แสงเงา มีความ สัมพันธ์ กับ ทัศน ศิลป์ ใน ข้อใด

1. พื้นฐานการรับรู้ของมนุษย์เกิดจากสิ่งใด *

1 คะแนน

ก. เกิดจากสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

2.เมื่อเราสามารถบรรยายถึงความงามที่เห็นว่า เป็นดวงอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้ายามสนธยา มีดวงโตสีส้มเหลืองสวยงาม แสดงถึงการรับรู้ถึงการที่เกิดจากสิ่งใด *

1 คะแนน

ก. เกิดจากความสามารถในการรับรู้ธรรมชาติ

ข. เกิดจากความประทับใจกับสิ่งที่เห็น

ค. เกิดจากจินตนาการอันกว้างไกล

3.ทัศนธาตุ หมายถึงข้อใด *

1 คะแนน

ก. พื้นฐานการรับรู้ของมนุษย์

ข. ส่วนประกอบของการมองเห็น

ค. การรับรู้ทางการมองเห็นของมนุษย์

ง. องค์ประกอบที่สำคัญของผลงานทัศนศิลป์

4.ข้อใดเป็นรูปแบบพื้นฐานของทัศนธาตุ *

1 คะแนน

ค. การรับรู้ทางการมองเห็น

ง. จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง ที่ว่าง น้ำหนักอ่อน-แก่ พื้นผิว และสี

5.เมื่อเราวาดภาพระบายสีผลแอปเปลหนึ่งผล จะเกิดทัศนธาตุอะไรบ้าง *

1 คะแนน

ก. รูปทรง สี แสงเงา น้ำหนักอ่อน-แก่

ข. รูปร่างของผลแอปเปิลที่มีสีแดง

ค. แอปเปิลหนึ่งผลมีขนาดเล็กกว่าผลส้มโอ

ง. ผลแอปเปิลมีรูปร่างรูปทรงและสีสันสวยงามเหมือนจริง

6.เพราะเหตุใด จึงต้องวิเคราะห์รูปแบบของทัศนธาตุ *

1 คะแนน

ก. สะท้อนแนวคิดการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของศิลปิน

ข. สะท้อนการรับรู้ของมนุษย์ที่มีต่องานทัศนศิลป์

ค. สะท้อนการรับรู้ที่แตกต่างกันของธรรมชาติ

ง. สะท้อนแนวคิดการรับรู้จากการมองเห็น

7.ข้อใดเป็นการวิเคราะห์รูปแบบทัศนธาตุ เมื่อดูภาพวาดภาพหนึ่ง *

1 คะแนน

ก. เห็นเส้นขอบ เนื้อหาในผลงาน

ข. เห็นความคิด จินตนาการของศิลปิน

ค. เห็นการใช้เส้น สี รูปทรง น้ำหนัก แสงเงา

ง. เห็นความสมดุลและความกลมกลืนของภาพ

8.ผลงานการออกแบบทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย มีคุณค่าทางด้านใดมากที่สุด *

1 คะแนน

9.ทัศนธาตุ ( Visul Element) ข้อใดมีเพียง 2 มิติ *

1 คะแนน

10.ข้อใด ไม่ใช่ ทัศนศิลป์ *

1 คะแนน

11.ขั้นตอนของการเขียนภาพสเกตซ์ข้อใดสำคัญที่สุด *

1 คะแนน

12.เส้นอะไรที่ให้ความรู้สึก มั่นคง แข็งแรง สง่า รุ่งเรือง *

1 คะแนน

13.เส้นอะไรที่ให้ความรู้สึก ตื่นเต้น อันตราย ขัดแย้ง *

1 คะแนน

14. ข้อใดไม่จัดเป็นทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์ *

1 คะแนน

15. ภาพวาดที่แสดงให้เห็นการเจริญเติบโตก้าวหน้าควรเป็นภาพลักษณะใด *

1 คะแนน

ก. วาดด้วยเส้นตรงแนวเฉียง

ข. วาดด้วยเส้นโค้งของวงกลม

ค. วาดด้วยเส้นฟันปลาหรือเส้นซิกแซก

ง. วาดด้วยเส้นโค้งอิสระทิ้งปลายขึ้นสูงและน้ำหนักเบา

17. Line คือทัศนธาตุในข้อใด *

1 คะแนน

18. สีมีความสัมพันธ์กับทัศนธาตุในข้อใดมากที่สุด *

1 คะแนน

19. สีที่ให้ความรู้สึกอ่อนหวาน น่ารัก คือสีอะไร *

1 คะแนน

20. จุดเป็นต้นกำเนิดของสิ่งใด *

1 คะแนน

ห้ามส่งรหัสผ่านใน Google ฟอร์ม

1      มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

        ศ 1.1     ป.5/3        วาดภาพ โดยใช้เทคนิคของแสงเงา น้ำหนัก และวรรณะสี

2      สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

       การวาดภาพให้มีความสวยงาม สมจริงนั้น ผู้วาดภาพจะต้องเข้าใจองค์ประกอบ และใช้เทคนิคของแสงเงา เทคนิคของน้ำหนักสี และเทคนิคของวรรณะสี โดยปฏิบัติตามวิธีการอย่างถูกต้อง

3      สาระการเรียนรู้

        3.1   สาระการเรียนรู้แกนกลาง

            -   แสงเงา น้ำหนัก และวรรณะสี

1      มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

        ศ 1.1     ป.5/3        วาดภาพ โดยใช้เทคนิคของแสงเงา น้ำหนัก และวรรณะสี

2      สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

       การวาดภาพให้มีความสวยงาม สมจริงนั้น ผู้วาดภาพจะต้องเข้าใจองค์ประกอบ และใช้เทคนิคของแสงเงา เทคนิคของน้ำหนักสี และเทคนิคของวรรณะสี โดยปฏิบัติตามวิธีการอย่างถูกต้อง

3      สาระการเรียนรู้

        3.1   สาระการเรียนรู้แกนกลาง

            -   แสงเงา น้ำหนัก และวรรณะสี

3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น                      

              (พิจารณาตามหลักสูตรสถานศึกษา)

4      สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

       4.1   ความสามารถในการสื่อสาร

        4.2   ความสามารถในการคิด

            -   ทักษะการสังเกต

        4.3   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5      คุณลักษณะอันพึงประสงค์

       1.   มีวินัย                           

       2.   ใฝ่เรียนรู้                        

       3.   มุ่งมั่นในการทำงาน

6      ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

       ผลงานภาพวาดระบายสีตามจินตนาการของตนเอง โดยใช้เทคนิคแบบต่างๆ

7      การวัดและการประเมินผล

        7.1   การประเมินก่อนเรียน

                -   ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แสงเงากับการวาดภาพ

       7.2   การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

            1)  ตรวจใบงานที่ 3.1 เรื่อง การวาดภาพที่เกิดแสงเงา

            2)  ตรวจใบงานที่ 3.2 เรื่อง การวาดภาพโดยใช้น้ำหนักของสี

            3)  ตรวจใบงานที่ 3.3 เรื่อง สนุกกับวรรณะสี

            4)  ตรวจใบงานที่ 3.4 เรื่อง การวาดภาพโดยใช้วรรณะสี

            5)  ตรวจแบบบันทึกการอ่าน

            6)  ประเมินการนำเสนอผลงาน

            7)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

            8)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

            9)  สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์

        7.3   การประเมินหลังเรียน

            -   ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แสงเงากับการวาดภาพ

       7.4   การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

            -   ตรวจผลงานภาพวาดระบายสีตามจินตนาการของตนเอง โดยใช้เทคนิคแบบต่างๆ

8      กิจกรรมการเรียนรู้

                 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่องที่

1

  การวาดภาพที่เกิดแสงเงา

วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ :  กระบวนการปฏิบัติ

ขั้นที่ 1    สังเกต รับรู้

   1. ครูนำนักเรียนไปยังบริเวณสนามหญ้าของโรงเรียน แล้วครูนำผลแอปเปิล จำนวน 1 ผล มาวางไว้บนโต๊ะกลางสนาม จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันสังเกตลักษณะของแสงที่ปรากฏบนผลแอปเปิล แล้วบันทึกผล

   2. ครูนำผลแอปเปิล มาวางไว้ในที่ร่ม แล้วใช้ไฟฉายส่องที่ผลแอปเปิล จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันสังเกตลักษณะของแสงที่ปรากฏบนผลแอปเปิล แล้วบันทึกผล

   3. ครูสุ่มนักเรียน 2-3 คน บอกลักษณะของแสงที่ปรากฏบนผลแอปเปิลในสถานการณ์ต่างๆ แล้วให้เพื่อนนักเรียนได้นำเสนอเพิ่มเติมในส่วนที่แตกต่างกันออกไป จากนั้นครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของแสงและเงาในงานทัศนศิลป์

   4. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ แล้วให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง การวาดภาพที่เกิดแสงเงา จากหนังสือเรียน แล้วร่วมกันสรุปสาระสำคัญ

ขั้นที่ 2    ทำตามแบบ

   1. ครูสาธิตการวาดภาพที่เกิดแสงเงา ให้นักเรียนดู พร้อมอธิบายประกอบในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

   2. นักเรียนแต่ละคนฝึกวาดภาพที่เกิดแสงเงา ตามแบบที่ครูสาธิต หากมีข้อสงสัยให้ศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือเรียน หรือจากเอกสารประกอบการสอน หรือสอบถามจากครู

   3. ครูสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน และคอยให้คำแนะนำ เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ขั้นที่ 3    ทำเองโดยไม่มีแบบ

   1. นักเรียนแต่ละคนฝึกวาดภาพที่เกิดแสงเงา โดยไม่ต้องดูแบบ แล้วผลัดกันอธิบายผลงานของตนให้เพื่อน  ในกลุ่มฟัง ผลัดกันแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ

   2. ครูให้ข้อเสนอแนะกับนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้นักเรียนนำไปปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น

ขั้นที่ 4    ฝึกทำให้ชำนาญ

   1. นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 3.1 เรื่อง การวาดภาพที่เกิดแสงเงา เป็นการบ้าน เมื่อทำเสร็จแล้วนำส่งครูตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน

   2. ครูแนะนำให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปเป็นพื้นฐานในการฝึกฝนทักษะการวาดภาพที่เกิด  แสงเงาให้ดียิ่งขึ้น แล้วผลัดกันนำผลงานมาเล่าสู่กันฟัง (นอกเวลาเรียน)

   3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การวาดภาพที่เกิดแสงเงา

เรื่องที่

2

  การวาดภาพโดยวิธีการใช้น้ำหนักของสี

วิธีสอนโดยใช้การ  สาธิต

ขั้นที่ 1    เตรียมการสาธิต

   1. ครูให้นักเรียนดูภาพทิวทัศน์ แล้วให้นักเรียนร่วมกันสังเกตและแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่กำหนด

   2. ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการวาดภาพโดยวิธีการใช้น้ำหนักของสี

   3. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม จับคู่กันเป็น 2 คู่ แล้วให้แต่ละคู่ร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง การวาดภาพโดยวิธีการใช้น้ำหนักของสี จากหนังสือเรียน จากนั้นร่วมกันสรุปสาระสำคัญ

   4. ครูจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดภาพระบายสี เพื่อประกอบการสาธิตการวาดภาพโดยวิธีการใช้น้ำหนักของสี

ขั้นที่ 2    สาธิต

   1. ครูชี้แจงจุดประสงค์การสาธิตการวาดภาพโดยวิธีการใช้น้ำหนักของสี ให้นักเรียนทราบ

   2. ครูสาธิตการวาดภาพโดยวิธีการใช้น้ำหนักของสี ตามขั้นตอนให้นักเรียนดู พร้อมอธิบายประกอบ เพื่อให้นักเรียนจดจำและนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

   3. นักเรียนแต่ละคู่ร่วมกันฝึกวาดภาพโดยวิธีการใช้น้ำหนักของสีตามแบบที่ครูสาธิต หากมีข้อสงสัยให้ศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากเอกสารประกอบการสอน หรือสอบถามจากครู

   4. ครูคอยสังเกตและให้คำแนะนำเพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ขั้นที่ 3    สรุปการสาธิต

       ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปขั้นตอนการวาดภาพโดยวิธีการใช้น้ำหนักของสี

ขั้นที่ 4    วัดผลประเมินผล

   1. นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 3.2 เรื่อง การวาดภาพโดยใช้น้ำหนักของสี เมื่อทำเสร็จแล้วนำส่งครูตรวจ

   2. ครูคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด 3 อันดับ เพื่อนำมาจัดป้ายนิเทศแสดงผลงานของนักเรียน

เรื่องที่

3

  รู้จักวรรณะสี

วิธีสอนแบบ  กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์

ขั้นที่ 1    นำเข้าสู่บทเรียน

   1. ครูให้นักเรียนดูภาพ แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่กำหนด

   2. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวรรณะสีที่มีต่อการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์

ขั้นที่ 2    จัดการเรียนรู้

   1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม จับคู่กันเป็น 2 คู่ ให้แต่ละคู่ร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง วรรณะสี จากหนังสือเรียน ในหัวข้อที่กำหนดให้ ดังนี้

       -    คู่ที่ 1 ศึกษาความรู้เรื่อง สีวรรณะร้อน

       -    คู่ที่ 2 ศึกษาความรู้เรื่อง สีวรรณะเย็น

       จากนั้นร่วมกันสรุปสาระสำคัญ

   2. สมาชิกแต่ละคู่ผลัดกันนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาอธิบายให้เพื่อนอีกคู่หนึ่งภายในกลุ่มฟัง ผลัดกันซักถามข้อสงสัยและอธิบายจนทุกคนมีความเข้าใจชัดเจนตรงกัน         

   3. ครูอธิบายความรู้เกี่ยวกับวรรณะสี พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้นักเรียนฟังเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจชัดเจนมากยิ่งขึ้น

   4. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายว่า วรรณะสีมีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์อย่างไรบ้าง

   5. ครูสุ่มนักเรียน 2-3 กลุ่ม นำเสนอผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียน แล้วให้เพื่อนกลุ่มอื่นได้นำเสนอเพิ่มเติม     ในส่วนที่แตกต่างกันออกไป

   6. นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 3.3 เรื่อง สนุกกับวรรณะสี เมื่อทำเสร็จแล้วตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยก่อนนำส่งครูตรวจ

ขั้นที่ 3    สรุปและนำหลักการไปประยุกต์ใช้

   1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง วรรณะสี

   2. ครูแนะนำให้นักเรียนนำความรู้เรื่อง วรรณะสี ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ของตนเองต่อไปในอนาคต

ขั้นที่ 4    วัดและประเมินผล

       ครูวัดและประเมินผลนักเรียนจากการทำใบงานที่ 3.3

เรื่องที่

4

  การวาดภาพโดยใช้วรรณะสี

วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ :  กระบวนการปฏิบัติ

ขั้นที่ 1    สังเกต รับรู้

   1. ครูนำภาพ หรือตัวอย่างผลงานทัศนศิลป์ มาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถามที่กำหนด

   2. ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจความสำคัญของการใช้วรรณะสีในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์

   3. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง การวาดภาพโดยใช้วรรณะสี จากหนังสือเรียน แล้วร่วมกันสรุปสาระสำคัญ

ขั้นที่ 2    ทำตามแบบ

   1. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์หรือครูสาธิตการวาดภาพต้นไม้โดยใช้วรรณะสี ให้นักเรียนดูตามขั้นตอน         พร้อมอธิบายประกอบ เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

   2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันฝึกวาดภาพต้นไม้โดยใช้วรรณะสี ตามแบบที่ครูสาธิต หากมีข้อสงสัยให้ศึกษาความรู้เพิ่มเติม จากเอกสารประกอบการสอน หรือสอบถามจากครู

   3. ครูสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนและให้คำแนะนำ เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ขั้นที่ 3    ทำเองโดยไม่มีแบบ

   1. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันฝึกวาดภาพต้นไม้โดยใช้วรรณะสี โดยไม่ต้องดูแบบ แล้วผลัดกันแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ

   2. ครูให้คำแนะนำกับนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้นักเรียนสามารถปรับปรุงและพัฒนาผลงานของตนเองให้ดียิ่งขึ้นได้

ขั้นที่ 4    ฝึกทำให้ชำนาญ

   1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 3.4 เรื่อง การวาดภาพโดยใช้วรรณะสี เป็นการบ้าน เมื่อทำเสร็จแล้วตรวจสอบความเรียบร้อย และนำส่งครูตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน

   2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การวาดภาพโดยใช้วรรณะสี

   Ÿ  ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนวาดภาพระบายสีตามจินตนาการของตนเอง โดยใช้เทคนิคแบบต่างๆ โดยให้ครอบคลุมประเด็นตามที่กำหนด

                     นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3

9      สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

        9.1   สื่อการเรียนรู้

            1)  หนังสือเรียน ทัศนศิลป์ ป.5

            2)  บทเรียนคอมพิวเตอร์ Smart L.O. LMS Lite ทัศนศิลป์ ป.5บริษัท เพลย์เอเบิล จำกัด

            3)  เอกสารประกอบการสอน

            4)  วัสดุที่ใช้ในการประกอบกิจกรรม ได้แก่ ผลแอปเปิล ไฟฉาย และโต๊ะ

            5)  วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดภาพระบายสี ได้แก่ ดินสอ สีชนิดต่างๆ ยางลบ พู่กัน จานสี

                 และกระดาษวาดเขียน

            6)  ตัวอย่างผลงาน

            7)  บัตรภาพ

            8)  ใบงานที่ 3.1 เรื่อง การวาดภาพที่เกิดแสงเงา

            9)  ใบงานที่ 3.2 เรื่อง การวาดภาพโดยใช้น้ำหนักของสี

           10)  ใบงานที่ 3.3 เรื่อง สนุกกับวรรณะสี

           11)  ใบงานที่ 3.4 เรื่อง การวาดภาพโดยใช้วรรณะสี

        9.2   แหล่งการเรียนรู้

            1)  บริเวณสนามหญ้าของโรงเรียน

             2)  แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                 -   //www.aksorn.com/lib/p/art_01 (เรื่อง เทคนิคการแรเงา)

                 -   //www.aksorn.com/lib/p/art_01 (เรื่อง สีกับความรู้สึก)

การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

แบบประเมินผลงานภาพวาดระบายสีตามจินตนาการของตนเอง

โดยใช้เทคนิคแบบต่างๆ

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ / ระดับคะแนน

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1. การใช้เทคนิคของแสงเงา

วาดภาพระบายสี โดยใช้เทคนิคแสงเงาได้อย่างมีมิติ และมีความสมดุลของแสง  และเงา

วาดภาพระบายสี โดยใช้เทคนิคแสงเงาได้ค่อนข้างมีมิติ และมีความสมดุลของแสง  และเงา

วาดภาพระบายสี โดยใช้เทคนิคแสงเงาได้ แต่ไม่มีมิติ และไม่มีความสมดุลของแสงและเงา

2.  การใช้เทคนิคของน้ำหนักสี

วาดภาพระบายสี โดยใช้เทคนิคของน้ำหนักสีได้อย่าง มีมิติ กลมกลืน และเหมือนจริง

วาดภาพระบายสี โดยใช้เทคนิคของน้ำหนักสี           ได้ค่อนข้างมีมิติ กลมกลืน และค่อนข้างเหมือนจริง

วาดภาพระบายสี โดยใช้เทคนิคของน้ำหนักสีได้          แต่ไม่ค่อยมีมิติ กลมกลืน     และไม่เหมือนจริง

3.  การใช้เทคนิคของวรรณะสี

วาดภาพระบายสี โดยใช้เทคนิคของวรรณะสีได้ถูกต้อง สวยงาม และมีความโดดเด่น

วาดภาพระบายสี โดยใช้เทคนิคของวรรณะสีได้ถูกต้อง ค่อนข้างสวยงาม และมีความโดดเด่น

วาดภาพระบายสี โดยใช้เทคนิคของวรรณะสีได้ถูกต้อง แต่ไม่สวยงาม และไม่มีความโดดเด่น

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

8 - 9

5 - 7

ต่ำกว่า 5

ระดับคุณภาพ

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

                                                              แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่   3  

คำชี้แจง      ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  ประโยชน์ของแสงเงา คืออะไร

       ก.   ทำให้ภาพคมชัด

       ข.   ทำให้ภาพมีมิติ

       ค.   ทำให้ภาพมีสีสัน

       ง.   ทำให้ภาพมีความสวยงาม

   2.  ถ้ามีแสงส่องวัตถุจากทางด้านขวา จะต้องลงแสงเงา

       ของภาพตามข้อใด

       ก.   ลงแสงเงาโดยรอบวัตถุ

       ข.   ลงแสงเงาด้านขวาของวัตถุ

       ค.   ลงแสงเงาด้านซ้ายของวัตถุ

       ง.   ลงแสงเงาตรงกลางของวัตถุ

   3.  สีดำ เหมาะที่จะนำมาใช้ระบายสีภาพในส่วนใด

       ก.   เงาตกทอด

       ข.   เงาในตัวเอง

       ค.   เงาจากธรรมชาติ

       ง.   เงาที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น

   4.  ภาพวาดสิ่งที่อยู่ใกล้ ควรลงสีอย่างไร

       ก.   สีดำ

       ข.   สีมืด

       ค.   สีเข้ม

       ง.   สีจาง

   5.  การระบายสีจาง ควรนำมาใช้กับภาพในลักษณะใด

       ก.   ภาพสิ่งที่อยู่ใกล้

       ข.   ภาพสิ่งที่อยู่ไกล

       ค.   ภาพที่ต้องแสดงแสงเงา

       ง.   ภาพที่ไม่ต้องแสดงแสงเงา 

   6.  การวาดภาพโดยวิธีการใช้น้ำหนักของสี มีประโยชน์           อย่างไร

       ก.   ทำให้ภาพมีมิติใกล้-ไกล

       ข.   ทำให้ภาพเลือนราง

       ค.   ทำให้ภาพสีสดใส

       ง.   ทำให้ภาพสมดุล

   7.  การใช้น้ำหนักสีใกล้-ไกลในการวาดภาพ จะทำให้ภาพ

       มีลักษณะเป็นอย่างไร

       ก.   ทำให้ภาพมีแสงเงา

       ข.   ทำให้ภาพมีราคาสูงขึ้น

       ค.   ทำให้ภาพมีความสมดุล

       ง.   ทำให้ภาพมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง

   8.  ถ้าต้องการวาดภาพระบายสีทะเลทราย

       ควรใช้สีในวรรณะใด

       ก.   สีวรรณะร้อน

       ข.   สีวรรณะเย็น

       ค.   สีวรรณะเข้ม

       ง.   สีวรรณะอ่อน

   9.  ความสัมพันธ์ของวรรณะสีในข้อใดถูกต้อง

       ก.   สีวรรณะเข้ม-สีเขียว

       ข.   สีวรรณะอ่อน-สีขาว

       ค.   สีวรรณะเย็น-สีแดง

       ง.   สีวรรณะร้อน-สีส้ม

10.  สีวรรณะเย็น เหมาะที่จะนำมาใช้วาดภาพในข้อใด

       ก.   ภาพทุ่งดอกทานตะวัน

       ข.   ภาพผืนดินที่แห้งแล้ง

       ค.   ภาพโลกใต้ทะเล

       ง.   ภาพไร่ส้ม

เฉลย

    1.  ข

    2.  ง

    3.  ข 

    4.  ค

    5.  ก

    6.  ง

    7.  ง  

    8.  ค

    9.  ค 

  10.  ก

แสงและเงาทำให้ผลงานทัศนศิลป์เกิดสิ่งใด

แสงช่วยทาให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นแสงยังทาให้เกิดเงาของวัตถุ ซึ่ง เงานี้จะอยู่ในทิศทางตรงข้ามกับแสงเสมอ ทั้งแสงและเงาช่วยทาให้เกิดระยะความตื้นลึกของภาพใน การเขียนภาพระบายสี เราสามารถใช้สีต่างๆแสดงแสงและเงาได้

แสงคืออะไร ศิลปะ

5. แสง-เงา (Light - Shade) 5.1 แสง (Light) หมายถึงความสว่าง ที่เกิดจากธรรมชาติได้แก่ แสงจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นได้แก่ แสงจากไฟฟ้า เป็นต้น แสง แบ่งออกได้ 3 ระดับได้แก่ - แสงสว่างที่สุด (High Light) คือจุดที่แสงส่องกระทบวัตถุมากที่สุด

แสงและเงามีความสำคัญในการเขียนภาพอย่างไร

แสงและเงา (LIGHT AND SHADOW) ในการวาดภาพลายเส้นนั้นน้ำหนักแสงเงาเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำงาน เพราะแสงเงาจะช่วยทำให้ผลงานที่สร้างสรรค์ออกมาเหมือนจริงมากยิ่งขึ้น การวาดภาพที่มีการแสดงน้ำหนักแสงเงาที่ชัดเจนนั้น จะถ่ายทอดตามสายตาที่มองเห็น เช่น ความลึก ตื้น หนา บาง นูน เรียบ โค้ง เว้า ได้ชัดเจนมากกว่าภาพที่แสดงด้วย ...

ข้อใดคือความหมายของแสงและเงา

เป็นองค์ประกอบของศิลป์ที่อยู่คู่กันแสงเมื่อส่องกระทบกับวัตถุจะทำให้เกิดเงา แสงและเงาเป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของเแสง ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น และในที่ที่มีแสงสว่างน้อยเงาจะไม่ชัดเจนในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงาและเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ ค่าน้ำหนักของแสงและ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf