ข้อใดเป็นหน่วยความจําสํารอง (Secondary Storage)

 หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage )

ในยุคสังคมสารสนเทศทุกวันนี้ข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะมีจำนวนหรือขนาดใหญ่มาก ตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของปัญหาที่พบในงานต่าง ๆ หน่วยความจำหลักที่ใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์จึงต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย โดยทั่วไป หน่วยความจำหลัก จะมีขนาดจำกัดทำให้ไม่พอเพียงสำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนมาก เป็นการเพิ่มขีดความ สามารถด้านจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ถ้ามีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะทำงานข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักหรือแรมจะสูญหายไปหมด หากมีข้อมูลส่วนใดที่ต้องการเก็บไว้ใช้งานในภายหลังก็สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง หน่วยความจำรองที่นิยมใช้กันมากจะเป็นจานแม่เหล็กซึ่งจะมีแผ่นบันทึกและฮาร์ดดิสก์    หน่วยนับความจุของหน่วยความจำรองจะนับเป็น เมกะไบท์ ( MB )  , กิโลไบท์ ( KB ) และ กิกะไบต์ ( GB )
            หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage ) หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคตหรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่
เก็บได้ตลอดเวลา หน่วยความจำรองที่สำคัญมี 5 ชนิด คือ

3.1 เครื่องขับเทปแม่เหล็ก ( Magnetic Tape Drive : MTD ) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้อ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนเทปแม่เหล็ก ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ เทปแม่เหล็กแบบม้วน( Reel )และเทปแม่เหล็กแบบตลับ( Cassette )

3.2 เครื่องขับจานบันทึกแบบอ่อนหรือฟลอปปี้ดิสก์ ( Floppy Disk Drive : FDD )เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและบันทึกคำสั่งหรือข้อมูลลงบนแผ่นบันทึกแบบอ่อนซึ่งมีอยู่หลายขนาด  แต่ที่ใช้กันมากคือ ขนาด 3.5 นิ้ว  ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 1.44 เมกะไบต์ ปัจจุบันมีผู้นิยมใช้กันน้อยลงเพราะฟลอปปี้ดิสก์ชำรุดเสียหายง่าย  และมีอุปกรณ์ชนิดอื่นที่เก็บข้อมูลได้ความจุมากกว่า

3.3 เครื่องขับจานบันทึกแบบแข็ง ( Hard Disk Drive : HDD ) มีลักษณะเป็นจานแม่เหล็กหลาย ๆ แผ่นวางซ้อนกัน โดยอาจมีจำนวนแผ่นตั้งแต่ 3 -11 แผ่น ซึ่งจะไม่เรียกว่าดิสก์ แต่จะเรียกว่าแพลตเตอร์ ( Platter ) แทน ซึ่งแต่ละแพลตเตอร์จะสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้านเนื่องจากแพลตเตอร์ผลิตจากสารจำพวกโลหะหรือแก้วบางชนิด
จึงไม่สามารถงอไปงอมาได้เหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์  ทำให้ต้องมีโลหะปิดไว้ทุกด้านเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน ฮาร์ดดิสก์ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและบันทึกคำสั่งหรือข้อมูลลงบนจานบันทึกแบบแข็ง  มีทั้งที่เป็นชนิดถอดได้
( Removable Hard Disk ) และชนิดติดตั้งตายตัว ( Fixed Hard Disk ) และอาจมีความจุได้หลายขนาดตั้งแต่ 80 กิกะไบต์( GB )ขึ้นไปจนถึง 350 กิกะไบต์ในอนาคตจะมีการพัฒนาให้มีความจุมากขี้นเรื่อยเพื่อรองรับข้อมูลให้ได้จำนวนมาก ๆ โดยการวัดความจุของจานแม่เหล็กนิยมวัดเป็นจำนวนลงตัว คือ 1 เมกะไบต์ เท่ากับ 1 ล้านไบต์และ 1 กิกะไบต์ เท่ากับ 1 พันล้านไบต์ ข้อจำกัดของฮาร์ดดิสก์ คือ การเคลื่อนย้ายไปเครื่องอื่นได้ลำบาก  ชำรุดง่ายหากโดนกระทบกระเทือน และมีราคาแพง
ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบันมีระบบการต่อพ่วงกับเมนบอร์ดในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการเชื่อมต่ออยู่ 2 ระบบ คือ ฮาร์ดดิสก์แบบไอดีอี ( IDE : ) กับฮาร์ดดิสก์แบบซาต้า ( SATA :    ) ฮาร์ดดิสก์มีความเร็วในการหมุน 5,400 รอบต่อนาทีสำหรับฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่าแบบไอดีอีและฮาร์ดดิสก์ที่ผลิตอยู่ในปัจจุบันมีความเร็วหมุนทำงาน 7,200 รอบต่อนาทีและ
เป็นแบบซาต้า

3.4 เครื่องอ่านและเขียน ซีดี – ดีวีดี ( CD-DVD ROM Drive ) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและเขียนจานซีดี CD ( Compact disk ) และ DVD ( Digital Versatile Disk ) ซึ่งปัจจุบันหมายถึงแผ่นบันทึกข้อมูล ที่นิยมใช้ในการบันทึกภาพยนต์ในรูปแบบ VCDDVDและเสียงเพลง ในรูปแบบ CD,DVD-Audio เมื่อนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์จึงเรียกว่าDVD-ROM ให้มีความหมายว่าเป็นจานบันทึกแบบคอมแพกต์ที่ได้บรรจุข้อมูล
แบบอ่านอย่างเดียว ( Read Only ) จะใช้บันทึกเปลี่ยนแปลงข้อมูลลงไปไม่ได้ ปกตินิยมใช้บันทึกเอกสาร บทความ ข่าว ฯลฯ ที่ต้องการเก็บไว้อย่างถาวร เทคโนโลยีที่ใช้อ่านและเขียน คือ เทคโนโลยีเลเซอร์ ดังนั้น บางครั้งจึงมีผู้เรียกจานแบบนี้ว่า เลเซอร์

เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี ( DVD Writer )         แผ่นซีดี ( CD-ROM )

       แผ่นซีดี ( CD-ROM ) แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (Compact Disc)คือแผ่นออพติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัลแผ่นซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน แผ่นซีดีที่
นิยมใช้มี 3 ชนิด ได้แก่
       – แผ่นซีดีรอม ( CD-ROM )เป็นหน่วยความจำอ่านได้อย่างเดียว ด้วยแผ่นแบบนี้เราสามารถเก็บข้อมูลจากคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้ เมื่อบันทึกข้อมูลลงไปในครั้งแรกแล้วเราไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้อีก
       – แผ่นซีดีอาร์ ( CD-R ) คืือแผ่นซีดีเปล่าที่ผู้ใช้สามารถเขียนเองได้และกลายเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์และเพลงในปัจจุบัน
      – แผ่นซีดีอาร์ ดับบลิว ( CD-RW ) คืือแผ่นซีดีเปล่าที่ผู้ใช้สามารถเขียนและลบได้หลายครั้ง เพื่อจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์, วีดีโอ และ เพลง
 แผ่นซีดีแบบต่าง ๆ ประสบความสำเร็จมากซีดีรอม ซีดีอาร์ ความเร็วของไดรฟ์ซีดีรอมมีหลายความเร็ว เช่น 16x , 24x หรือ 48x เป็นต้นซึ่งค่า 24 x หมายถึงไดรฟ์ซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน 24 เท่า ไดรฟ์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมีความเร็ว 1 x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล(Data Tranfer Rate)150 KB ต่อวินาที ในปัจจุบันความเร็วในการอ่านซีดีรอมสูงสุดอยู่ที่ 52 x
คุณสมบัติทางกายภาพของแผ่นซีดี
แผ่นซีดี มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร (4 ¾ นิ้ว) มีความหนามากกว่า1 มิลลิเมตรเล็กน้อย และมีน้ำหนักประมาณ ½ ออนซ์ วัสดุที่ใช้ทำแผ่นซีดีรอมทำจากแผ่นโพลีคาร์บอเนต ( polycarbonate ) ใสประกบกับแผ่นอะลูมิเนียมบาง ๆและผนึกด้วยแล็กเกอร์รอบนอก แผ่นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลทั้งประเภทตัวหนังสือ ภาพถ่าย กราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหว ได้เป็นจำนวนมากถึง 700 เมกะไบต์ หรือเก็บเสียงที่มีคุณภาพดีได้นานถึง 80 นาทีแผ่นซีดี สามารถบันทึกข้อมูลได้หลากหลายประเภท ได้แก่

ตัวอักขระ มากถึง 680-700 ล้านอักขระ

ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวที่ทำจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ บันทึกภาพแบบบีบอัดได้ 74 นาที

ภาพกราฟิก ในลักษณะภาพถ่าย ภาพวาด จำนวนหลายพันภาพ

เสียง สามารถบันทึกได้หลายรูปแบบ

        แผ่นซีดีควรมีการดูแลเก็บรักษาดังนี้

1. เก็บแผ่นในกล่องหรือซองเพื่อป้องกันความสกปรกจากฝุ่นละออง รอยนิ้วมือ น้ำ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้อาจเกิดความผิดพลาดในการอ่านข้อมูลได้
2. ถ้ามีความสกปรกบนแผ่น ให้ใช้น้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดสำหรับการใช้แผ่นซีดีโดยเฉพาะ ห้ามใช้น้ำยาล้างกระจกหรือสารละลายต่าง ๆ เป็นอันขาด แล้วใช้ผ้านุ่ม สะอาดๆ เช็ดจาดส่วนกลางออกไปยังขอบแผ่น
และไม่ควรเช็ดในลักษณะวงกลม
3. ถ้าต้องการเขียนข้อความบนแผ่นให้ใช้ปากกาปลายสักหลาดเขียนได้ แต่ห้ามใช้ปากกาลูกลื่น เพราะจะทำให้เกิดรอยบนแผ่นได้
4.ไม่ติดสติกเกอร์บนแผ่นซีดีถึงแม้จะเป็นด้านที่มีชื่อแผ่นก็ตาม

        ดีวีดี ( DVD; Digital Versatile Disc ) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง( Optical Disc ) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกันและความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า

 คุณสมบัติของดีวีดี

​สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 120 นาที ( 4.7 GB. )

การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1

ทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์

ใช้บันทึกข้อมูล ภาพและเสียงด้วยระดับคุณภาพของซีดี ก็จะสามารถ
บันทึกได้นานถึงเกือบ 8 ชั่วโมง

         3.5 Handy drive ( แฮนดี้ไดร์ฟ ) คือชื่อทางการค้าของสื่อจัดเก็บประเภทแฟลชเมมโมรี่ ( Flash Memory )ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ด้วยพอร์ตยูเอสบี ( USB Port ) มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับยูเอสบีแฟลชเมมโมรี่ ( USB Flash Memory ) ที่ถูกเรียกด้วยชื่ออื่น ๆ เช่น Thumb Drive, Flash Dirve, Jet Drive ฯลฯ แฮนดี้ไดร์ฟเป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลขนาดเล็กแต่มีความจุสูงทั้งนี้มันมีความจุมากกว่าแผ่นดิสต์ซึ่งโดยปกติการย้ายข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งมักจะใช้ ดิสก์เก็ต ในการโอนย้าย( มีความจุประมาณ 1.44 MB ) แต่ปัจจุบัน ข้อมูลที่ต้องการเคลื่อนย้ายมีขนาดใหญ่มากไม่ว่าจะเป็นข้อมูลรูปภาพ เพลง ข้อมูลการนำเสนอ รวมทั้งไฟล์หนัง ซึ่งมีผลทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายผ่านดิสก์เก็ตได้สะดวก

ลักษณะเด่นของ  Handy drive

มีขนาดเล็ก ประมาณ ปากกา แต่มีขนาดกว้างกว่า สามารถพกพาได้สะดวกมี Port ในการเชื่อมต่อเป็น USB 1.1 หรือ USB 2.0มีความจุตั้งแต่ 1 GB – 8 GB (อาจมีมากกว่านี้)เคลื่อนย้ายและสะดวกในการพกพา น้ำหนักเบาไม่ต้องติดตั้ง Driver ถ้าใช้กับ Windows ME, 2000 และ XPมีความจุในการบันทึกข้อมูลได้ดีระดับหนึ่งทนทาน และไม่เสียหายได้ง่าย เหมือนดิสก์เก็ตเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโอนย้ายข้อมูลบ่อย ๆ

     5  วิธีการถนอม  Handy drive 

Handy drive เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเก็บขอมูลได้หลาย 10 เท่าของFloppy disk  การให้ความสำคัญในการดูแลรักษาจึงต้องให้ความสำคัญมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นจะขอแนะนำวิธีการดูแลง่าย ๆ แต่มีความสำคัญ ดังนี้

1. เก็บไว้ใกล้ตัว-ไม่ต้องกลัวหาย
         นับวัน Handy drive จะมีขนาดเล็กลง หายง่ายมาก (ถูกขโมยก็ง่ายด้วย) มีไม่น้อยที่มักจะหลงลืมไว้ตามที่ต่างๆ เวลาหยิบออกมาวาง หรือคนชอบคล้องไว้กับกุญแจ ซึ่งเป็นของที่ชอบทำหายอันดับต้น ๆ
วิธีน่าสนใจที่สุดคือ เลือกรุ่นที่มีสายคล้องคอไว้ แม้จะดูไม่สวยงามเท่าไร แต่มันลโอกาสทำหายและถูกขโมยได้เกือบ 100 %
2. ระวังไวรัส
ต้องถือเป็นข้อควรระวังในการใช้งาน Handy drive อันดับแรก เพราะโดยพื้นฐานแล้วHandy drive  จะมีลักษณะการใช้งานเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์  ซึ่งนั่นหมายความว่าไวรัสสามารถใช้Handy drive เป็นสื่อสำหรับการแพร่กระจายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเวลาใช้งานธัมบ์ไดรฟ์ เราควรแน่ใจก่อนว่าเป็นการถ่ายโอนเฉพาะไฟล์ข้อมูลเท่านั้น(ไม่ได้ติดไวรัสมาด้วย)
ประเด็นที่สำคัญก็คือควรแน่ใจว่าคุณกำลังเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสที่ได้รับการอัพเดตสม่ำเสมอ และในกรณีที่์ต่อ Handy drive กับคอมพิวเตอร์จะต้องสแกนไวรัสHandy drive ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจ Handy drive ที่รับมา ก็ไม่ควรเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ของคุณเด็ดขาด
3. เข้ารหัสข้อมูล เพื่อรักษาความลับ
         ถ้าหาก Handy drive ของเราหาย นั่นหมายความข้อมูลของเราตกไปอยู่ในมือของผู้ที่พบมันด้วย และถ้าหากคนผู้นั้นบังเอิญเป็นคู่แข่งเราโดยตรง อะไรจะเกิดขึ้น ดังนั้นหากเราใช้Handy drive เก็บข้อมูลสำคัญ การเข้ารัหสข้อมูลดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้
การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) จะทำให้ข้อมูลเปิดอ่านไม่รู้เรื่องจนกว่าจะได้รับพาสเวิร์ดที่ถูกต้อง ซึ่งควรเลือกเข้ารหัสที่ระดับ 128 บิต เพื่อความปลอดภัย Handy drive รุ่นใหม่ ๆ จะมาพร้อมกับคุณสมบัติการเข้ารหัสข้อมูลมาด้วย   แต่อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจนะว่า ซอฟต์แวร์ที่ให้มาไม่ใช่รุ่นทดลอง เพราะไม่เช่นนั้น เรา อาจจะต้องจ่ายตังค์ค่าซอฟต์แวร์ในภายหลัง
4. สำรองข้อมูลให้เป็นนิสัย
ไม่ต้องปฏิเสธว่า เวลา Handy drive หาย เราคงรู้สึกไม่ดีแน่นอน แม้ข้อมูลที่อยู่ในนั้นจะได้รับการปกป้องด้วยการเข้ารหัสไว้แล้วก็ตาม แต่มันคงรู้สึกเจ็บใจเป็นสองเท่า หากข้อมูลที่อยู่ในนั้นเราไม่เคยได้ทำแบคอัพสำรองเอาไว้เลย
ดังนั้นวิธีที่ดีสุดคือ แนะนำให้คุณสำรอง Handy drive ไว้สักสองสามก็อปปี้ เพราะนอกจากพวกมันจะหายง่ายแล้ว ยังเสียง่ายอีกด้วย เนื่องจาก Handy drive ส่วนใหญ่จะใช้กรอบเป็นพลาสติก ซึ่งแตกหักได้ง่าย
5. การถอดที่ถูกต้อง เป็นข้อที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการถอด Handy drive ออกจากเครื่องอย่างถูกต้อง คือ ก่อนที่คุณจะดึง  Handy drive ออกจากพอร์ตยูเอสบี บนคอมพิวเตอร์
1. ให้คุณปิดโปรแกรมทุกตัวที่มีการเข้าถึงไฟล์ต่างๆบน Handy drive เสียก่อน
2. จากนั้นคลิกไอคอน Safely Remove Hardware (ที่มีลูกศรสีเขียวปรากฎอยู่ในมุมล่างขวาบนทาสก์บาร์) แล้วคลิกเลือก Handy drive ที่ปรากฏอยู่ในรายการ ดังรูป

3. เมื่อคลิกเลือกยูเอสบีไดรฟ์ที่ต้องการเอาออกแล้ว (รูปบน) จะได้รับข้อความแจ้งขึ้นมาว่า “Safe To Remove Hardware” (รูปล่าง) แปลว่า สามารถดึง Handy drive ออกจาก
ระบบได้อย่างปลอดภัย
 

         3.6 หน่วยความจำแบบแฟลช ( flash memory ) เป็นหน่วยความจำประเภทรอมที่เรียกว่า อีอีพร็อม(Electrically Erasable Programnable Read Only Memory:EEPROM)ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำ ข้อดีของรอม และแรม มารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูล ในเหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตาม ต้องการ และ
เก็บข้อมูลได้ แม้ไ่ม่ได้ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก มักใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ในอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล เช่น กล้องดิจิตอล กล้องวีดิทัศน์ ที่เก็บข้อมูล แบบดิจิตอล

เป็นที่ทราบกันดีว่า หน่วยความจำแบบแฟลชที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น ช่วยให้การทำงานต่าง ๆ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีการโอนถ่ายข้อมูลที่ง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น กระแสความนิยมในสื่อ
บันทึกข้อมูลเหล่านี้จึงเพิ่มมากขึ้นทุกที แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สื่อประเภทนี้แม้จะใชโอนถ่ายข้อมูลอยู่เสมอ ๆ แต่กลับด้อยในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยมากเกินไป
การดึงข้อมูลจากหน่วยความจำแบบแฟลชนั้น ผู้ดูแลระบบจะไม่สามารถควบคุมการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างสื่อ ทั้งสองชนิด ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำแบบแฟลชได้เลยแม้แต่น้อย แตกต่างจากอีเมล ซึ่งผู้ดูแล ระบบสามารถควบคุมได้โดยตรง รวมถึงการทำงานบนเน็ตเวิร์กชนิดอื่น ๆ ทำให้ขณะนี้เกิดความวิตกกังวลว่า สื่อเก็บข้อมูลชนิดนี้จะกลายเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของระบบเน็ตเวิร์กองค์กรไปในที่สุด
อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบแฟลชที่สามารถถอดและเคลื่อนย้ายได้นั้นกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความนิยมเพิ่มขึ้นสูงมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะมันสามารถเก็บข้อมูลขนาดใหญ่เอาไว้ได้ เราจึงใช้อุปกรณ์ชนิดนี้เปรียบเสมือนเป็นฮาร์ดดิสก์ตัวน้อย ๆ กันเลยทีเดียว การเชื่อมต่อก็ง่ายมากเพียงเสียบสาย USB ผ่านทางพอร์ต USB หรือเสียบตัวการ์ดผ่านเครื่องอ่าน
การ์ด( Card Reader )ซึ่งคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆในปัจจุบันมักติดตั้งไว้ เท่านี้ก็สามารถนำเข้าหรือดึงข้อมูลกันได้แล้ว

ประเภทของ flash memory ต่างๆ

1.SmartMedia Card

เป็นการพัฒนาโดยการกำหนดมาตรโดย Olympus และ Fujifilm โดยใช้ในการเก็บข้อมูลของภาพดิจิตอลของทั้งสองบริษัทนี้    ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ โดยจุดที่ได้เปรียบของการ์ดรุ่นนี้คือ บางกว่า CF Card โดยทั้งสองประเภทถูกพัฒนาพร้อม ๆกัน แต่ก็มีข้อเสีย ก็มีอยู่คือ การ์ดชนิดนี้จะเก็บได้แต่ข้อมูลอย่างเดียว ไม่มีความจำที่จะควบคุมการ์ด โดยส่วนควบคุมจะติดอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมเท่านั้นการ์ดตัวนี้ไม่ค่อยจะแพร่หลายนัก เพราะเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของOlympus และ Fujifilmเท่านั้น ในปัจจุบันเลิกผลิตการ์ดนี้ไปแล้ว

2. MMC [MultimediaCard] และ RS-MMC [Reduced – size MMC]

เริ่มต้นในปี 1997 โดยบริษัีท Sandisk ร่วมกับ Nokia และ Ericsson ได้ทำการพัฒนาหน่วยความจำแบบใหม่นี้มาใช้กับโทรศัพท์มือถือ จุดเด่นของการ์ดนี้คือ บางเพียง 1.4 mm. ซึ่งถือว่าบางที่สุดในขณะนั้น เหมาะสำหรับนำไปใช้อุปกรณ์ อย่างกล้องดิจิตอล โทรศัพท์มือถือ Pocket PC โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาความจุไปถึง 4 GB ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง เรียกว่าRS-MMC เพื่อใช้กับมือถือเป็นหลัก ซึ่งได้แก่รุ่นต่าง ๆ เช่น 7610 เป็นต้น

3. SD Card [ SecureDisk Card ] และ Mini SD
การ์ดชนิดเริ่มผลิตขึ้นหลังจาก MMC อยู่ในตลาดได้ไม่นาน โดยที่บริษัท Toshiba และ Panasonic เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน และได้ร่วมพัฒนาไปกับ Sandisk รูปร่างของ SD และMMCจะมีความกว้างและความยาวเท่ากัน
และ SDจะหนากว่าMMCโดยหนาประมาณ 2.1 mm. ซึ่งความหนานี้มีส่วนช่วยให้ความจุของการ์ดชนิดนี้มีมากขึ้น รวมถึงเรื่องขั้ว Connecter ของการ์ดจะมีความต่างจาก MMC อยู่ 2 ขา  กล่าวคือใน MMC จะมีขาทั้งหมด 7 ขา ส่วนใน SD จะมี 9 ขา ซึ่งจุดนี่เองที่ทำให้ SD เป็นที่นิยมต่อจาก  MMC เพราะสามารถโอนข้อมูลได้รวดเร็วกว่า MMC ถึง 2 เท่า กล่าวคือ ใน MMCความเร็วในการโอนข้อมูลจะอยู่ที่ประมาณ 1 Mbps ส่วนใน SD จะมีความเร็วของโอนข้อมูลอยู่ประมาณ 2 Mbps ส่วนฟังก์ชันที่เพิ่มเข้ามาใน SD คือ การป้องกันเขียนซ้ำได้ โดยจะมีตัวเลื่อนล็อคในด้านข้างของ SD แต่ MMCก็ใช่ว่าจะเสียเปรียบทุกอย่าง มีข้อดีเหมือนกันตรงที่ว่า พื้นที่ในการเก็บทุก 64 MB จะมีการสูญเสียพื้นที่ประมาณ 0.5 MB ส่วนของ SD จะมีการสูญเสียในการเก็บ 64 MB อยู่ประมาณ 1.5 MB ซึ่งห่างกันมาก ส่วนความจุของ SD ก็มีตั้งแต่ 32 MB ไปจนถึง 16 GB แล้วในปัจจุบัน

4. Memory Stick – Memory Stick Pro – Memory Stick Duo –Memory Stick Pro Duo
Memory Stick เป็นการพัฒนาจากบริษัท Sony ซึ่งนำมาเก็บข้อมูลต่าง ๆจากอุปกรณ์ของ Sony เอง เช่น กล้องถ่ายและบันทึกภาพ เครื่องบันทึกเสียง โทรศัพท์เคลื่อนที่ Palm และผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น ข้อเด่นของ การ์ดแบบนี้คือ กิกระแสไฟต่ำ การเขียนและอ่านรวดเร็ว โดยขนาดของความจุจะขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น เช่น Memory Stick จะมีความจุ 256 MB , Memory Stick Duo จะมีความจุ 2 GB และ Memory Stick Pro Duo จะมีความจุถึง 4 GB การ พัฒนาเพื่อให้ใช้ในเครื่องมือถือ ,กล้องดิจิตอล และยังสามารถบันทึกข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องอาศัยขนาดการ์ดที่เล็กมีความจุสูงสุด

5. TransFlash Card
เป็นการพัฒนาโดยความร่วมมือของบริษัท Motorola และ Sandiskโดยได้มีการพัฒนาให้เป็นการ์ดที่ใช้ในโทรศัพท์แท้จริง เมื่อมันมีรูปร่างเพียง 11 x 15 mm. หนาเพียง 1mm. โดยมีการกินไฟที่ต่ำมาก แต่มีความจ6ถึง 1GB ได้ปัจจุบัน Motorola ได้นำมาใช้กับมือถือ เพื่อใช้ ในการเก็บข้อมูลทั้งโปรแกรมและสิ่งบันเทิงต่างๆ และนอกจากนี้การ์ดประเภทนี้สามารถใช้ adapter แปลงให้มาเป็น SD Card ต่อเข้ากันคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย

6. MMC micro
เป็นการพัฒนามาจาก MMC และ RS-MMC มีขนาดเป็น 1 ใน 3 ของRS-MMC มีรูปร่าง 12 x 14 x 1.1 mm. ความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 10 MB ต่อวินาที และเขียน 7 MB ต่อวินาที ซึ่งนับว่าเร็วมาก สามารถลบและเขียนซ้ำลงไปได้ประมาณ 100,000 ครั้ง ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับมือถือติดกล้อง Megapixel โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ Samsung มีความจำขนาด 32MB 64MB และ 128MB มีกำหนดออกวางจำหน่ายต้นปี 2006

7. SD-USB memory card
เป็นการพัฒนาของ Sandisk เพื่อจุดประสงค์ในการเสียบต่อความจำภายนอกโดยไม่ต้องผ่านอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น การ์ดรีดเดอร์ อุปกรณ์ Flash ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งมีความเร็วในการอ่านและเขียนเร็วกว่า RS-MMC คือจะมีการอ่านที่ 8.04 MB/s และการเขียนที่ 6.83 MB/s มีขนาดเท่า RS-MMC ทั้งขนาดและรูปร่าง แต่จะมีส่วนที่กลายเป็นช่องเสียบในที่เสียบUSB ของคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ค และอีกด้านหนึ่งเป็นที่เสียบเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เก็บหน่วยความจำ พูดง่ายๆ เหมือน handy drive นั่นแหละ แต่มันใช้ได้มากอุปกรณ์กว่า มีความจุสูงสุด 1GB

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf