ลักษณะภูมิประเทศแบบใดที่เหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐานของอารยธรรมของมนุษย์

    อารยธรรมซึ่งเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกอาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญต่อไปนี้

    1.สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์

    สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ประกอบด้วยที่ตั้ง ภูมิอากาศ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์ในดินแดนต่างๆ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญได้แก่ ลักษณะที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ

ชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ จะมีโอกาสใช้ทรัพยากรน้ำในการบริโภค เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ จึงดึงดูดผู้คนจากแหล่งต่างๆ ให้เข้ามาพำนักอาศัย และสามารถขยายตัวเป็นสังคมเมืองได้ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ชุมชนที่อยู่ริมน้ำยังสามารถใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม เพื่อติดต่อกับโลกภายนอก และเพื่อค้าขายหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทำให้เกิดการพัฒนาความเจริญในด้านต่างๆ เช่น ระบบการค้า การปกครอง กฎหมาย การก่อสร้าง วรรณกรรม ฯลฯ จะเห็นได้ว่าแหล่งอารยธรรมแรกเริ่มของโลก 4 แห่งล้วนเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำทั้งสิ้น ได้แก่ อารยธรรมเมโสโปเตเมียซึ่งอยู่ระหว่างลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส อารยธรรมอียิปต์ในลุ่มแม่น้ำไนล์ อารยธรรมจีนในลุ่มแม่น้ำหวงเหอ และอารยธรรมอินเดียซึ่งถือกำเนิดในลุ่มแม่น้ำสินธุ นอกจากนี้แล้ว ดินแดนที่ตั้งอยู่ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลอาหรับ อ่าวเปอร์เซีย ทะเลจีนใต้ ฯลฯ ก็สามารถพัฒนาเป็นเมืองท่าติดต่อกับโลกภายนอกได้ตั้งแต่สมัยโบราณ ทำให้มีโอกาสรับและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากดินแดนอื่นที่เจริญรุ่งเรือง และนำความเจริญนั้นๆ มาพัฒนาบ้านเมืองของตนให้เจริญก้าวหน้า 

    อนึ่ง ลักษณะทางภูมิอากาศที่เหมาะสม ไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดจนเกินไป ก็ส่งเสริมให้มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น เช่นเดียวกับพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะดึงดูดให้มีการตั้งถิ่นฐาน กระทั่งชุมชนนั้นขยายตัวเป็นเมือง

    ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่อดีตมนุษย์อาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตและประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พื้นที่ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์จึงดึงดูดให้มีการตั้งถิ่นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ และแร่ธาตุ

    2.ความก้าวหน้าในการคิดค้นเทคโนโลยี

    การขยายชุมชนเป็นสังคมใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาในการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอสำหรับสมาชิกในชุมชนนั้นๆ ดังนั้นผู้นำของสังคมนั้นๆ จึงจำเป็นต้องประดิษฐ์และค้นหาวิธีการต่างๆ เช่น การคิดค้นระบบชลประทานเพื่อทดน้ำเข้าไปในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูก หรือการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ตลอดจนการสร้างประตูระบายน้ำและทำนบกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูก เทคโนโลยีเหล่านี้นับว่าเป็นความเจริญขั้นสูงที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่อาณาจักรสมัยโบราณ เช่น อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และจีน

    นอกจากนี้แล้ว เครื่องทุ่นแรงและเครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์ในดินแดนต่างๆ คิดประดิษฐ์ขึ้นมาก็เป็นรากฐานของอารยธรรมด้วย เป็นต้นว่า ความสามารถในการคำนวณและการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงทำให้เกิดสถาปัตยกรรมสำคัญของโลก เช่น พีระมิดในอียิปต์ กำแพงเมืองจีน และปราสาทหินนครวัดของพวกเขมรโบราณในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน

    3.ความคิดในการจัดระเบียบสังคม

    การอยู่ร่วมกันในสังคมขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างกฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ไม่เบียดเบียน หรือข่มเหงรังแกซึ่งกันและกัน แต่ละสังคมจึงมีการจัดโครงสร้างการปกครอง มีผู้ปกครองซึ่งมีสถานะที่แตกต่างกันตามลักษณะและขนาดของสังคมนั้นๆ เช่น แคว้น รัฐ หรืออาณาจักร และมีผู้อยู่ใต้การปกครอง ซึ่งอาจจำแนกตามอาชีพและฐานะ เช่น พระ ข้าราชการ พ่อค้า แพทย์ กรรมกร ชาวนาน และทาส โดยมีการตรากฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครอง นอกจากนี้ การยอมรับสถานะที่สูงส่งของผู้ปกครอง เช่น ชาวอียิปต์เชื่อว่ากษัตริย์หรือฟาโรห์ของตนเป็นเทพเจ้า และชาวจีนเชื่อว่าจักรพรรดิของตนเป็นโอรสแห่งสวรรค์ก็ทำให้ผู้นำประเทศมีอำนาจจัดการปกครองให้ประชาชนอยู่ร่วมกันภายใต้กฎระเบียบอย่างสันติสุขได้

    อนึ่ง เพื่อให้ดินแดนหรือแว่นแคว้นของตนจริญก้าวหน้า ผู้ปกครองดินแดนนั้นยังได้สร้างระบบเศรษฐกิจให้มั่นคง เช่น พวกสุเมเรียนในเมโสโปเตเมียได้คิดค้น จัดเก็ยภาษี รวมทั้งมาตราชั่ง ตวง วัด เพื่อให้การแลกเปลี่ยนสินค้าในอาณาจักรของตนดำเนินไปได้โดยราบรื่น มาตราชั่ง ตวง วัด เป็นเครื่องมือสำคัญของระบบการค้า ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ผู้คนในดินแดนต่างๆ ได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้วัฒนธรรมของชนชาติอื่นๆ จนกระทั่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดอารยธรรมขึ้นได้ในเวลาต่อมา

    ความเจริญรุ่งเรืองที่กลายเป็นวัฒนธรรมขั้นสูงหรืออารยธรรมนั้น เกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถของมนุษย์ที่คิดค้นระบบและกลไลในการเอาชนะธรรมชาติ หรือใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ดินแดนที่มีอารยธรรมรุ่งงเรืองจึงเจริญก้าวหน้า สามารถขยายอาณาเขตและอำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง กลายเป็นอาณาจักรหรือจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ เช่น อาณาจักรอียิปต์ อาณาจักรเมโสโปเตเมีย จักรวรรดิจีน จัักรวรรดิอินเดียในสมัยราชวงศ์โมกุล จักรวรรดิโรมัน อาณาจักรขอม จักรวรรดิอังกฤษ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม อารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองของดินแดนต่างๆ นั้น บางส่วนได้สาบสูญไป เช่น ตำราและวิชาการบางอย่าง ส่วนที่ยังคงดำรงอยู่ก็เป็นมรดกสืบทอดต่อมาทั้งในดินแดนของตนหรือในดินแดนอื่นๆ ที่นำไปถ่ายทอด ทำให้ความเจริญเหล่านั้นสามารถดำรงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กฎหมาย ศาสนา ภาษา ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี ฯลฯ ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของอารยธรรมมนุษย์ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก จึงเป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงความเจริญของมนุษยชาติที่มีมาตั้งแต่อดีต และกลายเป็นรากฐานความเจริญของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน เป็นการศึกษาเพื่อให้รู้จักและยอมรับผู้อื่นในขณะเดียวกันยังเป็นการศึกษาเพื่อให้รู้จักตัวตนของเราเองอีกด้วย

ลักษณะภูมิประเทศแบบใดที่เหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐานของอารยธรรมมนุษย์

มนุษย์ส่วนใหญ่จะเลือกตั้งถิ่นฐานในเขตพื้นที่ราบกว้างขวางที่มีแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง หรือทะลเสาบ อยู่ในบริเวณใกล้เคียง บางกลุ่มจะอาศัยอยู่แถบชายทะเล เพราะในพื้นที่ดังกล่าวจะมีสภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสมแก่การดำรงชีวิต นอกจากนั้นยังสะดวกในการหาอาหารจำพวกสัตว์และพืช ที่มีอยู่ในน้ำและบนบก ซี่งมีอยู่มากมายมาเลี้ยงชีพได้อย่างพอ ...

ลักษณะทางกายภาพแบบใดที่เหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานมากที่สุด

ภูมิประเทศ คนส่วนใหญ่มักเลือกตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบใกล้แหล่งน้า เพราะเป็นที่ราบที่มีความอุดมสมบูรณ์มนุษย์ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้า ดิน ป่าไม้ที่อาจนามาทาเป็นอาหาร หรือใช้ประโยชน์ในการสร้าง บ้านเรือน เป็นต้น ลักษณะภูมิอากาศมีผลต่อการตั้งถิ่นฐาน คือ ต้องไม่ร้อน หรือไม่หนาวเกินไป เพราะภูมิอากาศที่รุนแรงทาให้ ...

ข้อใดเป็นลักษณะของชุมชนที่เหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน

บริเวณที่มีผู้เข้าไปตั้งถิ่นฐานมากที่สุด คือที่ราบภาคกลาง เพราะอากาศไม่ร้อนและไม่หนาวเกินไป มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอแก่ความต้องการ บริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ นั้นเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานของชุมชน เพราะมนุษย์สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ดิน ใช้เพาะปลูกและตั้งบ้านเรือน

การตั้งถิ่นฐานในเมืองมีลักษณะอย่างไร

๑.การตั้งถิ่นฐานในเมือง ก. ปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น พื้นที่เป็นที่สูง ที่ลุ่ม หรือมีการทรุดตัวของพื้นดิน ข. การเพิ่มประชากร การจำกัดจำนวนประชากร และการกระจายตัวประกรไปยังพื้นที่เป้าหมาย ค. สังคมและเศรษฐกิจ เป็นการกำหนดขนาดของเมือง โดยนำปัจจัยทางเศรษฐกิจ มาพิจารณาด้วยว่า เมืองควรมีขนาดเท่าใด ควรขยายไปในทิศทางใด เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf