ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย โดย รองศาสตราจารย์นิภา ศรี ไพโรจน์

        การวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นคว้าและพัฒนาความรู้ในศาสตร์ทุกแขนง การวิจัยจะช่วยให้อธิบายเหตุผลในการปฏิบัติได้อย่าง เช่น วิทยาศาสตร์ ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเป็นการขยายขอบเขตความรู้ให้กว้างขว้าง กระบวนการวิจัย ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์หรือหลักกระบวนการแก้ปัญหา ซึ่งทุกคนได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว จึงไม่เป็นการยากที่จะเรียนรู้

  ความหมายการวิจัย 

  การวิจัย ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Research” ถ้าจะแปลตามตัวหมายถึง การค้นหาซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งความหมายของคำว่าวิจัย ทางด้านวิชาการได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กัน เช่น

การวิจัย (พจนานุกรม. 2525) คือ การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา

                เบสท์ (Best, 1981 อ้างถึงใน บุญเรียง ขจรศิลป์ , 2533 : 5) ได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่าเป็นวิธีการที่เป็นระบบระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์ และคิดบันทึกการสังเกตที่มีการควบคุมเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปอ้างอิง หลักการหรือทฤษฎีซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำงานและการควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้           
              รัตนะ บัวสนธ์ (2540, 3) ได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่า เป็นการหาความจริงเชิง สาธารณะด้วยวิธีการที่เรียกว่ากระบวนการวิจัยซึ่งมีลักษณะเป็นระบบมีขั้นตอน     
              ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล (2543 : 21) สรุปความหมายของการวิจัยไว้ว่า การวิจัยคือการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบระเบียบเพื่อทำความเข้าใจปัญหาและแสวงหาคำตอบ เป็นกระบวนการที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก   
     บุญเรียง ขจรศิลป์ (2533 : 5) ได้ให้ความหมายของคำว่า การวิจัยทางด้านวิชาการ หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์               
                สรุปความหมายการวิจัย     คือ กระบวนการหาความรู้ความจริงใหม่ ที่มีระบบแบบแผนตามหลักวิชา อาศัยหลักเหตุผล ที่รอบคอบ รัดกุม ละเอียดและเชื่อถือได้ และความรู้ความจริงนั้นจะนำไปเป็นหลักการ ทฤษฎี หรือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้มนุษย์ได้รับรู้และนำไปใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตด้วยความสงบสุขหรือป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยอันตรายต่าง ๆ ได้

ลักษณะที่สำคัญของการวิจัย      

เบสท์ (Best , 1981อ้างถึงใน บุญเรียง ขจรศิลป์ , 2533 : 5)  ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการวิจัยไว้ดังนี้     
              1. เป้าหมายของการวิจัยมุ่งที่จะหาคำตอบต่าง ๆ เพื่อจะนำมาใช้แก้ปัญหาที่มีอยู่โดยพยายามที่จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง ตัวแปรในลักษณะความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน               
              2. การวิจัยเน้นถึงการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์หรือทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป้าหมายของการวิจัยนั้นมิได้ หยุดอยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาเท่านั้น แต่ข้อสรุปที่ได้มุ่งที่จะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร เป้าหมาย           
              3. การวิจัยจะอาศัยข้อมูล หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตได้รวบรวมได้ คำถามที่น่าสนใจบางคำถามไม่สามารถทำการวิจัยได้ เพราะไม่สามารถรวบรวมข้อมูลมาศึกษาได้          
              4. การวิจัยต้องการเครื่องมือและการรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำ เที่ยงตรง 
              5. การวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ จากแหล่งปฐมภูมิหรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่เดิมเพื่อหาคำตอบของวัตถุประสงค์ใหม่       
                6. กิจกรรมที่ใช้ในการวิจัย เป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้อย่างมีระบบแบบแผน       
                7. การวิจัยต้องการผู้รู้จริงในเนื้อหาที่จะทำการวิจัย   
                8. การวิจัยเป็นกระบวนการที่มีเหตุผล และมีความเป็นปรนัยสามารถที่จะทำการตรวจสอบความตรงของวิธีการที่ใช้ข้อมูลที่รวบรวมมา และข้อสรุปที่ได้            
                9. สามารถที่จะทำซ้ำได้ โดยใช้วิธีเดียวกัน หรือวิธีการที่คล้ายคลึงกันถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มประชากร สถานการณ์ หรือระยะเวลา             
              10. การทำวิจัยนั้นจะต้องมีความอดทนและรีบร้อนไม่ได้ นักวิจัยควรจะเตรียมใจไว้ด้วยว่า อาจจะต้องมีความลำบากในบางเรื่อง ในบางกรณีที่จะแสวงหาคำตอบ ของคำถามที่ยาก ๆ 
               11. การเขียนรายงานการวิจัยควรจะทำอย่างละเอียดรอบคอบ ศัพท์เทคนิคที่ใช้ควรจะบัญญัติความหมายไว้ วิธีการที่ใช้ในการวิจัยอธิบายอย่างละเอียด รายงายผลการวิจัยอย่างตรงไป ตรงมาโดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว ไม่บิดเบือนผลการวิจัย    
              12. การวิจัยนั้นต้องการความซื่อสัตย์และกล้าหาญในการรายงานผลการวิจัยในบางครั้ง ซึ่งอาจจะไปขัดกับความรู้สึกหรือผลการวิจัยของคนอื่นก็ตาม

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

ในการดำเนินการวิจัยนั้นโดยปกติเราจะมีวัตถุประสงค์สำคัญต่อไปนี้
     1. เพื่อใช้ในการบรรยาย ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถที่จำบรรยายลักษณะของสิ่งที่ทำการศึกษาวิจัย นั้น ว่าเป็นเช่นไร อยู่ที่ใด มีกี่ประเภท มากน้อยเพียงใด มีสภาพเป็นอย่างไร มีพัฒนการหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือ มีปัญหาอะไร มีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
     2. เพื่อใช้ในการอธิบาย ผลที่ได้จากการวิจัยจะสามารถบอกเหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งใดหรือได้รับอิทธิพลจาก ตัวแปรใดหรือปัจจัยใด รวมทั้ง ปัจจัยใดมีอิทธิพลมากน้อยกว่ากัน ซึ่งผู้วิจัยอาจทดลองใส่ปัจจัยลงไป ในสิ่งที่ศึกษาแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น แล้วจะช่วยอธิบายได้ว่า การเปลี่ยนแปลงหรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพราะสาเหตุใดหรือได้รับอิทธิพลจากสิ่งใด
      3. เพื่อใช้ในการทำนาย ในบางครั้ง เราจำเป็นที่จะต้องทราบอนาคตของสิ่งที่ศึกษา ว่าเป็นเช่นไร อันจะช่วยให้มนุษย์สามารถที่เตรียมการ ปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้ ซึ่งการวิจัยนี้อาจจะอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้น มาแล้วในอดีตจนถึงปัจจุบันแล้วทำการวิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจจะอาศัยวิธีการทางสถิติ หรืออาศัยประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คน เป็นต้น
     4. เพื่อใช้ในการควบคุม ในการดำเนินกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งต้องการประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน จำเป็นที่จะต้องเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลง และมีการปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ อยู่เสมอ ซึ่งเพื่อ ให้สามารถได้ข้อมูลที่ถูกต้องทันเหตุการณ์และเพียงพอต่อการตัดสินใจ แก้ปัญหาและปรับปรุงงานนั้น ๆ จำเป็นจะต้องอาศัยกระบวนการวิจัยที่รอบรอบรัดกุมยิ่งขึ้น
     5. เพื่อใช้ในการพัฒนา ในการวิจัยจะช่วยให้ทราบสภาพความเป็นอยู่ หรือสภาพการดำเนินการใด ๆ ว่ามีประสิทธิภาพ หรือมีปัญหา หรือความต้องการเพียงใด และสามารถทดลองแก้ปัญหาหรือปรับปรุงสภาพการดำเนินงานใด ๆ อยู่เสมอ ก็จะทำให้สภาพความเป็นอยู่ หรือสภาพดำเนินการใด ๆ ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและส่งผลต่อคุณภาพของงานนั้น อันจะส่งผลต่อความสงบสุขของมนุษย์นั่นเอง
ประโยชน์ของการวิจัย

    1. ช่วยให้ได้ความรู้ใหม่ ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
    2. ช่วยพิสูจน์หรือตรวจสอบความถูกต้องของกฏเกณฑ์ หลักการและทฤษฎีต่างๆ
    3. ช่วย ให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฏการณ์และ พฤติกรรมต่าง ๆ
    4. ช่วยพยากรณ์ผลภายหน้าของสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่าง ถูกต้อง
    5. ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
    6. ช่วยในการวินิจฉัย ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
    7. ช่วยปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    8. ช่วยปรับปรุงและพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ และวิธีดำรงชีวิตได้ดียิ่งขึ้น
    9. ช่วยกระตุ้นบุคคลให้มีเหตุผล รู้จักคิดและค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ

จรรยาของนักวิจัย

ในการทำวิจัยนอกจากระเบียบวิธีกระบวนการ เพื่อได้มาซึ่งคำตอบที่เชื่อถือได้แล้ว สิ่งสำคัญอย่างยิ่งอีกประการคือ จรรยาของนักวิจัย ที่นักวิจัยทุกคนต้องตระหนักและประพฤติปฏิบัติในคู่มือฉบับนี้แบ่งออกเป็น 2 ข้อใหญ่ ๆ คือ

1. ความซื่อสัตย์ในการดำเนินการวิจัย   นักวิจัยต้องดำเนินการวิจัยทุกขั้นตอนอย่างซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์การรายงานผลการวิจัย ต้องใช้ข้อมูลจริง ไม่สร้างข้อมูลที่เป็นเท็จ และรายงานผลการวิจัยทุกด้าน รวมทั้งข้อบกพร่องในการวิจัย เพื่อให้ผู้ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้จะได้ป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น

2. การเคารพสิทธิของผู้ถูกวิจัย   ในการทำวิจัยกับคนนั้นแต่ละคนมีสิทธิของตนในการจะเป็นผู้ถูกวิจัยหรือตัวอย่างในการวิจัย สิทธิต่าง ๆ ได้แก่

2.1 การได้รับความเคารพในความเป็นบุคคล มีสิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเอง ในการเข้าร่วมการวิจัย ตลอดจนการถอนตัวจากการวิจัย

2.2 การได้รับความปลอดภัยจากอันตรายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย ทั้งด้าน กาย จิต สังคม จิตวิญญาณและเศรษฐกิจ

คุณลักษณะของนักวิจัย

นักวิจัย   คือ   ผู้ที่พยายามหาข้อเท็จจริงของธรรมชาติโดยใช้กระบวนการที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ในสาขานั้น ๆ นักวิจัยควรมีคุณลักษณะอย่างน้อย 7 ประการ ต่อไปนี้

1. มีความสงสัยไม่เชื่อสิ่งต่างๆ อย่างง่าย

2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3. ขยันหมั่นเพียร

4. มีวิจารณญาณ

5. ใจกว้าง

6. ซื่อสัตย์

7. มีความสุขในการทำงาน

 นอกจากคุณลักษณะ 7 ประการแล้ว นักวิจัยควรมีจริยธรรมของนักวิจัยดังนี้  จริยธรรมในการวิจัย 8 ประการได้แก่

1. ควรได้รับการยินยอมจากกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย

2. การเก็บความลับของข้อมูล

3. การป้องกันความบีบคั้น (Stress) ทางกาย – จิต ของกลุ่มตัวอย่าง

4. ให้เกียรติผู้มีส่วนช่วยเหลือในการวิจัย

5.ให้เกียรติในการอ้างอิงข้อมูล

6. ความเป็นกลางจากแหล่งทุนอุดหนุน

7. ซื่อสัตย์ต่อกลุ่มตัวอย่าง, วิชาชีพ

8. ซื่อสัตย์ต่อสาธารณชน ไม่มุ่งเผยแพร่งานวิจัยเฉพาะพวกพ้องของตน

ขั้นตอนที่สำคัญในการทำวิจัย

1.เลือกและกำหนดปัญหาของการวิจัย

2.อธิบายที่มาและความสำคัญของปัญหาที่วิจัย

3.กำหนดวัตถุประสงค์

4.ตั้งสมมติฐาน

5.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

6.กำหนดรูปแบบ

7.เก็บรวบรวมข้อมูล

8.จัดทำข้อมูล

9.วิเคราะห์ข้อมูล

10.ตีความจากผลวิเคราะห์ข้อมูลและการรายงานผล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf