรรมที่สื่อถึง เขาพระสุเมรุ ทวีปทั้ง ๔ และเขาสัตตบริภัณฑ์

      ความหมายอันลึกซึ้งนี้ มีความสำคัญมากกว่า แค่ความสวยสง่างามเท่านั้น แต่ยังมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาได้อย่างแยบยล อีกด้วย หากแค่ไปวัดเพียงเพื่อทำบุญ ปล่อยนกปล่อยปลา ย่อมอาจจะไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงนัยของภูมิสถาปัตย์ของที่นี่อย่างแน่นอน และน้อยคนนักจะทราบถึงรูปแบบ ที่มา การก่อสร้าง และสิ่งสำคัญที่ประดิษฐานอยู่ในวัด รวมถึงภูมิปัญญาเชิงช่างไทยที่ผสมผสานรูปแบบศิลปะไทยและจีนเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน

พระปรางค์เจดีย์ขนาดใหญ่ความสูง

๘๑.๘๕ เมตร

           เมื่อเราก้าวเท้าเข้าไปในเขตพุทธาวาส ของวัดอรุณราชวราราม สิ่งที่โดดเด่นตระการตาที่สุด คือ พระปรางค์เจดีย์ขนาดใหญ่ความสูง ๘๑.๘๕ เมตร นับจากฐานจนถึงยอดพระปรางค์ นับเป็นความสูงของพระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศไทยและในโลก พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม มีรูปแบบที่เรียกว่า พระปรางค์ทรงจอมแห ที่มีความสมส่วน แม้จะมีขนาดใหญ่โต แต่งดงามและได้สัดส่วนสมมาตรอย่างลงตัว ที่ได้ชื่อว่าทรงจอมแหนั้น เพราะขอบนอกของโครงสร้างพระปรางค์ตั้งแต่บริเวณฐานขึ้นไป มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งแหนั่นเอง ทำให้ความงดงามเมื่อเราเดินชมพระปรางค์โดยรอบจะเห็นได้ชัดถึงความสมส่วนอย่างไร้ที่ติ คงมีหลายๆ คนน้้นสงสัยว่าพระปรางค์ขนาดสูงใหญ่เช่นนี้ มีฐานรากหรือโครงสร้างอย่างไรในการรับน้ำหนัก

อ้างถึงข้อเขียน และคำบอกเล่าจาก ขุนวิจิตร มาตรา หรือ สง่า กาญจนนาคพันธุ์ ผู้เขียน เด็กคลองบางหลวง ได้เล่าไว้ว่า …..

” ในการสร้างฐานรากของพระปรางค์นั้นใช้ท่อนซุงมากกว่า ๒๐ ต้น ในการวางซ้อนกันไปมา โดยในเริ่มแรก คือ การขุดดินให้ลึกลงไปแล้วนำต้นซุงขนาดใหญ่นับ ๒๐ ต้น วางเรียงซ้อนกันเป็นชั้นสลับขวางไปมา ราว ๔-๕ ชั้น เพื่อสร้างความมั่นคงและแข็งแรงให้ฐานราก การสร้างฐานรากเช่นนี้นับเป็นภูมิปัญญาไทยโบราณในงานสถาปัตยกรรมโดยแท้ ซึ่งไม่ได้มีเพียงโครงสร้างฐานรากของพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามตามคำบอกเล่าที่คุณสง่าได้เล่าไว้ในหนังสือที่ท่านเขียนมาเท่านั้น แต่ยังมีรูปแบบโครงสร้างเช่นนี้ที่ได้ขุดพบเจอครั้งบูรณะซ่อมแซมในสถานที่สำคัญอื่นๆ เช่นกัน อาทิ เช่น พระวิหารวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บรมบรรพตภูเขาทอง วัดสระเกศฯ หรือ แม้แต่คุ้มเจ้าหลวง อายุกว่า ๑๐๐ปี ที่จังหวัดแพร่”

      ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของพระปรางค์ ที่เกี่ยวข้องกับคติ ความเชื่อในการสร้างเป็น Landmark หรือ จุดหมายตาสอดคล้องกับคติความเชื่อในการสร้างบ้านสร้างเมืองครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอีกด้วย นั่น คือ การสร้างริมแม่น้ำเจ้าพระยา เฉกเช่นเดียวกับ การสร้างวัดไชยวัฒนาราม ที่มีขนาดใหญ่โต และมีทำเลที่ตั้งริมแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นกัน ทำให้การเดินเรือ การส่งสินค้า การค้าการขายซึ่งส่วนใหญ่มาทางเรือนั้น ได้เห็นพระปรางค์ขนาดใหญ่เป็นสำคัญ และเป็นหลักเป็นหมายตาที่ชัดเจนว่าเดินทางถึงจุดหมายแล้ว

       พระปรางค์ประธานของวัดอรุณราชวราราม ยังมีความโดดเด่น มีลักษณะเป็นพระปรางค์เก้ายอด คือ มีเรือนยอดบนสันหลังคามุขทั้งสี่ทิศ และมีปรางค์บริวารหรือปรางค์มุมอีกทั้งสี่มุม ซึ่งยังสอดคล้องกับคติความเชื่อในการสร้างพระปรางค์ขนาดใหญ่เหมือนที่จ.พระนครศรีอยุธยา อีกด้วย นั่นคือ พระปรางค์วัดพระมหาธาตุ หากแต่ปัจจุบันความยิ่งใหญ่ของพระปรางค์วัดมหาธาตุ จ.พระนครศรียุธยา ได้สูญสิ้นเสียแล้ว เพราะพังทลายมาเสียก่อน หากไม่แล้ว เราจะได้เห็นความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรมงานศิลป์อยุธยา และภูมิปัญญาเชิงช่างที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

  จากที่กล่าวมาก่อนหน้า ถึงนัยในการสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามนั้นมีความเชื่อในเรื่องพุทธศาสนา ด้วย พระปรางค์ประธาน สื่อถึง เขาพระสุเมรุ ฐานโดยรอบอยู่ในกลุ่มเขาสัตตบริภัณฑ์ และรายล้อมไปด้วยทวีปทั้งสี่ ในทีนี้คือ พระปรางค์ทั้งสี่มุม ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของทั้งมนุษย์ สัตว์ป่าหิมพานต์ เทวดา ฯลฯ ความยิ่งใหญ่ในการสร้างพระปรางค์ประธานนั้น มีทีมาจากพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ที่ทรงเห็นว่าเมื่อย้ายมาตั้งกรุงใหม่เป็นกรุงรัตนโกสินทร์ พระนครนั้นยังหาได้มีพระมหาธาตุขนาดใหญ่ จึงทรงมีพระราชดำริให้สร้าง/ ต่อเติม พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจากเดิมที่สูงเพียงแค่ ๘ วา ให้ยิ่งใหญ่ขึ้น สมกับเป็นพระมหาธาตุสำหรับพระนคร มีคำปรากฎอยู่ในหนังสือตำนานวัตถุสถานต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาว่า

“….. พระปรางค์วัดอรุณ เปนของโบราณ ของเดิมสูง ๘ วา ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดอรุณ ทรงพรนะราชดำริว่าพระปรางค์เดิมยังย่อมอยู่ กรุงรัตนโกสินทร์ได้ตั้งขึ้นเปนราชธานี ยังหามีพระมหาธาตุไม่ ควรจะเสริมพระปรางค์วัดอรุณให้ใหญ่เปนพระมหาธาตุสำหรับพระนคร ”

พระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการบูรณะ เรื่อยมา

     ถึงแม้ว่ารูปแบบในการบูรณะในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๒-๔ ไม่ได้มีกล่าวไว้ แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งก็ทำให้เราสามารถเข้าใจและเข้าถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบปรางค์ประธานเป็นเขาพระสุเมรุ ได้พอสังเขปดังนี้

   พระปรางค์ประธาน: เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนแห่งเขาพระสุเมรุ ดังมีองค์ประกอบทางศิลปกรรมที่น่าสนใจ คือ ประติมากรรมรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ บริเวณซุ้มจระนำที่เรือนธาตุขององค์พระปรางค์ทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งประติมากรรมดังกล่าวนี้ คือ สัญลักษณ์ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ประทับของพระอินทร์ และยอดพระปรางค์ซึ่งประดับด้วยนภศูล ที่มีลักษณะเป็นอาวุธของพระอินทร์ ซึ่งก็มีความหมายสื่อถึงพระอินทร์ได้เช่นกัน   

  ฐานพระปรางค์: คือ บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ โดยปรากฎองค์ประกอบทางศิลปกรรม ได้แก่ เทวดาแบก ยักษ์แบก ฯลฯ เรียงรายกันขึ้นไปตามชั้นราวๆ ๔ ชั้น

  • พระปรางค์ทั้ง ๔ ทิศ: คือ บริเวณเขาสัตตบริภัณฑ์ ตัวแทนทวีปทั้งสี่ ได้แก้ ชมพูทวีป อุตตรกุรุทวีป บุพวิเทหะทวีป และอมรโคยานทวีป
  • มณฑปทิศ: คือ จตุโลกบาลทั้ง ๔ บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา โดยในอาคารทั้ง ๔ องค์ เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปแสดงพุทธประวัติ ตั้งแต่ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน
  • ลานรอบพระปรางค์: คือ มหานทีสีทันดร

   เห็นได้ชัดว่าการมาเที่ยว วัดอรุณราชวราราม นอกจากจะได้ร่วมกิจกรรมงานบุญแล้ว ยังมีความหมายที่ลึกซึ้งเกี่ยวพันกับหลักพุทธศาสนา ตามไตรภูมิกถาอีกด้วย และหากต้องการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในลักษณะสถาปัตยกรรมเชิงหลักพระพุทธศาสนาดังนี้แล้ว วรรณกรรมศาสนาพุทธที่สำคัญมากเล่มหนึ่ง เช่น ไตรภูมิกถา, ไตรภูมิพระร่วง หรืออีกชื่อว่าไตรภูมิโลกวินิจฉัย วรรณกรรมครั้งสมัยกรุงสุโขทัย และต่อเนื่องมาถึงการชำระครั้งสำคัญในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ สิ่งที่ควรทำความเข้าใจและศึกษาเป็นอย่างมาก หากเข้าใจลึกซึ้ง ภาพงานสถาปัตยกรรมของพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามแห่งนี้ จะเป็นสิ่งที่ง่ายต่อการรับรู้และและภาพคติธรรมทั้งหมดจะแจ่มแจ้งและชัดเจนขึ้นในสามัญสานึกของผู้เรียนรู้อย่างประมาณการมิได้เลย

ผู้สนับสนุน

ความรักในหอแดง | หนังสือเก่าหายาก

วรรณกรรมคลาสสิกของจีนในยุคราชวงศ์ชิง เรื่องราวของสามหญิงในคฤหาสน์แห่งกรุงปักกิ่ง โลกที่สมบูรณ์พูนสุข พรั่งพร้อมด้วยข้าทาสบริวาร หากแต่เป็นโลกที่สตรีต่างไร้ซึ่งอำนาจและต้องเป็นปรปักษ์ต่อกัน อันเนื่องมาจากขนบที่ให้ชายมีอนุภรรยาได้หลายคนภายใต้หลังคาเดียวกัน

นอกจากจะต้องทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวแล้ว สิ่งประกอบอันน่าสนใจภายในวัดก็มีความน่าชมและน่าเรียนรู้เช่นกัน

ในครั้งหน้าฉันจะพาทุกท่านไปเที่ยวและเรียนรู้วัดอรุณราชวรารามให้มากกว่าการแค่มาเยี่ยมชมพระปรางค์ประธาน ความสวยงามเชิงช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินท์ อีกทั้งเรื่องราว น่าสนใจมีให้ติดตามอ่านในตอนหน้าค่ะ

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  :  ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

   

วัดอรุณราชวรารามสร้างขึ้นเมื่อใด

พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมไทย
เมือง
แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ประเทศ
ประเทศไทย
เริ่มสร้าง
ปรางค์เดิม: ไม่ทราบปีสร้างแน่ชัด แต่คาดว่าราวสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรางค์ปัจจุบัน: 2 กันยายน พ.ศ. 2385
พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารnull

พระปรางค์วัดอรุณราชวรรามราชวรมหาวิหารบูรณะขึ้นในสมัยใด

พระปรางค์วัดอรุณฯ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดทางด้านทิศใต้หลังโบสถ์น้อยและวิหารน้อยริมแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมสูง ๘ วา หรือ ๑๖ เมตร เป็นปูชนียสถานสำคัญที่สร้างขึ้นพร้อมกับโบสถ์น้อยและวิหารน้อย แก่นแก้วออนทัวร์ By กะฉ่อน

วัดใดสร้างในสมัยธนบุรี

พระอารามที่ได้โปรดให้สถาปนาขึ้นในรัชกาลของพระองค์ ก็คือ วัดบางยี่เรือเหนือ ( วัดราชคฤห์ ) พระอารามที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์นั้น ก็ได้แก่ วัดบางหว้าใหญ่ ( วัดระฆังโฆสิตาราม ) วัดแจ้ง ( วัดอรุณราชวราราม ) วัดบางยี่เรือใต้ ( วัดอินทาราม ) และวัดหงส์อาวาสวิหาร ( วัดหงส์รัตนาราม ) ฯลฯ

ใครเป็นผู้สร้างวัดอรุณราชวราราม

1. วัดอรุณเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึงพระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ ตั้งอยู่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf