หัวใจ ของหลักสูตร แกน กลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551

    หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดทําขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษานําไปเป็นกรอบและทิศทางพัฒนาหลักสูตรและ จัดการเรียนการสอน จากข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผล การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่กล่าวถึง ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 1 จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาประเทศพื้นฐานในการดำรงชีวิต การพัฒนาสมรรถนะและทักและกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขต พื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละระดับ นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น อีกทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิบัติแต่ ยังคงยึดมาตรฐานการเรียนรู้และหลักการเดิม

    หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เปลี่ยนแปลงมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ซึ่งกําหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตดี มีความสามารถแข่งขันในเวทีโลก ให้สถานศึกษามีสวนรวมในการพัฒนาหลักสูตร โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. เพิ่มวิสัยทัศน์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและปรับจุดมุ่งหมายหลักสูตรให้ ชัดเจนขึ้น ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้สถานศึกษาจัดทำวิสัยทัศน์ของหลักสูตรในระดับสถานศึกษา แต่ขาดการกำหนดวิสัยทัศน์ในระดับชาติ ทำให้เป้าหมายทิศทางของการจัดการศึกษาขาดความเป็นเอกภาพ ในการปรับปรุงจึงมีการกำหนดวิสัยทัศน์หลักสูตรในระดับชาติขึ้นเพื่อให้เป็น เป้าหมายที่ชัดเจนตรงกันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาชนของชาติ ดังนี้

"หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ"

                โดยมี จุดมุ่งหมายพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ

2.  หลักสูตรใหม เพิ่มสมรรถนะสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน มุ่งเน้นให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๕ ด้าน คือ ความสามารถในการสื่อสาร การคิดการแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี โดยครูผู้สอนต้องปลูกฝังและพัฒนาให้เกิดกับผู้เรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

3. หลักสูตรใหม่ปรับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มุ่งให้ผู้เรียนสามารถอยูร่วมกับผู้อื่นในสังคมไดอย่างมีความ สุข ลักษณะอันพึงประสงคประกอบด้วย รักชาติ ศาสน กษัตริย, ซื่อสัตยสุจริต,มีวินัย, ใฝ่เรียนรู, อยูอย่างพอเพียง, มุ่งในการทํางาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะสถานศึกษาสามารถกําหนดลักษณะอันพึงประสงคเพิ่มเติมไดโดยมุ่ง พัฒนาให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็น พลเมืองไทยและพลโลก คือ รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ

4. ปรับตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นตัวชี้วัดชั้นปี ระบุ สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ รวมทั้งลักษณะของผู้เรียนใน แตละระดับชั้นตัวชี้วัดนําไปใชในการกําหนดเนื้อหา จัดทําหน่วยการเรียนรู้การจัดการสอนเป็นเกณฑ์สําคัญสําหรับวัดผลเพื่อตรวจ สอบคุณภาพผู้เรียน ตัวชี้วัดมี 2 อย่างคือ ตัวชี้วัดชั้นปและตัวชี้วัดช่วงชั้น ตัวชี้วัดชั้นปีใชกับ ป.1 -ม.3 ตัวชี้วัดชวงชั้นใชกับ ม.4- ม.6  โดยการ กำหนดตัวชี้วัดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพ และมีความชัดเจนในการจัดการเรียนรู้และการประเมินผลในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา เพราะเดิมมีการกำหนดมาตรฐานช่วงชั้นกว้าง ๆ แล้วให้โรงเรียนกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังแต่ละปีเอง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและมีความแตกต่างระหว่างหลักสูตรของสถานศึกษาแต่ละแห่ง เป็นอย่างมาก

5. การกำหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล โดยคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดหลักสูตรใหมมี 8 กลุมสาระ และ 67 มาตรฐาน

6. กิจกรรมพัฒนาผูเรียนมุ่งใหผู้เรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพ เส ริมใหเป็นผูมีศีลธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัยสรางจิตสํานึก อยู่ร่วมกับผูอื่นไดอยางมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผูเรียน มี 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน

กิจกรรม แนะแนว เป็นกิจกรรมที่สงเสริมและพัฒนาผูเรียนกิจกรรมนักเรียน ส่งเสริมใหผู้เรียนมีวินัย เป็นผู้นําและผูตามที่ดี เช่น ลูกเสือ เนตรนารียุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร กิจกรรมชุมนุมหรือชมรมกิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน เปนกิจกรรมที่ส่งเสริมใหผู้เรียนมีจิตสาธารณะ เช่นกิจกรรมอาสาพัฒนาต่างๆ

การ มุ่งเน้นแตละระดับป.1-ป.6 เน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคํานวณ การคิดพื้นฐานการติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรูทางสังคมและพื้นฐานการเป็นมนุษย เน้นการเรียนรูแบบบูรณาการ

7. เวลาเรียน ป.1-ป.6 จัดการเรียนเปนรายป เรียนวันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง กําหนดให้กิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนทั้ง 3 กิจกรรมในชั้นป. 1-ม.3 ปละ 120 ชั่วโมง และกําหนดใหสถานศึกษาจัดสรรเวลากิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน ในขั้น ป.1-ป.6 รวม 60 ชั่วโมง(ปละ 10 ชั่วโมง)การจัดการเรียน รู้เป็นกระบวนการสําคัญนําหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติผู้สอนต้องพยายามคัดสรร การเรียนรูโดยช่วยให ผู้เรียนเรียนผ่านสาระที่กําหนดไวในหลักสูตรประกอบด้วย

1. หลักการจัดการเรียนรู เน้นผู้เรียนสําคัญที่สุด โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และการพัฒนาสมองเน้นใหความรูและคุณธรรม

2. กระบวนการเรียนรู ในการจัดการผู้เรียนควรไดรับการฝึกฝนพัฒนา ผู้สอนต้องทํา

ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถเลือกใช้ไดอย่างมีประสิทธิภาพ

3. การออกแบบการจัดการเรียนรูผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรใหเข้าใจ แล้วพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้ใหเหมาะสม เพื่อให้ผูเรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

8. การวัดและประเมินผลการเรียนรูตั้งอยูบนพื้นฐาน 2 ประการคือ ประเมินเพื่อพัฒนาผูเรียน และตัดสินผลการเรียนการประเมินตามตัวชี้วัดจะสะทอนสมรรถนะผูเรียน การประเมินมี 4 ระดับ คือ ชั้นเรียนสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาและชาติการประเมินในชั้นเรียนจะประเมินโดยครู ผู้เรียน เพื่อน หรือผู้ปกครองก็ได้ต้องใชเทคนิคประสบการณหลากหลายและสม่ำเสมอ เชน การซักถาม การสังเกต การตรวจการ บ้านการใชแบบทดสอบ ฯลฯ

9. เกณฑการวัดและการประเมินผลการเรียนผู้สอนต้องคํานึงถึงการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคน เก็บข้อมูลสม่ำเสมอและต่อเนื่องระดับประถมศึกษาผูเรียนต้องมีเวลาเรียน ไมน้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดผู้เรียนต้องไดรับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑที่สถานศึกษากําหนดผู้เรียน ต้องไดรับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชาผูเรียนต้องไดรับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑที่สถานศึกษากําหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะหและเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผูเรียนการตัดสินผลจะให้เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือร้อยละก็ได

การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะหและเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค ให้ ระดับ ดีเยี่ยม ดี และ ผ่านการประเมินกิจกรรมและพัฒนาผูเรียน ผ่านไมผ่านการรายงานผลการเรียน ต้องรายงานให ผู้ปกครองทราบ เป็นระยะๆ อย่างน้อยภาคเรียนละครั้ง

ที่มา //www.facebook.com/groups/1406024559696071/

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช2546

 1.  แนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัย    หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546 พัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยแนวคิดต่อไปนี้  (กระทรวงศึกษาธิการ.    2548  :  3-4)  

                1.1  แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก   พัฒนาการของมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวมนุษย์   เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิต   ซึ่งครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  โดยที่พัฒนาการด้านร่ากาย  อารมณ์  จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา  จะมีความสัมพันธ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนไปพร้อมทุกด้านตามวัยและวุฒิภาวะ   เมื่อกล่าวถึงพัฒนาการเด็กปฐมวัยจะบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัย  เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงอายุต่ำกว่า 6 ปี

                แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการเด็กเป็นเสมือนหนึ่งแนวทางให้พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กได้เข้าใจธรรมชาติหรือความสามารถของเด็ก  สามารถอบรมเลี้ยงดูและจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างของแต่ละบุคคลในอันที่จะส่งเสริมให้เด็กพัฒนาได้ตามศักยภาพจนบรรลุผลตามเป้าหมายที่ต้องการได้ชัดเจนขึ้น  การจัดทำหลักสูตรจึงยึดแนวคิดในการให้ความสำคัญกับความสามารถตามวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก  โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางของการจัดการศึกษา  (Child Center)

                1.2  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้     การเรียนรู้ของมนุษย์มีผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับในชีวิตประจำวันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กขึ้นจากกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง   มีโอกาสคิดริเริ่มตามความต้องการและความสนใจของตนเอง รวมทั้งอยู่ในบรรยากาศที่เป็นอิสระ  อบอุ่น  ปลอดภัย  ดังนั้น  การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ของเด็กให้เป็นไปตามศักยภาพที่มีอยู่นอกจากนี้การเรียนรู้ยังเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในระดับที่สูงขึ้น โดยที่คนเราเรียนรู้มาตั้งแต่เกิดตามธรรมชาติก่อนที่จะเข้ามาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย การจัดทำหลักสูตรจึงยึดแนวคิดที่สนับสนุนให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์จริงด้วยตัวเด็กเอง   ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอิสระ    เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมให้เหมาะกับระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน

                1.3   แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก  การเล่นถือเป็นกิจกรรมีที่สำคัญในชีวิตของเด็กทุกคน   เด็กจะรู้สึกมีความสุข   สนุกสนาน   เพลิดเพลิน   ได้สังเกต  สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวมีโอกาสทำการทดลอง  สร้างสรรค์  คิดแก้ปัญหาและค้นพบความเป็นจริงของโลกภายนอกด้วยตนเอง  การเล่นจะมีอิทธิผลและมีผลดีต่อการเจริญเติบโต   ช่วยพัฒนาร่างกาย  อารมณ์   จิตใจ   สังคมและสติปัญญา  ขณะเล่นเด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย  ได้ใช้ประสาทสัมผัสและการรับรู้  ผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียด  แสดงออกถึงความเป็นตนเองและเรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่น  การเล่นจึงเป็นเสมือนสื่อกลางให้เด็กสร้างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว  เรียนรู้ความเป็นอยู่ของผู้อื่น   สร้างความสัมพันธ์อยู่ร่วมกับผู้อื่นและกับธรรมชาติรอบตัว  ดังนั้นการจัดทำหลักสูตรจึงถือว่า การเล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการประสบการณ์ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี

                1.4  แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคม    บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่หรือแวดล้อมตัวเด็ก  ทำให้เด็กแต่ละคนเติบโตขึ้นมามีคุณลักษณะที่แตกต่างกันไป  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับนี้ถือว่าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าวัฒนธรรมและสังคมที่แวดล้อมตัวเด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้  การพัฒนาศักยภาพ   และการพัฒนาการของเด็กแต่ละคน  ผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องให้ความสำคัญและเรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิต  ครอบครัว  และชุมชน  ตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเด็กที่ตนรับผิดชอบ  เพื่อช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม    เกิดการเรียนรู้และมีความภูมิใจในสังคม-วัฒนธรรมที่เด็ดอาศัยอยู่และสามารถยอมรับผู้อื่นที่มาจากพื้นฐานเหมือนหรือต่างจากตนได้อย่างราบรื่น  มีความสุข

 2.  ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย

การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐาน     การอบรมเลี้ยงดู และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ ภายใต้บริบทของสังคม วัฒนธรรม ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม

 (กระทรวงศึกษาธิการ.      2548  :  5)  

3.  หลักการของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546

 หลักการของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546  มีสาระสำคัญดังนี้  (กระทรวงศึกษาธิการ.    2548  :  6-8) 

เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพ บรรลุตามปรัชญาการศึกษาปฐมวัย โดยมีหลักการ ดังน

  3.1  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัย   ทุกประเภท

  3.2  ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล วิถีชีวิตของเด็กตามบริบทชุมชน   สังคม วัฒนธรรมไทย

  3.3  พัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นกิจกรรม และกิจกรรมบูรณาการ  สาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย

  3.4  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข

  3.5  ประสานความร่วมมือกันระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก

 4.  จุดหมายของการศึกษาปฐมวัย

จุดหมายของการศึกษาปฐมวัยมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย  ความสามารถ   และความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งทาง ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เมื่อเด็กจบการศึกษาปฐมวัย  เด็กจะบรรลุมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กําหนดไว้ในจุดหมาย  12    และแต่ละช่วงวัยต้องคำนึงถึงคุณลักษณะตามวัยของเด็กด้วย  ซึ่งจะครอบคลุมพัฒนาการทั้ง  4  ด้าน  ดังนี้             

                  4.1         ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี

                  4.2         กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

                  4.3         มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข

                  4.4         มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

                  4.5         ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย

                  4.6         ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย

                  4.7         รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย

                  4.8         อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

                  4.9         ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

                  4.10       มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย

                  4.11       มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

                  4.12       มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้

5.  คุณลักษณะตามวัย

                คุณลักษณะตามวัยเป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้นๆ ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี เพื่อนำไปพิจารณาจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อนำข้อมูลไปช่วยในการพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนต้องพาเด็กไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขได้ทันท่วงที คุณลักษณะตามวัยที่สำคัญของเด็กอายุ 3 – 5  ปี

ที่มา //nnusvaheedah53g.blogspot.com/p/2546.html

สาระการเรียนรู้

ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้ แบ่ง เป็น 8 กลุ่ม สาระ

1.       คณิตศาสตร์

2.       วิทยาศาสตร์

3.       สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

4.       การงานอาชีพและเทคโนโลยี

5.       สุขศึกษาและพลศึกษา

6.       ภาษาต่างประเทศ

7.       ศิลปะ

8.       ภาษาไทย

มาตรฐานการเรียนรู้

เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดเป็นตัวระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึงสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ แบ่งเป็น

ตัวชี้วัดชั้นปี -->เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ(ป.1-ม.3)

ตัวชี้วัดช่วงชั้น -->เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-ม.6)

หัวใจของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 คือข้อใด

1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551กี่ระดับ

5. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดระดับการศึกษาเป็นกี่ระดับ ได้แก่อะไรบ้าง ก. 2 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ข. 3 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ค. 4 ระดับ ได้แก่ ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กล่าวไว้ว่าอย่างไรบ้าง

2. หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ 1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

ข้อใดเป็นเป้าหมายสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

สืบเนื่องจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นฐาน พุทธศักราช 2551เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standard-base Curriculum) เป้าหมายสำคัญของการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรจึงเน้นไปที่ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด และการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด และนำพาให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึง ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf