เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการมีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีเพื่อการผลิต หมายถึง การนำความรู้  วิทยาการ และประสบการณ์ต่างๆ  มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งการคิดค้นหาวิธีการนำทรัพยากรมาใช้ในด้านใหม่ๆ เพื่อให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
            ประเทศไทยเรามีวัตถุดิบในการผลิตจำนวนมาก  เนื่องจากประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร ป่าไม้ และแร่ธาตุ หากเราใช้ทรัพยากรไม่ระมัดระวัง ทรัพยากรอาจหมดสิ้นหรือเสื่อมค่าได้  ผู้ผลิตจึงจำเป็นที่จะใช้เทคโนโลยีให้ได้ประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการผลิตสินค้าแต่ละชนิดมีการแข่งขันสูง ผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อให้มีคุณภาพและตรงตามต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด

 สาเหตุที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตและบริการ
            สาเหตุที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิต มีดังนี้
            1. เพิ่มผลผลิตให้มีมากขึ้น ลดความสิ้นเปลืองจากการสูญเสีย วัตถุดิบในกระบวนการผลิตลง
            2. เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะการผลิตสินค้าจำนวนมากจะทำให้ลดต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตได้กำไรมากขึ้น และอาจทำให้สินค้ามีราคาถูกลง
            3.  เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน  เป็นการเพิ่มคุณค่าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีแบบให้เลือกหลากหลาย ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพขึ้น
            4. เพื่อลดแรงงานหรือกำลังคนทำงานได้น้อยลง
การใช้เทคโนโลยีในการผลิตและบริการ
            การใช้เทคโนโลยีในการผลิตและบริการได้แก่
            1. การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยช่วยในการผลิตสินค้า  ทำให้ผลิตสินค้าและบริการจำนวนมากขึ้น ในเวลารวดเร็ว มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และลดต้นทุนการผลิต เพราะเทคโนโลยีช่วยลดแรงงานหรือกำลังคนและลดเวลาการผลิต แต่ได้ปริมาณสินค้าและบริการมาก
            2. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการออกแบบสินค้า ช่วยให้มีการคิดค้นหรือประดิษฐ์รูปแบบของสินค้า ทำให้ได้สินค้าและบริการที่มีรูปแบบใหม่ๆ หลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อได้ตามความต้องการและพึงพอใจมากที่สุด
            3. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการโฆษณาสินค้าและการให้บริการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการขายสินค้าและสั่งซื้อสินค้าต่างๆ โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคสามารถศึกษารายละเอียดของสินค้าได้มากขึ้นหรือสามารถสั่งซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว
            4. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นระบบ รวดเร็ว เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักงานเพื่อจัดเก็บเอกสารหรือค้นหาข้อมูล เป็นต้น
            5. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการขนส่ง เพื่อให้กระบวนการขนส่งวัตถุดิบในการผลิตรวดเร็วขึ้น หรือขนส่งสินค้าและบริการไปถึงผู้บริโภคได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเพิ่มผลผลิต
            ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเพิ่มผลผลิต มีดังนี้
            1. การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการผลิตสินค้าและบริการช่วยให้สินค้าและบริการมีคุณภาพได้มาตรฐานตามแบบสากล  กล่าวคือ มีการกำหนดระดับคุณภาพ  จัดทำมาตรฐาน  ควบคุมกระบวนการผลิต ตั้งแต่การตรวจสอบคุณภาพ  การควบคุมคุณภาพ และการประกันคุณภาพการใช้งานของสินค้า
            2. การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการผลิตสินค้าและบริการช่วยให้เกิดความปลอดภัยในกระบวนการทำงาน  ทำให้พนักงานได้ผลงานที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง
            3. การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการผลิตสินค้าและบริการช่วยให้หน่วยธุรกิจหรือรัฐบาลมีผลกำไรเพิ่มขึ้นจากการประกอบการ ทำให้ภาคการผลิตเกิดความมั่นคง ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค  กล่าวคือ  ถ้าหน่วยธุรกิจมีผลกำไรเพิ่มขึ้น เกิดความมั่นคง ส่งผลให้พนักงานมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดความมั่นคงในการทำงาน  อัตราการว่างงานลดลง รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้น

        ผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตและบริการ
            ผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี มีดังนี้
            1. เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  กล่าวคือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกำลังการผลิตเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เกิดกากหรือของเสียจากการผลิต พร้อม ๆ กับการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ  ส่งผลต่อปริมาณน้ำฝนที่ตกในเขตต่างๆ  การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงออกมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดปัญหาภาวะเรือนกระจก กระทบต่อระบบนิเวศของมนุษย์  หรือปัญหาการกำจัดกากสารนิวเคลียร์   ปัญหาการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำทิ้ง หรือมลพิษทางอากาศของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งละลายปนมากับฝน กลายเป็นฝนกรด ส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์
          2. เกิดผลกระทบต่อดุลการค้า กล่าวคือ ในยุคของการแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาด ผู้ผลิตแต่ละรายต่างเร่งเพิ่มผลผลิตโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้  ประเทศกำลังพัฒนาต้องพึ่งพา เทคโนโลยี หรือ เครื่องจักรกล เครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการขาดดุลการค้า
            3. เกิดผลกระทบต่อการบริโภคนิยม กล่าวคือ  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์ในด้านสินค้าและบริการมีคุณภาพสูง ราคาถูก  มีสินค้าให้เลือกมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน  จะเกิดผลกระทบต่อการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยของผู้บริโภค ที่ใช้สอยเกินพอดี เพื่อให้ทันต่อรุ่นหรือแบบที่เปลี่ยนแปลงไป  เกิดความไม่รู้จักพอของผู้บริโภค มีการบริโภคนิยมมากขึ้น

                            ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ
ปัจจัยการผลิต หรือ ทรัพยากรในการผลิต หรือ ทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง สิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ
ปัจจัยการผลิตมี ๔ ประเภท ดังนี้
๑. ที่ดิน ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง พื้นดินและหมายรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ติดอยู่กับพื้นดินบริเวณนั้น เช่น ป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ
๒. แรงงาน หมายถึง กำลังกายและกำลังความคิดสติปัญญาของคนที่นำมาใช้ในการผลิต
๓. ทุน เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญประการหนึ่ง หมายถึง เงินทุนที่นำไปใช้ซื้อวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรต่าง ๆ รวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เช่น โรงงาน โกดังเก็บสินค้า

๔. การประกอบการ หมายถึง การบริหารจัดการเพื่อนำที่ดิน แรงงาน และทุน มาผ่านกระบวนการผลิต ทำให้เกิดเป็นสินค้าและบริการต่าง ๆ ขึ้นมา

ในการที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าหรือบริการประเภทใด ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตและการบริการ ได้แก่ ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งผู้ผลิตจะต้องตอบปัญหาเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคให้ได้ว่า
๑. จะนำทรัยพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาผลิตเป็นสินค้าและบริการอะไร
๒. จะผลิตสินค้าและบริการนั้นอย่างไร
๓. จะจัดสรรหรือขายสินค้าและบริการให้แก่ใคร

ในการทำงานทั้งการผลิตและการให้บริการ ผู้ผลิตจะประสบผลสำเร็จในการทำงานได้ ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
คุณภาพของสินค้าและบริการ  -สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นต้องมีคุณภาพดี ไม่มีตำหนิ
ราคาที่เหมาะสม  -ควรจำหน่ายสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า ไม่ขายแพงจนเกินไป
คุณธรรม  -ผู้ผลิตและผู้ให้บริการควรมีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพของตนและต่อผู้บริโภค ไม่นำสินค้ามีตำหนิหรือเน่าเสียมาขาย 
ความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภค  -ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ รู้จักผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการเพื่อสนองตอบความพึงพอใจ
เทคโนโลยีการผลิต  -รู้จักนำวิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงสามารถผลิตสินค้า และบริการได้ปริมาณสูงและมีคุณภาพดี
ต้นทุนการผลิต  -ใช้ทรัพยากรการผลิตสิ้นเปลืองน้อยที่สุดหรือค่าใช้จ่ายต่ำสุด
อื่น ๆ

ในปัจจุบันเราจะเห็นสินค้าและบริการมีรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีปริมาณสูง มีคุณภาพดี มีรูปแบบต่าง ๆ ลดแรงงานคน เพิ่มผลผลิตได้เร็วขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง มีกำไรมากขึ้น
การใช้เทคโนโลยีในการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการผลิตการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน การนำวิทยาการใหม่ ๆ มาช่วยในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
การใช้เทคโนโลยีในการบริหาร เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า การใช้โทรศัพท์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น
การแข่งขันในการผลิต หมายถึง การทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำลง สามารถขายสินค้าได้ในราคาถูก เพื่อแข่งขันซึ่งกันและกัน
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการแข่งขันของผู้ผลิต มีดังนี้
๑. การใช้เทคโนโลยีช่วยผลิตสินค้าและบริการที่มีรูปแบบใหม่ และให้ประโยชน์ กับผู้บริโภคมากขึ้น
๒. การใช้เครื่องมือและเครื่องจักรที่ทันสมัย ช่วยในการผลิตสินค้าและการบริการเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
๓. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการโฆษณาสินค้าและบริการ การส่งเสริมการขายและการตลาด
๔. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการขนส่ง เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการอย่างสะดวกและรวดเร็ว
 การแข่งขันในการผลิตและการบริการ

        ความหมายและความสำคัญของคุณภาพ
        ความหมายของคุณภาพ
ถูกกำหนดขึ้นตามการใช้งานหรือตามความคาดหวังของผู้กำหนด เช่น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความทนทาน ให้ผลตอบแทนสูงสุด บริการดีและประทับใจ หรือเป็นไปตามมาตรฐานที่ตั้งใจไว้ เป็นต้น

คุณภาพแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. คุณภาพตามหน้าที่ หมายถึง ประสิทธิภาพการทำงาน ความเหมาะสมในการใช้งาน ความทนทาน เช่น พัดลมเครื่องนี้มีมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง
2. คุณภาพตามลักษณะภายนอก หมายถึง รูปร่างสวยงาม สีสันสดใส เรียบร้อย เหมาะกับการใช้งาน โครงสร้างแข็งแรง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักเน้นคุณภาพภายนอก โดยเน่นที่สีสันสดใส หรือรูปลักษณ์ให้โดดเด่นเพื่อดึงดุดความสดใสของผู้ซื้อ
3. คุณภาพในการบริการ หมายถึง การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการหรือมาซื้อสินค้า
คุณภาพหมายถึง คุณสมบัติและลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจได้ตรงตามต้องการที่ได้ระบุหรือแสดงเป็นนัยไว้
ในอดีตคุณภาพมักจะถูกกำหนดขึ้นจากความต้องการของผู้ผลิต แต่ปัจจุบัน สภาพการแข่งขันในตลาด มีมาก หากคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อหรือผู้ให้บริการ การผลิตสินค้าและบริการก็อาจจะต้องล้มเลิกกิจการไป ดังที่ได้เกินขึ้นมาในปัจจุบัน
สินค้าบางประเภทแข่งขันกันที่คุณภาพ บางประเภทแข่งขันกันที่ราคา แต่บางประเภทแข่วขันกันที่ความแปลกใหม่ ดังนั้น การผลิตหรือให้บริการใดๆ จะต้องมีการศึกษาสภาพตลาดอย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดคุณภาพ
ขั้นตอนการกำหนดคุณภาพ
การกำหนดคุณภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการกำหนดคุณภาพไม่ได้กำหนดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคน หรือสถาบันเท่านั้น แต่การกำหนดคุณภาพต้องคำนึงถึงคนหลายกลุ่มหลายสถาบัน
การกำหนดคุณภาพสินค้นและบริการ มีขั้นตอนดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การศคกษาความต้องการของผู้ใช้สินค้าและบริการ อย่างกว้างขวาง และครอบคลุมผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลาย
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือพัณนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการที่ศึกษามาอย่างจริงจัง
3. จัดระบบการผลิตและควบคุมระบบการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
การศึกษาความต้องการคุณภาพสินค้าและบริการ เป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องแรกของการวางแผนดำเนินธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือกิจการใดๆ วิธีการศึกษาขึ้นอยู่กับเป้าหมายคือ ลูกค้า ลูกค้าของเรา คือ กลุ่มใด เช่น วัยใด เพศใด ระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น
ตลาด หรือคู่แข่งทางการค้าก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะหากคุณภาพของสินค้นหรือบริการขอวเราต่ำกว่าคู่แข่ง โอกาสความสำเร็จของเราก็ย่อมมีน้อยลง
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการมักจะละเลยเพราะมั่นใจในคุณภาพสินค้นเดินหรือคิดว่าเป็นเรื่องยาก ต้องใช้นักวิชาการชั้นสูงหรือผู้เชี่ยวชาญทำมห้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ยังต้องปรับระบบการผลิตด้วย ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่ายุ่งยสก แต่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องจำเป็นเพราะถ้าหากเราไม่พัฒนา การพั ฒนาผลิตภัณฑ์และบริการไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่อย่างใด เพียงแต่เรานำผลการศึกษาความต้องการของผู้ซื้อ ผู้ใช้ มาเป็นหลักการ แล้วหาแนวทางตอบสนองความต้องการ ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานใหม่ ก็จะเกิดขึ้น เช่นการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศให้สามารถกรอกฝุ่นละอองได้ ต่อมาก็พัฒนาสู่การเป็นเครื่องปรับอากาศทีมีการฟอกอากาศด้วยประจุไฟฟ้าเป็นต้น
ระบบการผลิตและการควบคุมระบบการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ องค์ประกอบที่ต้องวางแผนดำเนินการอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกันดังนี้
1. วัตถุดิบที่ใช้ผลิต หรือใช้บริการ ควรมีคุณภาพสูง แต่ราคาต่ำ
2. กระบวนการผลิตมีความพร้อมทั้งด้านบุคลกร เครื่องมือเครื่องใช้หรือเครื่องจักร และโดรงสร้างพื้นฐาน
3. ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ / ผลงารการบริการ จะต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินอย่างเที่ยงตรง การบริหารคุณภาพในองค์กร จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้ระบบการผลิตและการควบคุมระบบมีประสิทธิภาพสูงตามความต้องการของตลาด ผู้ซื้อ หรือผู้ใช้
ความสำคัญของคุณภาพ
คุณภาพ เป็นความต้องการของผู้ซื้อและผู้ให้บริการเท่านั้น หรือคุณภาพมีความสำคัญทั้งต่อบุคล องค์การ และประเทศ
1. ความสำคัญของคุณภาพต่อบุคคล
บุคคลคือ ผู้ผลิตหรือผู้บริการคุณภาพจึงเกิดขึ้นที่ระดับบุคคลก่อน หากบุคคลใดสามารถผลิตหรือให้บริการที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการหรือตรงกับข้อกำหนด บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่า "บุคคลคุณภาพ" เราเห็นตัวอย่างบุคคลคุณภาพมากมาย ที่ได้รับการยกย่อง เนื่องจากสามารถสร้างผลงานคุณภาพ ดังนั้นคุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบุคคลทุกคน ทุกคนจึงควรมุ่งมั่นสร้างผลงานคุณภาพ
2. ความสำคัญของคุณภาพต่อองค์กร
องค์กรทุกองค์กรมีเป้าหมายสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า หุ้นส่วน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือผลกำไรสูงสุด แต่ปัจจุบันทุกองค์กรยังต้องคำนึงระบบการแข่งขันในตลาดการค้า เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การตลาดการค้าเสรี (World Trade Organization :WTO) ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบบการแข่งขันทางด้ารการค้ามากขึ้น ทั้งภายในประเทศและการค้าระหว่างโลก
ในระบบการค้าเสรีเกิดระบบการแข่งขันด้วยการค้าแทนกำแพงภาษีในอดีตได้แก่ ข้อกำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรฐาน ระบบบริหาร มาตรฐานสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานด้านแรงงานและความปลอดภัย ดังนั้นคุณภาพขององค์กรจึงเป็นคุณภาพโดยรวมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์จนถึงระบบบริหารขององค์กร
คุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร เพราะทำให้องค์กรมีความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
3. ความสำคัญของคุณภาพต่อประเทศ
คุณภาพของคน คุณภาพของสินค้า และคุณภาพของการบริการ คือ ภาพพจน์ และความเชื่อมั่นที่นานาประเทศให้การยอมรับและนับถือ เช่น ข้าวหอมมะลิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง เป็นต้น
คุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ
คุณภาพ คือ ความต้องการ ข้อกำหนด ความคาดหวัง หรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจาก
ผลอตภัณฑ์หรืองานบริการ
ต้นทุน คือ ปัจจัยการผลิต ได้แก่ แรงงาน (Man) เงินทุน(Money) วัตถุดิบ(Material) เครื่องจักร อุปกรณ์(Machine) และการบริหารจัดการ (Management)
การส่งมอบ คือ กระบวนการนำส่งผลิตภัณฑ์ / งานบริการถึงมือลูกค้า สร้างความพึง
พอใจให้กับลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์หรืองานบริการที่มีคุณภาพตรงกับความ
ต้องการของลูกค้า
การส่งมอบสินค้นหรือบริการที่ประทับใจลูกค้า เกิดจากการบริการที่ดี คุณภาพดี และราคาถูก ขณะเดียวกันผู้ขายก็ต้องการกำไรสูงสุด คุณภาพดี และบริการดี คือ ความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายจะเกิดความสัมพัณธ์ที่ดี ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่การลดต้นทุนก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพและบริการด้วย เพราะถ้าสินค้าราคาถูกแต่คุณภาพไม่ดี ค้นซื้อก็ไม่ต้องการ หรือสินค้ามีคุณภาพมากแต่ราคาแพง ผู้ซื้อก็ไม่ต้องการ เป็นต้น ดังนั้น ระบบควมคุมคุณภาพจึงเกิดขึ้น
การควบคุมคุณภาพ
การคงบคุมคุณภาพคือ เทคนิคในเชิงปฎิบัติการและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่จัดทำหรือนำมาใช้เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดด้านคุณภาพ ซึ่งอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการก็ได้
QC : Quality Coutrol หรือการควบคุมคุณภาพในภาคการผลิต (โรงงานอุตสาหกรรม) จะเน้นกระบวนการตรวจสอบและคัดแยกของดีกับของเสียออกจากกัน เพื่อให้เกิดหลักประกันว่าสินค้นผ่านการตรวจสอบแล้วมีคุณภาพตามข้อกำหนด
การควบคุมคุณภาพในที่นี้ หมายถึง การควบคุมกระบวนการผลิตและการให้บริการ เพื่อให้เกิดผลผลิต / งานบริการมที่มีคุณภาพ ดังแผนภูมิ
Input ----> Process ----> Output

วัตถุดิบ กระบวนการ ผลผลิต
การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
1. คุณภาพการทำงาน หรือประสิทธิภาพของคนงาน
2. คุณภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี
3. คุณภาพของระบบบริหารงาน
การควบคุมคุณภาพมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการได้แก่
1. ลดการสูญเสียวัตถุดิบ / ผลผลิต
2. ลดการสูญเสียเวลาการทำงาน
เมื่อเราสามารถลดการสูญเสียวัตถุดิบและผลผลิต ลดเวลาการทำงาน เราก็สามารถลดต้นทุนได้ ขณะเดียวกันเราก็ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

วิวัฒนาการและความสำคัญของการบริหารการผลิต
วิวัฒนาการและความสำคัญของการบริหารการผลิต (historical backgrounds and significance of production management)
            นับตั้งแต่มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือในการหาอาหาร สร้างที่อยู่อาศัย ตลอดทั้งการนำเอาหนังสัตว์และขนสัตว์มาเป็นเครื่องนุ่งห่ม รู้จักใช้ดินเหนียวในการทำภาชนะต่าง ๆ และมีการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นชุมชน มนุษย์ก็รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอด การพัฒนาของมนุษย์ในช่วงเริ่มต้นไม่ได้หยุดอยู่กับที่ มีการคิดค้นหาเครื่องมือมาล่าสัตว์พัฒนาเรื่อยมาจากการใช้ไม้มา ค้นพบแร่โลหะรวมทั้งพัฒนาฝีมือในการสร้างให้มีความเหมาะสม สะดวก ออกแบบให้มีความสวยงามความชำนาญของมนุษย์ในยุคแรกได้ทวีเพิ่มขึ้น มนุษย์รู้จักใช้ไฟในการเผางานเครื่องปั้นดินเผา และรู้จักวิธีการควบคุมความร้อนในการเผาชิ้นงาน ตลอดจนมีความรู้ในการเคลือบ
          ต่อมาจำนวนประชากรได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ความจำเป็นในด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย หรือเครื่องอุปโภคมากขึ้น ไม่พอกับความต้องการจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในด้านการผลิตขึ้น ในประเทศอังกฤษ เมื่อเจมส์วัตต์ (James Watt) ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ เครื่องจักรไอน้ำจึงได้ถูกนำมาใช้แทนแรงงานคน และพลังงานธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงการผลิตสินค้า จากการใช้แรงงานจากมนุษย์  แรงงานจากสัตว์มาเป็นการใช้เครื่องจักรกลแทน เราเรียกยุคนั้นว่า “ ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ” (The Industrial Revolution) ลักษณะการเปลี่ยนแปลงมี 3 ลักษณะ ดังนี้ (สุทธิ  ประจงศักดิ์, 2524 หน้า 5 – 9)
          1. การผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องจักรกล
          2. ใช้เครื่องยนต์เพื่อให้เครื่องจักรทำงานและผลิตชิ้นงาน
          3. ผลิตในโรงงานแทนการผลิตในครอบครัว
          หลังจากมีการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม การจัดการและการบริหารงานด้านการผลิตอุตสาหกรรมก็ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น ในสมัยแรกนั้น ผู้บริหารมีความคิดเห็นทำนองว่า มนุษย์นั้นมีนิสัยเกียจคร้านการทำงานจะสำเร็จลงได้ จะต้องใช้วิธีบังคับ (วิชัย  แหวนเพชร, 2536 หน้า 3) ในสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial revolution) ในอเมริกา นักบริหารอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น เฟดเดริก ดับบลิ เทเลอร์ (Frederick  W.Taylor) แฟรงค์  บี, กิลเลริต (Frank B.Gilberth) เฮอร์ลิงตัน อีเมอร์สัน (Harrington Emerson) เฮนรีส์ แอลล์ แกนท์ (Henry L.Gantt) เป็นต้น จะใช้หลักการตรงข้ามกับแนวคิดเดิม คือจะจูงใจคนทำงานให้รักงานมากกว่าการบังคับให้ทำงาน การเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ ขั้นเงินเดือน ให้โบนัส จัดสวัสดิการให้ความช่วยเหลทอจะช่วยกระตุ้นการทำงานให้มีประสิทธิภาพได้
          ส่วนการลงโทษก็จะเลือกใช้วิธีว่ากล่าวตักเตือน สั่งพักงาน ให้ออกโทษสถานหนักก็คือ การไล่ออกจากงาน ต่อมาในสมัยหลัง ๆ วิวัฒนาการด้านความคิดของมนุษย์เจริญขึ้นผู้บริหารอื่น ๆ เช่น เฮนรี่ ฟาโย (Henri Fayol) ยอชล์ อี.เมย์โย (Jeorge E.Mayo) และดักลาสแมคเกรเกอร์ (Douglas McGregor) มีความคิดเห็นตรงกันว่า งานจะสำเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกฝ่าย ดังนั้น จึงต้องมีการจัดองค์การเพื่อบริหารงานต่าง ๆ โดยมุ่งหลักการมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการ ให้มากขึ้น จึงจะเกิดผลดีในการทำงานให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เข้าใจหลักการและแนวคิดในการบริหารแต่ละยุค ขอให้ศึกษาแนวคิดของนักบริหารในแต่ละยุคสมัย
ที่มา //sites.google.com/site/sersthsastrthikhwrru/thekhnoloyi-ni-kar-phlit-sinkha-laea-brikar

เพิ่มมูลค่าให้กับเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง

การเพิ่มมูลค่าเทคโนโลยี.
การปรับปรุงรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หรือบริการ.
การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น.
การได้รับมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์หรือบริการ.
การเปลี่ยนสถานที่หรือช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการ.

เทคโนโลยีมีประโยชน์ต่อการผลิตสินค้าและบริการอย่างไรบ้าง

สาเหตุที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและบริการ มีดังนี้ 1. เพิ่มผลผลิตให้มีมากขึ้น ลดความสิ้นเปลืองจากการสูญเสีย วัตถุดิบในกระบวนการผลิตลง 2. เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะการผลิตสินค้าจำนวนมากจะทำให้ลดต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตได้กำไรมากขึ้น และอาจทำให้สินค้ามีราคาถูกลง

การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ทําได้กี่แบบ อะไรบ้าง

โดยวันนี้เราก็มีหลักการที่เป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าของสินค้ามากฝากกัน คือ.
1. ค้นหา Position. ... .
2. ทำวิจัยค้นคว้ากับลูกค้า ... .
3. สร้างสีสันให้กับสินค้าของเรา ... .
4. นำมาวิเคราะห์และวางแผนต่อไป.

การเพิ่มมูลค่าในการผลิตสินค้าและบริการสามารถทำได้อย่างไรบ้าง

สร้างสีสัน และจุดดึงดูดสินค้าหรือบริการตัวใหม่ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาสนใจสินค้าบริการของเรา โดยการ “ใส่เรื่องราว” ที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องราวที่มาที่ไปของแหล่งวัตถุดิบ หรือดีไซน์ใหม่ที่มีแรงบันดาลใจมีที่มาที่ไป หรือการให้บริการรูปแบบใหม่ที่เกิดจากาการมองเห็นคุณค่า และความต้องการที่ลูกค้าเองก็ยังคาดไม่ถึง ก็ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf