แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน มีกี่ประเภท

วัดสระทะเล

ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

         วัดสระทะเล ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2357 ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 42 หมู่ที่ 3 บ้านสระทะเล ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ หมู่บ้านสระทะเล เดิมชื่อหนองทะเล เพราะอยู่ข้างหนองน้ำ ต่อมาหลวงพ่อเทศได้เดินทางมาที่หมู่บ้านและขอตั้งวัดด้านทิศใต้ของหนองน้ำ และทำหนองน้ำให้เป็นสระเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ จึงเปลี่ยนชื่อจากหนองทะเล เป็นสระทะเลซึ่งเป็นที่มาของวัดสระทะเล โดยหลวงพ่อเทศเป็นผู้สร้างวัดสระทะเล ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2432

         ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญที่เป็นแหล่งยึดเหนียวจิตใจของชาวบ้านในตำบลสระทะเล ซึ่งภายในวัดร่มรื่นและยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือหลวงพ่อเทศ ที่ชาวบ้านต่างให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก หลวงพ่อเทศ เป็นเกจิยุคเก่าซึ่งนับเป็นอาจารย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ซึ่งหลวงพ่อเทศมีความเก่งด้านอาคมขลัง ทางน้ำมนต์ มีวาจาสิทธิ์ เชี่ยวชาญเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน

การบริหารและการปกครอง

          มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ พระอธิการจำเนียร สิริธมโม

ที่ดินที่ตั้งวัด

      มี่เนื้อที่ 60 ไร่ 1 งาน 78 ตารางวา

          ทิศเหนือ         จดที่ดินเอกชน

          ทิศใต้            จดทางสาธารณะประโยชน์

          ทิศตะวันออก   จดที่ดินเอกชน และทางสาธารณะประโยชน์

          ทิศตะวันออก   จดที่ดินเอกชน

องค์ความรู้ในแหล่งเรียนรู้         

               เหรียญหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ปร 2495 เนื้ออัลปาก้า เลี่ยมจับขอบเงินโบราณ หายากมาก หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เป็นพระอาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชาทำมีดให้หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพและหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว หลวงพ่อเทศเป็นศิษย์หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี ซึ่งหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้วเป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อเฒ่ารอด ปรมาจารย์ผู้สร้างวัดหนองโพ  แต่ท่านไม่ได้สร้างเหรียญ ทึกเหรียญจึงสร้างภายหลังท่านมรณะทั้งสิ้น แต่เรื่องความขลังขนาด เหรียญปั๊มรูปเสมา ทางวัดสระทะเลได้สร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเทศขึ้นจำนวนหนึ่ง แล้วนำไปให้หลวงพ่อเดิมปลุกเสกเพื่อให้เกิดความขลัง เมื่อเอาเหรียญทั้งหมดห่อผ้าขาววางไว้บนพานนำไปถวายท่าน หลวงพ่อเดิมรับมาแล้วไม่ได้แก้ห่อออก ท่านกลับยกขึ้นเหนือศีรษะท่านแล้วส่งคืน กำชับว่า”ของดีแล้ว ไม่ต้องปลุกเสกเลยดีอยู่ในตัว”ทั้งๆที่กรรมการวัดก็ไม่ได้บอกท่านว่าเป็นหลวงพ่อเทศ กรรมการวัดไม่เชื่อนำกลับไปลองยิง ปรากฏว่า ปืนด้านหมด

จุดเริ่มต้นหรือแนวคิดของแหล่งเรียนรู้

                   ในชุมชนต่างๆ มีภูมิปัญญาอยู่หลายด้านและบางแห่งเคยเป็นเมืองเก่ามาก่อน จึงมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ สามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ดี 
                  แหล่งการเรียนรู้ที่ดี และมีความหลากหลายในด้านการศึกษาหาความรู้ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี บุคคลสำคัญในท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ ทั้งในระบบ / นอกระบบการศึกษา และตามอัธยาศัย จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น สามารถนำมาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยไม่ทำให้จุดประสงค์และคาบเวลาเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เริ่มจากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ นำมากำหนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดเนื้อหาสาระ จัดแนวทางในการจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และนำมาจัดทำเป็นแผนการสอนและนำหลักสูตรไปใช้ทั้งนี้เพื่อให้ 
     (1) นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวของตนเอง จากแหล่งการเรียนรู้จริงในท้องถิ่น เกิดความรักความภาคภูมิใจ และสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและพัฒนาท้องถิ่นของตนได้ 
     (2) นำข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งการเรียนรู้มาจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรง จากแหล่งการเรียนรู้และสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้มาใช้ในชีวิตจริง 
     (3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และสามารถนำทักษะกระบวนการเรียนรู้ และ ประสบการณ์การเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ ทำให้เป็นผู้ใฝ่รู้ และเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 

 ความหมายของศูนย์เรียนรู้ชุมชน

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชน ในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ ของชุมชน โดยเน้นการกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ก่อให้เกิดชุมชนแห่ง เรียนรู้ และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง เป็นศูนย์ฯ ของประชาชน ที่ดำเนินการโดยประชาชน และเพื่อประชาชน ที่จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน

จากความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า ศูนย์เรียนรู้ชุมชนในความคาดหวังของกรมการพัฒนาชุมชน ไม่ใช่ศูนย์ฝึกอบรมประจำหมู่บ้านที่รอรับการนัดหมายจากวิทยากรภายนอก แต่จะเป็นสถานที่ที่จะสร้างความผูกพันระหว่างคนในชุมชนกับเรื่องราวของเขาเองเป็นสำคัญ

หลักการสำคัญของศูนย์เรียนรู้ชุมชน

เป็นแหล่งเรียนรู้ทุกด้าน ทุกรูปแบบไม่เน้นการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นศูนย์กลางที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ ค้นคว้าหาความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งการพบปะ สังสรรค์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือในการพัฒนาตนเองและชุมชนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน

ภารกิจของศูนย์เรียนรู้ชุมชน

จัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนเป็นศูนย์รวมของข้อมูล เช่น ข้อมูล จปฐ. กชช.2ค.แหล่งน้ำ กลุ่มอาชีพ ฯลฯ รวมทั้งข่าวสาร สาระความรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เท่าทันสถานการณ์โลกรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน องค์ความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายในชุมชน และจัดการให้เป็นหมวดหมู่ มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ที่ประชาชนสามารถเข้าไปสืบค้นศึกษาและ เรียนรู้ได้ทุกเวลาเป็นศูนย์กลางในการจัดการความรู้ ที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชนเป็นศูนย์ประสานและบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ภาคประชาชน ได้แก่ ผู้นำ กลุ่ม/องค์กร เครือข่าย ภาคเอกชน และภาคีการพัฒนาภาครัฐเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน  เป็นสถานที่ที่มีโครงสร้างเป็นอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ก็ได้ ที่มีองค์ความรู้ สามารถให้การเรียนรู้แก่ประชาชนที่ต้องการความรู้ สามารถเข้าถึงได้

องค์ประกอบ/รูปแบบองค์ประกอบศูนย์เรียนรู้ชุมชน

1) วิธีการก่อเกิด

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นความต้องการของประชาชนในชุมชน เพราะจะเป็นสมบัติของชุมชน จึงควรนำแนวคิดเข้าเวที ประชุมประชาคมของหมู่บ้าน เผยแพร่ความคิด โน้มน้าวสร้างการยอมรับ และชี้ให้เห็นความสำคัญของการมีแหล่งเรียนรู้ของชุมชน การจัดเก็บองค์ความรู้ ประวัติชุมชน และภูมิปัญญาของชุมชนอย่างเป็นระบบ การแสดงข้อมูลข่าวสารของชุมชนให้ได้เรียนรู้กันอย่าง ทั่วถึง รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สม่ำเสมอ โดยเริ่มจากการจัดระเบียบแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน และให้เป็นไปตามกำลังที่ชุมชนจะสามารถดำเนินการได้ อีกทั้งให้มีขอบเขต และลักษณะตามความเห็นของชุมชน

2) โครงสร้าง ของศูนย์เรียนรู้ชุมชน ประกอบด้วย

   คณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนจากผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กร เครือข่ายองค์กรชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัคร ฯลฯ โดยมาจากการคัดเลือกของชาวบ้านเอง และชาวบ้านให้การยอมรับ ซึ่งคณะกรรมการจะร่วมมือกันวางแผน และดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้ร่วมกันกำหนด เพื่อระดมพลังให้เกิดการเรียนรู้และบริหารจัดการในศูนย์เรียนรู้ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

  ที่ปรึกษา เป็นภาคีการพัฒนาภาครัฐ เช่น พัฒนาชุมชน การศึกษานอกโรงเรียน เกษตร สาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 ระเบียบข้อบังคับ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้จัดทำขึ้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารศูนย์ฯ

สถานที่ เล็กใหญ่ไม่สำคัญ อาจจะอยู่ในห้องของอาคาร อบต. บ้านผู้ใหญ่บ้าน บ้านผู้นำ บ้านปราชญ์ชาวบ้าน ศาลาวัด ใต้ต้นไม้ ศาลากลางบ้าน ซึ่งเป็นสถานที่ให้พบปะ ประชุม ทำงานกันได้ตลอดเวลา ให้เป็นสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของการรวมตัวกัน เพื่อการเรียนรู้ ไม่จำเป็นต้องหางบประมาณมาก่อสร้างศูนย์ใหม่

  การบริหารจัดการศูนย์ฯ คณะกรรมการฯ ที่ได้รับการคัดเลือก มีการบริหารจัดการเพื่อให้ศูนย์ฯ สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นรูปธรรม

  งบประมาณ เพื่อพัฒนาคณะกรรมการของศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชน

โครงสร้างทั้งหมดนี้ ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นมาครบถ้วนในระยะเริ่มแรก ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมในแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งอยู่ในบทต่อไป

3) กิจกรรมการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

      3.1 สถานที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ อาจดำเนินการได้ทั้งในอาคารศูนย์ฯ และนอกอาคารศูนย์ฯ โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน เช่น บ้านปราชญ์ชาวบ้าน ในไร่นา เพื่อสาธิตกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ

      3.2 กิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียน/การสอน การจัดการความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชาติพันธุ์ ขนบประเพณี วัฒนธรรม การรับความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน การจัดเวทีประชาคมเพื่อการเรียนรู้และการตัดสินใจร่วมกัน การเรียนรู้ผ่าน E-Learningการสาธิต การจัดนิทรรศการ การจัดสัมมนา อภิปราย ฯลฯ

4) เนื้อหาสาระข่าวสารความรู้ ประกอบด้วย

      4.1 ข้อมูล ได้แก่  ข้อมูล จปฐ. กชช.2ค ทะเบียนผู้นำ กลุ่ม/องค์กร ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น อัตลักษณ์ของชุมชน แผนชุมชน โครงการกิจกรรม ฯลฯ

     4.2 ข่าวสาร (สารสนเทศ) ได้แก่

  • สารสนเทศชุมชน 13 องค์ประกอบ ได้แก่ ประวัติหมู่บ้าน แผนที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ (ภูมิอากาศ/

ฤดูกาล) ลักษณะของประชากร (อัตราความหนาแน่น/โครงสร้างประชากร) ลักษณะการประกอบอาชีพของชุมชน (เกษตร/อุตสาหกรรม/รับจ้าง ฯลฯ) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของหมู่บ้าน ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของหมู่บ้านศิลปะ/วัฒนธรรม/ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน สถานที่ท่องเที่ยว/สถานที่บริการ การคมนาคม(การเดินทางไปยังหมู่บ้าน) ประเพณี/เทศกาลประจำปี ทักษะ/ฝีมือ/แรงงานของหมู่บ้าน อื่น ๆ

  • ข่าวสารเพื่อชีวิต
  • ข่าวสารเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน

4.3 ความรู้ ได้แก่

  • ความรู้ด้านวัฒนธรรม
  • การประกอบอาชีพ/ผลิตภัณฑ์ชุมชน
  • องค์ความรู้ที่ชุมชนต้องการ เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ชุมชน
  • ความรู้ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน
  • ความรู้ข่าวสารจากภายนอก

คู่มือการจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน

  • คู่มือการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
  • คู่มือการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน
  • คู่มือ-ศูนย์เรียนรู้ชุมชน.

*******************************************************************************************************************************************

ศูนย์เรียนรู้ชุมชนอำเภอสีชมพู

ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านโคกไม้งาม : หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

       เดิมบ้านโคกไม้งาม หมู่ที่ ๑ ตำบลศรีสุข อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่บ้านลอมไผ่ ตำบลศรีสุข ต่อมามีการขยายตัวของประชากรในหมู่บ้านเพิ่มขึ้นจึงได้เกิดการย้ายถิ่นฐานอพยพมาอยู่ที่บ้านโคกไม้งาม ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓  โดยมี นายสิงห์ ไชยเสือ เป็นหัวหน้าที่พาชาวบ้านอพยพมาอยู่ครั้งแรก พร้อมกับพวกอีกประมาณ ๑๓ ครัวเรือน ด้วยเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีทั้งแหล่งน้ำ ป่าไม้ และทุ่งกว้าง จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านป่าไม้งามจนมีผู้คนอาศัยอยู่มากยิ่งขึ้นตามลำดับ ประชาชนและผู้นำชุมชนจึงได้มีมติร่วมกันเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่จากบ้านป่าไม้งามเป็นบ้านโคกไม้งามจนถึงปัจจุบัน จำนวนปีที่จัดตั้งหมู่บ้านประมาณ ๘๙ ปี มาแล้วที่ตั้งหมู่บ้าน โดยมีผู้นำหมู่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวน ๗ ท่าน ได้แก่ 

                    ๑. นายสิงห์    ไชยเสือ 

                    ๒. นายอินตา  ปาลี  

                    ๓.นายจันทร์  ไชยเสือ 

                   ๔.นายสมภาร ไชยเสือ 

                   ๕.นายเสถียร  กุนันท์ 

                   ๖.นายเสงี่ยม  ศรีหาคำ

๗. นายเทพารักษ์  ไชยเสือ (ผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน)

               บ้านโคกไม้งาม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอสีชมพู ห่างจากจังหวัดขอนแก่น ๑๐๕ ก.ม.มีพื้นที่ทั้งหมด ๒,๕๔๐ ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย ๔๐๕ ไร่ ที่ทำการเกษตร ๑,๕๘๖ ไร่สาธารณะ ๓๒๒ ไร่ มีครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริง จำนวน ๑๘๓ ครัวเรือนประชากรจำนวน ๘๕๑ คน เป็นชาย ๓๙๙ คน เป็นจริง จำนวน ๔๕๒ คน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย สำหรับการเกษตรอาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติที่มีอยู่ในหมู่บ้านเมื่อปี ๒๕๓๗ นายเสถียร กุนันท์ กำนันตำบลศรีสุขในขณะนั้น ได้จัดประชุมเพื่อนำข้อมูล จปฐ. และข้อมูลอื่นๆมาวิเคราะห์สภาพปัญหาของหมู่บ้านโคกไม้งาม พบว่าชาวบ้านมีความยากจน ไม่มีอาชีพเสริมหลังฤดูทำการเกษตร เพราะขาดความรู้ในการประกอบอาชีพรวมทั้งไม่มีแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพจึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มสตรี เพื่อรวมกลุ่มในการจัดหาอาชีพเสริม โดยประสานขอความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสีชมพูและในปี ๒๕๓๙ ได้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยมีสมาชิกเริ่มแรก ๓๗ คน เงินทุน,๖๓๐ บาท จนในปี ๒๕๔๐ มีสมาชิกเพิ่มขึ้นและมีการระดมเงินทุนเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีกิจกรรมเครือข่ายของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (ศูนย์สาธิตการตลาด) และนี้เป็นจุดหลักสำคัญที่ทำให้กำนันตำบลศรีสุขได้น้อมนำปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียง มาดำเนินการในกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จนกำนันตำบลศีรสุขได้รับการยอมรับในเรื่องของการพัฒนาชุมชนจากการพัฒนาและดำเนินของกิจกรรม โครงการต่างๆจึงได้รับการสนับสนุน ให้ความร่วมมือและอีกประการหนึ่งต้องการที่จะเห็นหมู่บ้าน /ชุมชน ได้รับการพัฒนาอย่างยั้งยืนและมีโครงการ/กิจกรรมอย่างมากมาย ดังนี้

                    ๑.   กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวนสมาชิกในปัจจุบัน ๑๘๓ ราย เงินสัจจะสะสมจำนวน ๗๓๐,๗๒๙ บาท และกิจกรรมเครือข่ายศูนย์สาธิตการตลาด จำนวนสมาชิก ๑๔๐ ราย เงินทุนทั้งหมด ๑๘๐,๐๐๐ บาท ซิ่งเป็นการระดมทุนและการสร้างจิตสำนึกในการออมให้เกิดในชุมชน

                   ๒.  กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นการบริหารจัดการเงินทุนในการกู้ยืมเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ ปัจจุบันมีเงินทุน ๒,๓๐๐,๐๐๐ บาท

                   ๓.   กลุ่มปลูกถั่วลิสง เป็นการรวมกลุ่มของคนในชุมชน หลังจากการทำอาชีพหลัก(ทำนา)เป็นการส่งเสริมให้ครัวเรือน สร้างรายได้เสริมสมาชิก จำนวน ๑๐๒ ราย พื้นที่เพาะปลูก๙๐๐ ไร่ ผลผลิตที่ได้ ๕๔๐ ก.ก./ไร่

                   ๔.   กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ด เป็นการรวมกลุ่มเพื่อผลิตปุ๋ยไว้ใช้เองในครัวเรือนเป็นการลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนอื่นๆเงินทุน ๑๕๐,๐๐๐ บาท กำลังการผลิต จำนวน ๒๐ ตัน/ปี

                  ๕.   ตลาดแลงบ้านโคกไม้งาม เป็นสถานที่จำหน่ายแลกเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตร จากที่ชาวบ้านปลูกในชุมชน มาจำหน่ายเป็นรายได้เสริมในครัวเรือน

จัดตั้งในปี พ.ศ. ๒๕๔๐เปิดบริการตั้งแต่ เวลา ๑๕.๐๐ น. – ๑๙.๐๐ น. ทุกวัน ทำให้เกิดรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาทต่อครัวเรือน สร้างรายได้เฉลี่ยปีล่ะ ๒๔๐,๐๐๐ บาท

                  ๖.    โครงการชลประทาน(ห้วยลอมไผ่) เป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้น้ำทางการเกษตร ในการปลูกถั่วลิสง ข้าวนาปี ปลูกถั่วเขียว

                  ๗.  แหล่งเรียนรู้การปลูกไผ่นอกฤดู เป็นแหล่งศึกษาดูงาน ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือน ในการผลิตหน่อไม้ ออกจำหน่ายนอกฤดูเป็การสร้างรายได้เสริม

                 ๘. ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นแหล่งศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การเรียนชุมชน เป็นการยกระดับการศึกษาให้กับผู้นำ กลุ่มองค์กร เยาวชน ในการส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญา ในการดำเนินกิจกรรมของการบริหารจัดการกองทุนชุมชน และการพัฒนาของกลุ่มต่างๆในชุมชนชาวบ้านโคกไม้งาม มีความภูมิใจมากที่ผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กรต่างๆที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้ชาวบ้านยึดหลักพื้นฐานของการพัฒนาชุมชน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีความสามัคคีกัน ทำให้เกิดกิจกรรม/โครงการอย่างมากมาย ทำให้บ้านโคกไม้งาม เป็นแหล่งศึกษาดูงานที่สำคัญในการดำเนินวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จนได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อยู่เย็น เป็นสุข” ระดับจังหวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบมั่งมี ศรีสุขและในปีนี้เอง ได้คัดเลือกผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ แทนกำนันเสถียร กุนันท์ (เสียชีวิต) นายเทพารักษ์ ไชยเสือ ผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ ซึ่งได้เรียนรู้ กระบวนการ วิธีการทำงานเพื่อสานต่อเนื่องกับกำนัน จึงได้มีการประชุมผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กรและประชาชน เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานและมอบหมายงานอย่างชัดเจน รวมทั้งประสานหน่วยงานราชการมาเป็นที่ปรึกษา โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากชุมชนอื่นและนำมาปรับใช้กับชุมชนของตนเองการให้กำลังใจกับเพื่อนร่วมงาน สอบถามปัญหา อุปสรรค อยางสม่ำเสมอของกลุ่มองค์กรต่างๆทำให้การพัฒนาบ้านโคกไม้งาม ได้รับการพัมนาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางที่กำหนดไว้ ทำให้มีผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานเป็น จำนวนมาก และมีกิจกรรมต่างๆ ตามมา คือ

                 ๑.   กิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จนขยายผลไปสู่หมู่บ้านอื่นๆ ในอำเภอสีชมพูและยังได้รับการคัดเลือกให้ยกฐานะเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนตำบลศรีสุข

                 ๒. กองทุนแม่ของแผ่นดิน ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเป็นเงินขวัญถุง จำนวน ๘,๐๐๐ บาท

                 ๓. กลุ่มปลูกพืชสมุนไพร (ยาหม่องและน้ำยาล้างจาน) เป็นอาชีพเสริมหลังจากที่ชาวบ้านเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยว และได้รับงบประมาณสนับสนุนตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบมั่งมี ศรีสุข

                ๔. หมู่บ้านโฮมสเตย์ เพื่อเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชนสำหรับจำหน่ายของที่ระลึกรายได้เฉลี่ย ๓,๐๐๐ บาท/เดือน สมาชิกจำนวน ๖๐ ราย เงินทุนจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท

               ๕. ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนบ้านโคกไม้งาม จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ได้มีสถานที่ไว้ให้บริการสำหรับประชาชนที่สามารถสืบค้นข้อมูลข่าวสารจนในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ บ้านโคกไม้งามได้รับการพัฒนาคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ มั่งมี ศรีสุขและได้พัฒนาหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน

ศูนย์ ICT ชุมชนบ้านโคกไม้งาม

                 ๑  จัดทำแผนและรายงานต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและการใช้งานของศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน   

                    –  แผนการปฏิบัติงานการดำเนินงานของศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน

                   –   บันทึกการเข้าใช้งานของศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน ในแต่ละวัน

                   –   รายการค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน ( บัญชี รายรับ – รายจ่าย)

                   –   รายงานถึงปัญหา/อุปสรรค เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

                   –   รักษาและดูแลทรัพย์สิน ภายในศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน

                   –   ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ ให้พ่อแม่พี่น้องได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหา

                       เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและเพื่อให้ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนเกิดความยั้งยืน

                ๒  ภารกิจ/เป้าหมาย ในการดำเนินงานศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน

–    ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ได้มีสถานที่ไว้ให้บริการสำหรับประชาชนที่สามารถสืบค้นข้อมูลข่าวสาร อันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

–    ส่งเสริมในด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมท้องถิ่น และการประกอบอาชีพ

–    ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพให้แก่ประชาชนและผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ชนบทได้มีความรู้ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต และกระตุ้นให้เด็ก เยาวชนในท้องถิ่นเห็นประโยชน์ของการใช้อินเทอร์เน็ตและเลือกใช้อย่างรู้คุณค่า

–    รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ

               ๓   การบริการจัดการและควบคุม

                 –  แผนการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในท้องถิ่น

                 –  ทางศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน ได้ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรม ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วมและให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงประโยชน์และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของศูนย์อินเทอร์เน็ตร่วมกัน และสามารถเข้ามาศึกษาค้นคว้าข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน

                 –  ทางศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน ส่งเสริมให้มีการจัดฝึกอบรมทักษะการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่าง ต่อเนื่องให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการในท้องถิ่น เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากร และ สื่อการเรียนรู้ต่างๆ จากศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนได้อย่างเต็มที่และเกิด ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน

              ๔   แผนการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง

                –   ทางศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน ได้ประชุมประชาคมหมู่บ้านให้ทางผู้นำชุมชนได้ประกาศและประชาสัมพันธ์ให้พ่อแม่พี่น้องภายในชุมชน และหมู่บ้านใกล้เคียง ได้เข้ามาใช้บริการทางศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน (หอกระจายข่าว)

                –   ประชาสัมพันธ์ทางเว็ปไซต์ หมู่บ้านโคกไม้งาม ตำบลศรีสุข อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น

             ๕    แผนการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน เกี่ยวกับทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

–   ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์มีบทบาทและในส่วนของศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนได้มีส่วนส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ อบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

–   และทางเจ้าหน้าที่ดูแลศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน ได้สอนการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเป็นประจำทุกวัน สำหรับสมาชิกและบุคคลผู้ที่สนใจ

(Visited 16,523 times, 1 visits today)

แหล่งเรียนรู้มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

อาจสรุปได้วว่าแหล่งการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา และแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น ประกอบด้วย แหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสถานศึกษาควรจ าแนกประเภทของแหล่งการเรียนรู้ โดย คานึงถึงลักษณะที่ตั้ง ลักษณะการใช้งาน ทรัพยากรที่มีอยู่และบริบทของท้องถิ่น

ข้อใดคือแหล่งเรียนรู้ในชุมชนประเภทสถานที่

2. แหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วทั้งในสถานศึกษาและท้องถิ่น เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งอาจเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติแล้ว หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น

แหล่งเรียนรู้ทางสังคมมีอะไรบ้าง

แหล่งการเรียนรู้ประเภทกิจกรรมทางสังคม ประเพณี และความเชื่อ ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน วรรณกรรมท้องถิ่น ศิลปะพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน

แหล่งการเรียนรู้คืออะไร

แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลความรู้ ทั้งที่อยู่ในตัวบุคคล สถานที่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประสบการณ์ ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ สามารถหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf