ข้อใดเป็นอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับเมื่อนายจ้างให้ลูกจ้างมาทำงานล่วงเวลาในวันหยุด

แค่รู้กฎหมายเเรงงาน ก็ช่วยลดต้นทุนของกิจการได้

        ท่านที่เป็นเจ้าของกิจการ คงจะพอทราบว่ากฎหมายแรงงานนั้นมีส่วนสำคัญต่อต้นทุนของกิจการยังไงกันบ้าง สำหรับวันนี้ผมทนายนำชัย พรมทา จะพาทุกท่าน ไปดูกันว่า การรู้กฎหมายแรงงาน จะช่วยลดต้นทุนของกิจการท่านได้อย่างไร ซึ่งวันนี้ เราจะไปดูเรื่องของค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ท่านเจ้าของกิจการเคยทราบหรือไม่ครับว่า ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดนั้น เป็นภาระของกิจการ มากมายแค่ไหน

  • ตามกฎหมายแรงงานนั้น กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่ลูกจ้าง ในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่ง ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกจ้างมีอัตราค่าจ้างวันละ 300 บาท เวลาทำงาน 8 ชั่วโมง ก็เอา 300 หารด้วย 8 คูณด้วย 1.5 เท่ากับ 56.25 บาท/ชั่วโมง ซึ่งนั่นก็หมายความว่าหากท่านให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไปกี่ชั่วโมงในแต่ละวัน ก็เอา 56.25  คูณเข้าไป หมายเหตุ ค่าล่วงเวลาหมายความว่า การที่นายจ้าง จ่ายค่าตอบแทนให้แก่ลูกจ้าง เพื่อตอบแทน การทำงานล่วงเวลา ซึ่ง การทำงานล่วงเวลาก็หมายความว่า การที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน เกินกว่าเวลาทำงานตามปกติ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือตามระเบียบของนายจ้าง เช่น นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานวันละ 8 ชั่วโมง โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นการทำงานคือเวลา 8.00 น. และกำหนดเวลาเลิกงานเวลา 17.00 น. ดังนั้น การทำงานล่วงเวลาก็คือการทำงานนอกเหนือจากเวลาดังกล่าว ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น
  • ค่าทำงานในวันหยุด ตามกฎหมายแรงงานกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันหยุดแก่ลูกจ้าง ไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงทำงานในวันปกติ สำหรับลูกจ้างรายเดือน หรือ ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของอัตราค่าจ้างในวันทำงานปกติ สำหรับลูกจ้างรายวัน หมายเหตุ การทำงานในวันหยุดหมายความว่า การที่นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ซึ่งก็ได้แก่ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือวันหยุดอื่นๆ ที่นายจ้างกำหนดว่าเป็นวันหยุด ซึ่งอัตราค่าจ้างในวันหยุด ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดคือ 300 บาทต่อวัน อัตราค่าจ้างในวันหยุดก็คือ 300 บาทแต่ถ้าลูกจ้างนั้นเป็นลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างคนนั้นจะมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดคือ 600 บาท อย่างนี้เป็นต้น
  • ค่าล่วงเวลาในวันหยุด กฎหมายแรงงานกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดแค่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติ นั่นหมายความว่าถ้าลูกจ้างได้รับค่าจ้างในวันทำงานปกติคือวันละ 300 ค่าล่วงเวลาในวันหยุดของลูกจ้างจะเท่ากับ 300 หารด้วย 8 คูณด้วย 3 เท่ากับ 112.5 บาท/ชั่วโมง

        ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากค่าจ้างที่ต้องจ่ายตามปกติ  ถ้ากิจการใด ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดแล้วย่อมก่อให้เกิดภาระของกิจการ โดยไม่จำเป็น และถ้า ไม่จ่ายก็ผิดกฎหมายแรงงาน นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยและเงินเพิ่มตามกฎหมาย ก็ลองคิดดูว่าถ้ากิจการท่านมีลูกจ้างเป็นร้อยคน หรือ หลายร้อยคน ท่านจะต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การบริหารการทำงาน ก็ต้องบริหารให้อยู่ภายในค่าจ้าง หรือ เวลาทำงานปกติก่อน จะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด หรือทำงานล่วงเวลาในวันหยุดก็ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนไม่เช่นนั้นอาจต้องเสียเงินโดยไม่จำเป็น   เห็นหรือยังว่าการรู้กฎหมายแรงงาน จะช่วยบริหารต้นทุนกิจการได้อย่างไร เพียงท่านรู้เรื่องค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ก็สามารถบริหารต้นทุนได้มากโขเลยทีเดียว

โดย ทนายนำชัย พรมทา 086-3314759

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : //numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : //bit.ly/2XVVfKQ

ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail :
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

เงินอะไรเป็นค่าจ้างหรือไม่นั้น ยังเป็นปัญหาในวงการแรงงานอยู่ตลอดมา เพราะแต่ละกิจการต่างมีชื่อและรูปแบบการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างแตกต่างกันออกไป ทั้งๆที่จริงกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดนิยามคำว่าจ้างไว้แล้ว ดังนี้

“ค่าจ้าง” หมายถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนหรือระยะเวลาอื่นหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด วันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิได้รับค่าจ้างด้วย

เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาว่า เงินประเภทใดเป็นค่าจ้างหรือไม่ ผู้เขียนจะต้องแยกพิจารณาเป็นองค์ประกอบ ดังนี้

  • ต้องเป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเท่านั้น

เงินเท่านั้นจึงจะถือเป็นค่าจ้างตามความหมายของกฎหมายนี้ ดังนั้น หากนายจ้างตอบแทนลูกจ้างเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช้เงิน เช่น รถยนต์ประจำตำแหน่ง หุ้น ยูนิฟอร์ม คอมพิวเตอร์ ไอแพ็ด ไอโฟน เป็นต้น สิ่งของเหล่านี้ไม่ถือเป็นค่าจ้างตามคำนิยามของกฎหมายนี้

มีข้อควรพิจารณาว่า หากนายจ้างมีข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างว่าจะจัดให้ลูกจ้างมีรถยนต์ประจำตำแหน่ง แต่นายจ้างยังไม่สามารถจัดหารถยนต์ให้ได้ นายจ้างจึงตกลงเช่ารถยนต์ลูกจ้างเองไปก่อน โดยจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือนให้กับลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือนแทน กรณีเช่นนี้ถือว่า นายจ้างและลูกจ้างต่างมีข้อตกลงกันชันเจนว่า นายจ้างจะจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้ลูกจ้าง ซึ่งไม่ใช่เงิน แม้ว่านายจ้างจะจ่ายเงินให้ลูกจ้างเป็นค่าเช่ารถยนต์ให้กับลูกจ้างในระหว่างที่รอรถยนต์ประจำตำแหน่งเป็นประจำทุกเดือนก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็ไม่ถือเป็นค่าจ้าง

ในทำนองเดียวกัน กรณีที่นายจ้างจัดให้มีสวัสดิการอาหาร ที่พักให้กับลูกจ้าง แม้ว่าต่อมานายจ้างจะจ่ายเป็นเงินแทน เพื่อให้ลูกจ้างไปหาอาหารรับประทานเอง หรือหาที่พักที่ตนเองพอใจ กรณีเช่นนี้ เงินจำนวนดังกล่าวแม้ว่าจะจ่ายเป็นประจำ แน่นอนก็ไม่ถือว่า เป็นค่าจ้างเช่นกัน

เงินที่ลูกจ้างได้รับจะต้องเป็นเงินของนายจ้างเท่านั้น ดังนั้น กรณีบางธุรกิจที่นายจ้างเรียกเก็บทิปจากแขกผู้มาใช้บริการ แล้วนำมาแบ่งกันระหว่างลูกจ้างด้วยกัน เก็บได้เท่าใดแบ่งกันเท่านั้น เงินค่าทิปนี้ไม่ใช่ค่าจ้าง แต่ถ้าเป็นกรณีที่นายจ้างรับประกันกับลูกจ้างจะได้ทิปขั้นต่ำเป็นจำนวนที่ไม่แน่นอน หากนายจ้างเรียกเก็บเงินทิปจากแขกผู้มาใช้บริการได้ไม่พอ นายจ้างก็จะควักกระเป๋าตัวเองจ่ายให้ กรณีเช่นนี้ เงินค่าทิปดังกล่าวจะถือเป็นเงินค่าจ้างทันที

  • จ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง

เงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างนั้นจะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างเท่านั้น หากเป็นวัตถุประสงค์อื่น อาทิเช่น เป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน จูงใจการทำงาน สร้างขวัญกำลังใจ  ทุ่มเทการทำงานให้กับนายจ้างอย่างขยันขันแข็ง เป็นต้น เงินที่จ่ายในลักษณะนี้ไม่ถือเป็นค่าจ้างทั้งสิ้น

ตัวอย่างกรณีเงินที่ถือว่า จ่ายไปเพื่อตอบแทนการทำงานได้แก่

-ค่าครองชีพ

-ค่าตำแหน่ง เงินค่าครองชีพ กับเงินค่าตำแหน่งต่างมีลักษณะจ่ายเป็นประจำและแน่นอนทุกเดือน จึงถือว่าเป็นค่าจ้าง

– เงินเบี้ยเลี้ยง (กรณีนี้จะต้องพิจารณาว่า ลักษณะงานของลูกจ้างได้เบี้ยเลี้ยงเป็นประจำทุกเดือนหรือไม่  หากลูกจ้างได้เป็นประจำทุกเดือน       เบี้ยเลี้ยงก็จะถือเป็นค่าจ้างด้วย)

-ค่าคอมมิชชั่น กรณีที่ลูกจ้างทำงานเป็นพนักงานขาย รายได้ของลูกจ้างจะมีสองส่วนก็คือเงินเดือนกับค่าคอมมิชชั่นเป็นประจำทุกเดือน แม้ว่าจำนวนค่าคอมมิชชั่นจะไม่เท่ากัน แต่ก็ถือว่า ค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าจ้างแล้ว

ตัวอย่างกรณีเงินที่ไม่ถือว่า จ่ายไปเพื่อตอบแทนการทำงาน ได้แก่

-บรรดาเงินสวัสดิการต่างๆที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเพื่อจูงใจในการทำงานของลูกจ้าง เช่น เงินค่าที่พัก เบี้ยขยัน ค่าเช่าบ้าน (มีระเบียบการจ่ายชัดเจน) เงินเพิ่มจูงใจที่จะได้เมื่อทำยอดขายได้ตามเป้า เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าอาหารกลางวัน โบนัส เบี้ยประชุมกรรมการ เป็นต้น และ

-บรรดาเงินที่นายจ้างจ่ายไปเพื่อช่วยเหลือการทำงานของลูกจ้าง เช่น ค่าน้ำมันรถยนต์ (มีใบเสร็จมาแสดง) เงินค่ารับรองลูกค้า เงินค่าจอดรถ เงินค่าทางด่วน เป็นต้น เงินดังกล่าวไม่ถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายไปเพื่อตอบแทนการทำงานให้กับลูกจ้าง

๓ ) จ่ายเพื่อตอบแทนเวลาทำงานปกติ

ค่าจ้างจะต้องเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานตามเวลาปกติเท่านั้น ดังนั้น บรรดาเงินที่จ่ายตอบแทนนอกเวลาทำงานปกติหรือวันหยุด เช่น ค่าล่วงเวลา หรือค่าทำงานในวันหยุด ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่ใช่ค่าจ้าง

  • เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่มีสิทธิได้รับ

เงินดังกล่าวได้แก่ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี วันลาป่วย วันลาคลอด เป็นต้น ซึ่งวันดังกล่าวนั้น ลูกจ้างไม่ได้ทำงานแต่อย่างใด แต่ในเมื่อกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างในวันดังกล่าวแล้ว จึงต้องถือเป็นค่าจ้างด้วย

เมื่อเงินประเภทใดที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างแล้วถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงานแล้ว จะต้องตกอยู่ภายใต้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายด้วย ปัจจุบันทุกจังหวัดใช้อัตราเดียวกัน คือวันละ ๓๐๐ บาทต่อวัน สำหรับการคิดคำนวณนั้น นายจ้างจะต้องนำเงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายและถือเป็นค่าจ้างมารวมกันแล้วพิจารณาว่า สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ อย่างไร หากนายจ้างจ่ายไม่ครบอาจต้องโทษอาญาจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับได้

เรื่องค่าจ้างถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะค่าจ้างจะเป็นพื้นฐานในการคิดคำนวณบรรดาเงินประเภทอื่นที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้กับลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  ดังนั้น การที่นายจ้างมีความเข้าใจว่า เงินประเภทใดเป็นค่าจ้างหรือไม่จะส่งผลให้นายจ้างคิดคำนวณเงินประเภทอื่นได้อย่างถูกต้องอีกด้วย หากนายจ้างจ่ายเงินประเภทหนึ่งประเภทใดไม่ถูกต้องแล้ว อาจส่งผลให้นายจ้างจะต้องจ่ายเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ๑๕ ต่อปีและอาจต้องโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับได้อีกด้วย

    ผู้เขียน….นายวรเศรษฐ์  เผือกสกนธ์

    ที่ปรึกษากฎหมาย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf