ชนชาติในข้อใดที่เข้ามายึดครองประเทศราชของไทยในสมัยรัชกาลที่ 4

อาณาจักรรัตนโกสินทร์

   หน้าต่อไป                                                                                                                  รัชกาลที่  ถึง รัชกาลที่ 6

                                                 ก่อนหน้าที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  จะเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติต่อจากพระเชษฐาธิราช (พระนั่งเกล้าฯ) ใน พ.ศ. 2394  นั้น  ประเทศมหาอำนาจตะวันตกสองชาติ คือ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา  ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากขึ้น (อักงฤษส่งทูตเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 2 อเมริกาเข้ามาในรัชกาลที่ 3)  ในช่วงเวลาที่รัชกาลที่ 3  ครองราชย์อยู่นั้น  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออกผนวช  ระหว่างผนวชได้ทรงศึกษาทั้งพระธรรมวินัยและวิทยาการสมัยใหม่  รวมทั้งได้ศึกษาภาษาละตินกับบาทหลวงคาทอลิก  และศึกษาภาษาอังกฤษจากมิชชันนารีชาวอเมริกัน  ดังนั้น  นอกจากจะทรงแตกฉานในวิทยาการสมัยใหม่แล้ว  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ยังทรงสินทสนมกับชาวตะวันตก  รวมทั้งพวกพ่อค้าที่เดินทางมาค้าขายเป็นอย่างดี  ทำให้ทรงทราบเหตุการณ์และอิทธิพลของชาวตะวันตก  รวมทั้งพวกพ่อค้าที่เดินทางมาค้าขายเป็นอย่างดี  ทำให้ทรงทราบเหตุการณ์และอิทธิพลของชาวตะวันตกที่กำลังเข้าครอบงำประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย  และอาณาบริเวณอื่นๆ ของโลกทรงเห็นความจำเป็นที่เกิดขึ้น  2  ประการ คือ

                                              ประการแรก   วิทยาการ  และความเจริญก้าวหน้าแบบตะวันตก  เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอนาคตของประเทศ  คนไทยควรจะได้เรียนรู้ไว้  เพื่อจะได้เข้าใจความคิดของชาวตะวันตก  และนำความรู้นั้นมาพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมกัน

                                             ประการที่สอง    เนื่องจากทรงทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอินเดีย  พม่า  และจีน  ทำให้พระองค์ตระหนักว่า  ลัทธิจักรวรรดินิยมกำลังแผ่ขยายเข้ามาในประเทศเพื่อนบ้าน  เป็นสัญญาณเตือนให้ทราบว่าถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องยอมรบอารยธรรมตะวันตกเข้ามาปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย

                                             ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  ขึ้นครองราชย์  จึงทรงรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ปรับปรุงบ้านเมือง  ทั้งยังทรงสนับสนุนให้ขุนนาง  ข้าราชบริพาร  และพ่อค้าประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้วิทยาการและความคิดใหม่ๆ  จากชาวตะวันตกอีกด้วย      การมองการณ์ไกล  ซึ่งเป็นพระราชวิจารณญาณอันชาญฉลาดของพระบาทสมเด้จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  นี้  จะเห็นได้จากการทรงเตรียมการอย่างดีเลิศในการให้การศึกษาแบบตะวันตกแก่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  จนเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 5  จึงทรงสืบทอดเจตนารมณ์ของพระราชบิดานำประเทศไทยไปสู่ยุคใหม่  สร้างความเจริญและรักษาชาติบ้านเมือง  คงความเป็นเอกราชไว้ได้  จนสามารถพัฒนาให้เป็นชาติที่เจริญก้าวหน้าชาติหนึ่งในปัจจุบัน

วิกฤตการณ์ทางการเมือง – การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก

                                           ใน พ.ศ. 2394  ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น  ชาติตะวันตกได้เข้าไปมีอิทธิพลหรือครอบครองประเทศเพื่อนบ้านของไทย เช่น       ฮอลันดา ครอบครอง หมู่เกาะอินเดียตะวันออก (อินโดนีเซีย)      อังกฤษ ครอบครอง อินเดีย  พม่า  มลายู        ฝรั่งเศส ครอบครัว ญวน        พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4  คงจะทรงทราบดี  การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก  มักจะเริ่มจากการค้าขายก่อน  ภายหลังจึงอ้างข้อขัดแย้งความไม่เป็นธรรม  หรือความล้าหลังของชาตินั้นๆ  และในที่สุดก็เข้าควบคุมหรือยึดเอาเป็นอาณานิคม  ดังนั้นจึงทรงดำเนินนโยบายแสดงท่าทีของไทยในเชิงประนีประนอมผ่อนสั้นผ่อนยาว  แสวงหาแนวทางที่ปรารศจากความแข็งกร้าว  จะเห็นได้จากเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ  รัชกาลที่ 3  สิ้นพระชนม์นั้น  เป็นช่วงเวลาที่อังกฤษคิดจะใช้กำลังกับไทย  อาศัยที่พระองค์ทรงคุ้นเคยกับพ่อค้าและข้าราชการอังกฤษคิดจะใช้กำลังกับไทย  อาศัยที่พระองค์ทรงคุ้นเคยกับพ่อค้าและข้าราชการอังกฤษมาตั้งแต่ยังผนวชอยู่  จึงทรงมีหนังสือถึงผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่สิงคโปร์  ขอเวลาให้พระองค์ปลงพระศพของรัชกาลที่ 3  ก่อน  แล้วจะทรงแก้ไขระเบียบแบบแผนที่เป็น  ข้อขัดข้องต่างๆ  ให้เป็นที่พอใจและสะดวกสบายแก่การติดต่อค้าขาย  ทำให้ฝ่ายอังกฤษต้องรีรออยู่ไม่อาจจะฝืนใช้กำลังกับไทยได้

นโยบายของไทยที่มีต่อการล่าอาณานิคม

                                          การดำเนินวิเทโศบายของพระมหากษัติย์ไทยในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกนั้น  เห็นได้ชัดว่าทุกพระองค์ตระหนักในความเป็นมหาอำนาจของทหารของชาติตะวันตก  กาต่อต้านโดยใช้กำลังจึงเป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้  จะต้องใช้วิธีการอื่นแทน  วิธีการต่อสู้หรือยุทธศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้สืบต่อกันในรัชกาลที่ 4  และรัชกาลที่ 5  พอสรุปได้เป็น  3  พอสรุปได้เป็น  3 ประการ  คือ  ผ่อนหนักเป็นเบา  การปฏิรุปชาติบ้านเมือง  ให้ทันสมัย  และการผูกมิตรกับชาติมหาอำนาจในยุโรป

                                        การผ่อนหนักเป็นเบา       กระแสความกดดันในการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก   ซึ่งเริ่มรุนแรงในสมัยรัชกาลที่4    ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขั้นในสมัยรัชกาลที่ 5   ทำให้พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์   ต้องทรงพยายามอย่างยิ่งที่จะลดความกดดันลง  โดยทรงยอมทำตามความต้องการของชาติมหาอำนาจตะวันตกเท่าที่จะสามารถทำให้ชาติเหล่านั้นพอใจในระดับหนี่ง  วีธีการก็คือ

                                                   - ยอมทำสัญญาเสียเปรียบ      แม้จะทรงทราบดีว่าเสียเปรียบย  แต่ก็พยายามเสียเปรียบให้น้อยที่สุด   สัญญาเสียเปรียบซี่งเป็นที่รู้จักดี คือ สนธิสัญญาเบาริง

                                                  - ยอมเสียดินแดน   พระมหากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์  คือ  รัชกาลที่ 4  และรัชกาลที่ 5  ทรงทราบดีถึงเลห์เพทุบายในการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก  เช่น  ขั้นแรกเข้ามาเพื่อค้าขายหรือเผยแผ่ศาสนา  หลังจากนั้นจะขอสิทธิพิเศษ  เช่น  ขอเช่าเมือง  หรือเข้าแทรกแซงกิจการภายใน  ขั้นต่อไปก็คือส่งกำลังทหารเข้ามายึดสถานที่หรือยึดเมือง  อ้างว่าเพื่อคุ้มครองคนของตนให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายหรือเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา  เช่น ฝรั่งเศสยึดจันทบุรีและตราดไว้ เพื่อให้ไทยปฏิบัติตามสนธิสัญญา  และขั้นสุดท้ายก็ใช้กำลังยึดเอาเป็นอาณานิคมโดยอ้างข้อพิพาทต่างๆ  เหมือนกรณีที่อังกฤษเข้ายึดครองพม่า    ด้วยพระปรีชาสามารถที่ทรงหยั่งรู้ความจริงนี้  จึ่งทำให้พระองค์สามารถประคับประคองชาติไทยให้รอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมมาได้เพียงชาติเดียวในภูมิภาคนี้ โดยการเสียสละดินแดนส่วนน้อย  เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้

                                       การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย     สิ่งที่ชาติมหาอำนาจใช้อ้างกับชนชาติพื้นเมืองอยู่เสมอ  คือ  ความป่าเถื่อนไร้อารยธรรม  ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทรงตระหนักในข้อนี้เป็นอย่างดี  จะเห็นได้จากการปรับปรุงขั้นต้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ซี่งทรงโปรดเกล้าฯ  ให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า  ทรงปรับปรุงการศึกษาและการปกครองเบื้องต้น  ทรงจัดให้การศึกษาแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  อย่างดีเลิศ  ให้ทรงมีความรอบรู้ในวิทยาการสมัยใหม่  เพื่อใช้ในการปกคอรงประเทศ  ซี่งมีสัมฤทธิผลอย่างยิ่ง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ทรงสืบทอดการปรับปรุงชิตบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง  ทรงปรับปรุง  ปฏิรูป  และพัฒนาชาติบ้านเมทืองทุกด้าน  เช่น  ทรงปฏิรุปการปกครอง  ให้มีกระทรวงต่างๆ  เยี่ยงนานาอารยประเทศ     ทรงจัดกองทัพ เป็นกองทหารอย่างยุโรป     ทรงปฏิรูปกฏหมาย และจัดให้มีกระบวนการยุติธรรมสมัยใหม่     ทรงปฎิรูประบบเงินตรา และตั้งธนาคารขึ้นเป็นครั้งแรก     ทรงเลิกระบบไพร่  เลิกทาส  และปฏิรูปการศึกษา    ทรงจัดการด้านสาธารณูปการสมัยใหม่  เช่น  สร้างถนน  ขุดคูคลอง  จัดให้มีการประปา  การไฟฟ้า  การไปรษณีย์โทรเลข  และการรถไฟ  เป็นต้น

                                      การปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยขึ้นนี้  แม้จะหยุดยั้งการล่าอาณานิคมไม่ได้อย่างเด็ดขาดก็จริง   แต่ก็ทำให้ชาติตะวันตกต้องลดความเอาเปรียบลง  เพราะคนไทย  ข้าราชการไทย  มีความรู้ความสามารถ  รู้เท่าทันความคิดของชาติเหล่านั้น  การเอาเปรียบ  การข่มขู่  แม้จะยังมีอยู่จึงไม่รุนแรง   ทำให้ไทยสามารถเจรจาต่อรองทำความตกลงผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องต่างๆ ได้มาก

                                     การผูกมิตรกับชาติมหาอำนาจในยุโรป      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5   เสด็จประพาสยุโรปเพื่อกระซับพระราชไมตรีกับประเทศยุโรปถึง  2  ครั้ง  โดยเฉพาะได้ทรงสนิทสนมกับพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย  ซี่งในสมัยนั้นเป็นชาติมหาอำนาจในยุโรป   นอกจากนั้นยังทรงสนิทสนมกับพระมหากษัตริยืในยุโรปอีกหลายประเทศ  ทำให้ชาติมหาอำนาจเกิดความเกรงใจกันเอง  เป็นการถ่วงดุลอำนาจมิให้ชาติใดชาติหนึ่งข่มเหงรังแกไทยได้ถนัดเหมือนที่เคยจัดว่าการผูกมิตรกับชาติยุโรปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาเอกราชของชาติไว้ได้

นโยบายผ่นหนักเป็นเบา

                                   ๏ สนธิสัญญาเบาริง   สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย  (Queen Victoria)   แห่งอังกฤษได้ส่ง  เซอร์ จอห์น  เบาริง (Sir John  Bowring)   เป็นหัวหน้าคณะทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีและเจรจาการค้าถึงกรุงเทพฯ  เมื่อวันที่  24  มีนาคม  2398  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  ก็ทรงจัดการต้องรับอย่างสมเกียรติยิ่ง  เทียบได้กับการต้อนรับคณะฑูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14  ในรัชสมัยพระนารายณ์มหาราชสร้างความพอใจให้แก่  เซอร์  จอห์น  เบาริง   มาก ทำให้การเจรจาไม่ยาวนานนัก  สามารถลงนามในสนธิสัญญาได้ในวันที่  18  เมษายน  2398  เรียกกันทั่วไปว่า  สนธิสัญญาเบาริง    ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

                                                              - อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในไทย  เพื่อคอยดูแลผลประโยชน์ของคนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ  ถ้าเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกับคนไทยหรือกระทำความผิด  ให้คนเหล่านี้ขึ้นศาลกงสุลอังกฤษเท่านั้น

                                                             - คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในไทยได้แต่ถ้าจะซื้อที่ดินต้องอยู่ในเมืองไทยมาแล้ว  10  ปีขึ้นไป

                                                             - อังกฤษมีสิทธิเช่าสร้างวัด  แลเผยแผ่คริสต์ศาสนาได้อย่างเสรี

                                                            -  ให้ไทยยกเลิกการเก็บภาษีปากเรือ  ให้เก็บแต่เพียงภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ  3  ส่วน  ภาษีขาออกให้เสียเพียงครั้งเดียว

                                                            -  เปิดโอกาสให้พ่ออังกฤษกับราษฎรไทยค้าขายกันอย่างเสรี

                                                            - สินค้าต้องห้ามมี  3  อย่าง คือ  ข้าว  ปลา  เกลือ  และอังกฤษสามารถนำฝิ่นเข้ามาขายให้แก่เจ้าภาษี  โดยไม่ต้องเสียภาษี  แต่ถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อให้นำกลับออกไป  ถ้าลักลอบขาย  จะถูกริบฝิ่น

                                                           - ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับชาติอื่น  โดยยกประโยชน์ให้ชาตินั้นๆ  นอกเหนือจากที่ทำให้อังกฤษในครั้งนี้  ก็ต้องทำให้อังฤษด้วย

                                                           - ภายใน  10  ปี  จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสนธิสัญญานี้ไม่ได้  เว้นแต่จะยินยอมทั้งสองฝ่ายและต้องบอก  แก้ล่วงหน้าเป็นเวลา  1  ปี

                                ข้อเสียเปรียบอยางยิ่งของไทย        สนธิสัญญาเบาริงเป็นสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบในทุกด้าน  ในบรรดาความเสียเปรียบเหล่านั้น  มีความเสียเปรียบทิ่ยิ่งใหญ่  2  ประการ  คือ

                                                          - ทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ      สิทธิสภาพนอกอาณาเขต  คือ  สิทธิที่ไม่ต้องขึ้นศาลไทย  นอกจากคนอังกฤษแล้ว  คนในบังคับของอังกฤษ  ก็ไม่ต้องขึ้นศาลไทยด้วย  เมื่อทำความผิดหรือมีคดีกับคนไทยก็ไปขึ้นศาลกงสุลอังกฤษ  โดยอ้างว่าวิธีพิจารณาคดีของไทยล้าหลังและป่าเถื่อน

                                                         -  ทำให้อังกฤษเป็นชาติอภิสิทธิ์   คือ  อังกฤษเป็นชาติที่มีสิทธิพิเศษ  ไม่ว่าไทยจะทำสัญญาหรือมีข้อตกลงกับชาติใดๆ  ภายหลัง  ก็ให้ถือว่าอังกฤษมีสิทธิ์เช่นเดียวกับชาตินั้นๆ  โดยอัตโนมัติ

                             ผลดีที่เกิดจากสนธิสัญญาเบาริง         แม้สนธิสัญญาเบาริงจะทำให้ไทยเสียผลประโยชน์   แต่ผลของสัญญาเบาริงก็มีส่วนดีแก่ไทยอยู่บ้าง  คือ

                                                        - ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น     การทำสัญญาการค้าเป็นหลักฐานในสนธิสัญญาเบาริง  แม้ไทยจะเสียเปรียบ  แต่ก็ยังมีกฏเกณฑ์การเสียเปรียบที่แน่นอนมีขอบเขตจำกัด  ทำให้การค้าขายทำได้สะดวกและขยายตัวมากขึ้น  มีการส่งสินค้าออกมากขึ้น  เช่น  ข้าว  ดีบุก  ไม้สัก  เป็นต้น   ข้าวเป็นสินค้าออกที่สำคัญที่สุด  ทำให้การทำนาซึ่งเดิมทำแต่เพียงพอกินพอใช้  ก็ทำเป็นการค้า  ชาวนาขายข้าวได้ก็ขยายพื้นที่ทำนามากขึ้น  เมื่อชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่มีเงินทองมีกำลังซื้อสูง  ก็ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ  เศรษฐกิจส่วนรวมจึงดีไปทั่ว

                                                     - ทำให่ไทยได้รับวิทยาการสมัยใหม่    การยอมรับอารยธรรมตะวันตกของไทยก่อให้เกิดความ  รู้สึกที่ดีจากชาวตะวันตก  ทำให้การติดต่อสื่อสารและคบหาสมาคมมีมากขึ้น  และสนิทสนมยิ่งขึ้น  ทำให้มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน  ชาวตะวันตกเริ่มยอมรับคนไทยมากขึ้น  ทำให้การถ่ายทอดความรู้วิทยาการและเทคโนโลยี่เป็นไปอย่างสะดวก  คนไทยสามารถนำความรู้มาใช้ปรับปรุงบ้านเมืองได้กว้างขวางขึ้น

                             ๏  การเสียดินแดน       การเสียดินแดนของไทยเป็นการเสียให้แก่ชาติตะวันตกเพียง  2  ชาติ  คือ  ฝรั่งเศสและอังกฤษรวมทั้งสิ้น  6  ครั้ง  ส่วนใหญ่เป็นการเสียให้แก่ฝรั่งเศส  ครั้งแรกเสียไปในตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  หลังจากนั้นเป็นการเสียดินแดนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ทั้งสิ้น

                               การเสียดินแดนเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายในการรักษาเอกราชของชาติ  การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ทรงเร่งปรับปรุงชาติบ้านเมืองให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ  และการเสด็จประพาสยุโรปเพื่อผูกมิตรกับชาติมหาอำนาจในยุโรปถึง  2  ครั้งของพระองค์  เป็นเครื่องยืนยันพระราชวิริยะอุตสาหะของพระองค์ที่จะรักษาเอกราชของชาติไว้   ทุกครั้งที่ทรงยินยอมเสียดินแดนไปนั้น  ล้วนแล้วแต่เป็นกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทิ้งสิ้น

                            ครั้งที่ 1 – 5  เสียให้แก่ฝรั่งเศส

                            ครั้งที่ 1   เสียเขมรทั้งประเทศให้แก่ฝรั่งเศส  ใน พ.ศ. 2410  (ปลายรัชกาลที่ 4)            เมื่อได้ญวนแล้วฝรั่งเศสเห็นว่าแม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศเขมร  หากได้เขมรอีกประเทศหนึ่งก็อาจใช้แม่น้ำโขงติดต่อค้าขายกั้บประเทศจีนได้  จึงเข้าตีสนิทกับเขมร  ซี่งเป็นปรแทศราชของไทย  และบังคับให้สมเด็จพระนโรดม  พระเจ้าแผ่นดินเขมร  ทำสัญญายกเขมรให้อยู่ภายใต้อำนาจของฝรั่งเศส  อ้างว่าเขมรเคยเป็นของญวน  เมื่อญวนเป็นของฝรั่งเศสแล้ว  เขมรก็ต้องเป็นของฝรั่งเศสด้วย  สมเด็จพระนโรคมทรงมีหนั้งสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  ว่าทรงถูกบังคับ  แต่ไทยก็ไม่สามารถทำอะไรได้  ในที่สุดไทยก็ต้องลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส  ยอมรับว่าเขมรเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส  ในวันที่  15  กรกฎาคม  2410

                         ครั้งที่ 2  เสียแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส  ใน พ.ศ. 2431  (รัชกาลที่ 5)           พ.ศ. 2431  ฝรั่งเศสขอทำสนธิสัญญากับไทย  เพื่อตั้งสถานกงสุลที่หลวงพระบาง  โดยให้ นายวาวี (Monsieur August Pavie)  เป็นกงสุลประจำ  ต่อมาพวกฮ่อเข้าปล้นเขตแดนไทยจนถึงหลวงพระบางไทยจึงรีบยกทัพไปปราบ  ปรากฏว่าสามารถขับไล่พวกอ่อออกจากเขตแดนไทยวได้ทั้งหมด  แต่ฝรั่งเศสยังคงยึดแคว้นสิบสองจุไท  และหัวพันทั้งห้าทั้งหกไว้ไม่ยอมยกทัพกลับไป  โดยอ้างว่าจะคอยปราบปรามพวกฮ่อ

                         ครั้งที่ 3  เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส  ใน  พ.ศ. 2436  (ร.ศ. 112)       การเสียดินแดนใน ร.ศ. 112  เป็นการเสียดินแดนที่สร้างความเจ็บซ้ำน้ำใจให้แก่ไทยมาก  เพราะถูกรังแกจากชาติมหาอำนาจโดยไม่อาจป้องกันตัวเองได้  ฝรั่งเศสใช้วิธีการเดิม  คือ  อ้างว่าญวนและเขมรเคยมีอำนาจเหนือลาวมาก่อน  เมื่อญวนกับเขมรเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสดินแดนต่างๆ เหล่านี้ก็ควรตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย ใน พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112)    ฝรั่งเศสส่งเรือรบ  2  ลำ  มาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา  ทหารได้ทำการายิงสู้ไม่สำเร็จ  มีคนได้รับบาดเจ็บและเรือเสียหายมาก  นายปาวีซึ่งเป็นกงสัลฝรั่งศสประจำกรุงเทพจึงยื่นคำขาด  ซึ่งไทยยอมปฏิบัติตามบางส่วน  ทำให้นายปาวีไม่พอใจ  จึงถอนทูตออกจากไทยและใช้กองเรือปิดล้อมอ่าวไทยทันที  รัฐบาลไทยจึงต้องปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสทุกประการ  วิกฤตการณ์  ร.ศ. 112  นี้นับว่าไทยสูญเสียดินแดนครั้งสำคัญมากที่สุด  โดยต้องยอมยกอาณาจักรลาวเกือบทั้งหมดให้กับฝรั่งเศส

                         ครังที่ 4  เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2446          ขณะที่เกิดข้อพิพาทเป็นวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112  นั้น ฝรั่งเศสถือโอกาสส่งกองทัพไปยึดจันทบุรีไว้  อ้างว่าเพื่อเป็นประกันให้ไทยปฏิบัติตามเงื่อนไข  ครั้นไทยปฏิบัติตามเงื่อนไข  คือ  ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ไปแล้ว  ฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมถอนออกไป  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ทรงเห็นว่า  เมืองจันทบุรีอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ  จึงเจรจาขอแลกเปลี่ยนดินแดนที่อยู่ห่างไกลให้แทน  โดยยอมยกเมืองมโนไพรและเมืองจำปาศักดิ์ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองปากเซ  (ในลาวตอนใต้)  กับเมืองไชยบุรีและเมืองแก่นท้าว  ซี่งเป็นดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามกับหลวงพระบาง (ในลาวตอนเหนือ)  ให้ฝรั่งเศสแทน  ฝรั่งเศสจึงยอมถอนทหารออกจากเมืองจันทบุรี  แต่ด้วยเล่ห์เพทุบาย  ทหารที่ยกออกไปนั้นกลับไปยึดเมืองตราดไว้แทน  ซี่งเป็นเหตุให้ไทยต้องเสียดินแดนครั้งที่5                                                     

                       การเสยดินแดนครั้งทำให้ไทยต้องเสียดินแดนลาวทั้งหมดให้ฝรั่งเศส

                      ครั้งที่ 5  เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส  ใน พ.ศ. 2449       มณฑลบูรพา  คือ  ดินแดนเขมรส่วนใน  ซึ่งไทยปกครองเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร (แยกต่างหากจากรหประเทศเขมร)  ได้แก่ ดินแดนที่เป็นเมืองพระตะบอง  เมืองเสียมราฐ  และเมืองศรีโสภณ  ไทยต้องยอมทำสัญญายกให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกเปลี่ยนกับเมืองตราดและเกาะต่างๆ  ที่อยู่ใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดที่ฝรั่งเศสยึดไว้  โดยฝรั่งเศสยอมผ่อนผันให้คนเอเชียซึ่งจดทะเบียนอยู่ในบังคับของฝรั่งเศสภายหลังวันลงนามในสัญญามาขึ้นอยู่ในอำนาจศาลไทย  (แต่ศาลกงสุลของฝรั่งเศสก็ยังคงสามารถพิจารณาคดีความขัดแย้งระหว่างคนไทยกับคนฝรั่งเศสได้เหมือนเดิม)

                       ดินแดนที่เสียให้แก่ฝรั่งเศสครั้งนี้  เมื่อถึงรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ยึดคืนมาได้  แต่เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ต้องคืนให้ฝรั่งเศสอีก

                        ครั้งที่ 6     เสียรัฐไทรบุรี  กลันตัน  ตรังกานู  และปะลิสให้แก่อังกฤษ  พ.ศ. 2452          เมื่อพระบาทสมเด็จเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ 2  ใน พ.ศ. 2452 นยเอ็ดเวิร์ด  สโตรเบล  ซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวอเมริกันเสนอให้ไทยแลกหัวเมืองมลายูกับการยกเลบิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับอังกฤษในประเทศไทย  และขอกู้เงินสร้างทางรถไฟสายใต้  การดำเนินงานนี้ประสบผลสำเร็จ  มีการลงนามในสนธิสัญญา  วันที่  10  มีนาคม  พ.ศ. 2452  มีใจความสำคัญ  คือ  รัฐบาลไทยยอมยกดินแดนรัฐมลายู  คือ  ไทรบุรี  กลันตัน  ตรังกานู  ปะลิส  รวมทั้งเกาะใกล้เคียงให้อังกฤษ  ฝ่ายอังกฤษยอมให้คนในบังคับอังกฤษทั้งยุโรปและเอเชีย  ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับกงสุลก่อนทำสํญญานี้ให้ไปขึ้นกับศาลต่างประเทศ  ส่วนคนในบังคับอังกฤษที่จดทะเบียนหลังทำสนธิสัญญาฉบับนี้ให้ไปขึ้นศาลไทย  โดยมีที่ปรึกษาทางกฎหมายเป็นชาวยุโรปเข้าร่วมพิจารณาด้วย  แต่ศาลกงสุลของอังกฤษก็ยังมีสิทธิจะถอนคดีของคนไทยในบังคับอังกฤษไปพิจารณาได้

                       ในสงครามโลกครั้งที่ 2  ญี่ปุ่นยึดคาบสมุทรมลายูทั้งหมดได้ และได้คืนดินแดนส่วนนี้ให้ไทย  และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2  ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ดินแดนนี้จึงถูกยึดกลับคืนไปให้อังกฤษ

นโยบายการปฏิรูปบ้านเมือง

                        เหตุผลสำคัญในการปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัยนั้น  นอกจากจะเพื่อต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมดังกล่าวมาแล้ว  ยังเป็นการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ  เพื่อความเจริญผาสุกของประชาชนในประเทศ  สามารถยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับชาติตะวันตกได้อย่างภาคภูมิ   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ทรงเริ่มปรับปรุงบ้านเมืองโดยถือแบบอย่างของชาวตะวันตก  ข้อได้เปรียบของพระองค์  คือ  ทรงแตกฉานในภาษาอังกฤษและวิทยาการสมัยใหม่  ทรงมีพระสหายเป็นข้าราชการและพ่อค้าชาวตะวันตก  ทำให้ทรงตระหนักดีว่าควรจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองของเราอย่างไร  จึงจะสามารถก้าวไปสู่ความมีอารยธรรมได้

                       สิ่งที่พระองค์ทรงกระทำ  คือ   พยายามเปลี่ยนแนวความคิดตั้งเดิมและแก้ไขแบบอย่งการดำรงชีวิตของคนไทย  เนื่องจากประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาแต่โบราณนั้น  มีหลายอย่างที่ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมตะวันตก  เช่น  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้าแทนการไม่สวมเสื้ออย่างที่เคยปฏิบัติ ทรงเห็นว่าการห้ามราษฎรเข้าใกล้ชิดและการบังคับให้ปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือนขณะเสด็จพระราชดำเนินเป้นประเพณีที่ล้าสมัย  จึงโปรดให้ยกเลิกเสีย  ทรงวางพระองค์อย่างใกล้ชิดในการบำบัดความทุกข์ร้อนของราษฎร  โปรดให้เขียนฎีกาลงในกระดาษโดยพระองค์จะเสด็จออกมารับเดือนละ  4  ครั้ง  ทรงใช้ ประกาศ  เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบและผดุงความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง  ดังปรากฏอยู่ใน  ประกาศรัชกาลที่ 4  จำนวนมากมาย  ทั้งที่ปรับปรุงจากของเก่าและที่ทรงพระราชดำริขึ้นมาใหม่  เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ภายในประเทศ  นอกจากนั้นยังทรงปรับปรุงหน่วยงานของรัฐด้วยการติดต่อว่าจ้างชาวยุโรป  และอเมริกันเข้ามารับราชการในฐานะที่ปรึกษา  เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและสามารถอำนวยประโยชน์แก่ราษฎรอย่างทั่วถึง        การปรับปรุงหรือการปฏิรูปบ้านเมืองด้านต่างๆ  พอสรุปได้ ดังนี้

                     การปฎิรูปด้านการปกครอง         รูปแบบการปกครองของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงรัชกาลที่ 4  แม้จะปรับเปลี่ยนใสนรายละเอียดบ้าง  แต่วิธีการส่วนใหญ่ก็เป็นรูปแบบการปกครองแบบจตุสดมภ์ดั้งเดิมที่ใช้มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  และได้ปรับปรุงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 – 2231)  คือ  แบ่งส่วนราชการออกเป็น  เมือง (เวียง)    วัง   คลัง  นา   มีสมุหกลาโหมรับผิดชอบกิจการทั้งปวงของหัวเมืองฝ่ายใต้  สมุหนายกรับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสาน  ส่วนหัวเมืองภาคกลางอยู่ในความรับผิดชอบของเมืองหลวง  คือ  พระมหากษัตริย์ทรงดูแลโดยตรง

                     ตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  รูปแบบการปกครองก็ยังอยู่ในลักษณะเดิม  การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองที่เรียกันว่า  การปฏิรูปการปกครอง นั้น  เพิ่มจะมีเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

                    การปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5          การปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5  อาจแบ่งได้เป็น  2  ระยะ  ระยะแรกเป็นการรับรูปและการปกครองบางอย่างมาจากยุโรปคล้ายกับเป็นการทดลองดูก่อน  หลังจากนั้นจึงเป็นการปฏิรูปการปกครองอย่างแท้จริง

                                       - ระยะเริ่มต้น      เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5   ทรงบรรลุนิติภาวะแล้วก็ทรงเริ่มพิจารณา  ปรับปรุงการปกครองด้วยพระองค์เอง  ใน พ.ศ. 2417  เมื่อทรงมีพระชนมายุ  21  พรรษา  ได้ทรงตั้งสภาขึ้นสภาขึ้น  2  สภา  ตามแนวคิดแบบตะวันตก  ได้แก่

                                            ๏ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  (Council of State)   ทำหน้าที่คล้ายสภานิติบัญญัติ (ออกกฎหมาย)

                                            ๏ สภาที่ปรึกษาในพระองค์  (Prlvy Council)   ทำหน้าที่เช่นเดียวกับองคมนตรี  คือ  กราบทูลเรื่องราวที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา  และสอดส่งดุแลทุกข์สุขของราษฎร  รวมทั้งหน้าที่อื่นๆ  ตามแต่จะรับสั่ง

                                            อย่างไรก็ตาม  การตั้งสภาทั้งสองนี้ขึ้น  ทำให้ขุนนางหัวเก่าคิดว่าพระองค์จะล้มล้างระบบขุนนางผู้ใหญ่  จึงมีกลุ่มต่อต้านไม่ร่วมมือ  ในที่สุดจึงต้องเลิกล้มไป

                     การบริหารราชการส่วนกลาง

                                   - การปฏิรูปการปกครอง  พ.ศ. 2435      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5  ทรงเห็นว่า  การปรับปรุงเพียงบางส่วนเช่นที่แล้วมาไม่ได้ผล  จำเป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้างระบอบการปกครองเสียใหม่  จากระบบจตุสดมภ์เป็นระบบ  เช่นเดียวกับชาติตะวันตก  คือ  แยกงานราชการออกเป็นส่วนๆ  เรียกแต่ละส่วนว่า  กระทรวง  แต่ละกระทรวง  ก็รับผิดชอบงานอย่างหนึ่ง  เจ้ากระทรวงเรียกว่า  เสนาบดี  เหมือนกันหมด และโปรดเกล้าฯ  ให้ยุบตำแหน่งอัตรมหาเสนาบดีทั้งสอง  (คือ สมุหนายก และสมุหกลาโหม)  กระทรวงที่ตั้งขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2435  มี  12  กระทรวง ดังนี้

                                                      1)   กระทรวงมหาดไทย         บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ  อีสาน  และประเทศราชลาว  (ภายหลังเปลี่ยนเป็นดูแลการปกครองทั่วราชอาณาจักร)

                                                      2)   กรทรวงกลาโหม              บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้  และเประแทศราชมลายู (ภายหลังเปลี่ยนเป็นดูแลกิจการทาหรทั้งปวง)

                                                     3)   กระทรวงเมือง                  ดูแลกิจการตำรวจ  และการตรวจคนเข้าเมือง

                                                     4)   กระทรวงวัง                      ดูแลพระราชวังและกิจการเกี่ยวกับพระเจ้าอยู่หัว

                                                     5)   กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ     ดูแลรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน  การเก็บอากร

                                                    6)   กระทรวงเกษตรพาณิชยการ        ดูแลเกี่ยวกับเรือกสวนไร่นา  การป่าไม้  เหมือนแร่  การเพาะปลูก  และการค้าขาย

                                                    7)   กระทรวงการต่างประเทศ            ดูแลการติดต่อกับต่างประเทศ

                                                    8)   กระทรวงยุติธรรม            ดูแลการศาล

                                                   9)   กระทรวงโยธาธิการ          ดูแลการทำถนน  ขุคคลอง  สร้างสะพาน  และงานช่างทั้งปวง

                                                 10)   กระทรวงธรรมการ            ดูแลกิจการพระสงฆ์  โรงเรียน  และโรงพยาบาล

                                                 11)   กระทรวงมุรธาธิการ          ดูแลเกี่ยวกับพระราชกำหนดกฎหมาย  หนังสือราชการและรักษาพระราชสัญจกร  (ภายหลังยุบไปรวมกับกระทรวงวัง)

                                                12)   กรมยุทธนาธิการ                 จัดการเกี่ยวกับทหารบกและทหารเรือ  (ภายหลังยุบไปรวมกับกระทรวงากลาโหม)

                                    - ยกเลิกเมืองเอก  โท  ตรี  จัตวา  แล้วแบ่งเขตปกครองเป็น  มณฑล  เมือง  อำเภอ  ตำบล  และหมู่บ้าน

                                                   มณฑล     มี     ข้าหลวงเทศาภิบาล   เป็นผู้ดูแล  แต่ละมณฑลแบ่งออกเป็นเมือง

                                                   เมือง        มี      ผู้ว่าราชการเมือง   เป็นผู้ดูแล  แต่ละเมืองแบ่งออกเป็นอำเภอ

                                                  อำเภอ      มี      นายอำเภอ   เป็นผู้ดูแล  แต่ละอำเภอแบ่งออกเป็นตำบล

                                                 ตำบล        มี     กำนัน  เป็นผู้ดูแล  แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน

                                                 หมู่บ้าน     มี     ผู้ใหญ่บ้าน   เป็นผู้ดูแล

                              การปรับปรุงการปกครองในรัชกาลที่ 6

                                     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6  ได้ทรงดำเนินพระบรมราโชบายในการปกครองตามรอยพระยุคลบาทของสมเด็จพระบรมชนกนาถ  สิ่งใดไม่ทันกับสถานการณ์ก็ทรงแก้ไขปรับปรุง  ที่ควรนำมากล้าวในที่นี้มีดังนี้

                            ราชการส่วนกลาง      ทรงตั้งกระทรวงทหารเรือ  กระทรวงมุรธาธิการ  (ซึงรัชกาลที่ 5  ยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2439)   โปรดให้ปรับปรุงกระทรวงโยธาธิการ  แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า  กระทรวงคมนาคม  และหใรวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย

                            ราชการส่วนภูมิภาค     ปรับปรุงเขตการปกครองของมณฑลบางมณฑล  และโปรดให้รวมมณฑลที่อยู่ติดกันหลายๆ มณฑลตั้งขึ้นเป็น  ภาค  แต่ละภาคใต้มี  อุปราช  มีอำนาจเหนือ  สมุหเทศาภิบาล  ในภาคนั้น  และเปลี่ยน  เมือง  เป็นจังหวัด

                           การวางรากฐานประชาธิปไตยในรัชกาลที่ 6        รัชกาลที่ 6  ได้ทรงมีพระราชดำริและทรงเลือกวิธีการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยก่อนพระองค์จะทรงสำเร็จการศึกษาในประเทศอังกฤษ และเสด็จกลับประเทศไทยเสียอีกหลังจากขึ้นครองราชย์ได้  8  ปี  คือ  ใน พ.ศ.  2461   ได้ทรงผังเมืองสมมุติย่อส่วนลงเป็นเมืองตุ๊กตาในพื้นที่  3  ไร่เศษ  ในพระราชวังดุสิตและพระราชทานนามว่า  ดุสิตธานี และทรงจัดให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามา  ธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนคราภิบาล (ดุสิตธานี)  พระพุทธศักราช 2461   ให้เมืองนี้มี  สภา  โดยมีเชษฐบุรุษ  คือ  ผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งของราษฎรในแต่ละอำเภอ  และ  คณะนคราภิบาล  ทำหน้าที่บริหาร  ประกอบด้วยเชษฐบุรุษที่ได้รับเลือกจากสภา

                          ภายหลังดุสิตธานีย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไทย  แล้วเลือกไปเมื่อ  พ.ศ. 2468     กล่าวได้ว่ากาลที่รัชกาลที่ 6  ทรงจัดตั้งดุสิตธานีนั้นด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะเผยแพรให้การศึกษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเชิงปฎิบัติ  เพื่อให้ข้ารชบริพารเรียนรู้  เข้าใจกระบวนการปกครองระบอบประชาธิปไตยเกี่ยกับพรรคการเมือง  สภา  คณะบริหาร  ฝ่ายบริหาร  ฝ่ายค้าน  และแสดงความคิดเห็นโดยเสรีด้วยการออกหนังสือพิมพ์  นอกจากนี้ยังได้ทรงริเริ่มการศึกษาภาคบังคับให้เข้าถึงประชาชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  เพื่อให้เป็นพื้นฐานการปกครองระบอบนี้โดยแท้จริง

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (กฎหมาย และ การศาล)

                         ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4    ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาวยุโรปเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยนั้น  แม้พระองค์จะได้ทรงออกประกาศและตรากฎหมายต่างๆ  ขึ้นใช้บังคับมากมายแต่เนื่องจากไทยเรายังมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแบบที่เรียกว่า  จารีตนครบาล  คือ  การพิจารณาคดีที่ถือว่าผูใดถูกกล่าวหา  ผู้นั้นต้องหาพยานหลักฐานมาแสดงให้ได้ว่าตนบริสุทธิ์  และมีการกระทำทารุณ  เพื่อให้รัรบสารภาพว่าทำผิด  เช่น  ตอกเล็บ  บีบขมับ  จนกว่าจะรับสารภาพ  เป็นต้น  ซี่งชาวต่างประเทศเห็นว่าป่าเถือนไร้อารยธรรม  จึงไม่ยอมให้ใช้กับคนในบังคับของตน  ทำให้ไทยต้องเสีย  สิทธิสภาพนอกอาณาเขต  คือ ไทยต้องยอมให้ชาวต่างประเทศตั้งศาลกงสุลขึ้นพิจารณาคดีคนของเขาหรือคนในบังคับของเขาตามกฏหมายของเขาเอง  ซึ่งเท่ากับไทยเสียเอกราชทางด้านศาล

                          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  จึงทรงพยายามดำเนินการแก้ไขด้วยวิธีต่างๆ  เช่น  โปรดเกล้าฯ  ให้สถาปนากระทรวงยุติธรรมขึ้นใน พ.ศ. 2434  หลังจากนั้นจึงทรงปฏิรูปกฎหมาย  โดยจ้างนักกฎหมายชาวยุโรปและชาวญี่ปุ่นมาช่วยด้วย

                          การปฏิรูปกฎหมาย         การปฏิรูปกฎหมายไทยเริ่มใน  พ.ศ. 2440  โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  พระนามเดิมว่าพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์  เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเจ้าจอมมารดาตลับ  หลังจากสำเร็จวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ  ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม  กรมหลวงราชบุรีฯ ได้ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้น  และดำเนินการสอนเอง (โรงเรียนกฎหมายแห่งนี้ต่อมาได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)  ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายลักษณะอาญา  ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2451  จัดเป็นกฎหมายแบบใหม่และทันสมัยที่สุดฉบับแรกของไทย  ต่อมาได้ประกาศใช้กฏหมายอีกหลายฉบับ  เช่น  พระราชบัญญัติลักษระปกครองท้องที่  ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440)  พระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ  ร.ศ. 120  (พ.ศ. 2444)  กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส พ.ศ. 2448 ฯลฯ  นอกจากนี้ยังได้ปฏิรูปภาษากฎหมายไทยให้รัดกุม  ชัดเจน  และเหมาะสมยิ่งขึ้น  จนภายหลังกรมหลวงราชบุรีฯ  ได้รับยกย่องว่าเป็น  พระบิดาแห่งกฏหมายและการศาลไทย

                         ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6  ได้โปรดเกล้าฯ  ให้ดำเนินงานร่างประมวลกฎหมายเพ่งและพานิชย์ต่อจากที่ทำไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5  และได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมร่างกฎหมายขึ้นใน พ.ศ. 2466

                         การปฏิรูปการศาล        เดิมกิจการศาลอยู่กระจัดกระจายในกรมหรือกระทรวงต่งๆ  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5  ทรงตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นใน พ.ศ. 2434   จึงนำมารวมไว้ในกระทรวงนี้และมีการยุบรวม  ปรับปรุงศาล  เพื่อให้ทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น  และตราพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2451   ให้มีศาลฎีกา  ศาลสถิตยุติธรรมกรุงเทพฯ  และศาลหัวเมือง

                         ต่อมามีการจัดระบบศาลใหม่ใน  พ.ศ. 2455    ให้มีศาลในกระทรวงยุติธรรม  2  แผนก  คือ  ศาลยุติธรรมกรุงเพทฯ  (มีศาลฎีกา  ศาลอุทธรณ์  ศาลพระราชอาญา  ศาลเพ่ง  ศาลต่างประเทศ  และศาลโปริสภา)   และ  ศาลหัวเมือง  (มีศาลมณฑล  ศาลเมือง  และศาลแขวง)     จัดเป็นรากฐานสำคัญของศาล  สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

                         ความสำเร็จในการปฏิรูประบบกฎหมายและการศสาลของไทยนั้น  นอกจากจะเป็นผลงานของพระบรมวงานุวงศ์และข้าราชการไทย  ที่มีความรู้ความสามารถ  อาทิเช่น  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์  เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมองค์แรก  และขุนหลวงพระยาไกรสี  ผู้พิพากษาไทยคนแรกที่เรียนวิชากฎหมายสำเร็จได้เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษแล้ว  ไทยังได้จ้างนักกฎหมายชาวต่างประเทศที่มีความรู้มาเป็นที่ปรึกษากฎหมายอีกด้วย  บุคคลสำคัญ  ได้แก่  นายโรลัง  ยัคมินส์  ชาวเบลเยียม  นายโตกิจิ  มาซาโอะ ชาวญี่ปุ่น   นายวิลเลียม อัลเฟรด  ตจิลเลเก  ชาวลังกา  และยอร์ช  ปาดู  ชาวฝรั่งเศส

การปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการคลัง

                           นโยบายการเปิดประเทศและการติดต่อสัมพันธ์กับบรรดามหาอำนาจตะวันตกในรัชกาลที่ 4   เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจของไทยอย่างใหญ่หลวง  สนธิสัญญาเบาริง  ที่ทำกับอังกฤษเมื่อปี  พ.ศ. 2398  นับได้ว่าเป็นการเปิดศักราชการค้าเสรีกับต่างประเทศอย่างจริงจัง  โดยเฉพาะการค้าข้าว  ซี่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของไทย  ได้มีการหักร้างถางพงในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางเพื่อเพิ่มพื้นที่การทำนา  ซึ่งต่อมาก็ได้ขยายตัวไปยังภาคอื่นๆ ด้วย  ในรัชกาลที่ 5  หลังจากการคมนาคมทางรถไฟทำได้สะดวก  มีการขุดคลองแยกเพื่อนำน้ำมาใช้ในการทำนา  และมีการตั้งกรมชลประทานขึ้นรับผิดชอบการสร้างคันคูคลอง  ซึ่งส่วนใหญ่ก้เพื่อทำนา  สมัยนั้น  ตลาดค้าข้าวไทยเฟื่องฟูมาก  กรุงเทพฯ  กลายเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ  สำหรับรัฐบาลแม้จะถูกบังคับโดยเงื่อนไขในสนธิสัญญาเบาริ่งในสมัยรัชกาลที่ 4  ซึ่งกำหนดให้ไทยเรียกเก็บภาษีขาเข้าในอัตราเพียงไม่เกินร้อยละ  3  ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำ  แต่การเก็บในอัตราต่ำเช่นนี้เป็นสิ่งส่งเสริม  ให้มีเรือเข้ามาติดต่อค้าขายมากกว่าแต่ก่อนถึงปีละร้อยกว่าลำ  ทำให้ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า  แต่เนื่องจากการจัดเก็บภาษียังไม่รัดกุมพอ  เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5  พระองค์จึงตั้ง หอรัษฎากรพิพัฒน์  ขึ้นใน พ.ศ. 2416   เพื่อรวบรวมภาษีอากรทุกชนิดจากทุกหน่วยงานมาไว้ที่เดียวกัน  และได้ตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับภาษีอากรหลายฉบับ  มีการกำหนดอัตราการเก็บที่แน่นอน  รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน  ทำให้รัฐบาลมีรยได้เพิ่มขึ้น

                          ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและการค้าที่เกิดขั้นอย่างรวดเร็วในสมัยรัชกาลที่ 4  นั้น  ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและอื่นๆ ตามมามากมาย  ในที่นี้จะขอยกมากกล่าวบางประการที่เห็นว่าสำคัญและเกี่ยวเนื่องกัน

                          การเปลี่ยนแปลงระบบการเงิน         การที่มีเรือสินค้าต่างประเทศนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายและซื้อสินค้าไทยออกไปเป็นเงินคราวละมากๆ  ทำให้   เงินพดด้วง   ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายมีปริมาณไม่เพีงพอกับความต้องการ  เพราะพระคลังมหาสมบัติไม่สามารถผลิตได้ทัน  จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินของประเทศเสียใหม่  รัชกาลที่ 4  จึงได้สั่งซื้อเครื่องจักรเข้ามาผลิตเหรียญกษาปณ์  เมื่อปี พ.ศ. 2400  อย่างไรก็ตาม  เงินพดด้วงก็ยังคงใช้ต่อมาเพิ่มจะมีประกาศเลิกใช้ในรัชกาลที่ 5  ใน พ.ศ. 2447  ภายหลังจากที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญอย่างใหม่  เป็นเหรียญ  บาท  สลึง และ  สตางค์   ขึ้น   ทรงเปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยมกำหนดให้  1  บาท  มี  100  สตางค์  หลังจากนั้นจึงโปรดให้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้อย่างจริงจัง  โดยการตราพระราชบัญญัติธนบัตร พ.ศ. 2445 และได้ประกาศใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงินในปี  พ.ศ. 2451

                        การจัดตั้งธนาคารและคลังออมสิน        ในสมัยรัชกาลที่ 5   ได้มีการจัดตั้งธนาคารขึ้นครั้งแรกใน  พ.ศ. 2431  ดำเนินการโดยชาวต่างประเทศ  ต่อมาใน พ.ศ. 2449  พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระองค์เจ้าไชยันตมงคล)  ได้เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารแห่งแรกที่ดำเนินการโดยคนไทยชื่อ  บุคคลัภย์   (Book Club)  ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้จดทะเบียนตั้งเป็นธนาคารได้ถูกต้องตามกฏหมาย  ใช้ชื่อว่า บริษัทแบงค์สยามกัมมาจล  ทันจำกัด (Siam Commercial Co.Ltd.)  ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด

                        ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่   ได้มีการจัดตั้งคลังออมสินขึ้นใน พ.ศ. 2456  ตามพระราชบัญญัติออมสิน  และได้วิวัฒนาการเป็นธนาคารออมสิน  ในปัจจุบัน

                        การปฏิรูปด้านการสาธารณูปการ  และการสาธารณสุข         การสาธารณูประการ  เช่น  การคมนาคมสื่อสาร  การประปา  ไฟฟ้า  และการสาธารณสุข  นับเป็นปัจจัยพื้นฐานการอยู่ดีกินดีของประชาชน  การริเริ่มปรับปรุงมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4  และสำเร็จเกือบบริบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5

                                     การคมนาคม      

                                               การขุดคลอง        การคมนาคมทางน้ำได้รับการบำรุงและขยายออกไปมากไปมากในตอนต้นรัชกาลที่ 4  เพราะยังเป็นเส้นทางที่ใช้กันแพร่หลาย  โปรดให้มีการ   ขุดคลอง   ในกรุงเพิ่มเติม  คือ  คลองผดุงกรังเกษม  เพื่อประโยชน์ในการตั้งบ้านเรือนและการทำมาค้าขายของราษฎรที่ออกไปอยู่ในเขตที่ขยายใหม่  ให้ขุดคลองถนนตรง  (คือ  คลองหัวลำโพง  ซึ่งขณะนี้ถมเสียจนถึงคลองเตยเพื่อขยายถนนพระราม 4)   เพื่อเป็นทางถัดในการสัญจร  สำหรับชาวตะวันตกที่ถูกกำหนดให้อยู่ทางด้านใต้พระนคร  นอกจากนั้นยังมีการขุดคลองเชื่อมกรุงเทพฯ  หัวเมืองใกล้เคียง  คือ  คลองมหาสวัสิ์  คลองภาษีเจริญ  และคลองดำเนินสะดวก

                                              การสร้างถนน      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  โปรดให้เริ่มสร้างถนนที่ใช้ได้ทุกฤดูกาลตามแบบตะวันตก  ด้วยทรงพระราชดำริว่าเพื่ออำนวยประโยชน์ให้ชาวยุโรปที่เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ  มากขึ้นทุกปีและเพื่อให้เป็นที่เจริญตา  ไม่ขายหน้าแก่นานาประเทศ  ทั้งบ้านเมืองก็จะได้งดงามขึ้นถนนที่สร้างครั้งแรกใน พ.ศ. 2404  มี  3  สาย  คือ  ถนนเจริญกรุง  ถนนหัวลำโพง  (ปัจจุบันคือถนนพระราม 4)  และถนนสีลม  ถัดจากนั้นอีกสองปีจึงได้สร้างถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนครเพิ่มขึ้นอีกสองสาย

                                            การสร้างรถไฟ      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมรถไฟขึ้นใน พ.ศ. 2433  พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเปิดเดินรถไฟหลวงเป็นครั้งแรกระหว่างกรุงเทพฯ-อยุธยา  เมื่อวันที่  26  มีนาคม  2439   หลังจากนั้นก็มีการสร้างทางรถไฟไปยังภูมิภาคต่างๆ สรุปได้ดังนี้

                                                                       สายตะวันออกเฉียงเหนือ  ถึงเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. 2443

                                                                       สายเหนือ   ถึงอุตรดิตถ์  ใน พ.ศ. 2432

                                                                      สายใต้  ถึงเมืองเพชรบุรี ใน พ.ศ. 2442  (ถึงพัทลุง-สงขลา ในสมัยรัชกาลที่ 6)

                                                                      สายตะวันออก  ถึงเมืองฉะเชิงเทรา ใน พ.ศ. 2430

                                        รถราง     กิจการรถรางในกรุงเทพฯ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ทรงให้สัมปทานบริษัทเดนมาร์กเดินรถรางในเขตกรุงเทพมหานคร  ใน พ.ศ. 2430  (ครังแรกๆ ใช้ม้าลาก  ภายหลังเปลี่ยนเป็นใช้ไฟฟ้า)

                                       การไปรษณีย์โทรเลข     ใน พ.ศ. 2426   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  โปรดเกล้าฯ  ให้ตั้งกรมไปรษณีย์  และกรมโทรเลขขึ้น  และได้เข้าร่วมเป็นภาคีของโทรเลขสากลใน พ.ศ. 2428  ภายหลังรวมกรมทั้งสองเข้าด้วยกันใน พ.ศ. 2441  เรียกว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข

                       ๏ การสาธารณูปโภค

                                        การประปา      การประปาเริ่มมีครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4  แต่เป็นการประปาที่ใช้ในเขตพระราชวังเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการประปาแก่ประชาชนทั่วไปในกรุงเพทฯ  ขี้นใน พ.ศ. 2452 โดยให้กรมคลอง  ขุดคลองเชียงราก  จากบางชื่อถึงเมืองปทุมธานี  และตั้งโรงสูบน้ำที่สามเสนหลังจากนั้นก็ทยอยต่อท่อส่งน้ำประปาแก่ประชาชน (เสร็จสมบูรณ์ทั่วกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 6)

                                      การไฟฟ้า      การไฟฟ้าเริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาที่ 5  โปรดเกล้าฯ  ให้เจ้าพระยาสัรศักดิ์มนตรีเริ่มดำเนินการใน พ.ศ.2427  ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในพระราชวังก่อน  หลังจากนั้นบริษัทเดนมาร์ก  ซึ่งเป็นผู้เดินรถรางไฟฟ้า  ได้เข้ารับเหมาติดตั้งโคมไฟฟ้าแก่สถานที่ราชการ  ที่สาธารณะ  และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ใน พ.ศ. 2440

                      ๏ การสาธารณสุข

                                    การสุขาภิบาล    ในสมัยรัชกาลที่ 4  นั้นได้เริ่มมีการสุขาภิบาลตามคำแนะนำของบาทหลวงมิชชันนารีบ้างแล้ว  แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน  เพิ่มจะปรากฏหลักฐานประกาศห้ามราษฎรทิ้งของโสโครกลงในคลอง  ใน พ.ศ. 2413  สมัยรัชกาลที่ 5  หลังจากนั้นการสุขาภิบาลก็เริ่มจริงจังขึ้น คือ

                                                     พ.ศ. 2440  ตั้งกรมสุขาภิบาลขั้นในกระทรวงนครบาล

                                                     พ.ศ. 2448  ขยายกิจการสุขาภิบาลไปยังหัวเมือง  มีการจัดการควบคุมโรคติดต่อต่างๆ เช่น โรคห่า (อหิวาตกโรค)  โรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ)   โรคหัด  และกามโรค  เป็นต้น

                                  การตั้งโรงพยาบาล     แต่เดิมนั้นพวกมิชชันนารีสอนศาสนา  ได้ตั้งโรงพยาบาลอยู่บ้างแล้วรัฐบาลตั้งโรงพยาบาลขึ้นครั้งแรกที่ริมคลองบางกอกน้อย  เรียกว่า  โรงพยาบาลวังหลัง  ซึ่งต่อมารัชกาลที่ 5  พระราชทานนามใหม่ว่า  โรงศิริราชพยาบาล  เพื่อเป้นอนุสรณ์แต่  เจ้าฟ้าศิรปราชกกุธภัณฑ์  (พระราชโอรส  ซึ่งประชวรสิ้นพระชนม์  เนื่องจากขาดแคลนด้านการพยาบาล)  หลังจากนั้นจึงตั้งกรมพยาบาล  ใน พ.ศ. 2431   ตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาด)  ใน พ.ศ. 2436  และตั้งโอสถศาลา (โรงงานเภสัชกรรม)  ใน พ.ศ. 2445

                                การตั้งโรงเรียนแพทย์       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  โปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงเรียนแพทย์ขึ้นในโรงศิริราชพยาบาล  ใน พ.ศ. 2432  เรียกว่า  โรงเรียนแทยกร  ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น  ราชแพทยาลัย (ภายหลังคือ  มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์  หรือ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบัน)

การปฏิรูปการศึกษา

                             โดยที่รัชกาลที่ 4  ทรงตระหนักว่าการที่จะสามารถเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมได้นั้น  ต้องอาศัยการจัดการศึกษาตามแบบอย่างของประเทศเหล่านั้น  จึงทรงให้สตรีมิชชันนารีชาวอเมริกันซึ่งเข้ามาตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นครูสอนภาษาอังกฤษและความรู้ทั่วไปแก่สตรีในวังขึ้น  ภายหลังได้ทรงจ้างนางแอนนา เลียวโนเวนส์ (Mrs. Anna Leonowens)    สตรีหม้ายชาวอังกฤษจากสิงคโปร์เข้ามาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ  วิทยาศาสตร์และวรรณคดีให้กับพระโอรสพระธิดา  สำหรับประชาชนทั่วไปทรงสนับสนุนให้บาทหลวงและมิชชันนารี  ตั้งโรงเรียนขึ้นสอนทั้งในพระนครและต่างจังหวัด

                             ในระยะต่อมา  แหม่มแมตตูน  ภรรยามิชชันนารีอเมริกันผู้หนึ่งในจำนวนนั้น  ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่  13  กันยายน  พ.ศ. 2395  ได้รวมกับโรงเรียนของซินแส กีเอ็ง ก๊วยเซียน  ซึ่งเป็นชาวจีนที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์  โรงเรียนนี้รับนักเรียนชายลัวน  มีครูใหญ่เป็นคนไทยและสอนด้วยภาษาไทย  สถานที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลสำเหร่  จึงให้เรียกว่า โรงเรียนสำเหร่บอยคริสเตียนไฮสกูล  ต่มาย้ายมาอยู่ที่ตำบลสีลม  เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย  นับเป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย        ส่วนโรงเรียนสตรีแห่งแรก คือ  โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง  ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช  แหม่มเฮาส์  เป็นผู้ตั้งขึ้นในปี  พ.ศ. 2417     ในต่างจังหวัดพวกมิชชันนารีก็ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง  เช่น โรงเรียนปรินซ์รอแยลวิทยาลัย  และดาราวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่  โรงเรียนผดุงราษฎร์  จังหวัดพิษณุโลก  โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จังหวัดเพชรบุรี

                             สาเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ต้องทรงปฏิรูปการศึกษาในสมัยของพระองค์ก็คือ  ทรงต้องการสร้างคนที่มีความรู้  เพื่อเข้ารับราชการในกระทรวงต่างๆ  ที่ทรงปรับปรุงใหม่  โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้น  คือ  โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก  เมื่อวันที่  6  ตุลาคม  พ.ศ. 2414  โดยพระราชทานเสื้อผ้า  และอาหารกลางวันแก่นักเรียน  ครูก็ได้ค่าจ้างด้วย  ต่อมาได้พระราชทานพระตำหนัก  เดิมที่สวนกุหลาบทางตะวันออกเฉียงใต้ของพระบรมมหาราชวังให้เป็นที่เรียน  พระราชทานนามว่า   โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)  หรือหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่  และให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในวังอีกแห่งหนึ่งโดยมีฟรานซิส จี แปดเดอร์สัน เป็นครูสอน

                             สาเหตุของการปฏิรูปการศึกษาอีกประการหนึ่งสืบเนื่องมาจากการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท  ทรงพิจารณาเห็นว่าหากคนเหล่านี้หวนกลับมาเป็นทาสอีกจะทำให้แผนการพัฒนาบ้านเมืองของพระองค์ประสบความล้มเหลวง  จึงโปรดให้ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้น  ชือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม  ใน พ.ศ. 2427  โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทุกคนได้รับการศึกษา  มีวิชาความรู้นำไปประกอบอาชีพได้  และเพื่อให้บังเกิดผลโดยเร็วให้โรงเรียนใช้  แบบเรียน  6  เล่ม  ที่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย   อาจารยางกูร)  แต่งขึ้นใหม่  ถึงปี พ.ศ. 2430  ได้มีการจัดตั้ง  กรมศึกษาธิการ  ขึ้นทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษาโดยเฉพาะ  และเปลี่ยนแบบเรียนที่ใช้อยู่เดิมมาใช้  หนังสือแบบเรียนเร็ว  ของกรมหมื่นดำรงราชานุภาพแทน  ต่อมาได้มีการประกาศใช้  โครงการ  ศึกษาชาติ  อยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย  มาลากุล)  ตามแบบแผนของอังกฤษ  และโปรดเกล้าฯ ให้มีการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงขึ้น เรียกว่า คิงสกอลาซิป  ตั้งแต่ พ.ศ. 2440  เป็นประจำทุกๆ ปี ปีละ 2 คน ส่งไปศึกษายังทวีปยุโรปหรืออเมริกา

                             การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 6       สมัยนี้ได้มีการแบ่งการศึกษาออกเป็น  2  สาย  คือ  สายสามัญ  ศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานทั่วไป  และสายวิสามัญศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพโดยเฉพาะ  โดยขยายออกไปทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  และโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการศึกษาใน  โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ตามแบบอังกฤษ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัย

                             ใน พ.ศ. 2464  ได้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา  ขึ้นใช้  กำหนดให้เด็กชาย-หญิงทั่วพระราชอาณาจักรที่มีอายุตั้งแต่  7-14  ปี   เข้าเรียนในโรงเรียนโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน  ทุกคนต้องจบชั้น  ป. 4  เมื่ออายุ  15  ปี   ถ้าผู้ปกครองคนใดฝ่าฝืนจะมีโทษ  และให้มีการศึกษาประชาบาลในแต่ละท้องถิ่น  โดยอาศัยทุนทรัพย์ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ  เรียกว่า  เงินศึกษาพลี   ทั้งนี้คนไนท้องถิ่นเป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเองแต่อยู่ในการควบคุมดุแลของรัฐบาล

                             ตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย      สำหรับการสึกษาระดับสูง  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าจ้าอยู่หัว  ทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนหรือโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเดิม  ให้เป็นสถาบันอุดมศึกษา  ให้ชื่อว่า  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย  เมื่อ  พ.ศ. 2459  เพื่อจะได้ผลิต  ผู้มีความรู้ความสามารถสูงสำหรับเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ  โดยไม่ต้องจ้างชาวต่างประเทศด้วยค่าจ้างแพงอีกต่อไป  เพราะเท่าที่ผ่านมาบางคนทำงานไม่ค่อยได้ผล  เพราะขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและปัญหาที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่

การปฏิรูปด้านสังคมและวัฒนธรรม

                            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4   ทรงเห็นความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ทันสมัยตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์  จะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและวิทยาการต่างๆ ของชาติตะวันตกและได้ทรงสนับสนุนให้ข้าราชบริพาร์ได้ศึกษาอย่างกว้างขวาง ดังนั้น  เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระเชษฐาธิราช  จึงได้ทรงปรรับปรุงประเทศให้ทันสมัย  ในนระยะแรกๆ  นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับสูง  และดูประหนึ่งว่าจะไม่เกิดประโยชน์กับราษฎรทั้งหลาย เช่น  การตัดถนนเพื่อให้ชาวตะวันตก  ขี่รถม้าตากอากาศ  และ  เพื่อจะให้บ้านเมืองงดงามขึ้น  เป็นต้น พระองค์ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่คนทั่วไป  และอนุญาตให้รับจ้างชาวต่างประเทศได้  เพราะได้มีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามานั้งห้างขายสินค้ากันมาก  ทั้งที่เป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน  และอื่นๆ เช่น  ร้านถ่ายรูป  คู่ซ่อมและต่อเรือ  สำหรับการเผยแพร่ความรู้และข่าวสารนั้น  มีหนังสือพิมพ์  บางกอกคาเลนดาร์   และ  บางกอกกรีดอคเดอร์ ของหมอบรัดเลย์  ออกจำหน่ายมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3  แล้ว

                       ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราษฎรนั้น  โดยเหตุที่พระองค์ทรงใกล้ชิดกับผู้คนทุกระดับในฐานะพระภิกษุขณะเสด็จธุดงค์ตามหัวเมือง  ตอนที่ยังทรงผนวชอยู่นั้น  ได้ทรงทราบปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรทั่วไป  เมื่อขึ้นครองราชย์จึงได้ทรงบำบัดแก้ไขให้บรรเทาเบาบางลง  เป็นต้นว่า  ทรงลดหย่อนการเกณฑ์แรงงาน  และให้มีการเสียเงินแทนการเกณฑ์แรงงานแก่ไพร่  ทำให้มีเวลาประกอบอาชีพมากขึ้น ทรงแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยและสวัสดิภาพของราษฎรด้วยการออกประกาศ  เตือนไม่ให้ทิ้งซากสัตว์ลงในแม่น้ำ  ให้ดับไฟในเตาหลังการหุงต้ม  และให้ปิดประตูใส่กลอนในเวลาค่ำคืน  ฯลฯ  นอกจากนั้นยังทรงให้เสรีภาพแก่สตรีที่บรรลุนิติภาวะแล้ว  มีสิทธิเลือกสามีไดโดยบิดามารดาจะบังคับมิได้  ทรงห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาลงเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ  สำหรับเจ้าจอมหม่อมห้ามหากไม่สมัครใจก็อนุญาตให้ถวายบังคมลาไปอยู่ที่อื่นหรือแต่งงานใหม่ได้  ดังนี้เป็นต้น

                      การเลิกระบบไพร่

                               ไพร่  คือ  ราษฎรสามัญทั่วไป  ไพร่ที่เป็นชายจะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนายตามที่กฎหมายกำหนดเมื่อเกิดศึกสงคราม  ต้องเป็นทหารออกสู้รบ  ในยามสงบต้องเข้าเวรรับใช้ช่วยราชการตามกำหนดเวลาในแต่ละปี  เมื่อพ้นกำหนดแล้วจึงจะมีอิสระกลับไปอยู่กับครอบครัว  ประกอบอาชีพตามปกติของตนได้   ระบบไพร่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ไพร่  มีอยู่หลายรูปแบบ คือ

                               ไพร่หลวง    หมายถึง  ไพร่ของพระมหากษัตริย์  สังกัดอยู่ตามกรมกองต่างๆ มีข้าราชการบังคับบัญชาตามระเบียบ

                               ไพร่สม     หมายถึง  ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้เป็นไพร่ส่วนตัวของเจ้านาย (พระราชวงศ์)  หรือขุนนาง (ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่)  เพื่อรับใช้มูลนายต่างๆ  เหล่านั้นเป็นส่วนตัว

                               ไพร่ส่วย     หมายถึง  ไพร่หลวงหรือไพร่สมที่ได้รับอนุญาตให้ส่งส่วย (สิ่งของ) แทนการเข้าเวรรับใช้ช่วยราชการ

                               ในสมัยรัชกาลที่ 1  และ  2  ส่วนเก็บจากไพร่ได้นำไปเป็นสินค้าขายให้แก่ต่างประเทศ  ครั้นถึงรัชกาลที่ 4  รัฐบาลต้องเลิกระบบผูกขาดสินคร้า  ตามสนธิสัญญาที่ทำกับชาติตะวันตก  เกิดระบบการค้าเสรี  พ่อค้าชื้อสินค้าได้เอง  การเก็บส่วยเป็นสิ่งของจึงเปลี่ยนเป็นเงินแทน  เรียกว่า  ส่วยเงิน  และหลังจากทำสนธิสัญญาเบาริง  ไม่นานนัก็ยกเลิการเก็บส่วยเงิน  เปลี่ยนเป็นเก็บเงินค่าราชการแทน    แต่ระบบไพร่ก็ยังคงมีอยู่  ซึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง  เพราะไพร่ก็คือประชาชนธรรมดาทั่วไป  เมื่อต้องสังกัดอยู่กับมูลนายก็ทำให้ขาดอิสระในการประกอบอาชีพสาขาต่างๆ

                                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5  ทรงเล็งเห็นข้อจำกัดนี้  จึงทรตงยกเลิกระบบไพร่  ใน พ.ศ. 2448  ทำให้ไพร่ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของประเทศหลุดพ้นจากการควบคุมดูแลจากมูลนายหรือเจ้าของ  ไม่ต้องอยู่ในบังคับบัญชาของผู้ใดอีกต่อไป  มีอิสรเสรีที่จะเลือกสิ่งที่อยู่และเลือกประกอบอาชีพได้ตามความถนัดความสามารถของตน       การเลิกระบบไพร่จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบสังคมไทย  ทำให้กำลังสมองและแรงงานของสังคมมีการพัฒนาได้อย่างเสรี  การศึกษาเล่าเรียน  และการประกอบอาชีพ  จึงเจริญก้าวหน้ารวดเร็วขึ้นนับแต่บัดนั้น

                  การเลิกทาส

                                การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมที่สำคัญในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์สมัยก่อนเปลี่ยนการปกครองได้แก่  การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5  พระองค์ทรงดำริว่า  การที่ประเทศไทยมีชนชั้นทาสเป็นการเสียเศรษฐกิจของชาติ  และทำให้ต่างชาติดุถูกและเห็นว่าประเทศไทยป่าเถื่อนดอ้ยความเจริญ  ทำให้ประเทศมหาอำนาจซึ่งกำลังคอยหาโอกาสที่จะเข้ามาครอบครองไทยอ้างได้ว่าจำเป้นต้องเข้ายึดครอง  เพื่อช่วยพัฒนาให้ทัดเทียม  ประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย  ด้วยเหตุนี้  ใน พ.ศ. 2417  พระองค์จึงทรงเริ่มออก  พระรชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย  ขึ้น  โดยกำหนดค่าตัวทาสอายุ  7-8  ปี   มีค่าตัวสูงสุด  12-14  ตำลึง  แล้วลดลงเรื่อยๆ โดยวิธีนี้จะทำให้ทาสมีโอกาสไถ่ตัวเป็นไทได้มาก  ทรงดำเนินการตามลำดับ  คือ   

                               ทรงบริจาคเงินจำนวนครึ่งเพื่อไถ่ตัวพวกทาสที่อยู่กับเจ้านายมาครบ  25  ปี  จำนวน  45  คน

                               พ.ศ. 2443  ทรงออกกฎหมาย  ให้ทาสสินไถ่อายุครบ  60  ปี   พ้นจากการเป็นทาสและห้ามขายตัวเป็นทาสอีก

                               พ.ศ. 2448   ทางออก  พระราชบัญญัติทาส  ร.ศ. 124  บังคับทั่วประเทศให้ลดค่าตัวลงเดือนละ  4  บาท  จนครบจำนวนเงิน  และให้บรรดาทาส  เป็นไททั้งหมดห้ามมีการซื้อขายทาสต่อไป

                               ปรากฏว่าการเลิกทาสในรัชกาลที่ 5   ประสบความสำเร็จอย่างดี  ทั้งนี้ก็ด้วยพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์  กล่าวคือ  ได้ทรงใช้ทางสายกลางค่อยๆ ดำเนินงานไปที่ละขั้นตอน  จึงไปเกิดเหตุการณ์รุนแรงดังเช่นที่หลายประเทศเคยประสบมา

ขนบธรรมเนียมประเพณี

                             การปรับปรุงแก้ไขประเพณีไทยโดยการรับเอาวัมนธรรมของมหาอำนาจตะวันตก  เพื่อประโยชน์ในการจัดบ้านเมืองให้ทันสมัยนั้นได้เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้อยู่หัวย รัชกาลที่ 4  ปรากฏว่ามีสิ่งใหม่ๆ  เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นหลายอย่าง  เป็นต้นว่าในเวลาเข้าเฝ้าข้าราชการด้องสวมเสื้อให้เรียบร้อย  สำหรับชาวตะวันตกก็ได้รับอนุญาตให้แสดงความเคารพโดยการถวายคำนับและนั่งเก้าอี้ได้  ราษฎรเริ่มมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ  สตรีได้รับการยกฐานะ  กล่าวคือ  มีสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามาใจสมัครและไม่มีการซื้อขายลงเป็นทาสอีกต่อไป  ปรากฏว่าความเปลี่ยนแปลงดังกบ่าวในระยะแรกๆ จะมีก็แต่เฉพาะในเมืองหลวง  ส่วนตามหัวเมืองราษฎรก็ยังคงวยึดมั่นตามประเพณีเดิม

                             ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เห็นได้ชัดเกิดขึ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5   ภายหลังการเสด็จประพาสต่างประเทศทั้งในเอเชียและยุโรปของพระองค์  ในด้านการแต่งกาย  ทรงปรับประเพณีการไว้ผมและการแต่งกายของคนไทยให้เป็นแบบสากลนิยม  คือ  ให้ผู้ชายไทยในราชสำนึกเลิกไว้ผมทรงมหาดไทย  เปลี่ยนเป็นไว้ผมอย่างฝรั่ง  โปรดเกล้าฯ ให้ช่างออกแบบดัดแปลงจากเสื้อนอกของฝรั่ง  เรียกว่า  เสื้อราชปะแตน  และสวมหมวกอย่างยุโรป  ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบนุ่งกางเกงอย่างทหารยุโรป  ทรงยกเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้าและให้ยืนเข้าเฝ้าแทน  ยกเลิกการโกนผมเมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต  คงให้มีการไว้ทุกข์เพียงอย่างเดียว  เปลี่ยนวิธีการไต่สวนของตุลาการแบบเก่า ยกเลิกจารีตนครบาล  เพราะเป็นวิธีลงโทษที่ชาวตะวันตกรังเกียจว่าทารุณ  ไร้อารยธรรม  พระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ของรัชกาลที่ 5  ในการเปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมเดิมของไทยให้เป็นไปตามคตินิยมตะวันตก  คือการเลิกทาสและเลิกระบบไพร่  ในส่วนที่เกี่ยวกับราชวงศ์โปรดให้แก้ไขประเพณีการสืบราชสันติวงศ์ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  และแต่งตั้งตำแหน่ง  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมาร  ตามแบบประเทศตะวันตกที่เรียกองค์รัชทายาทว่า  Crown Prince

                             ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  โปรดเกล้าฯ  ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัตินามสกุล  ใน พ.ศ. 2455  และต่อมาให้ใช้ พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการแทนการใช้  รัตนโกสินททร์ศก (ร.ศ.)  เช่นเดียวกับประเทศตะวันตกที่ใช้  คริสต์ศักราช (ค.ศ.)  เป็นเครื่องกำหนดนับ  ทรงเปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการเสียใหม่ให้สอดคล้องกับสากลนิยม   โดยถือเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่  กำหนดคำนำหน้าสตรีที่ยังเป็นโสดว่า  นางสาว  ผู้ที่มีสามีแล้วใช้คำว่า  นาง  และกำหนดคำนำหน้านามเด็กว่า  เด็กชาย  และ  เด็กหญิง  ขึ้นด้วย  ในด้านการแต่งกายมีการเปลี่ยนแปลงตามแบบตะวันตกมากขึ้น  ผู้หญิงนิยมนุ่งซิ่นแค่เข่า  สวมเสื้อทรงกระบอกตัวยาว  แขนสั้น  ไว้ผมบ๊อบ  แต่ส่วนใหญ่จะแต่งกันเฉพาะในราชสำนัก  ส่วนชายที่เป็นข้าราชการพลเรือน  นุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน  สวมเสื้อราชปะแตน  สวมถุงน่อง  รองเท้าหมวดสักหลาดมีปีก  หรือหมวกกะโล่

                            การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6  ได้แก่  การเปลี่ยน  ธงชาติ  กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2460  อันเป็นปีที่ไทยส่งกองทหารอาสาไปสมทบกับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรนั้น  รัชกาลที่ 6  โปรดให้ประดิษฐ์ธงชาติขึ้นใหม่  ใช้สามสี คือ  น้ำเงิน  ขาว  และแดง  ตามแบบสีธงชาติของประเทศตะวันตก  ทั้งหลายที่ใช้กันอยู่  และพระราชทานนามธงชาติแบบสามสีห้าริ้วที่ประกาศใช้ใหม่นี้ว่า  ธงไตรงค์

ศาสนา

                          พระบาทสมมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  เมื่อครั้งยังผนวชเป็นพระภิกษุนั้นได้ททรงริเริ่มปรับปรุงคณะสงฆ์ โดยทรงตั้งคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น  ครั้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงได้ทรงปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ปีเริ่มรัชกาล  การปกครองคณะสงฆ์สมัยนั้นจึงเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเจริญก้าวหน้า  ทรงวางระเบียบกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์  ให้มีวัตรปฏิบัติเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนทั่วไป  การอบรมสั่วงสอนประชาชนโดยการแสดงธรรมเทศนาก้ทรงกวดขันให้เป็นไปตามหลักธรรมคำสอนที่ถูกต้อง  มิให้ยึดถือเรื่องไร้สาระอย่างชาดก  ซึ่งเป็นนิทานเปรี่ยบเที่ยบเท่านั้น

                         ในด้านการบูรณะซ่อมแซมวัดวาอาราม  โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดที่มีสภาพเลื่อมโทรมตามหัวเมือง  ซึ่งพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นมาเมี่อครั้งเสด็จธุดงค์รวมจำนวน  51  วัด  ที่สำคัญ คือ  วัดพระปฐมเจดีย์  โปรดให้ออกแบบเจดีย์องค์ใหม่ครอบองค์พระปฐมเจดีย์องเดิมที่เป็นรูปบาตรคว่ำไว้ภายใน  สำหรับวัดที่รัชกาลที่ 4  ทรงสร้าง  ล้วนเป็นวัดในกรุงเทพฯ มี  5  วัด  คือ  วัดโสมนัสวิหาร     วัดมกุฎกษัตริยาราม   วัดปทุมวนาราม   วัดบรมนิวาส   และวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม  ซี่งเป็นวัดประจำรัชกาล

                        ต่อมาในรัชกาลที่ 5  พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อจากพระราชบิดา  ทรงปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ใหม่  โดยการประกาศใช้  พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121   เป็นการจัดการปกครองคณะสงฆ์อย่างมีระบบมากขึ้น  โดยมี  สมเด็จพระสังฆราช  เป็นประมุขและมีมหาเถรสมาคม  เป็นสมาบันบริหารปกครองดำเนินกิจการของสงฆ์ในส่วนที่ได้รับอำนาจจากฝ่ายอาณาจักร

                        ทางด้านการศึกษาของสงฆ์ก็มีความก้าวหน้าไปอีกระดับหนี่งคือ  ได้มีการจัดตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาธาตุวิทยาลัยเดิม)  เป็นสถานศึกษาชั้นสูงฝ่ายมหานิกาย  เมื่อปี  พ.ศ. 2432  และจัดตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นสถานการศึกษาชั้นสูง  ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเมื่อปี  พ.ศ. 2436  ซึ่งก่อนหน้านี้  เคยมีแต่โรงเรียนพระปริยัติธรรมเท่านั้น   นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่สงฆ์ทุกนิกายโดยเสมอภาค  มีคณะสงฆ์จีนนิกายและคณะสงฆ์ญวนนิกายเป็นอาทิ

                              การปรับปรุงการปกครองในรัชกาลที่ 6

                                     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6  ได้ทรงดำเนินพระบรมราโชบายในการปกครองตามรอยพระยุคลบาทของสมเด็จพระบรมชนกนาถ  สิ่งใดไม่ทันกับสถานการณ์ก็ทรงแก้ไขปรับปรุง  ที่ควรนำมากล้าวในที่นี้มีดังนี้

                            ราชการส่วนกลาง      ทรงตั้งกระทรวงทหารเรือ  กระทรวงมุรธาธิการ  (ซึงรัชกาลที่ 5  ยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2439)   โปรดให้ปรับปรุงกระทรวงโยธาธิการ  แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า  กระทรวงคมนาคม  และหใรวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย

                            ราชการส่วนภูมิภาค     ปรับปรุงเขตการปกครองของมณฑลบางมณฑล  และโปรดให้รวมมณฑลที่อยู่ติดกันหลายๆ มณฑลตั้งขึ้นเป็น  ภาค  แต่ละภาคใต้มี  อุปราช  มีอำนาจเหนือ  สมุหเทศาภิบาล  ในภาคนั้น  และเปลี่ยน  เมือง  เป็นจังหวัด

                           การวางรากฐานประชาธิปไตยในรัชกาลที่ 6        รัชกาลที่ 6  ได้ทรงมีพระราชดำริและทรงเลือกวิธีการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยก่อนพระองค์จะทรงสำเร็จการศึกษาในประเทศอังกฤษ และเสด็จกลับประเทศไทยเสียอีกหลังจากขึ้นครองราชย์ได้  8  ปี  คือ  ใน พ.ศ.  2461   ได้ทรงผังเมืองสมมุติย่อส่วนลงเป็นเมืองตุ๊กตาในพื้นที่  3  ไร่เศษ  ในพระราชวังดุสิตและพระราชทานนามว่า  ดุสิตธานี และทรงจัดให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามา  ธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนคราภิบาล (ดุสิตธานี)  พระพุทธศักราช 2461   ให้เมืองนี้มี  สภา  โดยมีเชษฐบุรุษ  คือ  ผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งของราษฎรในแต่ละอำเภอ  และ  คณะนคราภิบาล  ทำหน้าที่บริหาร  ประกอบด้วยเชษฐบุรุษที่ได้รับเลือกจากสภา

                          ภายหลังดุสิตธานีย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไทย  แล้วเลือกไปเมื่อ  พ.ศ. 2468     กล่าวได้ว่ากาลที่รัชกาลที่ 6  ทรงจัดตั้งดุสิตธานีนั้นด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะเผยแพรให้การศึกษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเชิงปฎิบัติ  เพื่อให้ข้ารชบริพารเรียนรู้  เข้าใจกระบวนการปกครองระบอบประชาธิปไตยเกี่ยกับพรรคการเมือง  สภา  คณะบริหาร  ฝ่ายบริหาร  ฝ่ายค้าน  และแสดงความคิดเห็นโดยเสรีด้วยการออกหนังสือพิมพ์  นอกจากนี้ยังได้ทรงริเริ่มการศึกษาภาคบังคับให้เข้าถึงประชาชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  เพื่อให้เป็นพื้นฐานการปกครองระบอบนี้โดยแท้จริง

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (กฎหมาย และ การศาล)

                         ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4    ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาวยุโรปเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยนั้น  แม้พระองค์จะได้ทรงออกประกาศและตรากฎหมายต่างๆ  ขึ้นใช้บังคับมากมายแต่เนื่องจากไทยเรายังมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแบบที่เรียกว่า  จารีตนครบาล  คือ  การพิจารณาคดีที่ถือว่าผูใดถูกกล่าวหา  ผู้นั้นต้องหาพยานหลักฐานมาแสดงให้ได้ว่าตนบริสุทธิ์  และมีการกระทำทารุณ  เพื่อให้รัรบสารภาพว่าทำผิด  เช่น  ตอกเล็บ  บีบขมับ  จนกว่าจะรับสารภาพ  เป็นต้น  ซี่งชาวต่างประเทศเห็นว่าป่าเถือนไร้อารยธรรม  จึงไม่ยอมให้ใช้กับคนในบังคับของตน  ทำให้ไทยต้องเสีย สิทธิสภาพนอกอาณาเขต  คือ  ไทยต้องยอมให้ชาวต่างประเทศตั้งศาลกงสุลขึ้นพิจารณาคดีคนของเขาหรือคนในบังคับของเขาตามกฏหมายของเขาเอง  ซึ่งเท่ากับไทยเสียเอกราชทางด้านศาล

                          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  จึงทรงพยายามดำเนินการแก้ไขด้วยวิธีต่างๆ  เช่น  โปรดเกล้าฯ  ให้สถาปนากระทรวงยุติธรรมขึ้นใน พ.ศ. 2434  หลังจากนั้นจึงทรงปฏิรูปกฎหมาย  โดยจ้างนักกฎหมายชาวยุโรปและชาวญี่ปุ่นมาช่วยด้วย

                          การปฏิรูปกฎหมาย         การปฏิรูปกฎหมายไทยเริ่มใน  พ.ศ. 2440  โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์  เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเจ้าจอมมารดาตลับ  หลังจากสำเร็จวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ  ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม  กรมหลวงราชบุรีฯ ได้ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้น  และดำเนินการสอนเอง (โรงเรียนกฎหมายแห่งนี้ต่อมาได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)  ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายลักษณะอาญา  ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2451  จัดเป็นกฎหมายแบบใหม่และทันสมัยที่สุดฉบับแรกของไทย  ต่อมาได้ประกาศใช้กฏหมายอีกหลายฉบับ  เช่น พระราชบัญญัติลักษระปกครองท้องที่  ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440)  พระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ  ร.ศ. 120  (พ.ศ. 2444)  กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส พ.ศ. 2448 ฯลฯ  นอกจากนี้ยังได้ปฏิรูปภาษากฎหมายไทยให้รัดกุม  ชัดเจน  และเหมาะสมยิ่งขึ้น  จนภายหลังกรมหลวงราชบุรีฯ  ได้รับยกย่องว่าเป็น พระบิดาแห่งกฏหมายและการศาลไทย

                         ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6  ได้โปรดเกล้าฯ  ให้ดำเนินงานร่างประมวลกฎหมายเพ่งและพานิชย์ต่อจากที่ทำไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5  และได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมร่างกฎหมายขึ้นใน พ.ศ. 2466

                         การปฏิรูปการศาล        เดิมกิจการศาลอยู่กระจัดกระจายในกรมหรือกระทรวงต่งๆ  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว  รัชกาลที่5  ทรงตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นใน พ.ศ. 2434   จึงนำมารวมไว้ในกระทรวงนี้และมีการยุบรวม  ปรับปรุงศาล  เพื่อให้ทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น  และตราพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2451   ให้มีศาลฎีกา  ศาลสถิตยุติธรรมกรุงเทพฯ  และศาลหัวเมือง

                         ต่อมามีการจัดระบบศาลใหม่ใน  พ.ศ. 2455    ให้มีศาลในกระทรวงยุติธรรม  2  แผนก  คือ  ศาลยุติธรรมกรุงเพทฯ  (มีศาลฎีกา  ศาลอุทธรณ์  ศาลพระราชอาญา  ศาลเพ่ง  ศาลต่างประเทศ  และศาลโปริสภา)   และ  ศาลหัวเมือง  (มีศาลมณฑล  ศาลเมือง  และศาลแขวง)     จัดเป็นรากฐานสำคัญของศาล  สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

                         ความสำเร็จในการปฏิรูประบบกฎหมายและการศสาลของไทยนั้น  นอกจากจะเป็นผลงานของพระบรมวงานุวงศ์และข้าราชการไทย  ที่มีความรู้ความสามารถ  อาทิเช่น  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์  เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมองค์แรก  และขุนหลวงพระยาไกรสี  ผู้พิพากษาไทยคนแรกที่เรียนวิชากฎหมายสำเร็จได้เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษแล้ว  ไทยังได้จ้างนักกฎหมายชาวต่างประเทศที่มีความรู้มาเป็นที่ปรึกษากฎหมายอีกด้วย  บุคคลสำคัญ  ได้แก่  นายโรลัง  ยัคมินส์  ชาวเบลเยียม  นายโตกิจิ  มาซาโอะ ชาวญี่ปุ่น   นายวิลเลียม อัลเฟรด  ตจิลเลเก  ชาวลังกา  และยอร์ช  ปาดู  ชาวฝรั่งเศส

การปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการคลัง

                           นโยบายการเปิดประเทศและการติดต่อสัมพันธ์กับบรรดามหาอำนาจตะวันตกในรัชกาลที่ 4   เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจของไทยอย่างใหญ่หลวง  สนธิสัญญาเบาริง  ที่ทำกับอังกฤษเมื่อปี  พ.ศ. 2398  นับได้ว่าเป็นการเปิดศักราชการค้าเสรีกับต่างประเทศอย่างจริงจัง  โดยเฉพาะการค้าข้าว  ซี่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของไทย  ได้มีการหักร้างถางพงในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางเพื่อเพิ่มพื้นที่การทำนา  ซึ่งต่อมาก็ได้ขยายตัวไปยังภาคอื่นๆ ด้วย  ในรัชกาลที่ 5  หลังจากการคมนาคมทางรถไฟทำได้สะดวก  มีการขุดคลองแยกเพื่อนำน้ำมาใช้ในการทำนา  และมีการตั้งกรมชลประทานขึ้นรับผิดชอบการสร้างคันคูคลอง  ซึ่งส่วนใหญ่ก้เพื่อทำนา  สมัยนั้น  ตลาดค้าข้าวไทยเฟื่องฟูมาก  กรุงเทพฯ  กลายเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ  สำหรับรัฐบาลแม้จะถูกบังคับโดยเงื่อนไขในสนธิสัญญาเบาริ่งในสมัยรัชกาลที่ 4  ซึ่งกำหนดให้ไทยเรียกเก็บภาษีขาเข้าในอัตราเพียงไม่เกินร้อยละ  3  ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำ  แต่การเก็บในอัตราต่ำเช่นนี้เป็นสิ่งส่งเสริม  ให้มีเรือเข้ามาติดต่อค้าขายมากกว่าแต่ก่อนถึงปีละร้อยกว่าลำ  ทำให้ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า  แต่เนื่องจากการจัดเก็บภาษียังไม่รัดกุมพอ  เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5  พระองค์จึงตั้ง หอรัษฎากรพิพัฒน์  ขึ้นใน พ.ศ. 2416   เพื่อรวบรวมภาษีอากรทุกชนิดจากทุกหน่วยงานมาไว้ที่เดียวกัน  และได้ตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับภาษีอากรหลายฉบับ  มีการกำหนดอัตราการเก็บที่แน่นอน  รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน  ทำให้รัฐบาลมีรยได้เพิ่มขึ้น

                          ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและการค้าที่เกิดขั้นอย่างรวดเร็วในสมัยรัชกาลที่ 4  นั้น  ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและอื่นๆ ตามมามากมาย  ในที่นี้จะขอยกมากกล่าวบางประการที่เห็นว่าสำคัญและเกี่ยวเนื่องกัน

                          การเปลี่ยนแปลงระบบการเงิน         การที่มีเรือสินค้าต่างประเทศนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายและซื้อสินค้าไทยออกไปเป็นเงินคราวละมากๆ  ทำให้   เงินพดด้วง   ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายมีปริมาณไม่เพีงพอกับความต้องการ  เพราะพระคลังมหาสมบัติไม่สามารถผลิตได้ทัน จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินของประเทศเสียใหม่  รัชกาลที่ 4  จึงได้สั่งซื้อเครื่องจักรเข้ามาผลิตเหรียญกษาปณ์  เมื่อปี พ.ศ. 2400  อย่างไรก็ตาม  เงินพดด้วงก็ยังคงใช้ต่อมาเพิ่มจะมีประกาศเลิกใช้ในรัชกาลที่ 5  ใน พ.ศ. 2447  ภายหลังจากที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญอย่างใหม่ เป็นเหรียญ  บาท  สลึง  และ  สตางค์   ขึ้น   ทรงเปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยมกำหนดให้  1  บาท  มี  100  สตางค์  หลังจากนั้นจึงโปรดให้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้อย่างจริงจัง  โดยการตราพระราชบัญญัติธนบัตร พ.ศ. 2445  และได้ประกาศใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงินในปี  พ.ศ. 2451

                        การจัดตั้งธนาคารและคลังออมสิน        ในสมัยรัชกาลที่ 5   ได้มีการจัดตั้งธนาคารขึ้นครั้งแรกใน  พ.ศ. 2431  ดำเนินการโดยชาวต่างประเทศ  ต่อมาใน พ.ศ. 2449  พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระองค์เจ้าไชยันตมงคล)  ได้เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารแห่งแรกที่ดำเนินการโดยคนไทยชื่อ  บุคคลัภย์   (Book Club)  ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้จดทะเบียนตั้งเป็นธนาคารได้ถูกต้องตามกฏหมาย  ใช้ชื่อว่า บริษัทแบงค์สยามกัมมาจล  ทันจำกัด (Siam Commercial Co.Ltd.)  ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด

                        ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่   ได้มีการจัดตั้งคลังออมสินขึ้นใน พ.ศ. 2456  ตามพระราชบัญญัติออมสิน  และได้วิวัฒนาการเป็นธนาคารออมสิน  ในปัจจุบัน

                        การปฏิรูปด้านการสาธารณูปการ  และการสาธารณสุข         การสาธารณูประการ  เช่น  การคมนาคมสื่อสาร  การประปา  ไฟฟ้า  และการสาธารณสุข  นับเป็นปัจจัยพื้นฐานการอยู่ดีกินดีของประชาชน  การริเริ่มปรับปรุงมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4  และสำเร็จเกือบบริบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่5

                                     การคมนาคม      

                                               การขุดคลอง        การคมนาคมทางน้ำได้รับการบำรุงและขยายออกไปมากไปมากในตอนต้นรัชกาลที่ 4  เพราะยังเป็นเส้นทางที่ใช้กันแพร่หลาย  โปรดให้มีการ   ขุดคลอง   ในกรุงเพิ่มเติม  คือ  คลองผดุงกรังเกษม  เพื่อประโยชน์ในการตั้งบ้านเรือนและการทำมาค้าขายของราษฎรที่ออกไปอยู่ในเขตที่ขยายใหม่  ให้ขุดคลองถนนตรง  (คือ  คลองหัวลำโพง  ซึ่งขณะนี้ถมเสียจนถึงคลองเตยเพื่อขยายถนนพระราม 4)   เพื่อเป็นทางถัดในการสัญจร  สำหรับชาวตะวันตกที่ถูกกำหนดให้อยู่ทางด้านใต้พระนคร  นอกจากนั้นยังมีการขุดคลองเชื่อมกรุงเทพฯ  หัวเมืองใกล้เคียง  คือ  คลองมหาสวัสิ์  คลองภาษีเจริญ  และคลองดำเนินสะดวก

                                              การสร้างถนน      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  โปรดให้เริ่มสร้างถนนที่ใช้ได้ทุกฤดูกาลตามแบบตะวันตก  ด้วยทรงพระราชดำริว่าเพื่ออำนวยประโยชน์ให้ชาวยุโรปที่เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ  มากขึ้นทุกปีและเพื่อให้เป็นที่เจริญตา  ไม่ขายหน้าแก่นานาประเทศ  ทั้งบ้านเมืองก็จะได้งดงามขึ้นถนนที่สร้างครั้งแรกใน พ.ศ. 2404  มี  3  สาย  คือ  ถนนเจริญกรุง  ถนนหัวลำโพง  (ปัจจุบันคือถนนพระราม 4)  และถนนสีลม  ถัดจากนั้นอีกสองปีจึงได้สร้างถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนครเพิ่มขึ้นอีกสองสาย

                                            การสร้างรถไฟ      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมรถไฟขึ้นใน พ.ศ. 2433  พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเปิดเดินรถไฟหลวงเป็นครั้งแรกระหว่างกรุงเทพฯ-อยุธยา  เมื่อวันที่  26  มีนาคม  2439   หลังจากนั้นก็มีการสร้างทางรถไฟไปยังภูมิภาคต่างๆ สรุปได้ดังนี้

                                                                       สายตะวันออกเฉียงเหนือ  ถึงเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. 2443

                                                                       สายเหนือ   ถึงอุตรดิตถ์  ใน พ.ศ. 2432

                                                                      สายใต้  ถึงเมืองเพชรบุรี ใน พ.ศ. 2442  (ถึงพัทลุง-สงขลา ในสมัยรัชกาลที่ 6)

                                                                      สายตะวันออก  ถึงเมืองฉะเชิงเทรา ใน พ.ศ. 2430

                                        รถราง     กิจการรถรางในกรุงเทพฯ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ทรงให้สัมปทานบริษัทเดนมาร์กเดินรถรางในเขตกรุงเทพมหานคร  ใน พ.ศ. 2430  (ครังแรกๆ ใช้ม้าลาก  ภายหลังเปลี่ยนเป็นใช้ไฟฟ้า)

                                       การไปรษณีย์โทรเลข     ใน พ.ศ. 2426   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  โปรดเกล้าฯ  ให้ตั้งกรมไปรษณีย์  และกรมโทรเลขขึ้น  และได้เข้าร่วมเป็นภาคีของโทรเลขสากลใน พ.ศ. 2428  ภายหลังรวมกรมทั้งสองเข้าด้วยกันใน พ.ศ. 2441  เรียกว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข

                       ๏ การสาธารณูปโภค

                                        การประปา      การประปาเริ่มมีครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4  แต่เป็นการประปาที่ใช้ในเขตพระราชวังเท่านั้น  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการประปาแก่ประชาชนทั่วไปในกรุงเพทฯ  ขี้นใน พ.ศ. 2452  โดยให้กรมคลอง  ขุดคลองเชียงราก จากบางชื่อถึงเมืองปทุมธานี  และตั้งโรงสูบน้ำที่สามเสนหลังจากนั้นก็ทยอยต่อท่อส่งน้ำประปาแก่ประชาชน (เสร็จสมบูรณ์ทั่วกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 6)

                                      การไฟฟ้า      การไฟฟ้าเริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาที่ 5  โปรดเกล้าฯ  ให้เจ้าพระยาสัรศักดิ์มนตรีเริ่มดำเนินการใน พ.ศ. 2427  ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในพระราชวังก่อน  หลังจากนั้นบริษัทเดนมาร์ก  ซึ่งเป็นผู้เดินรถรางไฟฟ้า  ได้เข้ารับเหมาติดตั้งโคมไฟฟ้าแก่สถานที่ราชการ  ที่สาธารณะ  และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ใน พ.ศ. 2440

                      ๏ การสาธารณสุข

                                    การสุขาภิบาล    ในสมัยรัชกาลที่ 4  นั้นได้เริ่มมีการสุขาภิบาลตามคำแนะนำของบาทหลวงมิชชันนารีบ้างแล้ว  แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน  เพิ่มจะปรากฏหลักฐานประกาศห้ามราษฎรทิ้งของโสโครกลงในคลอง  ใน พ.ศ. 2413  สมัยรัชกาลที่ 5  หลังจากนั้นการสุขาภิบาลก็เริ่มจริงจังขึ้น คือ

                                                     พ.ศ. 2440  ตั้งกรมสุขาภิบาลขั้นในกระทรวงนครบาล

                                                     พ.ศ. 2448  ขยายกิจการสุขาภิบาลไปยังหัวเมือง  มีการจัดการควบคุมโรคติดต่อต่างๆ เช่น โรคห่า (อหิวาตกโรค)  โรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ)   โรคหัด  และกามโรค  เป็นต้น

                                  การตั้งโรงพยาบาล     แต่เดิมนั้นพวกมิชชันนารีสอนศาสนา  ได้ตั้งโรงพยาบาลอยู่บ้างแล้วรัฐบาลตั้งโรงพยาบาลขึ้นครั้งแรกที่ริมคลองบางกอกน้อย  เรียกว่า  โรงพยาบาลวังหลัง  ซึ่งต่อมารัชกาลที่ 5  พระราชทานนามใหม่ว่า  โรงศิริราชพยาบาล  เพื่อเป้นอนุสรณ์แต่  เจ้าฟ้าศิรปราชกกุธภัณฑ์ (พระราชโอรส  ซึ่งประชวรสิ้นพระชนม์  เนื่องจากขาดแคลนด้านการพยาบาล)  หลังจากนั้นจึงตั้งกรมพยาบาล  ใน พ.ศ. 2431   ตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาด)  ใน พ.ศ. 2436  และตั้งโอสถศาลา (โรงงานเภสัชกรรม)  ใน พ.ศ. 2445

                                การตั้งโรงเรียนแพทย์       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  โปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงเรียนแพทย์ขึ้นในโรงศิริราชพยาบาล  ใน พ.ศ. 2432  เรียกว่า  โรงเรียนแทยกร  ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น  ราชแพทยาลัย (ภายหลังคือ  มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์  หรือ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบัน)

การปฏิรูปการศึกษา

                             โดยที่รัชกาลที่ 4  ทรงตระหนักว่าการที่จะสามารถเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมได้นั้น  ต้องอาศัยการจัดการศึกษาตามแบบอย่างของประเทศเหล่านั้น  จึงทรงให้สตรีมิชชันนารีชาวอเมริกันซึ่งเข้ามาตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นครูสอนภาษาอังกฤษและความรู้ทั่วไปแก่สตรีในวังขึ้น  ภายหลังได้ทรงจ้างนางแอนนา เลียวโนเวนส์ (Mrs. Anna Leonowens)    สตรีหม้ายชาวอังกฤษจากสิงคโปร์เข้ามาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ  วิทยาศาสตร์และวรรณคดีให้กับพระโอรสพระธิดา  สำหรับประชาชนทั่วไปทรงสนับสนุนให้บาทหลวงและมิชชันนารี  ตั้งโรงเรียนขึ้นสอนทั้งในพระนครและต่างจังหวัด

                             ในระยะต่อมา  แหม่มแมตตูน  ภรรยามิชชันนารีอเมริกันผู้หนึ่งในจำนวนนั้น  ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่  13  กันยายน พ.ศ. 2395  ได้รวมกับโรงเรียนของซินแส กีเอ็ง ก๊วยเซียน  ซึ่งเป็นชาวจีนที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์  โรงเรียนนี้รับนักเรียนชายลัวน  มีครูใหญ่เป็นคนไทยและสอนด้วยภาษาไทย  สถานที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลสำเหร่  จึงให้เรียกว่า โรงเรียนสำเหร่บอยคริสเตียนไฮสกูล  ต่มาย้ายมาอยู่ที่ตำบลสีลม  เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย  นับเป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย        ส่วนโรงเรียนสตรีแห่งแรก คือ  โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง   ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช  แหม่มเฮาส์  เป็นผู้ตั้งขึ้นในปี  พ.ศ. 2417     ในต่างจังหวัดพวกมิชชันนารีก็ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง  เช่น โรงเรียนปรินซ์รอแยลวิทยาลัย  และดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่  โรงเรียนผดุงราษฎร์  จังหวัดพิษณุโลก  โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จังหวัดเพชรบุรี

                             สาเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ต้องทรงปฏิรูปการศึกษาในสมัยของพระองค์ก็คือ  ทรงต้องการสร้างคนที่มีความรู้  เพื่อเข้ารับราชการในกระทรวงต่างๆ  ที่ทรงปรับปรุงใหม่  โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้น  คือ  โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก  เมื่อวันที่  6  ตุลาคม  พ.ศ. 2414  โดยพระราชทานเสื้อผ้า  และอาหารกลางวันแก่นักเรียน  ครูก็ได้ค่าจ้างด้วย  ต่อมาได้พระราชทานพระตำหนัก  เดิมที่สวนกุหลาบทางตะวันออกเฉียงใต้ของพระบรมมหาราชวังให้เป็นที่เรียน  พระราชทานนามว่า  โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)  หรือหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่  และให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในวังอีกแห่งหนึ่งโดยมีฟรานซิส จี แปดเดอร์สัน เป็นครูสอน

                             สาเหตุของการปฏิรูปการศึกษาอีกประการหนึ่งสืบเนื่องมาจากการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท  ทรงพิจารณาเห็นว่าหากคนเหล่านี้หวนกลับมาเป็นทาสอีกจะทำให้แผนการพัฒนาบ้านเมืองของพระองค์ประสบความล้มเหลวง  จึงโปรดให้ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้น  ชือ  โรงเรียนวัดมหรรณพาราม  ใน พ.ศ. 2427  โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทุกคนได้รับการศึกษา  มีวิชาความรู้นำไปประกอบอาชีพได้  และเพื่อให้บังเกิดผลโดยเร็วให้โรงเรียนใช้  แบบเรียน  6  เล่ม  ที่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย   อาจารยางกูร)  แต่งขึ้นใหม่  ถึงปี พ.ศ. 2430  ได้มีการจัดตั้ง  กรมศึกษาธิการ  ขึ้นทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษาโดยเฉพาะ  และเปลี่ยนแบบเรียนที่ใช้อยู่เดิมมาใช้  หนังสือแบบเรียนเร็ว  ของกรมหมื่นดำรงราชานุภาพแทน  ต่อมาได้มีการประกาศใช้  โครงการ  ศึกษาชาติ  อยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย  มาลากุล)  ตามแบบแผนของอังกฤษ  และโปรดเกล้าฯ ให้มีการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงขึ้น เรียกว่า คิงสกอลาซิป  ตั้งแต่ พ.ศ. 2440  เป็นประจำทุกๆ ปี ปีละ 2 คน  ส่งไปศึกษายังทวีปยุโรปหรืออเมริกา

                             การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 6       สมัยนี้ได้มีการแบ่งการศึกษาออกเป็น  2  สาย  คือ  สายสามัญ  ศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานทั่วไป  และสายวิสามัญศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพโดยเฉพาะ  โดยขยายออกไปทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  และโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการศึกษาใน  โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ตามแบบอังกฤษ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัย

                             ใน พ.ศ. 2464  ได้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา  ขึ้นใช้  กำหนดให้เด็กชาย-หญิงทั่วพระราชอาณาจักรที่มีอายุตั้งแต่  7-14  ปี   เข้าเรียนในโรงเรียนโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน  ทุกคนต้องจบชั้น  ป. 4  เมื่ออายุ  15  ปี   ถ้าผู้ปกครองคนใดฝ่าฝืนจะมีโทษ  และให้มีการศึกษาประชาบาลในแต่ละท้องถิ่น  โดยอาศัยทุนทรัพย์ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ  เรียกว่า  เงินศึกษาพลี   ทั้งนี้คนไนท้องถิ่นเป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเองแต่อยู่ในการควบคุมดุแลของรัฐบาล

                             ตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย      สำหรับการสึกษาระดับสูง  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าจ้าอยู่หัว  ทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนหรือโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเดิม  ให้เป็นสถาบันอุดมศึกษา  ให้ชื่อว่า  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย  เมื่อ  พ.ศ. 2459  เพื่อจะได้ผลิต  ผู้มีความรู้ความสามารถสูงสำหรับเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ  โดยไม่ต้องจ้างชาวต่างประเทศด้วยค่าจ้างแพงอีกต่อไป  เพราะเท่าที่ผ่านมาบางคนทำงานไม่ค่อยได้ผล  เพราะขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและปัญหาที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่

การปฏิรูปด้านสังคมและวัฒนธรรม

                            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4   ทรงเห็นความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ทันสมัยตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์  จะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและวิทยาการต่างๆ ของชาติตะวันตกและได้ทรงสนับสนุนให้ข้าราชบริพาร์ได้ศึกษาอย่างกว้างขวาง ดังนั้น  เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระเชษฐาธิราช  จึงได้ทรงปรรับปรุงประเทศให้ทันสมัย  ในนระยะแรกๆ  นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับสูง  และดูประหนึ่งว่าจะไม่เกิดประโยชน์กับราษฎรทั้งหลาย เช่น  การตัดถนนเพื่อให้ชาวตะวันตก  ขี่รถม้าตากอากาศ  และ  เพื่อจะให้บ้านเมืองงดงามขึ้น  เป็นต้น  พระองค์ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่คนทั่วไป  และอนุญาตให้รับจ้างชาวต่างประเทศได้  เพราะได้มีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามานั้งห้างขายสินค้ากันมาก  ทั้งที่เป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน  และอื่นๆ เช่น  ร้านถ่ายรูป คู่ซ่อมและต่อเรือ  สำหรับการเผยแพร่ความรู้และข่าวสารนั้น  มีหนังสือพิมพ์  บางกอกคาเลนดาร์   และ  บางกอกกรีดอคเดอร์ ของหมอบรัดเลย์ ออกจำหน่ายมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3  แล้ว

                       ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราษฎรนั้น  โดยเหตุที่พระองค์ทรงใกล้ชิดกับผู้คนทุกระดับในฐานะพระภิกษุขณะเสด็จธุดงค์ตามหัวเมือง  ตอนที่ยังทรงผนวชอยู่นั้น  ได้ทรงทราบปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรทั่วไป  เมื่อขึ้นครองราชย์จึงได้ทรงบำบัดแก้ไขให้บรรเทาเบาบางลง  เป็นต้นว่า  ทรงลดหย่อนการเกณฑ์แรงงาน  และให้มีการเสียเงินแทนการเกณฑ์แรงงานแก่ไพร่  ทำให้มีเวลาประกอบอาชีพมากขึ้น ทรงแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยและสวัสดิภาพของราษฎรด้วยการออกประกาศ  เตือนไม่ให้ทิ้งซากสัตว์ลงในแม่น้ำ  ให้ดับไฟในเตาหลังการหุงต้ม  และให้ปิดประตูใส่กลอนในเวลาค่ำคืน  ฯลฯ  นอกจากนั้นยังทรงให้เสรีภาพแก่สตรีที่บรรลุนิติภาวะแล้ว  มีสิทธิเลือกสามีไดโดยบิดามารดาจะบังคับมิได้  ทรงห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาลงเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ  สำหรับเจ้าจอมหม่อมห้ามหากไม่สมัครใจก็อนุญาตให้ถวายบังคมลาไปอยู่ที่อื่นหรือแต่งงานใหม่ได้  ดังนี้เป็นต้น

                      การเลิกระบบไพร่

                               ไพร่  คือ  ราษฎรสามัญทั่วไป  ไพร่ที่เป็นชายจะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนายตามที่กฎหมายกำหนดเมื่อเกิดศึกสงคราม  ต้องเป็นทหารออกสู้รบ  ในยามสงบต้องเข้าเวรรับใช้ช่วยราชการตามกำหนดเวลาในแต่ละปี  เมื่อพ้นกำหนดแล้วจึงจะมีอิสระกลับไปอยู่กับครอบครัว  ประกอบอาชีพตามปกติของตนได้   ระบบไพร่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ไพร่  มีอยู่หลายรูปแบบ คือ

                               ไพร่หลวง    หมายถึง  ไพร่ของพระมหากษัตริย์  สังกัดอยู่ตามกรมกองต่างๆ มีข้าราชการบังคับบัญชาตามระเบียบ

                               ไพร่สม     หมายถึง  ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้เป็นไพร่ส่วนตัวของเจ้านาย (พระราชวงศ์)  หรือขุนนาง (ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่)  เพื่อรับใช้มูลนายต่างๆ  เหล่านั้นเป็นส่วนตัว

                               ไพร่ส่วย     หมายถึง  ไพร่หลวงหรือไพร่สมที่ได้รับอนุญาตให้ส่งส่วย (สิ่งของ) แทนการเข้าเวรรับใช้ช่วยราชการ

                               ในสมัยรัชกาลที่ 1  และ  2  ส่วนเก็บจากไพร่ได้นำไปเป็นสินค้าขายให้แก่ต่างประเทศ  ครั้นถึงรัชกาลที่ 4  รัฐบาลต้องเลิกระบบผูกขาดสินคร้า  ตามสนธิสัญญาที่ทำกับชาติตะวันตก  เกิดระบบการค้าเสรี  พ่อค้าชื้อสินค้าได้เอง  การเก็บส่วยเป็นสิ่งของจึงเปลี่ยนเป็นเงินแทน เรียกว่า  ส่วยเงิน  และหลังจากทำสนธิสัญญาเบาริง  ไม่นานนัก็ยกเลิการเก็บส่วยเงิน  เปลี่ยนเป็นเก็บเงินค่าราชการแทน    แต่ระบบไพร่ก็ยังคงมีอยู่  ซึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง  เพราะไพร่ก็คือประชาชนธรรมดาทั่วไป  เมื่อต้องสังกัดอยู่กับมูลนายก็ทำให้ขาดอิสระในการประกอบอาชีพสาขาต่างๆ

                                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5  ทรงเล็งเห็นข้อจำกัดนี้  จึงทรตงยกเลิกระบบไพร่  ใน พ.ศ. 2448  ทำให้ไพร่ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของประเทศหลุดพ้นจากการควบคุมดูแลจากมูลนายหรือเจ้าของ  ไม่ต้องอยู่ในบังคับบัญชาของผู้ใดอีกต่อไป  มีอิสรเสรีที่จะเลือกสิ่งที่อยู่และเลือกประกอบอาชีพได้ตามความถนัดความสามารถของตน       การเลิกระบบไพร่จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบสังคมไทย  ทำให้กำลังสมองและแรงงานของสังคมมีการพัฒนาได้อย่างเสรี  การศึกษาเล่าเรียน  และการประกอบอาชีพ  จึงเจริญก้าวหน้ารวดเร็วขึ้นนับแต่บัดนั้น

                  การเลิกทาส

                                การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมที่สำคัญในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์สมัยก่อนเปลี่ยนการปกครองได้แก่  การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5  พระองค์ทรงดำริว่า  การที่ประเทศไทยมีชนชั้นทาสเป็นการเสียเศรษฐกิจของชาติ  และทำให้ต่างชาติดุถูกและเห็นว่าประเทศไทยป่าเถื่อนดอ้ยความเจริญ  ทำให้ประเทศมหาอำนาจซึ่งกำลังคอยหาโอกาสที่จะเข้ามาครอบครองไทยอ้างได้ว่าจำเป้นต้องเข้ายึดครอง  เพื่อช่วยพัฒนาให้ทัดเทียม  ประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย  ด้วยเหตุนี้  ใน พ.ศ. 2417  พระองค์จึงทรงเริ่มออก  พระรชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย  ขึ้น  โดยกำหนดค่าตัวทาสอายุ  7-8  ปี   มีค่าตัวสูงสุด  12-14  ตำลึง  แล้วลดลงเรื่อยๆ โดยวิธีนี้จะทำให้ทาสมีโอกาสไถ่ตัวเป็นไทได้มาก  ทรงดำเนินการตามลำดับ  คือ   

                               ทรงบริจาคเงินจำนวนครึ่งเพื่อไถ่ตัวพวกทาสที่อยู่กับเจ้านายมาครบ  25  ปี  จำนวน  45  คน

                               พ.ศ. 2443  ทรงออกกฎหมาย  ให้ทาสสินไถ่อายุครบ  60  ปี   พ้นจากการเป็นทาสและห้ามขายตัวเป็นทาสอีก

                               พ.ศ. 2448   ทางออก  พระราชบัญญัติทาส  ร.ศ. 124  บังคับทั่วประเทศให้ลดค่าตัวลงเดือนละ  4  บาท  จนครบจำนวนเงิน  และให้บรรดาทาส  เป็นไททั้งหมดห้ามมีการซื้อขายทาสต่อไป

                               ปรากฏว่าการเลิกทาสในรัชกาลที่ 5   ประสบความสำเร็จอย่างดี  ทั้งนี้ก็ด้วยพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์  กล่าวคือ  ได้ทรงใช้ทางสายกลางค่อยๆ ดำเนินงานไปที่ละขั้นตอน  จึงไปเกิดเหตุการณ์รุนแรงดังเช่นที่หลายประเทศเคยประสบมา

ขนบธรรมเนียมประเพณี

                             การปรับปรุงแก้ไขประเพณีไทยโดยการรับเอาวัมนธรรมของมหาอำนาจตะวันตก  เพื่อประโยชน์ในการจัดบ้านเมืองให้ทันสมัยนั้นได้เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้อยู่หัวย รัชกาลที่ 4  ปรากฏว่ามีสิ่งใหม่ๆ  เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นหลายอย่าง  เป็นต้นว่าในเวลาเข้าเฝ้าข้าราชการด้องสวมเสื้อให้เรียบร้อย  สำหรับชาวตะวันตกก็ได้รับอนุญาตให้แสดงความเคารพโดยการถวายคำนับและนั่งเก้าอี้ได้  ราษฎรเริ่มมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ  สตรีได้รับการยกฐานะ  กล่าวคือ  มีสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามาใจสมัครและไม่มีการซื้อขายลงเป็นทาสอีกต่อไป  ปรากฏว่าความเปลี่ยนแปลงดังกบ่าวในระยะแรกๆ จะมีก็แต่เฉพาะในเมืองหลวง  ส่วนตามหัวเมืองราษฎรก็ยังคงวยึดมั่นตามประเพณีเดิม

                             ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เห็นได้ชัดเกิดขึ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5   ภายหลังการเสด็จประพาสต่างประเทศทั้งในเอเชียและยุโรปของพระองค์  ในด้านการแต่งกาย  ทรงปรับประเพณีการไว้ผมและการแต่งกายของคนไทยให้เป็นแบบสากลนิยม  คือ  ให้ผู้ชายไทยในราชสำนึกเลิกไว้ผมทรงมหาดไทย  เปลี่ยนเป็นไว้ผมอย่างฝรั่ง  โปรดเกล้าฯ ให้ช่างออกแบบดัดแปลงจากเสื้อนอกของฝรั่ง  เรียกว่า  เสื้อราชปะแตน  และสวมหมวกอย่างยุโรป  ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบนุ่งกางเกงอย่างทหารยุโรป  ทรงยกเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้าและให้ยืนเข้าเฝ้าแทน  ยกเลิกการโกนผมเมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต  คงให้มีการไว้ทุกข์เพียงอย่างเดียว  เปลี่ยนวิธีการไต่สวนของตุลาการแบบเก่า  ยกเลิกจารีตนครบาล  เพราะเป็นวิธีลงโทษที่ชาวตะวันตกรังเกียจว่าทารุณ  ไร้อารยธรรม  พระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ของรัชกาลที่ 5  ในการเปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมเดิมของไทยให้เป็นไปตามคตินิยมตะวันตก  คือการเลิกทาสและเลิกระบบไพร่  ในส่วนที่เกี่ยวกับราชวงศ์โปรดให้แก้ไขประเพณีการสืบราชสันติวงศ์ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  และแต่งตั้งตำแหน่ง  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมาร  ตามแบบประเทศตะวันตกที่เรียกองค์รัชทายาทว่า  Crown Prince

                             ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  โปรดเกล้าฯ  ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัตินามสกุล  ใน พ.ศ. 2455  และต่อมาให้ใช้ พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการแทนการใช้  รัตนโกสินททร์ศก (ร.ศ.)  เช่นเดียวกับประเทศตะวันตกที่ใช้  คริสต์ศักราช (ค.ศ.)  เป็นเครื่องกำหนดนับ  ทรงเปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการเสียใหม่ให้สอดคล้องกับสากลนิยม   โดยถือเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่  กำหนดคำนำหน้าสตรีที่ยังเป็นโสดว่า  นางสาว  ผู้ที่มีสามีแล้วใช้คำว่า  นาง  และกำหนดคำนำหน้านามเด็กว่า  เด็กชาย  และ  เด็กหญิง  ขึ้นด้วย  ในด้านการแต่งกายมีการเปลี่ยนแปลงตามแบบตะวันตกมากขึ้น  ผู้หญิงนิยมนุ่งซิ่นแค่เข่า  สวมเสื้อทรงกระบอกตัวยาว  แขนสั้น  ไว้ผมบ๊อบ  แต่ส่วนใหญ่จะแต่งกันเฉพาะในราชสำนัก  ส่วนชายที่เป็นข้าราชการพลเรือน  นุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน  สวมเสื้อราชปะแตน  สวมถุงน่อง  รองเท้าหมวดสักหลาดมีปีก  หรือหมวกกะโล่

                            การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6  ได้แก่  การเปลี่ยน  ธงชาติ  กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2460  อันเป็นปีที่ไทยส่งกองทหารอาสาไปสมทบกับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรนั้น  รัชกาลที่ 6  โปรดให้ประดิษฐ์ธงชาติขึ้นใหม่  ใช้สามสี คือ  น้ำเงิน  ขาว  และแดง  ตามแบบสีธงชาติของประเทศตะวันตก  ทั้งหลายที่ใช้กันอยู่  และพระราชทานนามธงชาติแบบสามสีห้าริ้วที่ประกาศใช้ใหม่นี้ว่า  ธงไตรงค์

ศาสนา

                          พระบาทสมมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  เมื่อครั้งยังผนวชเป็นพระภิกษุนั้นได้ททรงริเริ่มปรับปรุงคณะสงฆ์ โดยทรงตั้งคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น  ครั้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงได้ทรงปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ปีเริ่มรัชกาล  การปกครองคณะสงฆ์สมัยนั้นจึงเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเจริญก้าวหน้า  ทรงวางระเบียบกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์  ให้มีวัตรปฏิบัติเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนทั่วไป  การอบรมสั่วงสอนประชาชนโดยการแสดงธรรมเทศนาก้ทรงกวดขันให้เป็นไปตามหลักธรรมคำสอนที่ถูกต้อง  มิให้ยึดถือเรื่องไร้สาระอย่างชาดก  ซึ่งเป็นนิทานเปรี่ยบเที่ยบเท่านั้น

                         ในด้านการบูรณะซ่อมแซมวัดวาอาราม  โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดที่มีสภาพเลื่อมโทรมตามหัวเมือง  ซึ่งพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นมาเมี่อครั้งเสด็จธุดงค์รวมจำนวน  51  วัด  ที่สำคัญ คือ  วัดพระปฐมเจดีย์  โปรดให้ออกแบบเจดีย์องค์ใหม่ครอบองค์พระปฐมเจดีย์องเดิมที่เป็นรูปบาตรคว่ำไว้ภายใน สำหรับวัดที่รัชกาลที่ 4  ทรงสร้าง  ล้วนเป็นวัดในกรุงเทพฯ มี  5  วัด  คือ  วัดโสมนัสวิหาร     วัดมกุฎกษัตริยาราม   วัดปทุมวนาราม   วัดบรมนิวาส   และวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม  ซี่งเป็นวัดประจำรัชกาล

                        ต่อมาในรัชกาลที่ 5  พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อจากพระราชบิดา  ทรงปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ใหม่  โดยการประกาศใช้  พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121   เป็นการจัดการปกครองคณะสงฆ์อย่างมีระบบมากขึ้น  โดยมี  สมเด็จพระสังฆราช  เป็นประมุขและมีมหาเถรสมาคม  เป็นสมาบันบริหารปกครองดำเนินกิจการของสงฆ์ในส่วนที่ได้รับอำนาจจากฝ่ายอาณาจักร

                        ทางด้านการศึกษาของสงฆ์ก็มีความก้าวหน้าไปอีกระดับหนี่งคือ  ได้มีการจัดตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาธาตุวิทยาลัยเดิม)  เป็นสถานศึกษาชั้นสูงฝ่ายมหานิกาย  เมื่อปี  พ.ศ. 2432  และจัดตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นสถานการศึกษาชั้นสูง  ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเมื่อปี  พ.ศ. 2436  ซึ่งก่อนหน้านี้  เคยมีแต่โรงเรียนพระปริยัติธรรมเท่านั้น   นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่สงฆ์ทุกนิกายโดยเสมอภาค  มีคณะสงฆ์จีนนิกายและคณะสงฆ์ญวนนิกายเป็นอาทิ

วรรณกรรม

                       วรรณกรรมยุคกรุงรัตโกสินทร์ก่อนเปลี่ยการปกครองเป็นยุคเริ่มต้นวรรณคดีร้อยแก้ว  และหนังสือพิมพ์  ทั้งนี้เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตกที่แพร่เข้ามา  บ้านเมืองไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4  เริ่มเดินเข้าสู่ยุคใหม่  กำลังทิ้งสภาพโบราณออกไปทุกที  งานวรรณกรรมโดยเฉพาะร้อยกรองไม่สู้จะมีชื่อเสียงและไม่อาจเทียบกับงานของกวีรุ่นก่อนได้  เนื่องจากกวีรุ่นใหม่มีน้อยลง  ซึ่งก็ปรากฏมาในสมัยรัชกาลที่ 3  แล้ว  ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์พระบาทสมาเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่ามีความสามารถในงานด้านร้อยแก้วเป็นอย่างดี  นอกเหนือไปจากความรอบรู้ในด้านพระพุทธศาสนา  ภาษาบาลี  และโหราศาสตร์  หลักฐานที่สามารถนำมาสนับสนุนคือ  ประกาศรัชกาลที่ 4  ซึ่งออกมาจำนวนมากมายตลอดรัชสมัยของพระองค์  พระราชนิพนธ์อย่างอื่นซึ่งเป็นรู้จักได้แก่  บทละคร รามเกียรติ์ ตอน พระรามเดินดง  และ ร่ายยาวมหาชาติ (บางกัณฑ์)  กวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 4  ได้แก่  หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย  อิศรางกูร ณ อยุธยา)  ผู้แต่ง  จดหมายเหตุ และ นิราศลอนดอน

                      ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5  มีสิ่งใหม่ๆ หลายอย่างที่ช่วยให้งานด้านวรรณกรรมก้าวหน้าเกิดขึ้นในบ้านเมืองเป็นต้นว่า  การตั้งโรงเรียน  การตั้งหอสมุดแห่งชาติ  และโบราณสโมสร  การพิมพ์หนังสือก็แพร่หลายไปทั่ว  งานพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 5  ที่มีคุณอย่างยิ่ง และเป็นอมตะมาจนถึงปัจจุบันนี้ คือ  พระราชพิธีสิบสองเดือน และ ไกลบ้าน  กวีสำคัญในสมัยนี้คือ  พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)  ผู้แต่งหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ขึ้นแทนจินดามณี  ซึ่งเป็นหนั้งสือเล่มเดียวที่เรามีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

                     สมัยรัชกาลที่ 6  เป็นสมัยที่วรรณกรรมรุ่งเรืองมาก  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเองทรงได้รับสมัญญาว่าเป็น มหาธีรราช  พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้ทุกแขนงทั้งที่เป็นศิลปะและวิทยาการ  ทรงสนพระทัยค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับวรรณคดีทั้งของไทยและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง  รวมทั้งทรงเรื่องแปลและวรรณกรรมการเมืองและประเทศชาติอีกมากมาย ได้ทรงตั้ง วรรณคดีสโมสร  ขั้นเป็นคู่กับ โบราณคดีสโมสร  เพื่อส่งเสริมงานด้านการประพันธ์ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น  ผลงานของพระองค์มีเป็นจำนวนมาก  ที่ดีเด่นและรู้จักกันแพร่หลายได้แก่ มัทนะพาธา  พระนลคำหลวง  วิวาห์พระสมุทร  และ  ปกิณกคดี ของ อัศวพาหุ  กวีที่สำคัญในรัชกาลที่ 6  คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ผู้ทรงนิพนธ์ไทยรบพม่า  นิทานโบราณคดี  นิราศนครวัด ฯลฯ  และ พระยาอุกปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ)  ผู้ต่าง หลักภาษาไทย (อักขรวิธี  วจีวิภาค วากยสัมพันธ์  ฉันทลักษณ์) 

                   สำหรับการพิมพ์หนังสือซึ่งพวกมิชชันนารีได้ตั้งเครื่องพิมพ์หนังสือไทยขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์และต่อมาหมอบรัดเลย์ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งเมื่อครั้งรัชกาลที่3  นั้น ต่อมาในรัชกาลที่ 4  ได้มีการตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้น และมี หนังสือพิมพ์ข่าว ครั้งแรกรวม  6  ฉบับ  เป็นหนังสือพิมพ์ของไทยเพียงฉบับเดียว คือ ราชกิจจานุเบกษา  เริ่มออกในปี พ.ศ. 2401  ในรัชกาลที่ 5 ปรากฏว่ามีหนังสือพิมพ์ทั้งรายวัน  รายปักษ์  รายสัปดาห์  รายเดือน  รวม  52  ฉบับ  ซึ่งอาจจำแนกได้เป็นสองพวกคือ  พวกที่เล็งไปทางธุรกิจจริงๆ  พวกหนี่ง  กับพวกที่ทำเป็นงานอดิเรกไม่คำนึงถึงการลงทุนอีกพวกหนึ่ง  หนังสือพิมพ์สมัยนั้นพิมพ์เรื่องทุกประเภท  เกี่ยวกับข่าว  การค้า  กฎหมาย  บันเทิง  หนังสือพิมพ์สตรีและหนังสือพิมพ์ที่เป็นกลอนล้วนก็มี

ศิลปกรรม

                   ผลงานด้านศิลปกรรมแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

                   สถาปัตยกรรม            สถาปัตยกรรมแบบไทย    สถาปัตยกรรมแบบไทยที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4   ที่สำคัญคือ  ปราสาทพระเทพบิดรในพระบรมมหาราชวัง  และเจดีย์ขนาดใหญ่  3  แห่ง  ได้แก่  พระปฐมเจดีย์  จังหวัดนครปฐม    พระมหาเจดีย์ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และเจดีย์ที่วัดสระเกศ   ที่เรียกว่า  พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)  ที่สร้างในรัชกาลที่ 5  มีวัด  3  วัด ได้แก่  วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม   วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม  วัดเทพศิรินทราวาส  และพระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์  สถาปัตยกรรมแบบไทยในรัชกาลที่ 6  ได้แก่  ตึกคณะอักษรศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  หอประชุมที่โรงเรียนวิชราวุธวิทยาลัย  ซึ่งมีรูปแบบเหมือนสิ่งก่อสร้างในวังหรือตามวัด  ยังมีผลงานอีกแห่งหนึ่ง คือ อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1  บริเวณท้องสนามหลวง

                    สถาปัตยกรรมตะวันตก      ไทยเริ่มรับเอาสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเข้ามาในรัชกาลที่ 4   จะเห็นได้จากการสร้างพระราชวังสราญรมย์  ตรงข้ามกับกำแพงพระบรมหาราชวังด้านตะวันออกและมีการสร้างสถานที่ต่างๆ  ในรูปแบบเดียวกันนี้เพิ่มขึ้นอีกหลายแห่งในรัชกาลที่ 5  เช่น  พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  ในพระบรมมหาราชวัง  ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม  พระที่นั่งอนันตสมาคม  พระรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพชรบุรี  และวัดนิเวศธรรมประวัติ ใกล้ๆ พระราชวังบางปะอิน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ผลงานสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในรัชกาลที่ 6  จะดูได้ที่พระราชวังสนามจันทร์  จังหวัดนครปฐม  และที่พระราชวังพญาไทย (ที่ตั้งของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปุจจุบัน)

                      จิตกรรม          ผลงานทางด้านจิตกรรมของช่างสมัยรัชกาลที่ 4 – รัชกาลที่ 6  ที่โดดเด่นมีตามที่ต่างๆ  หลายแห่งเป็นต้นว่า  ภาพเขียนของขรัวอินโข่ง  จิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่ 4  เป็นภาพปริศนาธรรม  ภาพฝรั่งและบ้านเมืองแบบยุโรป  ภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร  จิตรกรรมฝาผนังฝีพระหัตถ์ทรงร่างของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  จิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่ 5  ภายในพระอุโบสถวัดราชาธิวาสและภาพเขียนของจิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่  6  ที่ฝาผนังวิหารทิศที่พระปฐมเจดีย์  ภาพเขียนที่ผาผนังพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น

                     ประติมากรรม        ผลงานทางด้านประติมากรรมในสมัยรัชกาลที่ 4  ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงในรัชกาลที่ 5  ผลงานด้านนี้ที่รู้จักแพร่หลาย คือ พระพุทธชินราชจำลอง  พระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม  พระสัมพุทธพรรณีพระประธานในพระอุโบสถวัดราชาธิวาส  พระบรมรูปหล่อพระมหากษัตริย์ 4 รัชกาลในปราสาทพระเทพบิดร  และพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ฯลฯ  งานด้านประติมากรรมในรัชกาลที่ 6  ที่รู้จักกันดีก็มีอุทกทานหรือรูปนางพระธรณีบีบมวยผม เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา  รูปปั้นหล่อด้วยปูนและโลหะบริเวณพระที่นั่งอนันตสมาคม  และพระที่นั่งอัมพรสถาน  พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ในพระบรมมหาราชวัง

                   นาฎกรรม         ศิ ลปะด้านนี้ในสมัยรัชกาลที่ 5  ได้เกิดมีละครแบบใหม่ขึ้นหลายอย่าง เช่น  ละครพันทาง  ละครดึกดำบรรพ์  ละครร้องและละครพูด  ถึงสมัยรัชกาลที่ 6  ปรากฏว่ากิจการเฟื่องฟูมากโดยเฉพาะศิลปะด้านโขน  ละคร  และดนตรี  มีการตั้งโรงเรียนหลวงสอนวิชานาฎศิลป์  ทั้งคณะละครและโรงละครเกิดขึ้น  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำ  ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดไว้หลายเรื่อง  และโปรดให้ฝึกหัดประชาชนทั่วไปเล่นโขน  สมัยนั้นจึงมีทั้งโขนสมัครเล่น โขนรรดาศักดิ์  และโขนเชลยศักดิ์

การเจริญพระราชไมตรีกับประเทศมหาอำนาจในทวีปยุโรป

                      พระบาทสมด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จต่างประเทศ  โดยเฉพาะประเทศยุโรป  การเสด็จต่างประเทศนอกจากเป็นการเจริญพระราชไมตรี่แล้ว  ยังเป็นโอกาสดีที่จะเห็นความเจริญทั้งในด้านความเป็นอยู่ของประชาชน  และวิทยาการความก้าวหน้าในด้านวัตถุและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงบ้านเมืองด้วย

                       การเสด็จประพาสต่างประเทศของรัชกาลที่ 5

                       ครั้งที่ 1  เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา  พ.ศ. 2413

                       ครั้งที่ 2  เสด็จประพาสอินเดีย พ.ศ. 2420

                       ครั้งที่ 3  เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก  พ.ศ. 2440

                       ครั้งที่ 4  เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง พ.ศ. 2450

                       ในระหว่างเสด็จประพาสยุโรปนั้น  ได้ทรงปฏิบัติภารกิจเจริญพระราชไมตรีสำคัญ  คือ  ทรงเยียมประธานาธิบดีฝรั่งเศส  -ทรงเยี่ยมพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย  -ทรงเยี่ยมพระจักรพรรดิแห่งเยอรมนี  -ทรงเยี่ยมพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษ  -ทรงเยี่ยมพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย-ฮังการี  -ทรงเยี่ยมพระมาหากษัตริย์ยุโรปอื่นๆ เช่น เบลเยี่ยม  อิตาลี  เดนมาร์ก  นอร์เวย์  สวีเดน

                       ในสมัยนั้น รัชเซีย เยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี  จัดว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ  จึงทรงผูกมิตรเป็นพิเศษ  โดยเฉพาะรัสเซีย  ซึ่งเป็นประเทศใหญ่มีอิทธิพลมาก   การผูกมิตรกับชาวรัสเซีย เยอรมัน และออสเตรีย-ฮังการี  ซึ่งเป็นมหาอำนาจในยุโรป อย่างน้อยก็ทำให้ชาติมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ และฝรั่งเศส เกิดความเกรงใจไทย เป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้ไทยสามารถรักษาเอกราชไว้ได้

การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1  ในสมัยรัชกาลที่ 6

                      สงครามโลกครั้งที่ 1  เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2457  ประเทศคู่ส่งคราม คือ  ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers)  ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และตุรกี  ฝ่ายหนึ่ง กับ ฝ่ายสัมพันธมิตร (Alties)  ได้แก่ อังกฤษ  ฝรั่งเศส  รัสเซีย  อิตาลี  ญี่ปุ่น  และอีกหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย

                      ขณะสงครามเริ่มต้น  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  ได้ทรงประกาศพระบรมราโชบายรักษาความเป็นกลางอย่างมั่นคง  ภายหลังได้เริ่มตระหนักว่าที่ตั้งของประเทศมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับมหาอำนาจคู่สงคราม  ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่ไทยจะได้รับหากประกาศตัวเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร  กล่าวคือ  ถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ  ประเทศไทยจะสามารถเรียกร้องสิทธิต่างๆ ได้  โดยเฉพาะการขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ทำไว้กับนานาประเทศ  ดังนั้นในวันที่  22  กรกฎาคม  พ.ศ.2460  พระองค์จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง มีความสำคัญว่า  “เยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี  เป็นฝ่ายละเมิดเมตตาธรรมของมวลมนุษย์  มิได้มีความนับถือต่อประเทศเล็ก  ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ  และเป็นฝ่ายผู้ก่อกวนความสุขของโลก”

                       การตัดสินพระทัยของพระองค์ในครั้งนั้น  ปรากฏว่าได้รับการคัดค้านจากประชาชนทั่วไปเนื่องจากในสมัยนั้นมีคนไทยไปศึกษาต่อยังประเทศเยอรมนีเป็นจำนวนมาก  ต่างพากันอ้างว่าเยอรมนีไม่เคยสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้คนไทย  ทั้งยุทธภูมิในการรบครั้งนี้ก็อยู่ไกลมาก  เมืองไทยซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ ไม่น่ามีส่วนเกี่ยวพันด้วย  ควรอยู่อย่างสงบดีกว่า แต่ในที่สุดปรากฏว่าการคาดการณ์ของรัชกาลที่6  ถูกต้อง คือ  ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ

                        หลังจากที่ไทยประกาศสงครามแล้วไทยก็ได้จับชาวเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี   ส่งไปให้อังกฤษที่อินเดียและได้ยึดเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ของเยอรมนีซึ่งหนีมาจอดพักที่ท่าเรือกรุงเทพ  40 ลำ พร้อมกันนั้นก็ได้ส่งทหารอาสาสมัครจำนวน 1,250 คน  เข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย  อาสาสมัครของไทยเดินทางไปถึงเมืองท่ามาร์แซล  ประเทศฝรั่งเศส  ในวันที่  30  กรกฎาคม  พ.ศ. 2461  และได้ถูกส่งไปประจำการแนวหน้าร่วมกับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร  ทำหน้าที่ส่งกำลังบำรุง  ปรากฏว่าทหารไทยได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งและกล้าหาญ  ทั้งกลางวันและกลางคืนท่ามกลางหิมะ  สามารถยึดดินแดนของเยอมนีทางฝั่งซ้าย  ของแม่น้ำน้ำไรน์ได้  รัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้ตรา  ครัวซ์เตอแกร์  ประดับธงชัยเฉลิมพลเพื่อเป็นเกียรติแก่กองทัพไทย

                      ผลที่ประเทศไทยได้รับการเข้าร่วมสงคราม

                     การที่ไทยชนะสงครามร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1  นอกจากจะเป็นที่รู้จักของนานาประเทศแล้ว  ยังได้รับการยกย่องให้มีรัฐานะและสิทธิเท่าเทียมกับนานาอารยประเทศทั้งหลายด้าน  ผลประโยชน์โดยตรงที่ได้รับ  มีดังต่อไปนี้

                    1.  ได้ยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ( สนธิสัญญาเบาร์ริง ในสมัยรัชกาลที่ 4)  ของประเทศ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (ผู้แพ้สงคราม) ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ชนะสงคราม

                    2.  ได้โอกาสในการดำเนินการขอแก้สนธิสัญญาที่ทำไว้กับประเทศ  ฝ่ายสัมพันธมิตร  ในฐานะที่เป็นพันธมิตรผู้ชนะสงครามร่วมกัน

                    3.  ได้รับเงินค่าปิกรรมสงคราม  2  ล้านบาท

                    4.  ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมประชุมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส  และไดรับเชิญให้เป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (ต่อมาคือองค์การสหประชาชาติ)

                    นอกจากนั้น  การได้มีโอกาสร่วมรบกับประเทศมหาอำนาจในยุโรปทำให้ได้รับประสบการณ์และความคิดใหม่ๆ สำหรับปรับปรุงกองทัพในประเทศ  เมื่อเสร็จสงครามแล้วรัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ทหารอาสา และ วงวียน 22 กรกฎา  ขึ้นเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่สำคัญครั้งนี้

การปูพื้นฐานประชาธิปไตย

                    สมัยรัชกาลที่ 5

                       การรับอารยธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5  ก่อให้เกิดการยอมรับความคิดของผู้อื่น ซึ่งเท่ากับเป็นการปูพื้นฐานประชาธิปไตย พอสรุปได้ ดังนี้

                       1.  ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้น  2  สภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State)  และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council)  เพื่อแสดงการยอมรับฟังความคิดเห็นของผุ้อื่น  แม้สมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์แต่ก็นับเป็นการเริ่มระบอบประชาธิปไตย

                       2.  ทรงเป็นผู้นำกลุ่ม สยามหนุ่ม (Young Siam)  ในการต่อสุ้ทางความคิดเห็นกับคนรุ่นเก่าที่มักไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง  และออกหนังสือชื่อ ดรุโณวาท เพื่อเผยแพร่แนวคิดใหม่

                       3.  ทรงยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มคนหนุ่มที่มีความคิดก้าวหน้ากลุ่มสำคัญกลุ่มหนึ่ง  ซึ่งประกอบด้วยพระราชวงศ์  และข้าราชการสามัญ  ทรงยอมฟังว่า  หนทางที่ประเทศไทยจะรักษาเอกราชไว้ได้หนทางหนึ่งนั้น คือ  การปรับระบบข้าราชการ  และเปลี่ยนการปกครองแบบ  แอบโสลูตโมนากี (สมบูรณาญาสิทธิราชย์)  เป็นแบบ  คอนสติติวชันแนลโมนากี (พระมหากษัตริย์อยุ่ภายใต้รัฐธรรมนูญ)  แม้จะยังไม่ทรงสามารถปฎิบัติตามในขณะนั้นได้ก็ตาม

                      4.  ทรงออกพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ. 2440   ซึ่งมีสาระสำคัญส่วหนึ่ง คือ ให้มีการเลือกตั้งกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  ซึ่งจัดว่าเป็นการปูพื้นฐานประชาธิปไตยที่ชัดเจน

                 สมัยรัชกาลที่ 6

                      ในสช่วงสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้อายู่หัว รัชกาลที่ 6  ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญของโลก  ที่แสดงพลังอำนาจของประชาชนเป็นกระแสประชาธิปไตยที่รุนแรง กล่าวคือ ใน พ.ศ. 2451 (ก่อนขึ้นครองราชย์ 2 ปี)  ประเทศตุรกีก็ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นแบบประชาธิปไตย  ใน พ.ศ. 2454  เกิดการปฏิวัติในประเทศจีนขับไล่พระจักรพรรดิเปลี่ยนแปลงเป็นสาธารณรัฐ  และใน พ.ศ. 2460  พระองค์ก็ได้ทรงทราบถึงการปฏิวัติใหญ่ของพรรคบอลเซวิก ล้มล้างอำนาจ และปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์และราชวงศ์ เกิดการนองเลือดไปทั่วแผ่นดินรัสเซีย  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  ทรงทราบดีว่ามีกลุ่มประชาชนคนไทยจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง  เม้จะทรงเห็นด้วย แต่ความรู้เรื่องประชาธิปไตยจำกัดขอบเขตอยู่ในคนส่วนน้อยเท่านั้น  จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย  เพื่อเผยแพร่ประชาธิปไตย เป็น  3  วิธี คือ

                    1. ทรงตั้งดุสิตธานี  เพื่อจำลองการปกครองแบบประชาธิปไตย   ดุสิตธานีเป้นเมิองจำลองหรือเมืองตุ๊กตา  โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2461  บนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่  ในพระราชวังดุสิต (ภายหลังย้ายไปที่วังพญาไท)  มีถนน  อาคารสถานที่ราชการ  ร้านค้า  และบ้านเรือนเหมือนเมืองจริงๆ  แต่ย่อส่วนให้เล็กลงพอเดินดูเห็นไปหมดทั้งเมือง  แล้วสมมุติให้ข้าราช่บริพาร  ขุนนาง  มหาดเล้กของพระองค์เป็นราษฎรของเมืองนี้  จัดให้มีการเลือกตั้ง  สภานคราภิบาล  ทำหน้าที่ปกครองเมือง  มีการออกกฎหมายจัดระบบภาษีอากร  ระบบการรักษาพยาบาล  และกระบวนการต่างๆ  ของเมืองประชาธิปไตย  มีการเรียกประชุมราษฎรสมมุติเหล่านั้น  มาร่วมกันเลือกตั้ง  และแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญของดุสิตธานี  มีการอภิปรายถกเถียงกันระหว่างคณะนคราภิบาล กับฝ่ายค้านเพื่อเป็นแบบอย่างให้คนทั้งหลายได้เห็นและคุ้นเคยกับกระบวนการประชาธิปไตย  เป็นการสอนหลักประชาธิปไตยแก่ประชาชน  แต่อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  ทรงโปรดการเล่นละครอยู่แล้วคนทั่วไปจึงพากันเข้าใจว่าดุสิตธานีเป็นการเล่นละครอย่างหนึ่งเท่านั้น  จึงไม่ได้ผลในทางปลูกฝังประชาธิปไตยมากนัก

                   2.  ทรงเขียนบทความหนังสือพิมพ์   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  ทรงเป็นนักอักษรศาสตร์  นอกจากจะทรงมีพระปรีชาสามารถในทางพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง  ทรงเขียนบทความทางการเมืองตอบโต้กับคนทั่วไปรวมทั้งคนหัวใหม่สามัญชน  แม้พระองค์จะทรงใช้พระนามแฝงแต่คนทั่วไปก็ทราบดีว่าผู้เขียน  คือ  พระองค์  นับเป็นการสร้างควมรู้สึกที่ดีในหมู่พสกนิกรว่า  พระมหากษัตริย์มิได้ถือพระองค์  ทรงมีพระราชหฤทัยเป็นนักประชาธิปไตย  เป็นอีกก้าวหนึ่งในการปูพื้นฐานประชาธิปไตยของพระองค์

                 3.  พระราชทานอภัยโทษ   กบฏ ร.ศ. 130     กลุ่มผู้ก่อการกบฏ ร.ศ. 130  ส่วนใหญ่เป็นนายทหารหนุ่ม  ซึ่งมีแนวคิดสมัยใหม่ที่ค่อนข้างรุนแรง  ไม่พอใจวิธีการปกครองแบบสมบูรณาญษสิทธิราชย์ ต้องการให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอยู่แล้ว  จึงร่วมกันคบคิด  แต่ความลับรั่วไหลเสียก่อนจึงถูกจับได้ทั้งหมดจึงถูกจำคุกบ้าง  รอการลงอาญาบ้าง  แต่ภายหลังก็ทรงพระราชทานอภัยโทษให้ทั้งหมด  อีกทั้งยังแจกกางเกง  ผ้าขาวม้า  และเงิน  100  สตางค์ให้ทุกคนอีกด้วย  การพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้อาจนับได้ว่าพระองค์ทรงเล็งเห็นความปรารถนาดีของกลุ่มก่อการกบฎ  ที่ต้องการให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศจึงไม่ทรงเอาโทษ  จัดเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยอีกอย่างหนึ่งของพระองค์

บุคคลใดที่มีส่วนช่วยรัชกาลที่ 5 ในการปรับปรุงด้านกฎหมายและการศาล

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินการปฏิรูปศาลไทย โดยปรับปรุงให้ศาลมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี พระกรณียกิจในการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล ทำให้ทรงได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” ทรงเป็นต้นราชสกุล รพีพัฒน์

ชาวตะวันตกชาติใดที่เข้ามามีบทบาทต่อไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่การค้าของโปรตุเกสในไทยไม่เจริญก้าวหน้ามากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

เหตุผลในข้อใดที่ทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงต้องปฏิรูปการคลัง

ทำไม รัชกาลที่ 5 ทรงต้องปฏิรูปการคลัง ต้องการนำเงินมาพัฒนาประเทศ ต้องการการยอมรับจากชาติตะวันตก ควบคุมการใช้จ่ายของเจ้านายและขุนนาง

เหตุผลที่รัชกาลที่ 4

ต้องการความเป็นหนึ่งในภูมิภาค ป้องกันการคุกคามของชาติตะวันตก เห็นตัวอย่างสังคมไพร่มาเลเซียปรับปรุงประเทศ ไทยต้องการให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf