เมนู หลัก สํา คั ญ ของ Google Classroom มี กี่ ส่วน อะไร บ้าง

403 views /   1 likes /  October 27, 2021/

Google Classroom คืออะไร

Classroom เป็นบริการสำหรับ Google Apps for Education ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือที่มี ประสิทธิภาพ ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้สอนสามารถสร้างและเก็บงานได้โดยไม่ต้องสิ้นเปลือง กระดาษ มีคุณลักษณะที่ช่วยประหยัดเวลา เช่น สามารถทำสำเนาของ Google เอกสารสำหรับผู้เรียนแต่ละ คนได้โดยอัตโนมัติ โดยระบบจะสร้างโฟลเดอร์ของไดร์ฟสำหรับแต่ละงานและผู้เรียนแต่ละคนเพื่อช่วยจัด ระเบียบใหผู้เรียนสามารถติดตามว่ามีอะไรครบกำหนดบ้างในหน้างาน และเริ่มทำงานได้ด้วยการคลิกเพียง ครั้งเดียว ผู้สอนสามารถดูได้อย่างรวดเร็วว่าใครทำงานเสร็จหรือไม่เสร็จบ้าง ตลอดจนสามารถแสดงความ คิดเห็นและให้คะแนนโดยตรงได้แบบเรียลไทม์ใน Google Classroom

ประโยชน์ของการใช้งาน Google Classroom

1. ตั้งค่าได้ง่ายดาย ผู้สอนสามารถเพิ่มผู้เรียนได้โดยตรง หรือแชร์รหัสเพื่อให้ผู้เรียนเข้าชั้นเรียนได้ การตั้งค่าใช้เวลาเพียงครู่เดียว
2. ประหยัดเวลา กระบวนการของงานเรียบง่าย ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ทำให้ผู้สอนสร้าง ตรวจ และ ให้คะแนนงานได้อย่างรวดเร็วในที่เดี่ยวกัน
3. ช่วยจัดระเบียบ ผู้เรียนสามารถดูงานทั้งหมดของตนเองได้ในหน้างาน และเนื้อหาสำหรับชั้นเรียน ทั้งหมดจะถูกจัดเก็บในโฟลเดอร์ภายใน Google ไดร์ฟโดยอัตโนมัติ
4. สื่อสารกันได้ดียิ่งขึ้น Classroom ทำให้ผู้สอนสามารถส่งประกาศและเริ่มการพูดคุยในชั้นเรียนได้ ทันที ผู้เรียนสามารถแชร์แหล่งข้อมูลกันหรือตอบคำถามในสตรีมได้
5. ประหยัดและปลอดภัย เช่นเดียวกับบริการอื่นๆ ของ Google Apps for Education คือClassroom จะไม่แสดงโฆษณา ไม่ใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของผู้เรียนในการโฆษณา และให้บริการฟรีสำหรับ มหาวิทยาลัย

การสร้างชั้นเรียน

สำหรับการใช้งาน Google Classroom ในบทบาทของผู้สอนนั้นสามารถทำได้ดังนี้

  1. สร้างชั้นเรียนออนไลน์สำหรับรายวิชานั้นๆ ได้
  2. เพิ่มรายชื่อผู้เรียนจากบัญชีของ Google เข้ามาอยู่ในชั้นเรียนได้
  3. สามารถกำหนดรหัสผ่านให้ผู้เรียนนำไปใช้เพื่อเข้าชั้นเรียนเองได้
  4. สามารถตั้งโจทย์ มอบหมายการบ้านให้ผู้เรียนทา โดยสามารถแนบไฟล์และกำหนดวันที่ส่งการบ้านได้
  5. ผู้เรียนเข้ามาทำการบ้านใน Google Docs และส่งเข้า Google Drive ของผู้สอน โดยจะจัดเก็บ ไฟล์งานให้อย่างเป็นระบบภายใต้ Folder “Classroom”
  6. สามารถเข้ามาดูจำนวนผู้เรียนที่ส่งการบ้านภายในกำหนดและยังไม่ได้ส่งได้
  7. ตรวจการบ้านของผู้เรียนแต่ละคน พร้อมทั้งให้คะแนนและคำแนะนำได้
  8. สามารถเชิญผู้สอนท่านอื่นเข้าร่วมในชั้นเรียนเพื่อร่วมกันจัดการเรียนการสอนได้
  9. ปรับแต่งรูปแบบของชั้นเรียนตามธีมหรือจากภาพส่วนตัวได้
  10. สามารถใช้งานบนมือถือ ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ได้สำหรับ Google Classroom ผู้สอนไม่จำเป็นต้องรู้วิธีการเขียนโค้ดหรือสร้างเว็บไซต์หรือสับสนกับ

ขั้นตอนมากมายที่ต้องใช้ในการสร้างชั้นเรียน สำหรับ Google Classroom เป็นเรื่องง่ายในการสร้างชั้นเรียน เพียงแค่คลิกที่ปุ่มและการเพิ่มข้อความบางส่วน

ขั้นตอนการสร้างชั้นเรียน ด้วย Google Classroom

  1. เข้าสู่ Google Classroom ที่ //classroom.google.com/ ด้วย Browser Google Chrome
  2. ดำเนินการ login ด้วย user ที่เป็น @rmu.ac.th
    (; ) แล้วกด ถัดไป

3. เมื่อเข้าสู่ Google Classroom ครั้งแรก จะต้องดำเนินการเลือกบทบาทในการใช้งาน โดย สามารถเลือกได้ในส่วนของ เลือกบทบาทของคุณ? คลิกเลือก “ฉันเป็นครู” ในกรณีเป็นผู้สอน หรือผู้สร้างรายวิชา คลิกเลือก “ฉันเป็นนักเรียน” ในกรณีเป็นผู้เรียน

หมายเหตุ : การใช้งาน Google Classroom จะต้องระวังตอนเลือกว่าสถานะ เพราะถ้าเลือกผิดจะ ไม่สามารถแก้ไขเองได้ จะต้องให้ Admin แก้สิทธิ์ให้ (Admin ของระบบ Google ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)

4. ปรากฏหน้าต่างของ Google Classroom

5. คลิกเครื่องหมาย + ที่มุมบนด้านขวา แล้วเลือกสร้างชั้นเรียน (Create Class)

6. กรอกข้อมูลในการสร้างชั้นเรียน

  • 1. ชื่อชั้นเรียน (Class name) ชื่อชั้นเรียนหรือชื่อวิชา
  • 2. ห้อง (Section) ชื่อห้องเรียน กลุ่มเรียน หรือเวลาเรียน
  • 3. เรื่อง รายละเอียดเรื่องที่จะสอน
  • 4. เมื่อทำการกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วให้ดำเนินการคลิก “สร้าง”

หน้าจอการทำงานของ Google Classroom

หมายเลข 1

  • สตรีม: แทบเมนูการใช้งานของผู้สอนและผู้เรียน ที่ใช้ในการแจ้งข่าวสาร มอบหมายงาน ส่งงาน หรือแชร์เอกสารประกอบการสอนต่างๆ ในรายวิชานั้นๆ
  • งานของชั้นเรียน : การสร้างงาน การมอบหมายงานและสั่งงานต่างๆ
  • ผู้คน: แถบเมนูแสดงรายชื่อผู้เรียน การเพิ่มผู้เรียน เพิ่มผู้สอนร่วม รวมไปถึงแสดงรหัส ในการเข้าชั้นเรียนในรายวิชานั้นๆ
  • คะแนน : คะแนนของนักเรียนที่ส่งงานในงานนั้นๆ

หมายเลข 2 รูปแบบของ Banner ซึ่งสามารถเลือกสี รูปแบบที่มี หรือรูปแบบที่สร้างเองนำมา เป็น Banner ได้
หมายเลข 3 ชื่อรายวิชาและรหัสรายวิชา
หมายเลข 4 สร้างห้องสำหรับสอนผ่าน Google meet
หมายเลข 5 รหัสของชั้นเรียน
หมายเลข 6 การสร้างกิจกรรมกระดานเสวนาหรือการพูดคุย

การเปลี่ยน Theme หรือ Banner

การเปลี่ยน Theme หรือ Banner สามารถดำเนินการได้ดังนี้

  1. หากต้องการใช้รูปแบบที่มีให้ ให้คลิกที่ “กำหนดเอง” เลือก อัพโหลดรูปภาพ
  2. เลือกธีม เลือกภาพ เลือกรูปแบบที่ต้องการ
  3. แล้วกด เลือกธีมของชั้นเรียน

  • เมื่อทำเสร็จทุกขั้นตอนแล้วจะมีแถบแจ้งเตือนแสดงดังภาพ

การจัดการข้อมูลทั่วไปของชั้นเรียน

การสร้างงาน แบบทดสอบและคำถาม

  1. เลือกหัวข้อ “งานของชั้นเรียน”
  2. เลือก “สร้าง”
  3. เลือกสิ่งที่จะสร้างไปยังชั้นเรียน

งานของชั้นเรียน

การสร้างงาน การมอบหมายงานและสั่งงานต่างๆ

ส่วนที่ 1 ส่วนนี้สามารถแนบเอกสาร ลิงก์ และงานได้
ส่วนที่ 2 เมื่อกำหนดรายละเอียดเรียบร้อยแล้วให้กดมอบหมาย (สามารถกำหนดเวลาในการมอบหมายงานได้)

  • เมื่อสร้างงานสร็จก็จะปรากฏชื่องาน และเวลาที่สร้างงานดังภาพ

ผู้คน

แถบเมนูแสดงรายชื่อผู้เรียน การเพิ่มผู้เรียน เพิ่มผู้สอนร่วม รวมไปถึงแสดงรหัส ในการเข้าชั้นเรียนในรายวิชานั้นๆ

การเพิ่มครูผู้สอนเข้ามาร่วมในชั้นเรียนด้วย

  1. กดเลือก “ผู้คน”
  2. คลิกเลือก “เชิญครู”
  3. กรอกอีเมลครูที่จะเชิญเข้ามาร่วมห้องด้วย
  4. แล้วคลิกเลือก “เชิญ”

การเพิ่มนักเรียนเข้ามาร่วมในชั้นเรียนด้วย

  1. กดเลือก “ผู้คน”
  2. คลิกเลือก “เชิญนักเรียน”
  3. กรอกอีเมลนักเรียนที่จะเชิญเข้ามาร่วมห้องด้วย หรือคัดลอกลิงก์ส่งไปให้นักเรียนเข้าร่วม
  4. แล้วคลิกเลือก “เชิญ”

การลบนักเรียนหรือครูในชั้นเรียน

  1. คลิกเลือก “ผู้คน”
  2. คลิกเลือก “ดำเนินการ”
  3. คลิกเลือก “นำออก”
  4. จะมีแถบแจ้งเตือนขึ้นมาว่าต้องการนำออกใช่ไหม แล้วคลิกเลือก “นำออก”

คะแนน : คะแนนของนักเรียนที่ส่งงานในงานนั้นๆ

สร้างห้องสำหรับสอนผ่าน Google meet

  • เลือกสร้างลิงก์

  • พอกดสร้างลิงก์แล้วจะมีแถบแจ้งเตือนดังภาพ (จากนั้นกดบันทึก)

  • กด “เข้าร่วม”

  • เมื่อกด “เข้าร่วม” ระบบก็จะนำคุณไปยังหน้าของ Google Meet หลังจากนั้นคุณสามารถสอนได้เลย

  • กลับมาที่ Google Classroom คุณสามารถคัดลอกลิงก์ส่งให้นักเรียนเพื่อเข้าร่วมห้องเรียนได้

การจัดการลิงก์ Meet

  • สามารถ คัดลอก รีเซตลิงก์ หรือนำลิงก์ออกได้

นำลิงก์ออก

  • การนำลิงก์ออกเป็นการปิดห้องการสอนใน  Google Meet

  • เมื่อเลือกนำลิงก์ออก จะมีแถบแจ้งเตือนขึ้นมาถามอีกครั้งว่าจะนำออกหรือไม่ (กดเลือกนำออก)

  • จากนั้นลิงก์ก็จะหายไป

รหัสของชั้นเรียน

  • เป็นรหัสสำหรับผู้เรียนที่ใช้เข้าเรียน สามารถคัดลอกลิงก์ให้ผู้เรียนได้ รีเซ็ตรหัสชั้นเรียน และปิดใช้งาน

การสร้างกิจกรรมกระดานเสวนาหรือการพูดคุย

  1. คลิกลงในช่อง “ประกาศบางอย่างในชั้นเรียน”
  2. เพิ่มข้อความบางอย่างที่คุณต้องการในชั้นเรียน
  3. สามารถแนบไฟล์ ลิงก์ วิดีโอ ได้
  4. พอเสร็จขั้นตอน คลิกเลือก“โพสต์ เพื่อโพสต์ลงไปยังชั้นเรียนเลย” หรือ “กำหนดเวลา เพื่อกำหนดเวลาของโพสต์”

  • เมื่อทำการโพสต์เสร็จก็จะแสดงตามรูป

  • เราสามารถแก้ไข ลบ หรือคัดลอกลิงก์โพสต์ได้

การเก็บบันทึกรายวิชาที่สอน

  • เป็นการเก็บบันทึกข้อมูลรายวิชาเอาไว้

เข้าดูรายวิชาที่เราจัดเก็บ

1. เลือก ชั้นเรียนที่เก็บ

2. จะเห็นรายวิชาที่เราเก็บ

กู้คืน ลบ รายวิชาที่เราจัดเก็บ

การกู้คืนรายวิชาที่จัดเก็บ

  1. เลือก “กู้คืน”
  2. จะมีแถบแจ้งเตือนขึ้นมาถามอีกครั้งว่าจะกู้คืนหรือไม่ (เลือกกู้คืน)

การลบรายวิชาที่จัดเก็บ

  1. เลือก “ลบ”
  2. จะมีแถบแจ้งเตือนขึ้นมาถามอีกครั้งว่าจะกู้คืนหรือไม่ (เลือกลบ)

เมนูหลักสำคัญของ Google Classroom มีกี่ส่วนอะไรบ้าง

หน้าจอการทำงานของ Google Classroom หมายเลข 1 : ชื่อรายวิชา หมายเลข 2 : ห้องเรียน หมายเลข 3 : เมนูการใช้งานของอาจารย์และนักศึกษา หมายเลข 4 : ส่วนสำหรับประกาศ และมอบหมายงาน หมายเลข 5 : การแจ้งเตือนงานใกล้หมดเวลา หมายเลข 6 : หัวข้อที่ใช้ในการเรียนการสอน หมายเลข 7 : การจัดการลักษณะหน้าตาของชั้นเรียน

Google Classroom มีความสําคัญอย่างไร

สร้างและจัดการชั้นเรียน งาน และเกรดทางออนไลน์ได้โดยไม่ต้องใช้กระดาษ เพิ่มสื่อการสอนในงาน เช่น วิดีโอ YouTube, แบบสำรวจ Google ฟอร์ม และรายการอื่นๆ จาก Google ไดรฟ์ เพิ่มความคิดเห็นในงานได้โดยตรงแบบเรียลไทม์ ใช้สตรีมของชั้นเรียนเพื่อโพสต์ประกาศ และผลักดันให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการอภิปรายประเด็นคําถาม

Google Classroom เป็นส่วนหนึ่งของบริการในข้อใด

Google Classroom เป็นหนึ่งใน Google Apps ที่รวบรวมบริการที่สําคัญต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อสนับสนุนธุรกิจ โรงเรียน และสถาบันต่างๆ ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Google ได้อย่างหลากหลาย

การเข้าร่วมชั้นเรียน มีกี่วิธี

คุณจะเชิญนักเรียนให้ลงทะเบียนในชั้นเรียนได้ 3 วิธี ได้แก่ ส่งลิงก์คําเชิญ นักเรียนจะคลิกลิงก์เพื่อเข้าร่วมได้ ส่งคําเชิญทางอีเมล นักเรียนจะเข้าร่วมจากอีเมลหรือใน Classroom ได้ แชร์รหัสชั้นเรียน นักเรียนจะป้อนรหัสใน Classroom ได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf