อัตราเงินสมทบ กองทุน เงินทดแทน 2562

กองทุนเงินทดแทน

            กองทุนเงินทดแทน  เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้าง  เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย   หรือถึงแก่ความตาย   หรือสูญหาย    เนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง    โดยนายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเพียงฝ่ายเดียว

กิจการที่ได้รับการยกเว้น

      1. ราชการส่วนกลาง,ส่วนภูมิภาค  และส่วนท้องถิ่น

      2. รัฐวิสาหกิจ

      3. กิจการเพาะปลูก  ประมง  ป่าไม้  และเลี้ยงสัตว์  ซึ่งไม่ใช้ลูกจ้างตลอดปี  และไม่มีงานในลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย

      4. ครู  หรือ  ครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชน

      5. กิจการที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ

      6. ลูกจ้างของนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา   ซึ่งงานที่ลูกจ้างทำนั้นมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย

      7. ลูกจ้างของนายจ้างซึ่งประกอบการค้าเร่หรือการค้าแผงลอย
 

หน้าที่ของนายจ้าง
 

            -  ขึ้นทะเบียนนายจ้าง  ภายใน 30 วันนับแต่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

            -  จ่ายเงินสมทบประจำปี

            -  รายงานค่าจ้างจริงของปีที่ผ่านมาภายในเดือนกุมภาพันธ์

            -  แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของนายจ้าง  ภายใน 30 วัน

            -  แจ้งการประสบอันตรายของลูกจ้าง  ภายใน 15 วัน  นับแต่วันทราบเหตุ

การขึ้นทะเบียนนายจ้าง

        -  ยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง  ภายใน  30  วันนับแต่มีลูกจ้าง  1  คนขึ้นไป   (รวมอยู่ในชุดเดียวกับการขึ้นทะเบียนประกันสังคม)

            -  ใช้เอกสารแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)  ชุดเดียวกับกองทุนประกันสังคม

            -  เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว  นายจ้างจะได้รับหลักฐาน  ดังนี้

            -  เลขที่บัญชีนายจ้าง  ซึ่งเป็นเลขเดียวกับกองทุนประกันสังคม  เพื่อใช้ในการอ้างอิงและติดต่องานกับสำนักงานประกันสังคม

            -  ได้รับแจ้งผลการพิจารณากำหนดรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบ

            -  ใบแจ้งเงินสมทบเพื่อแจ้งให้นายจ้างทราบจำนวนเงินสมทบที่จะต้องจ่าย  พร้อมทั้งกำหนดวันจ่าย

            -  หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียน

การจ่ายเงินสมทบและการรายงานค่าจ้าง
 

            นายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเป็นรายปี  โดยสำนักงานจะเป็นผู้แจ้งยอดเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่ายให้ทราบล่วงหน้า

            1.  วิธีการและกำหนดเวลาการจ่ายเงินสมทบ

                  เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนจัดเก็บปีละ 2 ครั้ง  ดังนี้

                          ครั้งที่  1   จัดเก็บภายใน 31 มกราคมของทุกปี  เรียกว่า  “เงินสมทบประจำปี” 

เว้นแต่ปีแรกที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างต้องจ่ายภายใน 30 วันนับแต่มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป

                          ครั้งที่  2   จัดเก็บภายใน 31 มีนาคมของทุกปี  เรียกว่า  “เงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง”

                 เนื่องจากเงินสมทบที่จัดเก็บเมื่อต้นปี  คำนวณมาจากค่าจ้างที่ได้ประมาณการไว้ล่วงหน้า X  อัตราเงินสมทบ  และในระหว่างปีอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่ม  หรือลดค่าจ้าง  ดังนั้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีนายจ้างจึงมีหน้าที่แจ้งจำนวนค่าจ้างที่จ่ายให้ลูกจ้างทุกคนรวมทั้งปีที่แล้ว    ไปให้สำนักงานประกันสังคมจังหวัดราชบุรีทราบอีกครั้ง  ตามแบบใบแสดงเงินสมทบประจำปี (กท 20)  เพื่อจะนำไปเปรียบเทียบกับค่าจ้างที่ได้ประมาณการไว้เมื่อต้นปี   หากค่าจ้างที่ประมาณไว้เดิมน้อยกว่าก็จะเรียกเก็บเงินสมทบเพิ่มภายในเดือนมีนาคม  เว้นแต่ค่าจ้างที่ประมาณการสูงกว่าค่าจ้างจริง  นายจ้างก็จะได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินคืนไป

                 หากนายจ้างจ่ายเงินสมทบเกินเวลาที่กำหนด   จะต้องจ่ายค่าปรับ 3%   ต่อเดือนของเงินสมทบที่ต้องจ่าย

2.  อัตราเงินสมทบ

                อัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน   ที่จัดเก็บจากนายจ้างแต่ละรายจะแตกต่างกันตามลักษณะความเสี่ยงภัยในการทำงานของแต่ละกิจการ   ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ 131 ประเภทกิจการ  อัตราเงินสมทบระหว่าง 0.2% - 1.0%   ของค่าจ้าง   เช่น  กิจการขายอาหารจ่ายเงินสมทบ 0.2%  ของค่าจ้าง  ถ้าเป็นกิจการก่อสร้างจ่ายเงินสมทบ 1.0%  ของค่าจ้าง  เป็นต้น

                เมื่อนายจ้างจ่ายเงินสมทบครบ 4 ปี  ปฏิทินแล้ว   ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป   อัตราเงินสมทบอาจจะลด  หรือเพิ่มขึ้นจากเดิมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าของอัตราส่วนการสูญเสียซึ่งสำนักงานฯ ได้เก็บสถิติข้อมูลไว้

3.  ค่าจ้างและการคำนวณเงินสมทบ

                เงินสมทบจะคำนวณจากค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างทุกคนรวมทั้งปี X อัตราเงินสมทบของกิจการนั้น

                ลูกจ้างคนใด  ได้รับค่าจ้างเกินกว่า 240,000 บาทต่อปี   ให้นำมาคำนวณเพียง 240,000 บาท

4.  แบบที่ใช้แจ้งยอดเงินสมทบ

                สำนักงานประกันสังคมจังหวัดราชบุรี จะแจ้งยอดเงินสมทบที่นายจ้างต้องชำระให้ทราบล่วงหน้าพร้อมทั้งกำหนดวันชำระเงินตามแบบต่าง ๆ   ดังนี้

      4.1  ใบประเมินเงินสมทบประจำปี (กท.26 ก)   สำหรับเรียกเก็บเงินสมทบต้นปี

      4.2  ใบแจ้งเงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง  (กท.25 ค)   สำหรับเรียกเก็บเงินสมทบเพิ่มจากการรายงานค่าจ้าง

      4.3  ใบแจ้งเงินสมทบจากการตรวจบัญชี  (กท.25 ก)   สำหรับเรียกเก็บเงินสมทบภายหลังทราบผลการตรวจบัญชีประจำปี

5.  วิธีการชำระเงินสมทบ 

      -  เงินสดหรือเช็ค

      -  ธนาณัติ

      -  โอนเงินผ่านธนาคารกรุงไทย  (มหาชน)  จำกัด

การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง

            นายจ้างมีหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของนายจ้างต่อสำนักงาน  ภายใน 30 วันนับแต่มีการเปลี่ยนแปลง  เช่น  เปลี่ยนชื่อ  ที่อยู่  ขยาย/ยกเลิกสาขา  เปลี่ยนแปลงประเภทกิจการ ฯลฯ   โดยใช้แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส. 6-15)  (เรื่องใดที่ได้แจ้งกองทุนประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปแล้ว  ไม่ต้องแจ้งซ้ำ)

แจ้งการประสบอันตรายของลูกจ้าง

            เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง   นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที  และแจ้งสำนักงานประกันสังคม  ภายใน  15  วันนับแต่วันที่ทราบ  โดยใช้แบบแจ้งการประสบอันตราย   หรือเจ็บป่วยฯ  (กท 16)  ลูกจ้างสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลใดก็ได้    โดยทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน     หรือใช้แบบ  กท.44   ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาหากโรงพยาบาลนั้นเป็นโรงพยาบาลในความตกลงกับกองทุนเงินทดแทน     โดยโรงพยาบาลจะเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลจากสำนักงานฯ  โดยตรง

โรงพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน

                        ในจังหวัดราชบุรีมีโรงพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนรวม  13   แห่ง    ได้แก่     โรงพยาบาลราชบุรี       โรงพยาบาลเมืองราช    โรงพยาบาลซานคามิลโล     โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน  โรงพยาบาลปากท่อ      โรงพยาบาลบางแพ   โรงพยาบาลสวนผึ้ง   โรงพยาบาลดำเนินสะดวก    โรงพยาบาลโพธาราม  โรงพยาบาลบ้านโป่ง  โรงพยาบาลพระยุพราชจอมบึง  โรงพยาบาลวัดเพลงและโรงพยาบาลพร้อมแพทย์

 เบิกค่ารักษายาบาลคืน

          หากนายจ้างหรือลูกจ้างได้ทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน  (กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน)  ให้นำใบเสร็จรับเงินมาเบิกคืนได้ภายใน 90 วัน  นับแต่วันที่จ่าย  โดยใช้แบบคำขอรับเงินทดแทนที่ได้ทดรองจ่ายคืน 

สิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง

(กองทุนเงินทดแทน)

            เมื่อนายจ้างขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนแล้ว ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานให้กับนายจ้างจะได้รับการ      คุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทนทันที เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตายหรือสูญหาย เนื่องจาการทำงานให้นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือน  (กรณีหยุดงาน   กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือสมรรถภาพของอวัยวะกรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย) ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ ดังนี้

           1.  กรณีเจ็บป่วย

                -  ค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 35,000 บาท ต่อการเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย 1 ครั้ง หากเกินเบิกเพิ่มได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฏกระทรวงอีกไม่เกิน 200,000 บาท

                -   ค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60 % ของค่าจ้าง หากแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวติดต่อกันเกิน 3 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี

           2.  กรณีสูญเสียอวัยวะ

                -  ค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60 % ของค่าจ้าง ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะ และระยะเวลา       ที่กำหนด

กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูจะได้รับการฟื้นฟูที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ของสำนักงานประกันสังคม ดังนี้

                   - ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูด้านการแพทย์ และอาชีพเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท
                   -  ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 20,000 บาท

           3.  กรณีทุพพลภาพ

                -  ค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60 % ของค่าจ้าง เป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี

           4.  กรณีตายหรือสูญหาย

                -  ค่าทำศพจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน (ปัจจุบันจ่าย 18,100 บาท)

                -  ค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60 %  ของค่าจ้าง เป็นเวลา 8 ปี แก่ทายาท

การจ่ายเงินสมทบและรับประโยชน์ทดแทน

วิธีการจ่ายเงินสมทบ

นายจ้างสามารถจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมได้หลายวิธี   ดังนี้

          1.  จ่าย   ณ   สำนักงานประกันสังคมจังหวัดราชบุรี    หรือสาขาบ้านโป่ง     เป็นเงิน   สด    เช็ค    หรือตั๋วแลกเงิน    โดยดำเนินการดังนี้

กองทุนประกันสังคม

            1.1  นายจ้างยื่นแบบแสดงรายการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10)   ส่วนที่  1    และส่วนที่  2   

พร้อมเงินสด    หรือเช็ค    หรือตั๋วแลกเงิน   ตามจำนวนเงินสมทบที่นำส่ง

1.2   สำหรับนายจ้างที่ส่งเงินสมทบด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ให้ยื่นเฉพาะแบบแสดงรายการส่งเงินสมทบ  (สปส. 1-10)   เฉพาะส่วนที่  1

            1.3  กรณีผู้ประกันตนมาตรา  39    ยื่นแบบแสดงรายการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-11)

กองทุนเงินทดแทน

ยื่นแบบประเมินเงินสมทบหรือใบแจ้งเงินสมทบ (กท.26 ก , กท.25ค , กท.25ก)

          2.  จ่ายผ่านไปรษณีย์    ดำเนินการดังนี้

                นายจ้าง / ผู้ประกันตนมาตรา 39   ติดต่อ  ณ  ที่ทำการไปรษณีย์   เพื่อส่งเช็คหรือซื้อธนาณัติ ดังนี้

กองทุนประกันสังคม

                 ส่งเช็คหรือธนาณัติให้สำนักงานประกันสังคม   พร้อมแบบแสดงรายการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10) ส่วนที่ 1    และส่วนที่ 2    หรือ    สปส. 1-10    ส่วนที่ 1  พร้อมสื่อคอมพิวเตอร์ (กรณีนายจ้างส่งเงินสมทบด้วยสื่อ ฯ)    หรือ   แบบ  สปส. 1-11   กรณีผู้ประกันตนมาตรา  39

กองทุนเงินทดแทน

            ส่งเช็คหรือธนาณัติให้สำนักงานประกันสังคมพร้อมแบบประเมินเงินสมทบหรือใบแจ้ง   เงินสมทบ   ต่าง ๆ  ด้วยเมื่อสำนักงานประกันสังคมได้รับเช็คหรือธนาณัติแล้วจะออกใบเสร็จรับเงินส่งให้นายจ้าง /  ผู้ประกันตนตามมาตรา  39   ต่อไป

          3.  ผ่านธนาคารกรุงไทย  จำกัด (มหาชน)   หรือธนาคารกรุงศรีอยุธยา  จำกัด    (มหาชน)

กองทุนประกันสังคม

            นายจ้าง / ผู้ประกันตนมาตรา 39   มีความประสงค์ชำระเงินสมทบผ่านธนาคาร     ดำเนินการดังนี้

             3.1   ติดต่อธนาคารกรุงไทย  จำกัด (มหาชน)   หรือธนาคารกรุงศรีอยุธยา  จำกัด (มหาชน)   สาขาใดก็ได้ในจังหวัดราชบุรี    พร้อมแบบแสดงรายการส่งเงินสมทบ  (สปส. 1-10)   ส่วนที่ 1   และส่วนที่ 2    หรือ   สปส. 1-10   ส่วนที่ 1   พร้อมสื่อคอมพิวเตอร์ (กรณีนายจ้างส่งเงิน    สมทบด้วยสื่อ ฯ)    หรือ   สปส. 1-11    กรณีผู้ประกันตนมาตรา  39

             3.2   กรอก  " ใบชำระเงินประกันสังคม " (Pay - in)    ที่ธนาคารจัดเตรียมไว้ให้ ยื่นต่อธนาคารพร้อมแบบแสดงรายการส่งเงินสมทบ   และเงินสด   หรือเช็ค   หรือตั๋วแลกเงินตามจำนวนเงินที่นำส่ง

กองทุนเงินทดแทน

            จ่ายผ่านธนาคาร (เฉพาะธนาคารกรุงไทยฯ)  นายจ้างต้องยื่นใบแจ้งเงินสมทบประเภทต่างๆ ได้แก่ กท.26 ก   กท.25 ค   กท.25 ก   แล้วแต่กรณี    และเมื่อสำนักงานได้รับแจ้งจากธนาคารแล้วจะออกใบเสร็จ       รับเงินส่งให้นายจ้างต่อไป

          4.  หักบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนมาตรา 39

           ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39   ประสงค์ชำระเงินสมทบโดยวิธีหักบัญชี  เงินฝากที่ธนาคารกรุงไทย  จำกัด (มหาชน)   หรือธนาคารกรุงศรีอยุธยา  จำกัด (มหาชน)      ดำเนินการดังนี้

               4.1    ผู้ประกันตนเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย  จำกัด (มหาชน) หรือธนาคาร

กรุงศรีอยุธยา  จำกัด (มหาชน)   ประเภทออมทรัพย์   สาขาใดก็ได้ในจังหวัดราชบุรี

               4.2    ถ่ายสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (หน้าแรก)      ติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม    เพื่อเขียนแบบคำขอส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนโดยการหักบัญชีเงินฝากธนาคาร

               4.3    สำนักงานประกันสังคมแจ้งรายชื่อผู้ประกันตนมาตรา  39  ที่ประสงค์จะหักบัญชี

เงินฝากธนาคารให้ธนาคารทราบ

                       -    ธนาคารจะหักบัญชีเงินฝากผู้ประกันตนทุกวันที่  15  ของเดือน   ดังนั้นเงินในบัญชีของผู้ประกันตนจะต้องมียอดคงเหลือไม่น้อยกว่าจำนวนเงินสมทบที่ต้องนำส่ง   คือ  เดือนละ   432  บาท   บวกค่าธรรมเนียมการหักบัญชีธนาคารครั้งละ  10  บาท

               4.4     สำนักงานประกันสังคมตรวจสอบรายงานการนำเงินเข้าบัญชีจากธนาคารแล้วจะออก

ใบเสร็จรับเงินส่งให้ผู้ประกันตนต่อไป

หมายเหตุ   กรณีชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมผ่านธนาคาร   มีเงื่อนไขดังนี้

                   1.  นายจ้างสามารถชำระเงินสมทบย้อนหลังได้ทุกงวด

                   2.  ผู้ประกันตนมาตรา 39   ชำระเงินสมทบงวดย้อนหลังได้ไม่เกิน  2  งวด

                        -   ธนาคารจะออกใบเสร็จรับเงินให้ท่านทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

วิธีการรับประโยชน์ทดแทน

        ผู้ประกันตน   หรือผู้มีสิทธิ   สามารถรับเงินสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ   ได้  3  วิธี   ดังนี้

           1. รับเงิน  ณ  สำนักงานประกันสังคมจังหวัดราชบุรีหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดราชบุรีสาขาบ้านโป่ง

           2. รับทางธนาณัติ

           3. โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย  จำกัด (มหาชน)   หรือธนาคารกรุงศรีอยุธยา  จำกัด (มหาชน)   ทุกสาขา  (เฉพาะสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม)

เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงิน

           ผู้ประกันตน   หรือผู้มีสิทธิ   ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคำขอต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมพร้อมหลักฐานการขอรับเงิน   ดังนี้

           1.   รับเงิน  ณ  สำนักงานประกันสังคมจังหวัดราชบุรี หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดราชบุรี   สาขาบ้านโป่ง

                 •  กรณีผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิมารับเงินด้วยตนเอง

                     -   บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง

                 •  กรณีมอบอำนาจหรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมารับแทน

สำนักงานฯ   จะจ่ายเป็นเช็คในนามผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิเท่านั้น

                 •   บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้มอบและผู้รับมอบ

                     -   หนังสือมอบฉันทะหรือหนังสือมอบอำนาจ  (ไม่ต้องติดอากรแสตมป์)

             2. รับทางธนาณัติ

                 •  ให้แจ้งสถานที่อยู่และไปรษณีย์ปลายทางในแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน       หรือแบบขอรับเงินทางธนาณัติ

             3. โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย  จำกัด (มหาชน)   หรือธนาคารกรุงศรีอยุธยา  จำกัด (มหาชน)  

                 •  สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิประเภทออมทรัพย์        หน้าแรกที่แสดงชื่อบัญชี    เลขที่บัญชีธนาคาร    พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

                 •  สำนักงานฯ   จะจ่ายผ่านธนาคารเฉพาะการรับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเท่านั้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf