อะไรบ้างที่ควรนำมาพิจารณาในการประเมินภายนอก

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน

           การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1. การประเมินภายนอก

          การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักตัวหลักฐานนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่

          1. อายุของหลักฐาน การรู้ว่าหลักฐานสร้างหรือเขียนขึ้นเมื่อไร ทำให้เราตีความสำนวนภาษาที่ใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจสิ่งที่หลักฐานกล่าวถึงโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนั้นมาประกอบ

          2. ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน การรู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐานทำให้เราสืบค้นได้ว่า ผู้นั้นมีภูมิหลังอย่างไร เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือไม่ มีอคติต่อสิ่งที่สร้างหรือเขียนหรือไม่

          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานช่วยให้ประเมินความน่าเชื่อถือได้ เช่น โคลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึงด้านลบของพระมหากษัตริย์องค์นั้น จากหลักฐานที่ยกตัวอย่างมานั้น เมื่อนำมาใช้จะต้องแยกแยะข้อเท็จจริงออกมาให้ได้

          4. รูปเดิมของหลักฐาน หลักฐานเป็นจำนวนมาไม่ใช่หลักฐานดั้งเดิม แต่ผ่านการคัดลอกต่อๆ กันมาจึงเกิดความคลาดเคลื่อนได้ หลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารที่ผ่านการชำระมักมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อความ แก้ไขสำนวนโวหาร รวมทั้งแทรกทัศนคติของยุคสมัยที่มีการชำระพระราชพงศาวดารนั้นลงไปด้วย ทำให้ผิดไปจากหลักฐานเดิม

2. การประเมินภายใน

           เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง

           ตัวอย่าง ปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก ในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ระบุไว้ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เช่น

          พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติช มิวเซียม และ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าสร้างเมื่อศักราช 810 ปีมะโรงสัมฤทธิศก (ตรงกับพ.ศ. 1991)

          พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่าสร้างเมื่อศักราช 826 วอกศก (ตรงกับพ.ศ. 2007)

          จะเห็นว่า หลักฐานชิ้นหลังระบุเวลาห่างจากหลักฐาน 2 ชิ้นแรก 16 ปี

          หลักฐานทั้งหมดที่ยกมาเป็นหลักฐานชั้นรอง ควรหาหลักฐานชั้นต้นมาเทียบ คือ ศิลาจารึกวัดจุฬามณี ปรากฏว่าจารึกระบุว่า พระวิหารวัดจุฬามณีสร้างเมื่อ “ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร” ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ

          หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลที่เป็นจริง หลักฐานที่ให้ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง นำส่วนที่เป็นจริงไปใช้ได้ ส่วนหลักฐานที่เป็นเท็จทั้งหมดไม่นำไปใช้ในการศึกษา

การประเมินคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินภายนอกมีความเป็นอิสระ และเป็นกลางไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการประเมินคุณภาพภายนอกจะนำไปสู่การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอก

  1. เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา และประเมินคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพตามกรอบแนวทางและวิธีการที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) กำหนด และสอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพภายใน
  2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดแข็งจุดอ่อนของสถานศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
  3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  4. เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
  5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก

การประเมินคุณภาพภายนอก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้กำหนดกรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกไว้ 2 ส่วน ได้แก่ การประเมินคุณภาพมาตรฐาน และการประเมินความโดดเด่น โดยมีรายละเอียดการพิจารณาดังนี้

ส่วนที่ 1 การประเมินคุณภาพมาตรฐาน

เป็นการประเมินตามพันธกิจและบริบทของสถานศึกษา โดยเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายใน และประเด็นที่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล ดังนี้

แนวทางพิจารณาคุณภาพ
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้กำหนดแนวทางพิจารณาคุณภาพในการประเมินคุณภาพภายนอกไว้ดังนี้

1. ความเหมาะสม เป็นไปได้ (Propriety/Feasibility) หมายถึง การกำหนดเป้าหมาย/เกณฑ์ ความสำเร็จ ของผู้เรียนมีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง ประหยัด และคุ้มค่า

2. ความเป็นระบบ (Systematic) หมายถึง กระบวนการดำเนินงานด้านการบริหารและการจัดการด้านการจัดการเรียนรู้ ที่เกิดจากการคิดอย่างเป็นกระบวนการ โดยพิจารณาจากตัวอย่าง เช่น กระบวนการ 5W1H ว่า

ใคร (Who) คือ ใครรับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง ใครได้รับผลกระทบ ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง

ทำอะไร (What) คือ เราจะทำอะไร มีใครทำอะไรบ้าง

ที่ไหน (Where) คือ สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน

เมื่อใด (When) คือ ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุด เหตุการณ์นั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด

ทำไม (Why) คือ สิ่งที่เราจะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น

อย่างไร (How) คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะสามารถทำทุกอย่างให้บรรลุผลได้อย่างไร เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไรบ้าง หรืออาจจะเป็นกระบวนการ PDCA คือ การวางแผน (Plan) การปฏิบัติตามแผน (DO) การตรวจสอบ (Check) และการปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม (Act) เป็นต้น

3. ความเชื่อถือได้ (Validity/Credibility) หมายถึง กระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษา ที่เกิดจากผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการวิเคราะห์ความเชื่อถือได้มาจากการใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายใช้หลักฐานหรือสารสนเทศเชิงประจักษ์ หรือมีข้อมูลจากหลายแหล่งในการตัดสินผลการดำเนินงาน ซึ่งรวมทั้งข้อมูลสารสนเทศหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลที่ง่ายแก่การตรวจสอบและข้อมูลที่อาจไม่ได้อยู่ในระบบฐานข้อมูล แต่เกิดขึ้นตามสภาพจริง โดยผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในด้านนั้น ๆ เมื่อตรวจสอบจากหลักฐานเชิงประจักษ์มีความตรงตามสภาพจริง เหมาะสมชัดเจน เป็นที่ยอมรับได้

4. ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นของการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ อันเป็นผลที่เกิดต่อผู้เรียน ต่อโรงเรียน ต่อศูนย์พัฒนาเด็ก หรือต่อวงวิชาการ ซึ่งผลการดำเนินงานมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง มีนวัตกรรมและเป็นแบบอย่างที่ดี

5. นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง แนวคิดหรือวิธีการที่นำมาใช้ในการปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหา หรือเพื่อการพัฒนา ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด กระบวนการ หรือองค์กร อย่างสิ้นเชิงหรือ อย่างเห็นได้ชัดเป็นการพัฒนาต่อยอด เพิ่มมูลค่า มีเป้าหมายในเชิงบวก ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณา คือ

มีความสร้างสรรค์ (C – Creative)

มีความใหม่ในบริบทนั้น ๆ (N – New)

มีคุณค่ามีประโยชน์ (V – Value Added)

ปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม (A – Adaptive)

6. เป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice) หมายถึง รูปแบบวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปรูปแบบวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ มีร่องรอยหลักฐานเชิงประจักษ์ เผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์

วิธีการประเมินคุณภพภายนอก

การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินเชิงคุณภาพ เน้นหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based) ที่สะท้อนผลลัพธ์การดำเนินงาน โดยใช้การตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ (Expert Judgment) และการตรวจทาน ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินในระดับเดียวกัน (Peer Review) ให้ครอบคลุมองค์ประกอบทั้งระบบแบบองค์รวม (Holistic Approach)

ขั้นตอนการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

ที่มา : การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก หน้า 17

1. สถานศึกษาประเมินตนเอง (Self-Assessment)แล้วจัดส่งรายงานการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดวิเคราะห์ SAR ส่งให้ สมศ.

2. สมศ. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา (Pre-Analysis) จากฐานข้อมูล ของหน่วยงานต้นสังกัด

3. คณะผู้ประเมินภายนอกประชุมพิจารณาผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ร่วมกับวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Pre-Assessment) เพื่อวางแผนการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม

4. คณะผู้ประเมินภายนอกลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม (Site Visit) เพื่อประชุมเสวนาสร้างสรรค์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพกับบุคลากร หลักฐานเชิงประจักษ์ และหน่วยงาน บุคคลที่มีเกี่ยวข้องเพิ่มเติม รวมทั้งทำรายงานผลประเมินด้วยวาจา

5. คณะผู้ประเมินภายนอกจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอก (EQA Report) พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา แล้วจัดส่งให้ สมศ. เพื่อพิจารณาให้การรับรองผลการประเมิน จากนั้น สมศ. จะจัดส่งให้กับสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด

ที่มา : การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก

Post Views: 31,784

Comments

comments

การประเมินคุณภาพภายนอกมีประโยชน์อย่างไร

วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอก 1. เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดําเนินงานของสถานศึกษา 2. เพื่อสะท้อนข้อมูลจุดแข็ง จุดอ่อน ของสถานศึกษา 3. เพื่อให้ข้อมูลเสนอแนะในการปรับปรุงสถานศึกษา 4. เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง 5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานของ สถานศึกษา

ข้อใดเป็นการประเมินภายนอก

1. การประเมินภายนอกหรือการวิพากษ์ภายนอก เป็นการพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้ แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด เป็นการประเมินลักษณะทั่วไปของหลักฐานนั้น เพื่อดูว่าเป็นของจริงหรือ ของปลอม โดยพิจารณา เช่น ใครเป็นผู้ท าหรือเขียน ท าหรือเขียนขึ้นเมื่อใด ท าหรือเขียนขึ้นท าไม ท าหรือ เขียนขึ้นที่ไหน ทั้งนี้ การ ...

การประเมินภายนอกภายในคืออะไร

การประเมินหลักฐานภายนอก เป็นการที่เราดูว่าหลักฐานนี้จริงหรือปลอม ส่วนการประเมินหลักฐานภายใน เป็นการประเมินสิ่งที่มีอยู่บนหลักฐาน เช่น รูปภาพ ตัวอักษร ว่ามีความน่าเชื่อถือมั้ย ค่า

การประเมินภายในต้องพิจารณาเกี่ยวกับอะไร

2. การประเมินภายใน เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง ตัวอย่าง ปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก ในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ระบุไว้ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เช่น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf