ทํางานกระทรวงต่างประเทศ ต้องจบอะไร

เราเชื่อว่าอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝันที่จะทำ เพราะว่ามีสวัสดิการที่ดี มีความมั่นคงในหน้าที่การงานนั่นก็คือการได้ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานรับราชการ ตลอดจนทำหน้าที่ในกระทรวงต่างๆ นั่นเอง ซึ่งหลายๆ คนอาจจะมีความสงสัยกันว่าถ้าเราอยากจะทำงานในกระทรวงต่างๆ นั้นเราต้องเรียนสายไหน ถึงจะเรียกว่าตรงกับสายงานสุดๆ

วันนี้ Sanook Campus เราก็เลยได้รวบรวมข้อมูล คณะที่เหมาะสมกับการทำงานในกระทรวงต่างๆ ของประเทศไทย มาฝากเพื่อนๆ กัน มาดูกันสิว่า ถ้าอยากทำงานในกระทรวงไหน ต้องเลือกคณะอะไร ถึงจะเรียกว่าเหมาะสม

อยากทำงานในกระทรวงไหน ต้องเลือกคณะอะไร ถึงจะเรียกว่าเหมาะสม

กระทรวงพาณิชย์

คณะที่จบตรงสายงาน

  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ

กระทรวงวัฒนธรรม

คณะที่จบตรงสายงาน

  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์

กระทรวงยุติธรรม

คณะที่จบตรงสายงาน

  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์

กระทรวงการคลัง

คณะที่จบตรงสายงาน

  • คณะบัญชี
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ

กระทรวงการต่างประเทศ

คณะที่จบตรงสายงาน

  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะอักษรศาสตร์/มนุษยศาสตร์

กระทรวงสาธารณสุข

คณะที่จบตรงสายงาน

  • คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์

กระทรวงศึกษาธิการ

คณะที่จบตรงสายงาน

  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะครุศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ

ทุกคณะสามารถเข้าได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ... เจอกับ พี่เป้ อีกแล้ว วันนี้มาพร้อมกับสกู๊ปพิเศษที่ตั้งใจทำมากๆ กับสกู๊ป A day in life. หรือ 1 วันในชีวิตของอาชีพต่างๆ ที่น่าสนใจ ที่จะทำให้น้องๆ เห็นภาพว่า อาชีพเนี้ย วันๆ นึงเค้าทำอะไรบ้างตั้งแต่เช้าจรดเย็น

สำหรับอาชีพแรกที่นำมาฝากนั้น ... ขอเล่าก่อนว่า นานมาแล้ว พี่เคยทำคอลัมน์คณะในฝัน สัมภาษณ์รุ่นพี่คณะต่างๆ อาชีพต่างๆ และจากที่ทำมาเป็นสิบๆ คณะ อาชีพที่มีคนคลิกเข้าไปอ่านสูงสุดนั่นก็คือ "นักการทูต" เพราะนอกจากจะเป็นอาชีพในฝันของหลายๆ คน ยังเป็นอาชีพที่หลายคนไม่กล้าฝัน เพราะช่างดูสูงส่ง มีเกียรติ ฉลาด ดูดี (อะไรจะปานนั้น) แล้วคนธรรมดาอย่างเราจะเอื้อมถึงเหรอ?? เอื้อมถึงแน่นอนค่ะ เพราะวันนี้เว็บ Dek-D จะพาน้องๆ ไปบุกถึงห้องทำงานนักการทูตที่กระทรวงการต่างประเทศ พาไปให้เห็นเป็นช็อตๆ เลยว่า พวกพี่ๆ นักการทูตทั้งหลายเค้าทำอะไรเพื่อประเทศของเราบ้าง


     วันนี้เรามีนัดกันกับ "พี่ตาล" นักการทูตที่เพียบพร้อมทั้งหน้าตาและความสามารถ (ชูป้ายไฟ) ตลอดหนึ่งวันเต็มๆ เราจะไปตามติดชีวิตกันว่า นักการทูตเค้าทำอะไรกันบ้าง?

อรวิจิตร์ ชูเพชร (ตาล)

มัธยมศึกษา : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ปริญญาตรี : คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาฯ
ปริญญาโท : ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส สถาบัน
Sciences Po Paris สาขาความมั่นคง
ระหว่างประเทศ
ปัจจุบัน : นักการทูตปฏิบัติการ กองยุโรป 2
กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ

ถ้าให้นิยาม พี่ตาลขอนิยามว่า นักการทูตคือผู้ประสานงานหรือผู้แทนเจรจาระหว่างรัฐกับรัฐ หรือรัฐกับองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศเรา โดยเส้นทางสู่นักการทูตนั้นสามารถเข้ามาได้ 2 ทางคือ สอบชิงทุนของกระทรวงการต่างประเทศ ที่จะให้ทุนเรียนฟรีแก่นักเรียนที่จบมัธยมปลายไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี-โทในต่างประเทศ เมื่อเรียนจบแล้วก็กลับมารับราชการเป็นนักการทูต (รับสมัครสอบช่วงเดือนสิงหาคม) หรือ สอบเข้ารับราชการเป็นนักการทูตหลังเรียนจบปริญญาตรี ซึ่งไม่จำเป็นต้องจบรัฐศาสตร์เท่านั้น จบคณะอื่นๆ ก็มาสมัครสอบได้

ย้อนไปตอนที่พี่ตาลสอบเข้ามา การสอบ นักการทูตต้องผ่าน 3 ด่าน ด่านแรกคือ

การสอบภาค ก. เป็นข้อสอบกากบาท ความรู้ ทั่วไป สำหรับทุกๆ คนที่สอบเข้าราชการ

การสอบภาค ข. เป็นข้อสอบวัดความสามารถ เฉพาะตำแหน่ง ปีที่พี่ตาลสอบมีทั้งให้ย่อสุนทรพจน์ของนายกฯ จากยาว 4 หน้าให้เหลือแค่ครึ่งหน้า และมีให้เขียนตอบคำถามที่ว่า การต่างประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างไร โดยคำถามที่ใช้มักเป็นคำถามกว้างๆ ไม่มีถูกผิด เน้นให้แสดงความคิดเห็นของเรา

และเมื่อผ่านสองด่านแรกแล้ว ก็มาถึงด่าน สุดท้ายสุดหินที่จะคัด "นักการทูต" ที่จะได้เข้า รับราชการ นั่นก็คือ

การสอบภาค ค. ในปีนั้น มีคนเข้ามาถึงด่านนี้ 50 คน และถูกคัดเหลือ 22 คนที่ได้เป็น นักการทูตตัวจริง โดยทั้ง 50 คนจะได้ไปเข้าค่ายที่ต่างจังหวัดพร้อมกับผู้ใหญ่ของทาง กระทรวง งานนี้ผู้ใหญ่จะไม่รู้จักชื่อนามสกุลของเรา เพราะจะมีติดแค่หมายเลขเอาไว้ ให้รู้ว่าคนนี้เบอร์อะไร เพื่อให้มั่นใจว่า การคัดเลือกนักการทูตนั้นโปร่งใสจริงๆ ไม่ได้ดูจากนามสกุล(ใครที่คิดว่าเส้นเข้ามา ก็เลิกคิดไปได้เลย) ในแต่ละวันที่เข้าค่ายก็มีกิจกรรม เช่น Group Discussion , Public Speaking , การสัมภาษณ์ โดยมีกรรมการจากหลายแขนงมาร่วมดู ทั้งผู้ใหญ่ทางกระทรวง นักจิตวิทยา อาจารย์จากมหาวิทยาลัย เป็นต้น

เมื่อสอบผ่านเข้ามาเป็นนักการทูตแล้ว สิ่งที่นักการทูตต้องทำเป็นอย่างแรกคือ เข้าอบรมหลักสูตรนักการทูตแรกเข้า เพื่อเรียนรู้ในทุกๆ สิ่งที่ควรต้องรู้ เช่น การร่างหนังสือ ราชการ แม้กระทั่งหลักสูตรมารยาทบนโต๊ะอาหาร การจัดที่นั่งเพื่อเลี้ยงต้อนรับบุคคลสำคัญ พิธีการทูตต่างๆ ก็ต้องเรียนรู้หมดเลย และหลังจากจบหลักสูตรที่ว่าแล้ว(เรียน 1 เดือน) ก็ได้เวลาเริ่มทำงานจริงๆ ซึ่งต้องบอกก่อนว่า ในกระทรวงต่างประเทศมีหลายกรมหลายกองมากๆ ได้แก่

หน่วยงานที่ดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคี คือ กรมภูมิภาคต่างๆ ก็จะมีหลายกรม เช่น กรมยุโรป กรมเอเชียตะวันออก กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา

หน่วยงานที่ดูแลความสัมพันธ์พหุภาคี เช่น กรมองค์การระหว่างประเทศ กรมอาเซียน

หน่วยงานที่ดูแลภารกิจต่างๆ เช่น กรมการกงสุล(เช่น ทำพาสปอร์ต) กรมสารนิเทศ (เช่น เผยแพร่ข่าวสาร)

หน่วยงานที่บริหารงาน เช่น สำนักคลัง สำนักบุคคล

ซึ่งทางผู้ใหญ่จะดูว่าเราเหมาะสมกับกองไหน แต่ไม่ได้หมายความว่า เรียนจบจาก ประเทศจีน จะได้ไปอยู่กองเอเชียตะวันออกเพื่อดูแลจีนเสมอไป การทำงานที่นี่จะเน้นว่า นักการทูตต้องเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา ดังนั้นนักการทูตจะถูกย้ายเปลี่ยนกองทุกๆ 2 ปี เพื่อให้ได้เรียนรู้อะไรรอบด้านและเติมเต็มความรู้นั่นเอง เป็นอะไรที่ดีงามจริงๆ เลย

สำหรับการออกไปประจำการต่างประเทศ (ออกโพสท์) เมื่อทำงานในไทยครบ 4 ปี นักการทูตจะต้องออกไปประจำการที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ โดยในรอบแรกที่ออกไปจะต้องไป ประเทศกำลังพัฒนา" ก็จะมีลิสท์ประเทศมาให้เราเลือก เราสามารถเลือกได้ จากนั้นจะมีทางผู้ใหญ่คัดเลือกอีกทีซึ่งจะพิจารณาจากความเหมาะสมว่าจะได้ไปประเทศไหน สำหรับคิวของพี่ตาลนั้นจะออกโพสท์ปีหน้า โดยต้องไปอยู่ที่นั่น 4 ปี แล้วกลับมาทำงานที่ไทย 2 ปี แล้วถึงค่อยได้ออกโพสท์รอบต่อไปซึ่งก็จะได้ไปประเทศที่เจริญแล้ว

ตอนเข้ามาทำงานเป็นนักการทูตใหม่ๆ พี่ตาลถูกส่งไปประจำที่ "กรมสารนิเทศ" ซึ่งในกรมสารนิเทศจะมีกองวัฒนธรรมที่มีหน้าที่ เผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปยังประเทศอื่นๆ พี่ตาลก็ดูแลตรงนี้ เช่น อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายยังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น


     ส่วนตอนนี้ ย้ายมาประจำที่ กองยุโรป โดยได้ดูแลประเทศในยุโรปเหนือ มีนอร์เวย์ เดนมาร์ก สวีเดน ไอซ์แลนด์ และฟินแลนด์ อย่างปีที่แล้วได้เดินทางไปต่างประเทศ 2 ครั้ง

ช่วงเดือนกุมภา ไปสวีเดน เข้าร่วมการประชุม เอกอัครราชทูตในกลุ่มยุโรปเหนือ

ส่วนเดือนตุลา ได้ไปนอร์เวย์ โดยเดินทางไปพร้อมกับกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยไปยัง บริเวณขั้วโลกเหนือ เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการ การจัดเก็บพืชพันธุ์ไว้ที่ขั้วโลกเหนือตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ

ในการทำงานทุกๆ วัน ตามปกติจะเข้างานประมาณ 9 โมงเช้า พอมาถึงสิ่งแรกที่ต้องทำ ในทุกวันคือเช็คงานผ่านระบบ Intranet ซึ่งเป็นระบบภายในว่าวันนี้มีงานอะไรเข้ามาบ้าง งานส่วนมากที่ต้องทำคือ เตรียมข้อมูล เตรียมแฟ้มต่างๆ เช่น จะมีบุคคลสำคัญจาก นอร์เวย์เดินทางมาที่ไทยและขอเข้าพบผู้ใหญ่ของกระทรวง ก็ต้องหาข้อมูลว่า บุคคลนั้นเป็นใคร มีที่มายังไง ซึ่งแฟ้มนี้จะถูกส่งไปยังผู้ใหญ่ทางฝ่ายไทยนั่นเอง

พอตกเที่ยงก็ได้เวลาทานข้าวที่สโมสร ในบางวันอาจมี Working Lunch ซึ่งก็คือการกินข้าวไปด้วยคุยงานไปด้วย(โอ้ววว) อาจจะเป็นคนจากหน่วยงานอื่นๆ ที่มาขอเข้าพบคุยธุระและทานข้าวนั่นเอง

ส่วนตอนบ่ายของวันนี้ แวะมาที่กรมสารนิเทศ(ที่เคยทำงาน) เพื่อเข้าอัดเสียง ของคลื่นวิทยุสราญรมย์ ซึ่งเป็นคลื่นวิทยุของกระทรวงต่างประเทศ ออกอากาศทาง AM1575 เพื่อเผยแพร่ข่าวสารของกระทรวงต่างประเทศให้ประชาชนได้รับทราบ ถ้ามีข่าวอะไรน่าสนใจเกี่ยวกับยุโรปเหนือ ก็จะแวะมาขออัดเสียงที่นี่บ่อยๆ

ส่วนตอนเย็น หากวันไหนงานไม่เยอะ ประมาณ 6 โมงกว่าก็จะกลับบ้าน(ที่นี่ไม่ได้บ่าย 3 แล้วกลับบ้านนะจ๊ะ) แต่ในวันนี้ได้รับเชิญให้ไปงานเลี้ยงที่ทำเนียบของเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย โดยพี่ตาลบอกว่า เวลาถูกรับเชิญให้ไปงานทำนองนี้ ถ้ามีเวลา ไม่ติดอะไรจริงๆ ก็จะไปทุกครั้ง เราควรไปเพื่อไปทำความรู้จักกับอีกฝ่ายในบรรยกาศสบายๆ เป็นกันเอง หากในอนาคตต้องติดต่อเรื่องงาน ก็จะได้รู้จักมักจี่เอาไว้และคุยได้ง่ายขึ้น เริดอะ!

เรียนจบด้านบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ แต่ตอนเด็กๆ ได้มีโอกาสย้ายตามคุณพ่อที่ ออกโพสท์ไปอยู่ต่างประเทศหลายครั้ง ทำให้ มีความสนใจในงานการทูตตั้งแต่เด็ก ปัจจุบัน ประจำอยู่ที่กรมยุโรป ดูแลประเทศตุรกี

ก่อนหน้านี้ พี่เอเคยออกไปประจำการอยู่ที่สถานกงสุลใหญ่ประจำฮ่องกง หน้าที่ตอนอยู่ที่ฮ่องกงคือต้องดูแลงานในหลายประเด็น ทั้งเศรษฐกิจการค้า ธุรกิจการ ลงทุน การเมือง ชุมชนชาวไทยในฮ่องกง อย่างช่วงที่ผ่านมาที่ฮ่องกงมีประท้วงใหญ่ นักการทูตก็ต้องมีหน้าที่คอยติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา เพื่อประมวลออกมาเป็นคำเตือนให้คนไทยได้ติดตามว่าอันตรายมากน้อยแค่ไหน จุดใดไม่ควรไป ซ้อมแผนอพยพหากมีสถานการณ์รุนแรง

**ขวามือคือ พี่ก้อย นักการทูตชำนาญการ กองยุโรป 2 กรมยุโรป

เรียนจบรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ ปัจจุบันประจำอยู่ที่กรมอาเซียน ตำแหน่งเลขานุการอธิบดีกรมอาเซียน สำหรับหน้าที่ใน 1 วันของพี่นัตตี้ก็จะเป็นการนัดหมายต่างๆ อ่านแฟ้มกรองงานก่อนส่งให้ท่านอธิบดีอ่านต่อ เป็นงานเลขาที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ท่านอธิบดีนั่นเอง

เป็นนักเรียนทุนของกระทรวงต่างประเทศ ปริญญาตรี โท เอก โดยจบปริญญาตรีด้าน ปรัชญาเศรษฐกิจการเมือง และปริญญาโท- เอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


    พี่อ๊อฟเคยออกไปประจำการที่สถานทูตไทยในประเทศมาเลเซียเป็นเวลา 4 ปี หน้าที่ที่ทำตอนอยู่มาเลเซียก็เช่น ติดตามข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับไทยและมาเลเซีย พบเจอพูดคุยกับคนหลากหลายวงการ ไม่ว่านักธุรกิจหรือนักวิชาการ หากจะมีคณะจากไทยมาเยือน ก็ต้องจัดการต้อนรับ รวมถึงต้องดูแลประชาชนคนไทยในมาเลเซีย ให้ความช่วยเหลือเวลาเขาตกทุกข์ได้ยาก 


     หากใครจำได้เมื่อหลายปีก่อนที่มีรถทัวร์นักท่องเที่ยวไทยคว่ำที่ทางลงเขาคาเมรอนไฮแลนด์ที่มาเลเซีย แล้วมีคนไทยเสียชีวิตหลายราย พี่อ๊อฟก็ต้องดำเนินการเตรียมเอกสาร เตรียมส่งศพกลับไทย ประสานงานกับสื่อมวลชนที่ขอข้อมูลไปลงข่าว

ปัจจุบันพี่อ๊อฟกลับมาประจำที่กรมอาเซียนจนถึงทุกวันนี้ หน้าที่ใน 1 วันก็จะเน้นดูงานภาพรวมทั้งหมด เช็คว่ามีงานอะไรเข้ามา กระจายงาน จัดลำดับความสำคัญของงานว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง หากผู้ใหญ่จะมีการหารือหรือประชุม ก็ต้องเตรียมแฟ้มข้อมูลไว้ให้ นอกจากนี้ อาจต้องจัดประชุมหรือเข้าร่วมในการประชุมต่างๆ เพราะการประชุมหรือสัมมนาที่เกี่ยวกับอาเซียนนั้นมีบ่อยมาก เฉลี่ยแล้วได้เดินทางไปต่างประเทศทุกเดือน 

จบปริญญาตรีศิลปศาสตร์ ปริญญาโท-เอก รัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปัจจุบัน ประจำอยู่ที่กรมสารนิเทศ ซึ่งกรมนี้มีหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารกระทรวงต่างประเทศให้ประชาชนได้ทราบ


     หน้าที่วันนี้ของพี่อ้อ ตั้งแต่เช้าก็เริ่มตั้งแต่ ประสานงานติดต่อท่านเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ออกรายการวิทยุ / รอการตอบรับจากบุคคลที่ติดต่อไปเพื่อจะขอสัมภาษณ์ว่าสะดวกมามั้ย / ช่วงบ่ายมีประชุมกับทีมออแกไนเซอร์ที่จะจัดงาน / มีอัดรายการวิทยุของกระทรวง / รอโรงพิมพ์มารับต้นฉนับของหนังสือสราญรมย์ ที่เป็นวารสารแจกฟรีของกระทรวงต่างประเทศ (สามารถหาอ่านย้อนหลังได้ที่นี่ คลิก)

เรื่องเงินเดือนคงเป็นอีกเรื่องที่หลายคนสงสัย ณ ปัจจุบันนี้ (ปี 2558) นักการทูตที่จบ ปริญญาตรีและสอบเข้ามาใหม่ จะอยู่ในระดับ C3 หรือ ผู้ช่วยเลขานุการ ได้รับเงินเดือนที่ 15,000 บาท พอทำงานไป 2 ปีจะได้เลื่อนเป็น C4 หรือ เลขานุการตรี , ทำไปอีก 2 ปีเลื่อนเป็น C5 หรือ เลขานุการโท , ทำไปอีก 2 ปีเป็น C6 หรือ เลขานุการเอก ซึ่งฐานเงินเดือนก็จะถูกปรับในระดับหลักร้อย-พันบาท แต่หากเป็นช่วงออกโพสท์ไปประจำอยู่ต่างประเทศ จะมี เงิน พ.ข.ต. (เงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ) ให้ด้วย ซึ่งรวมๆ แล้วก็ถือว่ามากพอสมควรเลยทีเดียว สาเหตุก็เพราะว่า นักการทูตถือเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ ก็ควรจะมีภาพลักษณ์ความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ให้ประเทศอื่นมาดูแคลนได้ว่า นักการทูตประเทศนี้ดูไม่ดีนั่นเอง


     และจากระดับ C7 ขึ้นไปถึง C10 (C10 คือ เอกอัครราชทูต/อธิบดี) ก็จะอยู่ที่ผลงาน ความสามารถ อายุราชการ และปัจจัยอีกหลายอย่าง ดังนั้น ไม่ได้แปลว่านักการทูตทุกคนจะได้เป็นเอกอัครราชทูต(หรือที่หลายคนเรียกสั้นๆ ว่า ทูต)นะ

สำหรับน้องๆ ที่อยากเป็นนักการทูต พี่ๆ นักการทูตก็ฝากมาตามนี้เลยจ้า

ภาษาดี แน่นอนว่าภาษาอังกฤษสำคัญมาก หลักๆ คือฟังเข้าใจแล้วสื่อสารต่อไม่ผิด น้องๆ อาจจะลองทดสอบตัวเองโดยการเปิดดูสารคดีภาษาต่างประเทศ ดูจบแล้วลองเล่าให้เพื่อนฟังว่าเค้าเข้าใจสิ่งที่เราเล่ามั้ย

ปรับตัวได้ดีและพร้อมที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ทั้งการถูกย้ายไปประจำกองที่เราอาจไม่มีความรู้เกี่ยวกับประเทศนั้นมาก่อน เราต้องผ่านช่วงเรียนรู้งานที่แสนยากไปให้ได้ (พี่ๆ บอกว่าช่วงนี้แหละเครียดมาก) รวมถึงเวลาไปออกโพสท์ประจำต่างประเทศ อาจต้องไปอยู่ประเทศที่ลำบากกว่าไทยก็ได้นะ 

มีทักษะการสื่อสารที่ดี อย่าลืมว่านักการทูตมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของชาติ ต้องสื่อสารโน้มน้าวให้อีกฝ่ายคิดไปทางเดียวกับเรา

รอบรู้ ขวนขวายหาความรู้ วิเคราะห์สถานการณ์เป็น จับประเด็นได้ มีความรู้รอบตัวดีเยี่ยม

เป็นยังไงบ้างคะ A day in life of DIPLOMAT ยาวเนาะ แต่คือน่าสนใจหมด ไม่รู้จะตัดตรงไหนออกเลย 5555 คงทำให้น้องๆ ได้เห็นภาพการทำงานของนักการทูตมากขึ้นว่ามีความหลากหลายจริงๆ และตอบคำถามคาใจหลายๆ ข้อ ที่สำคัญได้เห็นหน้าที่การงานของพวกพี่ๆ ว่าเค้าทำเพื่อผลประโยชน์ของชาติไทยมากแค่ไหน

 และสำหรับการรับสมัครนักการทูต ประจำปี 2558 จะเริ่มรับสมัครแล้วตั้งแต่วันที่ 5-30 มีนาคม 2558 อ่านระเบียบการได้ที่นี่เลยค่ะ คลิก

     ทางเว็บไซต์ Dek-D.com ต้องขอขอบพระคุณกระทรวงต่างประเทศและเจ้าหน้าที่นักการทูตทุกท่านที่ให้เกียรติมาสัมภาษณ์ในวันนั้นด้วยค่ะ เป็นเกียรติมากจริงๆ ค่ะ ส่วน
A day in life ตอนต่อไป จะพาไปตามติด 1 วันของอาชีพอะไร ก็ต้องติดตามหรือ
รีเควสท์มาได้เลย

ตอนแวะไปกรมอาเซียน เจอหนังสืออาเซียนน่าสนใจ แอบอยากได้เบาๆ แต่ท่านอธิบดีกรมอาเซียนใจดีสุดๆ บอกว่าเอาไปเยอะๆ เลย
เผื่อแจกน้องๆ ในเว็บ Dek-D.com ด้วย! จัดไปเลยค่ะ
หนังสือ Asean in Brief + หนังสือ 58 คำตอบสู่ประชาคมอาเซียน
(ประกาศผล 20 กุมภาพันธ์ 2558)

ภาพประกอบ ; news.asiaone.com,thetimes.co.uk,cnn.com

ประกาศผล

, ,
จะติดต่อไปทางอีเมล์นะคะ

  • #Studyabroad
  • #นักการทูต
  • #ทูต
  • #กระทรวง
  • #รับราชการ
  • #กระทรวงต่างประเทศ
  • #อาชีพ
  • #รัฐศาสตร์

พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf