สมาชิกของสถาบันศาสนามีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

สถาบันศาสนา

สถาบันศาสนา


จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของศาสนาพบว่าศาสนาเกิดจากความต้องการด้านจิตใจของมนุษย์ เพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยทางด้านจิตใจ กล่าวคือ มนุษย์สมัยก่อนมีความรู้ความสามารถจำกัด ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของปรากฏการณ์ธรรมชาติ จึงคิดว่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตและสิ่งแวดล้อมของตนนั้น เช่น ฝนตก ฟ้าผ่า น้ำท่วม แผ่นดินไหว โรคระบาด เป็นต้น เกิดจากอำนาจลึกลับและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มนุษย์จึงพากันกราบไหว้บูชา เซ่นสรวง เพื่อหวังจะให้ดวงวิญญาณอำนาจลึกลับ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นพึงพอใจ จะได้ช่วยคุ้มครองปกป้องรักษาพวกตน ซึ่งความคิดเช่นนี้ได้ทำให้เกิดระบบความเชื่อต่างๆ และสถาบันศาสนาขึ้นในที่สุด

ความหมายของสถาบันศาสนา สถาบันศาสนา หมายถึง แบบแผนของความคิดการกระทำในเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ ความเชื่อทางสังคม ทางศาสนา เป็นสถาบันที่ครอบคลุมในเรื่องต่างๆ ดังนี้ เช่น การปฏิบัติของฆราวาสต่อภิกษุ พิธีกรรมต่างๆ ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ และเกี่ยวกับชีวิตในโลกนี้โลกหน้า

กลุ่มสังคมในสถาบันศาสนา  ที่สำคัญได้แก่ คณะสงฆ์ และกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม โดยมีตำแหน่งหรือสถานภาพทางสังคมต่างๆ กัน ต่างมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตามสถานภาพทางสังคมดังกล่าว

หน้าที่ของสถาบันศาสนา
1. สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สังคม
2. สร้างเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สังคม
3. ควบคุมสมาชิกให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
4. สนองความต้องการทางจิตใจแก่สมาชิกเมื่อสมาชิกเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ

แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก  โดยทั่วไปแบบแผนพฤติกรรมในการปฏิบัติของสมาชิกในสังคม ย่อมเป็นไปตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ และเป็นไปตามประเพณีทางศาสนานั้น ๆ  กิจกรรมของประเพณีทางศาสนามีความสำคัญในการสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในสังคม

สัญลักษณ์และค่านิยม  สัญลักษณ์ของสถาบันศาสนาย่อมแตกต่างกันไปตามศาสนาที่สมาชิกยอมรับนับถือ สำหรับค่านิยมของสถาบันศาสนาย่อมแตกต่างกันไปตามหลักของศาสนานั้น ๆ

องค์ประกอบของสถาบันศาสนา ได้แก่

1. กลุ่มทางสังคมหรือองค์การทางสังคม สถาบันศาสนาจะประกอบด้วยกลุ่มทางสังคมหรือองค์การทางสังคมที่สำคัญ เช่น วัด สำนักสงฆ์ สถาบันทางการศึกษาทางสังคม เช่น วิทยาลัยสงฆ์ เพื่อช่วยทำหน้าที่ของสถาบันทางศาสนาได้อย่างครบถ้วน

2. สถานภาพและบทบาท ในสถาบันศาสนาจะมีสถานภาพที่สำคัญ ได้แก่ ศาสดา สาวกและศาสนิกชน ในพระพุทธศาสนาคือ พระพุทธเจ้า มีสาวกได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ ในคณะสงฆ์แบ่งสถานภาพออกไปตามสมณศักดิ์ เช่น แบ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ พระครู ฯลฯ ซึ่งแต่ละตำแหน่งย่อมกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีบทบาทที่แสดงให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ เช่น เป็นพระต้องสำรวมอิริยาบถ มีความเมตตาต่อสัตว์โลก เทศนาสั่งสอนศาสนิกชน และประพฤติตามพระธรรมวินัย เป็นต้น
3. หน้าที่ของสถาบันศาสนา มีหน้าที่ต่อสังคมทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมดังนี้
3.1) สร้างความเป็นปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม คือ มีปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่เหมือนกัน
3.2) ควบคุมมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคม
3.3) ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจ ให้สมาชิกสามารถเผชิญกับปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติ
3.4) มีอิทธิพลต่อการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก
3.5) เป็นเครื่องสร้างความผูกพันระหว่างคนในชาติและวัฒนธรรมของสังคม

บรรทัดฐานทางสังคม สถาบันทางศาสนาจะกำหนดหลักคำสอน และแนวการปฏิบัติของสมาชิก เช่น ผู้ที่ต้องการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต้องเป็นชายและมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ พระภิกษุสงฆ์ต้องเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ต้องยังชีพด้วยการออกบิณฑบาตโปรดสัตว์โลก ในระหว่างพรรษาภิกษุต้องจำศีลที่วัด   พุทธศาสนิกชนที่ดีต้องมีศีล 5 ต้องร่วมประกอบศาสนากิจในวันสำคัญทางศาสนา

แหล่งอ้างอิง:

//nucha.chs.ac.th/1.2.htm

สถาบันศาสนา มีบทบาทสําคัญอย่างไรบ้าง

สถาบันศาสนาทำหน้าที่เสมือนเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมทางสังคมเพื่อให้เกิดความประพฤติและพฤติกรรมอันถูกต้อง เพื่อนำไปสู่ความสงบสุข ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี เช่น คำสอนหรือกฎเกณฑ์ทางศาสนาที่สอนมิให้มีการประพฤติชั่ว หรือเบียดเบียนกันระหว่างสัตว์โลก

สมาชิกของสถาบันมีบทบาทอย่างไร

1) สร้างความเป็นปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม คือ มีปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่เหมือนกัน 2) ควบคุมมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคม 3) ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจ ให้สมาชิกสามารถเผชิญกับปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติ 4) มีอิทธิพลต่อการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก

สถาบันเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจที่สำคัญ มีดังนี้ 1. บำบัดความต้องการทางเศรษฐกิจ เช่น มีการผลิต การแบ่งปันวัตถุ หรือบริการที่มนุษย์ต้องการบริโภค 2. ให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบสินเชื่อ การใช้เงินตรา จัดให้มีการแบ่งงาน ตลาดระบบผลกำไร ค่าจ้างและดอกเบี้ย

สถาบันการศึกษามีความสําคัญอย่างไร

2. สถาบันการศึกษา มีบทบาทที่สำคัญ คือ การถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรม และทักษะอันจำเป็นในการดำรงชีวิตของสมาชิก การสร้างบุคลิกภาพทางสังคมแก่สมาชิก การผลิตกำลังแรงงานทางเศรษฐกิจ การกำหนดสถานภาพและชนชั้นทางสังคม และเกิดการรวมกลุ่มกัน ทำให้สมาชิกเกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf