ตั้งค่า ถ่าย ภาพ Landscape

Highlight

  • การถ่ายภาพแนว Landscape ให้สวย สิ่งสำคัญที่สุดคือแสงและธรรมชาติ การวางองค์ประกอบของภาพและอุปกรณ์เป็นเรื่องรอง ถ้าธรรมชาติสวยถ่ายออกมายังไงก็สวย
  • การวางองค์ประกอบของภาพ(Composition) เป็นการทำให้ภาพเราดูมีเรื่องราว มิติความตื้นลึกมากขึ้น ซึ่งที่ใช้บ่อย ๆ ก็มีกฎสามส่วน จุดตัดเก้าช่อง และเส้นนำสาย ส่วนเทคนิคการถ่ายอย่าง Long exposure เป็นการทำให้ภาพดูอลังการและนวลมากขึ้น
  • สิ่งสำคัญของการเตรียมตัวไปถ่ายภาพ Landscape ต้องเช็คว่าสถานที่นั้นมีสภาพอากาศอย่างไร ควรไปช่วงฤดูไหนถึงจะได้ธรรมชาติสวยที่สุด และสิ่งสำคัญที่สุด คืออย่าลืมเช็คอุปกรณ์ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่ ก่อนออกจากบ้านเช็คให้ดีว่าเมมใส่หรือยัง แบตมีมั้ย ลืมที่ชาร์ตแบตหรือเปล่า เช็คให้ดีอย่าให้พลาด เพราะถ้าพลาดขึ้นมาธรรมชาติสวยแค่ไหน ก็อดได้รูปอยู่ดี

1. ภาพถ่ายแนว Landscape แยกออกเป็นอะไรได้อีกบ้าง

ภาพถ่ายแลนด์สเคป(Landscape) ถ้าให้พูดง่าย ๆเลยก็คือภาพถ่ายวิวทิวทัศน์ธรรมชาติ ที่ให้ความสำคัญกับการวางฉากหน้าฉากหลังและช่วงเวลาของแสงธรรมชาติ จะเจาะจงกับวัตถุหรือไม่ก็ได้ และยังไม่จำกัดว่าต้องใช้เลนส์อะไรอีกด้วย หลายคนบอกว่า Landscape นี่ต้องเลนส์มุมกว้าง(wide lenses) เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วเลนส์มุมแคบ(tele) ก็สามารถถ่ายภาพแลนด์สเคปแบบเจาะจงบางมุมสวยๆได้ แถมยังได้มุมมองใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำใครอีกด้วย ซึ่งจริง ๆแล้วภาพถ่ายแนวแลนด์สเคปก็ยังสามารถแบ่งยิบย่อยลงไปอีกได้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปภาพทะเล ภูเขา ตึก ดวงดาว ท้องฟ้า ล้วนแต่เป็นภาพถ่ายแนวแลนด์สเคปทั้งนั้น ซึ่งจะมีหลักๆ ดังนี้

Nature Scape

Nature Scape ภาพแลนด์สเคปที่เน้นธรรมชาติ ภูเขา น้ำตก ทะเลหมอก ทุ่งนา ซึ่งส่วนใหญ่ภาพแลนด์สเคปก็จะเป็นภาพแนว ๆนี้ละครับ เนื่องจากเป็นภาพถ่ายแลนเสเคปที่ถ่ายได้ทุกช่วงเวลา แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดควรเป็นช่วงเวลาแสงทอง (Golden Hour) เพราะธรรมชาติของแสงจะสวยสุดช่วงนี้

Iso 100 f11 speed shutter 1/100 s: ภาพถ่ายช่วงเวลาสาย ๆ หมอกจาง ๆ ไร่สตอรี่บ้านนอแล มุมมหาชนเมื่อใครก็ตามที่ได้ไปดอยอ่างขาง รีวิวดอยอ่างขาง >>> ดอยอ่างขาง เชียงใหม่
Iso 200 f8 speed shutter 1/100 s Panorama 8 ใบ: รุ้งกินน้ำ ฟ้าหลังฝน ที่หมู่บ้านนาเลา ดอยหลวงเชียงดาว ช่วงเดือนตุลาคม รีวิวบ้านนาเลา >>> บ้านนาเลา
Iso 100 f16 speed shutter 1/125 s Panorama 8 ใบ: ทะเลหมอกบนดอยเสมอดาว ช่วงปลายฝนต้นหนาว รูปนี้ถ่ายf16 เพื่อให้ดวงอาทิตย์เป็นแฉก] รีวิวดอยเสมอดาวเพิ่มเติม >>> ดอยเสมอดาว น่าน

Cityscape

Cityscape เป็นภาพถ่ายแลนด์สเคปที่เน้นวิวเมืองหรือตึก ถ้าจะให้สวยแนะนำว่าควรถ่ายช่วงเวลาเย็นไปจนถึงค่ำ แต่จะพีคสุดก็ช่วงแสงสนธยา(twilight) เพราะว่าเราจะได้ไฟตึกบวกท้องฟ้าที่ไม่ยังไม่ได้มืดดำสนิท หรือช่างภาพบางคนเรียกว่า ช่วงเวลาแสงเงิน(Blue Hour) นั่นเอง

Iso 200 f14 speed shutter 30 s @24mm : ถนนวงแหวนทางหลวงพิเศษศรีรัช ถ่ายจากชั้น 82 ของตึกใบหยก ช่วงเวลาหัวค้ำรูปนี้ถ่ายผ่านกระจกของตึก ใครจะไปถ่ายแนะนำว่าเอาผ้าสีดำไปคลุมหน้าเลนส์เพื่อให้แสงไฟในตึกสะท้อนกระจกด้วย
Iso 100 f16 speed shutter 30 s @85mm : ตึกบริเวณหาดจอมเทียนพัทยา ช่วงเวลาแสงสนธยา ถ่ายจากหาดบ้านอำเภอ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
Iso 100 f16 speed shutter 30 s @50mm : ชายหาดพัทยา ช่วงเวลาหัวค่ำ ภาพนี้ถ่ายจากบนเขาพระตำหนัก หรือเขา สทร.5 พัทยา

Seascape

seacape เป็นภาพถ่ายแลนด์สเคปที่เน้นวิวทะเลจะเป็นกลางวันหรือช่วงเช้า/เย็นก็ได้ ถือว่าเป็น seascape หมด จริง ๆแล้ว seascape ก็ถือเป็น Nature scape ได้เหมือนกัน แต่หลายคนจะแยก seascape ออกไปเลยเพื่อจะได้ระบุชัดเจนว่าเป็นภาพถ่ายแนวทะเล นอกจากนี้ภาพถ่ายแนว seascape ยังสามารถนำกระแสน้ำไหลของคลื่นทะเลมาถ่ายแบบ Long exposure ได้อีกด้วย ดังนั้นคลื่นลมแรงก็ถือเป็นข้อดีสำหรับสาย Seascape

Iso 125 f16 speed shutter 1/80 s @24mm : ชายหาดบ้านอำเภอ ช่วงเวลาแสงทอง(Golden Hour) ก่อนพระอาทิย์ตกดิน
Iso 100 f22 speed shutter 25 s @24mm : ทะเลอ่าวดงตาล อำเภอสัตหีบ ช่วงเวลาแสงสนธยา(twilight) ภาพนี้เปิด f22 เพื่อให้แสงเข้าน้อย เพื่อถ่ายภาพแนว Long exposure ให้น้ำทะเลดูนวลขึ้น โดยที่ไม่ใช้ฟิลเตอร์ตัดแสง(ND Filter)

Sky scape

Sky scape เป็นภาพถ่ายที่แลนด์สเคปที่เน้นท้องฟ้า ก้อนเมฆ ปรากาฎการบนท้องฟ้า หรือรูปภาพที่ถ่ายจากบนเครื่องบิน

Iso 100 f11 speed shutter 1/320 s @24mm : แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงเวลาแสงทองตอนเช้า ถ่ายจากบนเครื่องบิน B737- 800 Nok Air Flight ดอนเมือง-โฮจิมินทร์
Iso 100 f8 speed shutter 1/400 s @85mm : เงาเมฆและหมวกเมฆสีรุ้ง (Iridescent pileus )

Perspective Landscape

Perspective Landscape ภาพถ่ายเลนส์เคปที่เจาะเป็นมุมแคบลงไป ถ้าให้พูดง่าย ๆ ภาพถ่ายแลนด์สเคปที่ใช้เลนส์ระยะซูมนั่นเอง ถึงได้บอกว่าเลนส์ระยะมุมแคบก็ถ่ายภาพแลนด์สเคปได้

Iso 100 f8 speed shutter 1/125 s @85mm : ทะเลหมอก ณ ภูทับเบิก ภาพนี้ผมถ่ายระยะซูมเพื่อเน้นหมอกที่มาชนภูเขาและให้เห็นพระธาตุด้านหลังเด่นชัดขึ้น รีวิวภูทับเบิกเพิ่มเติม >>> ภูทับเบิก เพชรบูรณ์
Iso 100 f8 speed shutter 1/160 s @85mm : ไอหมอกบนน้ำ ทีหมู่บ้านรักไทย จ.แม่ฮ่องสอน ภาพนี้ผมใช้ระยะซูม 85 mm เพื่อเน้นไอหมอกที่ถูกย้อมด้วยแสงสีทองที่แดดสองลงมาพอดีในช่วงเช้า รีวิวบ้านรักไทยเพิ่มเติม >>> บ้านรักไทย แม่ฮ่องสอน
Iso 200 f8 speed shutter 1/100 s @85mm : เมฆหมอกสีทอง ที่เขื่อนเชี่ยวหลาน ภาพนี้ใช้ระยะซูมเพื่อเน้นเมฆที่ถูกแสงอาทิตย์ย้อมให้เป็นสีทองออกส้มแดง รีวิวเขื่อนเชี่ยวหลานเพิ่มเติม >>> เขื่อนเชี่ยวหลาน

Astronomical scape

Astronomical scape ภาพถ่ายแลนด์สเคปที่เป็นการถ่ายดาวบนท้องฟ้า ทางช้างเผือก รวมถึงการถ่ายวัตถุต่าง ๆบนท้องฟ้าด้วย เช่น เนบิวลานายพราน แอนโดรเมดา กระจุกดาวลูกไก่

Iso 1600 f1.8 speed shutter 20 s @20mm : ภาพถ่ายหางทางช้างเผือกช่วงฤดูหนาว ถ่ายจากบ้านปางมะโอ อ.ปง จ.พะเยา
ISO 3200 f1.8 speed shutter 30s Panorama 8 ใบ : ภาพถ่ายหางทางช้างเผือกมุมกว้าง ช่วงฤดูหนาว ถ่ายจากบ้านสะปัน อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
Iso 3200 f3.5 speed shutter 25 s @24mm : ภาพถ่ายใจกลางทางช้างเผือก ช่วงหัวค่ำของปลายฤดูกาลล่าช้าง(ต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ดอยเสมอดาว จ.น่าน

2. อยากถ่ายภาพ Landscape ให้สวย ต้องจัดองค์ประกอบ(Composition)ยังไงบ้าง

ต้องบอกก่อนว่าสิ่งที่สำคัญของการถ่ายภาพแลนด์สเคปให้สวยเป็นเรื่องของแสงและธรรมชาติ ถ้าแสงสวย ธรรมชาติสวย รูปภาพก็ออกมาสวยได้(จำไว้ว่าธรรมชาติถือหุ้นแลนด์สเคป 90% ) เพียงแต่การจัดองค์ประกอบภาพจะทำให้ภาพของเราดูมีเรื่องราวมากขึ้น หรือมีมิติความลึกตื้นมากขึ้นเท่านั้นเอง ซึ่งในหนึ่งภาพอาจจะใช้เทคนิควางองค์ประกอบภาพหลายเทคนิครวมกันก็ได้ และบางภาพก็สวยได้โดยไม่ต้องใช้กฎอะไรเลยก็มี ผมจึงไม่อยากให้ยึดติดกับกฎมากนัก ในโลกของการถ่ายภาพแนว Landscape ก็มีรูปแบบการวางองค์ประกอบของภาพหลากหลายมาก ดังนั้นผมจะเขียนเฉพาะเทคนิคที่สำคัญใช้บ่อย ๆ ซึ่งไล่ลำดับตามหัวข้อด้านล่างนี้เลย

กฎ 3 ส่วน (Rule of thirds)

“กฎ 3 ส่วน” เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและใช้มากที่สุดแล้ว สำหรับการวางองค์ประกอบภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามและสมดุลของภาพ กฎนี้ไม่มีอะไรมาก พูดง่าย ๆเลย จัดองค์ประกอบของท้องฟ้าจะอยู่ที่ 2 ส่วนบนหรือ พื้นดินให้อยู่ 1 ส่วนล่าง หรือถ้าจะเน้นพื้นดินก็ให้พื้นดิน 2 ส่วน และท้องฟ้า 1 ส่วน ก็ได้ อันที่จริงกฎนี้ก็ไม่ได้ตายตัวนะ จะถ่ายอย่างละครึ่งๆก็ได้แต่ต้องวางองค์ประกอบในภาพให้ดูสมดุลกันก็พอ

ภาพนี้ผมแบ่งเป็นท้องฟ้า 2 ส่วน น้ำทะเล 1 ส่วน โดยบนท้องฟ้าผมแบ่งเป็นท้องฟ้าสีน้ำเงิน 1 ส่วน ท้องฟ้าสีแดง 1 ส่วน อย่างละเท่า ๆ กัน : สถานที่ท่าเรือข้ามไปเกาะแสมสาร

จุดตัด 9 ช่อง

“จุดตัดเก้าช่อง” คือการนำวัตถุหรือสิ่งสนใจไปไว้บริเวณจุดตัดเก้าช่องที่เกิดจากกฎสามส่วน เพื่อให้ภาพดูมีเรื่องราว กฏนี้ก็ไม่ตายตัวอีกเหมือนกัน ถ้าเราจะเน้นวัตถุเฉพาะจริง ๆ อย่างพระอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า เราก็เอาพระอาทิตย์ไปไว้กลางภาพได้ หรือถ้าหากว่าเรามีจุดสนใจอันเดียวแล้วสภาพแวดล้อมไม่มีอะไรเด่นชัด เราก้สามารถนำจุดสนใจไว้กลางภาพได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องวางบนจุดตัดเก้าช่องเสมอไป แต่อย่างไรก็ควรวางภาพให้ตรงกับจุดตัด 9 ช่องจะดีที่สุด เพราะภาพจะดูมีเรื่องราวมากขึ้นไม่น้อยเลย

ภาพนี้ผมให้เรืออยู่บริเวณจุดตัด 9 ช่องพอดี และยังใช้กฎ 3 ส่วน เข้ามาช่วย โดยให้พื้นที่ท้องฟ้า 2 ส่วนและพื้นน้ำ 1 ส่วน : ชายหาดฝั่งตะวันตกของเกาะช้าง

การวางฉากหน้าหรือโฟร์กราว

โฟร์กราว คือการถ่ายให้มีฉากหน้า เพื่อเป็นการเพิ่มมิติให้กับภาพ การมีฉากหน้าทำให้ภาพดูมีรายละเอียดมีความลึกของภาพ ลำทำให้ภาพดูมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้นด้วย

รูปนี้ผมใช้หินในแอ่งน้ำเป็นฉากหน้า : ภาพนี้ถ่ายที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน รีวิวแจ้ซ้อนเพิ่มเติม >>> อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
รูปนี้ผมใช้หน้าต่างเครื่องบินเป็นฉากหน้า (ด้านล่างคือเทือกเขาอนาโตเลีย ประเทศตุรกี)

การเล่นกับลำดับชั้น(Layer)

การใช้ธรรมชาติที่ซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆอย่างเช่น แนวเทือกเขา เพื่อทำให้ดูมีมิติหรือมีความลึกตื้นนั่นเอง แต่ยังไงก็ตามภาพแนวนี้จะต้องอาศัยแสงในการช่วยสร้างชั้นของภูเขา ซึ่งจะตรงกับช่วงพระอาทิตย์อยู่ใกล้ขอบฟ้าหรือลับขอบฟ้าไปแล้วสักพักนั่นเอง

ภาพนี้ผมถ่ายที่จุดชมวิว 1715 เป็นการใช้เทคถ่ายแบบแสงเงา เพื่อให้ภูเขาเป็นชั้น ๆ(Layer) ทำให้ภาพดูมีมิติมากขึ้น รีวิวดอยภูคาเพิ่มเติม >>> ดอยภูคา น่าน

ความสมดุลของภาพ

ถึงแม้ว่าการนำจุดที่สนใจไปไว้กลางภาพอาจจะเป็นเรื่องที่ดูแหกกฎจุดตัด 9 ช่อง แต่การนำจุดสนใจไว้กลางภาพแล้วให้สองด้านให้เกิดความสมดุลกัน ก็สามารถทำให้คนมองภาพโฟกัสไปยังจุดสนใจกลางภาพได้ไม่น้อยเลย แต่เน้นนะครับ 2 ฝั่งต้องสมดุลกัน ถ้าฝั่งไหนเบี้ยวเกินภาพจะดูไม่มีอะไรเลย

พระประธานวัดภูมินทร์ จ.น่าน รีวิววัดภูมินทร์เพิ่มเติม >>> วัดภูมินทร์ น่าน
โบสถ์วัดเขาบรรจบ จ.จันทบุรี รีวิววัดเขาบรจบเพิ่มเติม >>> วัดเขาบรรจบ

เล่นกับเงาสะท้อน

เป็นการใช้พื้นน้ำที่นิ่ง พื้นกระจก เพื่อสร้างเงาสะท้อน ทำให้ภาพดูมีอะไรน่าหลงใหล และทำให้ภาพมีความสมดุลอีกด้วย แน่นอนว่าการถ่ายภาพแบบสะท้อนอาจจะต้องให้เส้นขอบวางกลางภาพ พูดง่าย ๆคือแหกกฎสามส่วนนั่นแหละครับ

ภาพนี้เป็นถ่ายแบบให้เงาสะท้อนน้ำสมดุลกับภูเขาด้าน : สถานที่บ้านรักไทย ช่วง 16:00 (ที่พักต้าเหล่าซือ)

เส้นนำสายตา

เป็นหนึ่งเทคนิคที่สายถ่ายแลนด์สเคปใช้บ่อยมาก คือการหาอะไรสักอย่างในธรรมชาติมาเป็นเส้นนำสายตา เพื่อให้เพิ่มดูมีเรื่องราวเพิ่มมากขึ้นส่วนใหญ่ที่ใช้ก็จะเป็นการถ่ายรูปถนนหรือสะพานอย่างไรให้สวย และมีเรื่องราวนั่นเอง

ถนนโค้งหมายเลข 3 เส้นทางไปสันติสุข – บ่อเกลือ (ทล.1081) รีวิวบ่อเกลือเพิ่มเติม >>> บ่อเกลือ น่าน
สะพานข้ามหลุมยุบ ในถ้ำหลวงเชียงดาว รีวิวถ้ำหลวงเชียงดาว >>> ถ้ำเชียงดาว

3. เทคนิคการถ่ายภาพ Landscape ให้ดูอลังการขึ้น

เทคนิคการถ่าย Long Exposure

การถ่ายแบบ Long Exposure คือการถ่ายภาพวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวออกมาให้เป็นเส้นสาย ดูนวลขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสายน้ำที่ไหล คลื่นทะเล ไฟรถวิ่งตอนกลางคืน ดาวหมุน หรือภาพพลุดอกไม้ไฟ และมีบางคนใช้เทคนิคนี้ในการพิสูจน์บั้งไฟพญานาคด้วย ซึ่งการถ่ายแบบ Long Exposure ก็คือการเปิด speed shutter นานมากกว่า 1 วินาที เป็นต้นไป จริง ๆแล้วเรียกว่าการถ่ายแบบ Low speed shutter ก็ได้ แน่นอนว่าการถ่ายภาพแนวนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือขากล้อง ในช่วงกลางคืนวิธีการถ่ายแบบนี้อาจจะไม่มีปัญหาเท่าไหร่ ถ้าไม่ขาดขาตั้งกล้อง แต่จะมีปัญหานิดๆถ้าจะถ่ายช่วงกลางวัน เพราะส่วนมากแล้วแสงจะแรงมาก ต่อให้เปิด iso ต่ำสุด f แคบ สุดก็แล้ว ก็ดัน speed shutter ได้ไม่เกิน 1 วินาที ผมเจอบ่อยตอนถ่ายน้ำตกนี่แหละ วิธีแก้คือไปหาฟิลเตอร์ตัดแสงมา(ND Filter) ช่วยได้เยอะมาก หรือถ้างบจำกัดก็ต้องอาศัยจังหวะธรรมชาติ เช่นการรอให้เมฆบังแดด ในช่วงจังหวะที่เมฆบังแดดอาจจะทำให้แสงลดลงไปถึง 5-6 stop เลย

ภาพนี้ใช้เทคนิค Long exposure : น้ำตกปุญญบาล จ.ระนอง รีวิวเพิ่มเติม >>> น้ำตกปุญญบาล
ภาพนี้ใช้เทคนิค Long exposure : น้ำตกแม่ยะ จ.เชียงใหม่ รีวิวเพิ่มเติม >>> น้ำตกแม่ยะ

เทคนิดการถ่ายเล่นกับเงา(Silhouette)

ภาพถ่ายแนวซินลูเอจ คือภาพถ่ายที่มีความแตกต่างของความสว่างและมืดในภาพเดียวกัน ถ้าภาษาชาวบ้านก็คือ ถ่ายย้อนแสงจนให้เกิดเงาดำในภาพนั่นแหละ ทำให้ภาพที่ถ่ายออกมาดูลึกลับน่าค้นหา ซึ่งการถ่ายแนวนี้ก็ไม่ยาก ง่าย ๆเลยก็ถ่ายย้อนแสงนั่นแหละ โดยวัดแสงจุดที่ท้องฟ้าหรือจุดสว่าง(ห้ามวัดแสงจุดที่สนใจเด็ดขาด) การภาพแนวซินลูเอจช่วงเวลาที่เหมาะสมคือไม่เช้าก็เย็น เพราะแสงอาทิตย์จะย้อนได้เป็นแนวตรงพอดี

4. เทคนิคการเตรียมตัวการถ่ายภาพ Landscape

มาถึงหัวข้อนี้หลายคนคงมีความรู้เรื่องการจัดองค์ประกอบและเทคนิคของการถ่ายภาพแนวแลนด์สเคปกันแล้ว ก็คงอยากเริ่มต้นลองถ่ายภาพแลนด์สเคปดูบ้าง จริง ๆแล้วการถ่ายภาพแลนด์สเคปก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแค่หยิบกล้องออกไปหาธรรมชาติสวย ๆ ยิ่งใครเป็นสายท่องเที่ยวแนวธรรมชาติอยู่แล้วก็คงไม่มีปัญหาอะไรสำหรับการเก็บแสงเช้าเฝ้าแสงเย็น แต่ใครที่กำลังเริ่มต้นถ่ายแลนด์สเคปอาจจะต้องมีความอดทนและอยู่กับธรรมชาติสักนิดนึง(ยิ่งมากยิ่งดี) เพราะการถ่ายภาพแลนด์สเคปให้สวยจำเป็นต้องเข้าป่าเดินเขา หรือแม้แต่ถ่าย Cityscape ก็ต้องมีความอดทนเฝ้ารอช่วงลาแสงสวยอยู่ดี ซึ่งจะเห็นได้ว่าสายแลนด์สเคปจะเน้นไปที่ธรรมชาติและแสง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ไปแล้วพลาดแสงสวยๆจำเป็นต้องวางแผนเพื่อไปเก็บภาพ ซึ่งผมจะสรุปเป็นข้อ ๆ ตามด้านล่างเลย

  1. สิ่งแรกเลยต้องรู้ว่าเราจะไปเก็บภาพแนวไหน ที่ไหน แล้วต้องไปช่วงเวลาไหนถึงจะได้ความสวยงาม ผมขอยกตัวอย่างเช่น ผมต้องการภาพไอหมอกบนน้ำสวยๆสักที่ในเมืองไทย แน่นอนว่าต้องไปปางอุ๋งหรือไม่ก็บ้านรักไทย
  2. ถ้าผมเลือกไปบ้านรักไทยแล้วก็ต้องมาดูอีกว่าไปช่วงฤดูไหน ถึงมีไอหมอกบนน้ำ คงไม่ใช่ฤดูฝนกับฤดูร้อนแน่ ๆ ตัดทิ้งไปเลย ดังนั้นต้องไปฤดูหนาว แต่อย่าลืมนะครับว่าเมืองไทยฤดูหนาวก็ไม่ได้หนาวทุกวัน เราก็คงต้องไปเปิดดูสถิติย้อนหลังว่าแม่ฮ่องสอนเนี่ยหนาวสุดช่วงไหน เมื่อเรารู้ว่าแม่ฮ่องสอนหนาวสุดติดต่อกันช่วงปลายเดือนมกราคม เราก็จัดเลยช่วงเดือนมกราคมยังไงก็เจอ หรือถ้าใครขี้เกียจหา ก็อ่านในหัวข้อสถานที่นั้น ๆในเว็บผมได้เลย (พยายามจะไปที่สำคัญแล้วมาเขียนให้ครบ)

การถ่ายภาพแลนด์สเคปจะต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติและสภาพอากาศ มีชัยไปกว่าครึ่งเลย ดังนั้นเราจะไปถ่ายรูป Landscape ที่ไหนควรศึกษาธรรมชาติของสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ ในสถานที่นั้น ๆให้ดี เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสเจอธรรมชาติสวย ๆ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือการเตรียมอุปกรณ์ถ่ายภาพ หลายคนวางแผนไปเจอธรรมชาติสวย ๆอย่างดิบดี แต่ถ้าอยู่ดี ๆไปถึงแล้วกล้องใช้ไม่ได้บ้าง ลืมแบต ลืมเมม ลืมเลนส์บ้าง ก็คงเป็นอะไรที่ไม่น่าสนุก ซึ่งผมแนะนำให้เช็คอุปกรณ์ดังนี้

  1. ควรตรวจเช็คอุปกรณ์ให้ดีว่ายังใช้ได้หรือไม่ มีส่วนไหนเสียหายก็เอาไปเช็คและซ่อม เพื่อเวลาไปถึงสถานที่จริงแล้วธรรมชาติอลังการขึ้นมาจะได้ไม่รู้สึกเสียดาย อย่าลืมดูเมมการ์ดในกล้องด้วยว่ามีมั้ย ผมเคยลืมมาแล้ว
  2. ก่อนออกจากบ้านดูให้เรียบร้อยว่าเมมกับก้อนแบตอยู่ในกล้องหรือไม่ อย่าลืมเอาที่ชาร์ตแบตกล้องไปด้วย ถ้าใครมีอุปกรณ์อื่นเช่นฟิลเตอร์ ขาตั้งกล้อง ก็ต้องเช็คด้วย ขาตั้งกล้องขาดไม่ได้ถ้าจะถ่ายรูปช่วงแสงเย็น/เช้า/มืด
  3. สมมุติว่าถ้าลืมอุปกรณ์แล้วไม่สามารถถ่ายจังหวะธรรมชาติสวย ๆได้ แนะนำว่าถ้าหากใครลืมจริง ๆก็นั่งชมธรรมชาติสวย ๆไปก็ได้ เก็บความสวยงามนั้นลงไปในสมองแทน 5555 การดูธรรมชาติสวยๆแบบไม่ต้องกังวลเรื่องถ่ายรูป ผมว่าธรรมชาติจะสวยเป็นพิเศษเลยนะ เพราะเคยลืมมาแล้ว
หาดเตยงาม ช่วงที่มรสุมอ่อนกำลังลง ในช่วงกลางหน้าฝน(มิถุนายน-กลางกรกฎาคม)
หาดเตยงาม ช่วงที่มรสุมอ่อนกำลังแรง ในช่วงหน้าฝน(ต้นมิถุนายน)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf