ข้อใดให้ความหมายของทัศนศิลป์ visual of art ได้ดีที่สุด

��Ż� �ѵ����� ʶһѵ¡��� ��е��ҡ��� �ѹ��ҡ�� >>

�ع�����Ҿ�ҧ��ȹ��Ż�

» �������¢ͧ��ȹ��Ż�

» �������¢ͧ�Ե�

» ����Ңͧ�ҹ��ȹ��Ż�

» �Եá��� (Painting)

» ��е��ҡ��� (Sculpture)

» ʶһѵ¡��� (Architecture)

» ͧ���Сͺ��Ż�

» ��ѡ��èѴͧ���Сͺ�ҧ��ȹ��Ż�

» ��èѴ�Ҿ�ͧ�ҹ��ȹ��Ż�

» �ٻẺ�ͧ��ȹ��Ż��ҡ�

» �س��Ңͧ�ҹ��ȹ��Ż�

» �س��Ңͧ�ҹ��ȹ��Ż��ͪ��Ե����ѧ��

» ��ô٧ҹ��ȹ��Ż�����Դ�س���

�������¢ͧ��ȹ��Ż�

��ȹ��Ż� ���¶֧ ��Żз���Ѻ�����»���ҷ�����ʷҧ�� ��Żз���ͧ��� ����;Ԩ�óҤ������·���ռ��������� �о���ҡ���Ѻ�������ͧ��� ������ ��������֡�ͧ�ҹ��ȹ��Ż��� �е�ͧ����»���ҷ�����Ӥѭ ��蹤�͵Ҩ��Ѻ�������ǡѺ��觵�ҧ � �����һ�Сͺ�繧ҹ��ȹ��Ż����� ��� �ٻ��ҧ �ٻ�ç �� �ʧ�� ��о�鹼�� �繵� ����ŻШй���觵�ҧ � ����ҹ�������ҧ��ä�ŧҹ�����Ըա����¹�Ҿ �к���պ�ҧ ��������ѡ��ҧ���ͧҹ�ç���ҧ�繵�

 

������ҧ��ä�ŧҹ��ȹ��Ż�����Դ�س��ҷҧ��Ż����� �������Ѻ��������ö �ѡ����Ф����Դ�ͧ��ŻԹ���Ф� �ҹ��ȹ��Ż����ҡ�����������ö���͡�� 2 �ѡɳ� ���

��ȹ��Ż� 2 �Ե� ���� �ŧҹ�����¹�Ҿ�к����
��ȹ��Ż� 3 �Ե� ���� �ŧҹ��е��ҡ��� ʶһѵ¡���

ศิลปกรรม คืออะไร

เป็นคำใช้แสดงความหมายของการทำงานสร้างสรรค์ใด ๆ ก็ตามโดยที่มนุษย์เป็นผู้สร้าง งาน”ศิลปกรรม“นั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ซึ่งประวัติศาสตร์นั้นเป็นวิชาที่พวกเราใช้เรียนรู้อดีตของมนุษย์ อารยธรรมทางประวัติศาสตร์ของโลก ถูกจดบันทึกในรูปแบบของตัวอักษร และถูกสร้างให้เป็นรูปธรรมในรูปแบบของ งานศิลปกรรม

อย่างไรก็ตามตัวบ่งชี้ที่สำคัญคือ ภาพ (Image) ซึ่งการที่เราจะรับรู้คำว่า ภาพ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรา “มอง” ซึ่งการมองก็เกิดจากอวัยวะที่เรียกว่า ตา (Eyes) เมื่อใช้ตามอง รูปธรรมต่าง ๆ ในชีวิตก็จะปรากฏขึ้น เมื่อรูปธรรมปรากฏ สมองจะเก็บเกี่ยวกลายเป็น ความทรงจำ (Memories) ความทรงจำถูกขยาย และประกอบสร้างขึ้นใหม่ภายในตัวมันเอง กลายเป็นจินตนาการ(Imagination) ซึ่งพอเราลองมองย้อนดู รูปลักษณะต่าง ๆ บนโลกนั้น แม้ธรรมชาติจะสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาโดยตัวมันเอง
แต่มนุษย์ก็ได้ใช้ธรรมชาติในสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ควบคู่ไปด้วยเช่นกัน

งานศิลปกรรม นั้น มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุนทรียภาพและความงาม หรือบางอย่างนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อการใช้สอย เมื่อพูดถึงสุนทรียภาพและความงาม อยากให้หลาย ๆ คนลองถามตัวเองว่า ตั้งแต่เราเกิดมานั้น
เราปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ได้หรือไม่ การดำรงชีวิตโดยพื้นฐานนั้น เมื่อเราเกิดมาสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้คือพฤติกรรม โดยสัญชาตญาณพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิด เช่น การกิน การนอน การสืบพันธุ์ (เรียกตามภาษาชาวบ้าน คือ กิน, ขี้, ปี้, นอน) แต่ในโลกยุคปัจจุบัน แค่เราตื่นมาจากที่นอน อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน แล้วเดินไปที่ตู้เสื้อผ้า หรือเราหยิบเสื้อขึ้นมาใส่ หลาย ๆ คนคงไม่ปฏิเสธความงามของเสื้อผ้า ถึงแม้กฎเกณฑ์ของสังคมจะบอกว่า เสื้อผ้านั้นมีบริบทเป็นแค่เครื่องนุ่งห่ม แต่เราปฏิเสธความสวยงามของเครื่องนุ่งห่มได้หรือไม่ เช่นเดียวกันกับอาคารบ้านเรือน หรือยานพาหนะต่าง ๆ ถ้าเราแค่ต้องการที่จะใช้สอยอย่างเดียวโดยไม่พึ่งความงามสิ่งเหล่านั้นจะน่านำมาใช้หรือเปล่า ซึ่งแน่นอนสิ่งของบางอย่างอาจไม่ได้จำเป็น แต่หลาย ๆ อย่างถ้าขาดความงามไปก็อาจจะไม่มีความหมายที่จะนำมาใช้งานเลยก็ได้ ฉะนั้นแล้วการรับรู้ทางด้านสุนทรียภาพและความงามนั้นก็อาจจะเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้มีความเจริญก้าวหน้า มากกว่าการใช้สัญชาตญาณดิบ ซึ่งไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉานที่ใช้แค่สัญชาตญาณดำรงชีพ

โดยถ้าจะแบ่งประเภทของงานศิลปกรรมอาจจะแบ่งประเภทของงานศิลปกรรมอาจจะจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ แต่ในบทความนี้จะเป็นบทความที่ว่าด้วยเรื่องของ “วิจิตรศิลป์” เป็นหลัก

วิจิตรศิลป์ (Fine art)

หากจะกล่าวว่าสุนทรียภาพและความงามนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ปฏิเสธไม่ได้ ฉะนั้นแล้วความคิดในการสร้างสรรค์ของมนุษย์จะไม่มีวันจบลง ตราบเท่าที่เรายังสามารถที่จะรับรู้ถึงความงามได้อยู่ ซึ่งความงามในที่นี้ บางทีเรารับรู้ได้ในรูปแบบของ รูปธรรม คือสิ่งที่รับรู้ได้ด้วย ตา หู จมูก ปาก และร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็น รูป รส กลิ่น เสียง และกายสัมผัส แต่การรู้เชิงรูปธรรมนั้นก็สามารถสร้างสัญชาตญาณที่นำพาเราเข้าไปสู่การรับรู้ในเชิงของ “นามธรรม” ซึ่งเกิดจากกระบวนการคิดที่ไม่ได้ก่อเกิดจากวัตถุในเชิงรูปธรรมนั้นจริงและไม่มีรูปร่าง นามธรรมเกิดมาจากความคิด และพาอารมณ์ เข้าสัมผัส ปรุงแต่งด้วยจิตก่อเกิดความรู้สึกเข้าร่วม จนสามารถสร้างความหมายที่อ้างอิงตัวมันเอง โดยใช้ความรู้สึกทางใจเป็นตัวเข้าถึงความหมายของมัน ซึ่งคำว่าวิจิตรศิลป์นั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้เป็นตัวแปรในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม จากสภาวะนามธรรม มาสู่สภาวะรูปธรรม

วิจิตรศิลป์ ถ้าจะให้แสดงความหมายจริง ๆ ก็คือ ผลงาน งานศิลปกรรมต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองสุนทรียภาพทั้งในด้านของความงาม การแสดงคุณค่า และความหมายต่อตัวผลงานเป็นที่ตั้ง ซึ่งจะคล้ายกับคำว่า ศิลปะบริสุทธิ์ (Pure art) ซึ่งแสดงคุณค่าของตัวผลงานมากกว่าที่จะนำไปใช้สอยและตอบสนองมนุษย์ในประโยชน์ด้านอื่น ๆ ซึ่งผลงานวิจิตรศิลป์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยการมองเรียกว่า ทัศนศิลป์ (Visual art)

แต่ในยุคปัจจุบัน นอกจากการให้คุณค่าในเชิงของความงามแล้ว ตัวความหมายของคำว่าวิจิตรศิลป์เอง ก็ได้ขยายขอบเขตของตัวมันจนเกินกรอบของความงาม ไปจนเหลือเพียงแค่แนวคิดของผู้สร้าง หรือศิลปิน จนกลายเป็น ศิลปะแนวความคิด(Conceptual art) ที่บางครั้งตัวผลงานอาจจะไม่ได้แสดงความงาม แต่แสดงความหมายเชิงนัยยะ และความคิดของตัวศิลปินเองมากกว่า

ซึ่งในโลกปัจจุบันตัวผลงานวิจิตรศิลป์เองก็ปฏิเสธทั้งความงาม และความคิดออกจากกันไม่ได้ แต่อย่างน้อยที่สุดเมื่อมนุษย์ได้สร้างสรรค์ตัวผลงานขึ้นมา คุณค่าและบทบาทของมันจะแสดงออกด้วยตัวของมันเอง ทั้งในด้านของความงาม และในด้านของความคิด

ทัศนศิลป์(Visual art)

ทัศนศิลป์ คือ ผลงานศิลปกรรมที่สามารถรับรู้ได้ด้วยการมองเห็น โดยรูปธรรมที่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งตัวผลงานนั้น ๆ อาจจะเป็นสิ่งที่ผู้สร้างหรือศิลปินได้ถ่ายทอดการมองเห็น ความคิด หรือจินตนาการต่าง ๆ โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหว หรือจินตนาการและการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์

การที่จะสร้างสรรค์ผลงานนั้นมีขั้นตอนและกระบวนการในการถ่ายทอดที่มีลักษณะเฉพาะ และเป็นการแปลความหมายของรูปธรรมในชีวิต มาสู่จินตนาการและสร้างสรรค์เป็นผลงาน         ศิลปกรรม ซึ่งแตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล

อิทธิพลของผลงานไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใด การมองเห็นทำให้เกิด ภาพ ซึ่งภาพนั้นจะยังคงอยู่ในสายตา ก่อนจะเข้าสู่ความทรงจำและสร้างสรรค์ออกมากกลายเป็น รูปภาพ หรือถ้าอยากจะให้เข้าถึงสัมผัสทางกาย และมิติก็อาจจะกลายเป็น รูปปั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแสดงความงาม หรือจินตนาการเป็น สสารหรือสรรพสิ่งใด ๆ ก็แล้วแต่ผู้สร้าง หรือศิลปิน เช่น ทิวทัศน์ สัตว์ รูปภาพคน หรือนอกเหนือกว่านั้นสุดแล้วแต่มนุษย์จะจินตนาการ

ซึ่งแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้

  1. วาดเส้น (Drawing)

    เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์ต่าง ๆ ใช้วิธีที่สะดวก และรวดเร็ว โดยการสร้างภาพสองมิติ จากวัตถุที่สามารถทำให้เกิดร่องลอย เช่น กิ่งไม้ ถ่าน หิน หรือนิ้วมือสร้างเป็นรูปภาพขึ้นมา แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ ดินสอ ปากกา ดินสอสี หมึก ชอล์ก ซึ่งมักจะเขียนลงบน กระดาษ กำแพง แผ่นไม้ หรือบนอะไรก็ได้

  2. จิตรกรรม (Painting)

    คือ งานศิลปกรรม ที่ถูกสร้างขึ้นมาบนระนาบของ 2 มิติ หรือมีความหมายอีกอย่างว่า การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ ซึ่งมักจะต้องมีสื่อตัวกลางระหว่างวัสดุกับอุปกรณ์ที่ใช้เขียน เช่น พู่กัน สีน้ำ สีน้ำมัน
    สีอะคริลิค สีโปสเตอร์ ส่วนวัสดุที่ใช้รองรับ เช่น ผ้าใบ ฝาผนัง แผ่นไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถรองรับสีต่าง ๆ ได้

  3. ประติมากรรม (Sculpture)

    เป็นงานศิลปกรรมถูกสร้างขึ้นด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบลงบนสื่อต่าง ๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา งานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของความลึก ได้แก่

3.1. ประติมากรรมนูนต่ำ (Bas relief) เป็นประติมากรรมที่นูนหนาขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลังรองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่มากจากตัววัสดุรองรับจริง ได้แก่ รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ



3.2. ประติมากรรมนูนสูง (High relief) ประติมากรรมที่มีความสูงขึ้นมาจากพื้นหลัง ตัวของประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง และอาจมองได้ทั้งด้านหน้า และด้านข้าง เช่น ประติมากรรมที่ตกแต่งฐานอนุสาวรีย์ ตกแต่งสะพาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น


3.3.ประติมากรรมลอยตัว (Round relief) เป็นงานศิลปกรรมที่เป็นมองได้เห็นรูปร่างลอยตัวมองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง เช่น รูปประติมากรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ประติมากรรมรูปเหมือน และพระพุทธรูปลอยตัวสมัยต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงประติมากรรมสำหรับประดับตกแต่ง เป็นต้น


  1. ภาพพิมพ์ (Printmaking)

    เป็นงานศิลปกรรมที่ใช้แม่พิมพ์เป็นตัวต้นแบบของผลงาน ส่วนตัวแม่พิมพ์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามวัสดุ เช่น

4.1.แม่พิมพ์นูน (RELIEF PROCESS) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น เช่น ภาพพิมพ์แกะไม้ (wood cut) ก็จะเป็นการแกะ หรือฉลุเนื้อไม้ เพื่อให้เกิดร่องในเนื้อไม้ แล้วจึงนำหมึกหรือสีมาอัดเข้ากับแม่พิมพ์ แล้วใช้วิธีการกดทับลงบนกระดาษเพื่อให้เกิดลวดลายตามแบบของแม่พิมพ์


4.2. แม่พิมพ์ร่องลึก (INTAGLIO PROCESS) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า Etching ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้แผ่นทองแดงเป็นแม่พิมพ์ โดยสามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่าง ๆ แสตมป์ ธนบัตร


4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ (PLANER PROCESS) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน (Lithographs) เป็นการวาดเส้นลงบนแผ่นหิน นอกจากแผ่นแม่พิมพ์หินเนื้อดีแล้ว แม่พิมพ์ที่ผลิตเป็นพิเศษจากโลหะก็สามารถนำมาใช้กับเทคนิคนี้ได้ วิธีการของเทคนิคอาศัยหลักความจริงที่ว่าไขมันกับน้ำจะไม่รวมตัวเข้าด้วยกัน ดังนั้น ภาพที่เขียนลงบนแม่พิมพ์ จะเขียนด้วยวัสดุที่มีส่วนผสมของไข จากนั้นจะทำแม่พิมพ์ให้ชื้นด้วยน้ำ แล้วจึงนำหมึกซึ่งมีส่วนผสมของไขกลิ้งลงบนผิวหน้าของแม่พิมพ์ หมึกจะติดกับภาพที่ร่างไว้ด้วยไข แต่จะไม่ติดลงบนผิวแม่พิมพ์ที่เปียกชื้น จากนั้นพิมพ์ภาพโดยผ่านแรงกดจากแท่นพิมพ์


4.4 แม่พิมพ์ฉลุ (STENCIL PROCESS) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์ โดยใช้ไม้ปาดสีรีดเนื้อสีผ่านตะแกรงเนื้อละเอียดลงมาสู่วัสดุที่ต้องการพิมพ์ ซึ่งบริเวณที่ไม่ถูกพิมพ์จะเป็นบริเวณตะแกรง ที่ถูกกันเอาไว้ไม่ให้สีลอดผ่านลงมาสู่วัสดุที่ต้องการพิมพ์


  1. ภาพถ่าย (Photography)

กระบวนการถ่ายภาพเป็นสิ่งเกิดขึ้น และเห็นได้ในชีวิตประจำวัน แต่ตัวรูปถ่ายเองก็เป็นงานศิลปกรรมที่จัดอยู่ในงานทัศนศิลป์ เพราะเป็นการถ่ายทอดมุมต่าง ๆ และแสดงออกมาในแบบของคำว่า รูปภาพ ซึ่งตัวรูปถ่ายนี้เองนอกจากจะบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ก็อาจเป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ผู้ชมได้รับรู้ถึงความหมาย มุมมอง หรือความงาม


  1. งานสื่อผสม (Mixed Media)

    หมายถึง ผลงานที่ศิลปกรรมที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยใช้เทคนิคและวิธีการทางด้านทัศนศิลป์หลาย ๆ แขนงมาผสมผสานทำให้เกิดผลงานที่อยู่ในชิ้นเดียวกัน เน้นหลักการจัดองค์ประกอบ ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการสร้างผลงานนั้นสามารถใช้วัสดุ หรือวัตถุใด ๆ ก็ได้มาประกอบสร้างให้เกิดความหมาย และความงาม ซึ่งตัวรูปแบบของผลงานนั้นจะเป็นอะไรก็ได้



สามารถติดต่อเราได้ที่นี่
ครูอะไหล่
เบอร์โทรศัพท์ : 083-615-2391
Facebook : viridian academy of art
Line : @viridian
Instargram : viridian academy of art 
Email :

หรือ จากปุ่มมุมขวาล่าง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf