External มองไม่เห็น drive mac

“วิธีทำให้ Hard disk ใช้ได้ทั้งใน PCs และ MAC”

หนึ่งปัญหาของคนใช้งานคอมพิวเตอร์ก็คือการใช้ Hard disk ร่วมกับระบบปฏิบัติการทั้ง Windows และ MacOS กล่าวง่ายๆก็คือมีการใช้งานทั้งกับคอมพิวเตอร์ที่เป็น Windows และ Mac นั่นเอง แต่บ่อยครั้งที่เราเจอปัญหาว่า Hard disk ของเรานั้นไม่สามารถคัดลอกข้อมูลลงบน Hard disk ได้เมื่อเราทำการเชื่อมต่อกับเครื่อง Mac  

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า Format ของ Hard disk ที่เราใช้อยู่นั้น อาจจะเป็น Format ที่ไม่รอรับการเขียนข้อมูลลงบน Hard disk เมื่ออยู่บน MacOS เช่น อาจจะอยู่บน Format NTFS

สิ่งที่เราจะต้องทำนั่นก็คือ ทำการ Format Hard disk ลูกนั้นใหม่ เพื่อตั้งค่า Format ให้สาามารถใช้งานได้ทั้งบน Windows และ MacOS โดยหากเป็น Hard disk ที่มีข้อมูลอยู่ ก็ให้ทำการ Backup ข้อมูลนั้น ไปเก็บไว้ที่อื่นก่อน เพื่อเตรียมดำเนินการ Format Hard disk

เมื่อทำการ Backup ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการเชื่อต่อ Hard disk ลูกนั้น เข้ากับเครื่อง MAC ของคุณ

โดยเข้าไปที่ Finder แล้วเลือก Application > Utilities > Disk Utility จากนั้นให้ทำการเลือก Hard disk ลูกที่ต้องการ Format ด้านซ้ายมือ แล้วเลือกที่เมนู Erase จากนั้นในหัวข้อ Format ให้เลือกเป็น exFAT และเลือกที่ปุ่ม Erase

ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ Format เพียงเท่านี้ในการเชื่อมต่อครั้งต่อไปคุณก็จะสามารถใช้ Hard disk ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Windows และ MacOS

โดย Format ประเภทต่างๆบน MacOS นั้น พอจะสรุปได้คร่าวๆดังนี้

1.    exFAT เหมาะสำหรับการใช้งานทั้ง Windows และ MacOS
2.    FAT เหมาะกับการใช้งานบน Window สำหรับ Hard disk และ Flash drive ขนาดเล็ก
3.    Mac OS Extended เหมาะกับการใช้งานสำหรับ mac เท่านั้น
4.    NTFS หรือ Windows NT Filesystem เหมาะสำหรับระบบ Windows และ Server

หมายเหตุ : หากทำการ Format บน Windows ก็ให้ทำการเลือกประเภทเป็น ExFAT เช่นกัน

ทั้งนี้ หากท่านมี hard disk เสียและต้องการข้อมูลคืน ท่านก็สามารถปรึกษาเราได้ฟรี

ติดต่อเราที่ IDR LAB ศูนย์กู้ข้อมูลที่ได้มาตรฐานและพร้อมที่สุดในประเทศไทย ปรึกษาปัญหาและส่งตรวจเช็ค ประเมินอาการได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่ Line ID : @idrlab หรือ Hotline สายด่วนตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 094-692-8080, 080-591-3536

+ เพราะเราคือศูนย์กู้ข้อมูลที่มีมาตรฐาน ISO พร้อมด้วยทีมงานระดับมืออาชีพ ปลอดภัย ข้อมูลไม่รั่วไหล
+ หมดความกังวลเรื่องข้อมูลหาย ประเมิณค่าใช้จ่ายฟรี
+ ผู้นำด้านเทคโนโลยี Labดีมีมาตรฐาน บริการด้วยหัวใจ
+ อย่าหมดความหวังในวันที่ข้อมูลหาย ให้ IDR LAB บริการคุณ

“เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ชีวิตดิจิทัลของคุณกลับมามีความสุขดังเดิม”

ส่วน 1 ส่วน 1 ของ 3:เชื่อมต่อไดรฟ์

  1. เสียบฮาร์ดไดรฟ์ที่เครื่อง Mac ด้วยสายที่ติดมา. ฮาร์ดไดรฟ์ส่วนใหญ่จะเสียบต่อผ่านสาย USB ให้เสียบสายด้าน USB ที่พอร์ทว่างของ Mac ปกติที่แต่ละด้านของ Mac จะมี 1 พอร์ท USB ขึ้นไป

    • บางไดรฟ์ที่ใช้กับ Mac โดยเฉพาะ จะมาพร้อมสาย Thunderbolt หรือ FireWire แบบนี้ต้องเสียบให้ถูกพอร์ท หรือหา adapter มาใช้ ถ้า Mac เครื่องนั้นไม่มีพอร์ทที่ใช้ได้
  2. เช็คไดรฟ์ที่หน้า desktop. ถ้าฟอร์แมตและเชื่อมต่อไดรฟ์ดีแล้ว ไดรฟ์จะไปโผล่ในหน้า desktop ของ Mac โดยเป็นไดรฟ์ที่มีไอคอน USB หรือ Thunderbolt

    • ถึงเชื่อมต่อดีแล้ว บางทีไอคอนของไดรฟ์ก็อาจจะไม่โผล่มาในหน้า desktop ให้เช็คไดรฟ์ในกรอบซ้ายมือของหน้าต่าง Finder ในหัวข้อ "Devices"
    • คุณตั้งค่าให้ไดรฟ์โผล่มาที่หน้า desktop ได้โดยคลิกเมนู Finder เลือก "Preferences" แล้วติ๊กช่อง "External disks"
    • ถ้าไดรฟ์ไม่โผล่มาใน Finder หรือหน้า desktop ให้อ่านส่วนถัดไปของบทความ
  3. เปิดไดรฟ์เพื่อดูไฟล์. ดับเบิลคลิกไดรฟ์ที่หน้า desktop หรือเลือกไดรฟ์จากในกรอบทางซ้ายของหน้าต่าง Finder เพื่อดูไฟล์ต่างๆ ในไดรฟ์ หลังจากนี้จะลากไฟล์ไปหย่อนในไดรฟ์ หรือ copy ไฟล์ลง internal hard drive ของ Mac ก็ได้

ส่วน 2 ส่วน 2 ของ 3:ฟอร์แมตไดรฟ์

  1. เปิด Disk Utility. external hard drive ส่วนใหญ่ จะเป็นแบบฟอร์แมตมาแล้วให้ใช้กับคอมพิวเตอร์ Windows ซึ่งจำกัดให้ใช้งานกับ Mac แทบไม่ได้ ถ้าได้ external drive ใหม่มา เป็นแบบใช้กับ Windows จะเปิดอ่านข้อมูลได้ แต่เซฟข้อมูลไม่ได้ แบบนี้ให้ฟอร์แมตเป็น file system ที่รองรับก่อน ด้วย Disk Utility

    • ในหน้า Desktop ให้คลิกเมนู "Go" เลือก "Utilities" แล้วเลือก "Disk Utility"
    • ฟอร์แมตไดรฟ์แล้วข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบหายไป ถ้าเป็นไดรฟ์ใหม่เอี่ยมก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นไดรฟ์เดิมที่ใช้อยู่ มีไฟล์ต่างๆ ข้างในที่อยากเก็บไว้ ต้องเซฟแยกไว้ก่อนฟอร์แมตไดรฟ์
  2. เลือกฮาร์ดไดรฟ์จากเมนูทางซ้าย. จะเห็นรายชื่อไดรฟ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อไว้ในเมนูนี้ ให้เลือก external drive ใหม่จากในรายชื่อ

    • ถ้าไม่เจอไดรฟ์ที่ใช้ตรงนี้ ให้อ่านส่วนถัดไปของบทความ
  3. คลิกปุ่ม "Erase" ทางด้านบนของหน้าต่าง Disk Utility. เพื่อเริ่มขั้นตอนการฟอร์แมตไดรฟ์

    • ทุกอย่าง ในฮาร์ดไดรฟ์ จะถูกลบไป เพราะงั้นอย่าลืม backup ข้อมูลสำคัญเก็บไว้ ถ้าไดรฟ์เป็นฟอร์แมต Windows ก็ copy ไฟล์ที่ต้องการจะใช้ต่อใน Mac ไว้ก่อนฟอร์แมตได้
  4. เลือก "ExFAT" จากในเมนู "Format". ฟอร์แมตนี้ใช้ได้กับทั้ง Mac OS X, Windows และ Linux เลยย้ายฮาร์ดไดรฟ์ไปมาระหว่างระบบได้ง่าย ไม่เหมือน FAT เวอร์ชั่นก่อนๆ ปกติจะไม่มีจำกัดขนาดไฟล์หรือจำนวนไฟล์ชัดเจน เพราะงั้นก็ใช้กับไดรฟ์ขนาดไหนก็ได้

    • ถ้าตั้งใจจะใช้ไดรฟ์กับ Mac เท่านั้น ให้เลือก "Mac OS Extended (Journaled)" เพื่อให้ใช้ทุกฟีเจอร์ของ Mac เช่น Time Capsule กับไดรฟ์นั้นได้เต็มประสิทธิภาพ
  5. คลิก "Erase" เพื่อแปลงไดรฟ์เป็นฟอร์แมตที่เลือก. เป็นขั้นตอนที่ทำแล้วทำเลย แก้ไขไม่ได้ ข้อมูลทั้งหมด ในไดรฟ์ จะถูกลบหายไป ส่วนจะฟอร์แมตเสร็จเมื่อไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของไดรฟ์

  6. ลองใช้ไดรฟ์ที่ฟอร์แมตใหม่. พอฟอร์แมตไดรฟ์ถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว ไดรฟ์จะไปโผล่ที่หน้า desktop ให้ดับเบิลคลิกเพื่อเปิด เท่านี้ก็เพิ่มไฟล์ ลบไฟล์ ได้ตามสะดวก

ส่วน 3 ส่วน 3 ของ 3:แก้ปัญหาไดรฟ์ไม่แสดง

  1. เช็คว่าเชื่อมต่อไดรฟ์ถูกต้องแล้ว. เช็คว่าเสียบสายทั้งหมดที่เชื่อมต่อไดรฟ์กับ Mac ถูกต้องแล้ว ถ้าสายหลวม คอมจะสแกนไม่เจอไดรฟ์

  2. ต้องจ่ายไฟให้ไดรฟ์เพียงพอ. บาง external drive ต้องเสียบสายจ่ายไฟแยก แบบนี้ต้องใช้สาย USB คู่ เป็นสายที่ด้านหนึ่งเป็นหัว USB เอาไว้เสียบ external drive กับอีกด้านเป็น 2 หัวเสียบ สำหรับเสียบที่ Mac

  3. รีสตาร์ท Mac. ส่วนใหญ่ปัญหาการใช้งาน Mac หรือฮาร์ดไดรฟ์ แค่ปิดแล้วเปิดเครื่องก็มักจะแก้ได้ ให้ปิดคอมจากในเมนู Apple รอจนดับสนิท แล้วค่อยเปิดกลับขึ้นมาโดยกดปุ่ม Power เท่านี้ไดรฟ์ที่เสียบไว้ก็น่าจะโผล่มาหลังรีสตาร์ท

  4. ลองใช้สายอื่นหรือพอร์ทอื่น. บางทีอาจจะใช้สาย USB ที่ชำรุด หรือหนึ่งในพอร์ท USB ของ Mac อาจจะทำงานผิดพลาด ให้ลองเสียบฮาร์ดไดรฟ์ที่พอร์ท USB อื่น หรือใช้สาย USB อื่นดู

  5. ใช้ First Aid ในไดรฟ์. Disk Utility จะมีบางฟังก์ชั่นสำหรับ repair หรือซ่อมแซมไดรฟ์ ช่วยให้ไดรฟ์ที่ทำงานผิดพลาด กลับมาปกติตามเดิม

    • เปิด Disk Utility จากในโฟลเดอร์ Utilities
    • เลือกไดรฟ์ แล้วคลิกปุ่ม "First Aid"
    • คลิก "Run" เพื่อเริ่มสแกนไดรฟ์หา error
    • อนุญาตให้ utility แก้ error ที่เจอ น่าจะทำให้ใช้ไดรฟ์ได้อีกครั้ง แต่ระวัง ถ้าเจอ error อาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มว่าไดรฟ์กำลังจะล่ม
  6. ลองเปลี่ยนไดรฟ์ใหม่. แน่นอนว่าสุดท้าย ฮาร์ดไดรฟ์ก็ต้องถึงคราวหมดอายุขัยสักวัน ยิ่งใช้นานไป ฮาร์ดไดรฟ์ก็ยิ่งเสื่อม เสี่ยงจะล่ม เอาจริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่อาจจะแปลกใจด้วยซ้ำ ถ้ารู้ว่าไดรฟ์ใหม่แกะกล่องก็มีโอกาสล่มได้ง่ายกว่าที่คิด ถ้าไดรฟ์ของคุณอายุ 4 ปีขึ้นไป แล้วสแกนไม่เจอ ไม่ว่ายังไงก็ตาม เป็นไปได้มากว่าเสียซะแล้ว

    • จะลองเอาไปเสียบกับคอมเครื่องอื่นก็ได้ ว่าจะโผล่มาไหม ถ้าสุดท้ายแล้วเครื่องสแกนไม่เจอ แสดงว่าถึงเวลาเปลี่ยนไดรฟ์แล้ว

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf