วรรณคดีเรื่องบทละครพูดคำฉันท์ มัทนะพาธา มีจุดมุ่งหมายการแต่งอย่างไร

                           

มัทนะพาธา

      มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์มี ๕ องก์  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖  โดยทรงคิดโครงเรื่องขึ้นเองให้ดูประหนึ่งเป็นวรรณคดีสันสกฤต 

          
         คำว่า "มัทนะพาธา" แปลว่าความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนแห่งความรัก  บทละครพูดคำฉันท์เรื่องนี้ได้ชื่อว่าเป็นตำนานแห่งดอกกุหลาบ 

         จุดมุ่งหมายของการทรงพระราชนิพนธ์เพียงเพื่อให้เป็นหนังสืออ่านกวีนิพนธ์เท่านั้น  แต่ภายหลังมีผู้นำไปแสดงละครด้วย  หนังสือเล่มนี้ได้ทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ  แต่ไม่ทันเสร็จก็สวรรคตเสียก่อน

ลักษณะการแต่ง 
        เป็นบทละครพูดคำฉันท์  ประกอบด้วยคำประพันธ์ประเภทกาพย์  มีทั้งกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ และมีคำประพันธ์ประเภทฉันท์รวม ๒๑ ชนิด

เนื้อเรื่อง
         สุเทษณ์เทพบุตรหลงรักนางฟ้าชื่อมัทนาแต่นางไม่รักตอบ  เพราะอดีตชาติสุเทษณ์เทพบุตรได้เคยยกกองทัพไปทำลายบ้านเมืองของนางและจับพระบิดาของนางประหาร  เมื่อนางมัทนาปฏิเสธความรัก สุเทษณ์จึงสาปให้นางไปเกิดเป็นดอกกุพชะกะ (ดอกกุหลาบ)  ในคืนวันเพ็ญจึงกลายร่างเป็นคนได้เพียงหนึ่งราตรี  และเมื่อเกิดความรักบุรุษใดจึงจะไม่กลายเป็นดอกกุพชะกะอีก  แต่จะได้รับความทุกข์ทรมานจากความรัก  นางมัทนาจึงจุติมาเกิดเป็นต้นกุพชะกะในโลกมนุษย์   ฤๅษีกาละทรรศินมาพบจึงนำมาไว้ในอาศรม  นางมัทนาจะอยู่ปรนนิบัติพระฤๅษีเยี่ยงบิดาทุกคืนวันเพ็ญ
         ต่อมาท้าวชัยเสนเสด็จประพาสป่ามาพบนางมัทนาจึงเกิดความรัก ได้ขอนางมัทนาต่อพระฤาษี   พระฤๅษีจึงจัดพิธีอภิเษกสมรสให้  นางจัณฑีมเหสีเอกเกิดความหึงหวง  จึงให้พระบิดายกกองทัพมาชิงเมือง  ท้าวชัยเสนออกรบ  ระหว่างนั้นนางจัณฑีทำอุบายให้ท้าวชัยเสนเข้าพระทัยผิดว่านางมัทนารักกับศุภางค์ทหารเอก  จึงรับสั่งให้นำไปประหารชีวิต  แต่พราหมณ์โสมทัตได้ปล่อยนางมัทนาไป  นางมัทนาได้รับความทุกข์ทรมานจากความรัก  จึงทำพิธีขอพรต่อสุเทษณ์เทพบุตร  สุเทษณ์ขอความรักกับนางอีกครั้งแต่นางก็ยังยืนยันปฏิเสธความรักของสุเทษณ์  จึงถูกสาปให้เป็นต้นกุพชะกะตลอดไป  ต่อมาท้าวชัยเสนทรงทราบความจริงจึงออกติดตาม  ได้พบแต่ต้นกุพชะกะจึงนำมาไว้ในพระราชวัง  พระฤาษีกาละทรรศินให้พรให้ต้นกุพชะกะดำรงอยู่ในโลกนี้สืบไปและเป็นดอกไม้ที่ใช้แสดงถึงความรักที่หญิงชายจะมอบให้แก่กัน

ตัวอย่าง
พระฤๅษีกาละทรรศิน    ความรักเหมือนโรคา  บันดาลตาให้มืดมน
                             ไม่ยินและไม่ยล                อุปะสัคคะใดใด
                             ความรักเหมือนโคถึก        กำลังคึกผิขังไว้
                             ก็โลดจากคอกไป             บ ยอมอยู่ ณ ที่ขัง

นางมัทนา                   โอ้ว่าประหลาดใจ   ละไฉนนะเป็นฉะนี้
                             แต่ไรก็ไม่มี                 มะนะนึกระเหระหน
                             ไม่เคยจะนึกเชื่อ         รตินั้นจะสัปดน
                             มาสู่ ณ ใจตน             และจะต้องระทมระทวย
                             เมื่อก่อนสิชายรัก         ก็มิพักจะเออจะอวย
                             อวดดีและอวดด้วย      บมิเคยจะลุ่มจะหลง

สำนวนโวหาร
 แต่งด้วยคำฉันท์ที่ไพเราะ  ใช้คำเหมาะแก่ท้องเรื่อง  การบรรยายดี  ก่อให้เกิดความซาบซึ้งกินใจ

คุณค่าของหนังสือ
๑. เป็นหนังสือที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นหนังสือดี  ดังประกาศนียบัตรของ
วรรณคดีสโมสรที่ให้หนังสือเล่มนี้ว่า "ในทางภาษาซึ่งทรงปรุงชื่อตัวละครและภูมิประเทศถูกต้องตามยุคแห่งภารตวรรษอันจำนงให้เป็นตัวเรื่องนับว่ารูปเรื่องปรุงดี  แต่งได้ด้วยพระปรีชาและสุตาญาณอันกว้างขวาง  สมควรจะยกย่อง"
๒. เนื้อเรื่องสนุก ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่าน มีคำพูดที่เป็นคารมคมคายและเป็นคติ

จุดมุ่งหมายในการแต่งวรรณคดีเรื่อง มัทนะพาธา คือข้อใด

มัทนะพาธา หรือ ตำนานดอกกุหลาบ มีลักษณะเป็นบทละครพูดคำฉันท์ จำนวน ๕ องก์ (ตอน) แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคสวรรค์และภาคพื้นดิน เป็นบทพระราชนิพนธ์จากจินตนาการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จุดมุ่งหมายในการแต่ง ใช้เป็นแบบฝึกอ่าน ใช้แสดงละครพูด

มัทนะพาธา ใช้คำประพันธ์ประเภทใดในการแต่ง

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่6) โดยทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง “ตำนานแห่งดอกกุหลาบ” จึงทรงผูกเรื่อง

เรื่องมัทนะพาธาเป็นละครประเภทใด

"มัทนะพาธา" หรือ "ตำนานแห่งดอกกุหลาบ" เป็นวรรณคดีประเภท "บทละครพูด" พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์ของพระองค์ บทละครเรื่องนี้ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า "เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์" ด้วยการเลือกถ้อยคำที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร ...

บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธามีความเป็นมาอย่างไร

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นบทละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ตามจินตนาการของพระองค์ โดยทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง ทั้ง ชื่อเรื่อง ชื่อตัวเอก และรายละเอียด ต่าง ๆเช่น ชื่อเรื่อง มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก และชื่อ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf