รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปอะไรบ้าง

ผู้บรรยายพยายามแยก “พระมหากษัตริย์” ออกจาก “พฤติกรรมของรัฐ” เพื่อโจมตีในหลวงรัชกาลที่ 5 โดยตรง ทั้ง ๆ ที่ธรรมชาติของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้ง 2 สิ่งนี้แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้ จำต้องอธิบายควบคู่กันไปเสมอ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงเป็นรัฐมนตรีของประเทศและประมุขแห่งรัฐในตัว

อย่างไรก็ดี หัวข้อการบรรยายครั้งนี้ มีลักษณะค่อนข้างกระจัดกระจาย กล่าวคือ ผู้บรรยายได้นำหลาย ๆ ประเด็นมาแยกส่วน แล้วค่อยแสดงความเห็นครอบลงไปว่า ประเด็นเหล่านี้ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการ “รักษาเอกราช” ของสยามเลย

ความหมายของคำว่า “เอกราช” ที่ผู้บรรยายนำเสนอนั้น เป็นความหมายเก่าในหลักวิชาการ ดังเช่น เอกราชในความหมายที่พระมหากษัตริย์สามารถทำอะไรตามพระราชหฤทัย โดยที่ไม่ต้องเกรงกลัวอำนาจของกษัตริย์องค์อื่นใกล้เคียง

แต่ในความเป็นจริง เมื่อล่วงเข้าช่วงรัชกาลที่ 5 ความเป็น “เอกราช” กับ “อิสรภาพ” มีความแนบแน่นยิ่งขึ้น เพราะเป็นการแสดงออกถึง “ความเป็นชาติเอกราชที่ไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมตะวันตก” ซึ่งปรากฏอยู่แค่ไม่กี่ชาติในเอเชียเท่านั้น พร้อม ๆ กับการมีพระมหากษัตริย์เป็นอิสระ ไม่ต้องถูกปกครองโดยชาติตะวันตก

อีกทั้งการตีความของผู้บรรยายที่ว่า เอกราชของสยาม คือการที่พระมหากษัตริย์ มีความสูงส่งเทียบเท่าเจ้าในยุโรปและสูงส่ง “กว่า” เจ้าท้องถิ่น ย่อมเป็นเรื่องที่ย้อนแย้งมาก เพราะในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงไม่มีความจำเป็นต้องสถาปนาอำนาจ และความสูงส่ง เหนือเจ้าประเทศราชหรือหัวเมืองเลย เนื่องจาก “ทรงมีสถานะนี้มาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว” อีกทั้งพระมหากษัตริย์สยามพระองค์ก่อน ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ขึ้นไป ก็มีสถานะเหนือกว่าเจ้าท้องถิ่น ซึ่งเห็นได้จากพิธีการดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา หรือการส่งบรรณาการอยู่แล้ว

ยิ่งกว่านั้น ความรู้สึกว่าสยามเป็นชาติเอกราช (ตามแนวคิดรัฐชาติสมัยใหม่) ก็ไม่ได้ปรากฏอยู่แค่ในหมู่ชนชั้นนำสยามเท่านั้น แม้แต่ชาวต่างประเทศ เช่น ดร.ฟรานซิส บี แซร์ (พระยากัลยาณไมตรี) ก็เกิดความรู้สึกว่า การที่สยามต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเนื่องจากสนธิสัญญาไม่เสมอภาค ที่กระทำมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 นั้น เป็นการกระทบถึง “เอกราช” และ “อิสรภาพ” ของสยาม

ดังนั้น “ความเป็นเอกราชของสยาม” จึงเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริง ทั้งในหมู่ชาวสยามและชาวต่างประเทศ

ในส่วนของการเลิกทาส สยามค่อย ๆ กระทำอย่างเป็นระบบและไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านใด ๆ จากทุกฝ่าย ซึ่งหมายความว่า ชนชั้นนำสยามเองก็เอือมกับระบอบทาสและไพร่เช่นเดียวกัน ดังเช่นพระราชปรารภของในหลวงรัชกาลที่ 5 ที่ทรงไม่ต้องการให้ “ความเป็นทาส” ตกทอดไปถึงลูกหลาน แสดงให้เห็นชัดเจนว่าพระองค์ทรงรับรู้ถึงความโหดร้ายของระบอบนี้ และทรงมีความรู้สึกแห่งความเห็นใจเพื่อนมนุษย์อยู่ในพระราชหฤทัย

ภาพรวมของ Common School ครั้งนี้ ผู้บรรยายพยายามแยกส่วนประเด็นการปฏิรูปต่าง ๆ ออกมาอภิปราย เพื่อด้อยค่าในแต่ละด้าน แล้วสรุปรวบยอดว่ารัชกาลที่ 5 ทรงกระทำไปเพื่อพระองค์เอง ทั้ง ๆ ที่งานวิชาการส่วนมาก ต่างอธิบายไปในทิศทางเดียวกันว่า การปฏิรูปของสยามในแต่ละด้านนั้น ดำเนินไปเพื่อ “พัฒนาประเทศให้ทันสมัย” แต่ผู้บรรยายกลับนำกระบวนการปฏิรูปเหล่านั้น วกกลับไปอธิบายถึง “การถูกคุกคามจากเจ้าอาณานิคม”

และการจับแต่ละประเด็นมาซอยย่อยเพื่อมุ่งโจมตี ถือเป็นการบิดเบือนที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ จะมองปัจจัยที่ทำให้สยามไม่เสียเอกราชในลักษณะ “องค์รวม” มากกว่าที่จะแยกเป็นประเด็นแบบนี้

ซึ่งอันที่จริง เราไม่สามารถแยกประเด็นต่าง ๆ ออกจากกันได้ เช่น การปฏิรูปการศึกษากับการปฏิรูประบบราชการ เพราะคนที่เข้าสู่ระบบการศึกษาใหม่นี้ ก็จะกลายเป็นกำลังสำคัญในระบบราชการในเวลาต่อมา ส่วนการปฏิรูปภาษียิ่งสำคัญ เพราะถ้าไม่มีเงิน รัฐบาลก็บริหารราชการไม่ได้ และการที่ภาษีถูกบริหารจัดการโดยรัฐบาลกลาง ย่อมเกิดประโยชน์กว่าการที่ต้องถูกบริหารโดยขุนนางท้องถิ่น ที่แทบไม่มีความรู้เรื่องการคลังสาธารณะเลย

ดังนั้นการพยายาม “แช่แข็ง” กระบวนการใด ๆ แล้วนำมาด้อยค่าอย่างเสียดสี โดยปิดกั้นไม่ให้ผู้ฟังเห็นภาพหรือผลที่ตามมาหลังจากนั้น ย่อมไม่ใช่วิสัยของงานวิชาการแต่อย่างใดหากแต่เป็นสภาวะที่เต็มไปด้วย “อคติ” และ “ความสับสน” ของผู้บรรยายเองเท่านั้น

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5




             ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยต้องตกเป็นอาณานิคมของประเทศทั้งสอง ส่วนประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ จึงแข่งขันกันเพื่อเข้ามามีอิทธิพลเหนือประเทศไทย

             พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงดำเนินนโยบายทางการทูต เพื่อมิให้ประเทศมหาอำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถือเป็นข้ออ้างในการยึดครองประเทศ ไทย โดยการเร่งพัฒนาประเทศให้มีความเจริญในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว และศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจในภาษา วัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ของชาติตะวันตก อันจะทำให้การเจรจากับประเทศเหล่านั้นดีขึ้น

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีแนวความคิดที่มีประโยชน์ต่อการปกครองอย่างยิ่ง 2 ประการ คือ
             1) การศึกษาภาษาต่างประเทศ พระองค์ทรงศึกษาภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง เพื่อจะได้ใช้เจรจากับประเทศมหาอำนาจ กับส่งเสริมให้ข้าราชการได้ศึกษาหาความรู้ให้สามารถเข้าใจภาษาต่างประเทศ จะได้ไม่เสียเปรียบชาวต่างประเทศ
             2) การบริหารราชการแผ่นดิน พระองค์ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมา ช่วยราชการด้านต่าง ๆ เช่น ครูฝึกทหาร ครูสอนภาษาอังกฤษ ผู้จัดการท่าเรือ ผู้อำนวยการศุลกากร เป็นต้น เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยมีความเจริญในด้านต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ฝึกให้ข้าราชการไทยได้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติราชการ ต่อไปด้วย

             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครอง เพราะทรงเห็นว่าเป็นหนทางหนึ่งที่จะรักษาเอกราชของบ้านเมืองไว้ได้ในช่วงการ ขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก การปรับปรุงการปกครองให้ทันสมัย ทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เจริญแล้ว สามารถปกครองดูแลพัฒนาบ้านเมืองได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ประเทศชาติมีรายได้ในการทำนุบำรุงบ้านเมืองมากขึ้น ทำให้สายตาของชาวต่างชาติมองประเทศไทยต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ และด้วยการวางวิเทโศบายทางการทูตกับชาติตะวันตกอย่างเหมาะสม ยอมรับว่าชาวยุโรปเป็นชาติที่เจริญ ให้เกียรติและยกย่อง พร้อมกับเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติบางอย่าง เพื่อให้เห็นว่าไทยไม่ใช่ชนชาติป่าเถื่อน เช่น ให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า นอกจากนั้น ยังยอมผ่อนปรนอย่างชาญฉลาด แม้จะเสียผลประโยชน์หรือดินแดนไปบ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย ยังสามารถรักษาส่วนใหญ่ไว้ได้ ทำให้ประเทศไทยคงความเป็นชาติที่มีเอกราชมาได้ตลอด

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวความคิดในการปฏิรูปการปกครองอยู่ 3 ประการ คือ
             1) การรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อมิให้ชาติตะวันตกอ้างเอา ดินแดนไปยึดครองอีก ถ้าอำนาจของรัฐบาลกลางแผ่ไปถึงอาณาเขตใด ก็เป็นการยืนยันว่าเป็นอาณาเขตของประเทศไทย
             2) การศาลและกฎหมายที่มีมาตรฐาน จากการยอมเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในรัชกาล ที่ 4 เป็นเพราะประเทศอาณานิคมอ้างว่าศาลไทยไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้น รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระราชดำริที่จะปรับปรุงการศาลยุติธรรมและกฎหมายไทยให้เป็นสากลมาก ขึ้น
             3) การพัฒนาประเทศ พระองค์ทรงริเริ่มนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น สร้างถนน ขุดคูคลอง จัดให้มีการปกครอง ไฟฟ้า ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ เป็นต้น

การปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ก่อให้เกิดการจัดระเบียบการปกครองที่สำคัญ จำแนกได้ 3 ส่วน คือ
             1) การปกครองส่วนกลาง การ ปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลางของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ 5 คือ ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมภ์ โดยแบ่งการบริหารราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นทั้งหมด เมื่อ พ.ศ.2435 มี 12 กระทรวง คือ
                          (1) มหาดไทย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว
                          (2) กลาโหม รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้ หัวเมืองฝ่ายตะวันออก ตะวันตก และเมืองมลายู
                          (3) ต่างประเทศ รับผิดชอบเกี่ยวกับการต่างประเทศ
                          (4) วัง รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการในพระราชวัง
                          (5) เมืองหรือนครบาล รับผิดชอบเกี่ยวกับการตำรวจและราชทัณฑ์
                          (6) เกษตราธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการเพาะปลูก เหมืองแร่ ป่าไม้
                          (7) คลัง รับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีอากรและงบประมาณแผ่นดิน
                          (8) ยุติธรรม รับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคดีและการศาล
                          (9) ยุทธนาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการทหาร
                          (10) ธรรมการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา การสาธารณสุขและสงฆ์
                          (11) โยธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการก่อสร้าง ถนน คลอง การช่าง ไปรษณีย์โทรเลข และรถไฟ
                           (12) มุรธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาตราแผ่นดิน และงานระเบียบสารบรรณ

             ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และยุบกระทรวงมุรธาธิการไปรวมกับกระทรวงวัง คงเหลือเพียง 10 กระทรวง เสนาบดีทุกกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกัน และประชุมร่วมกันเป็นเสนาบดีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาและช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมาย เพราะอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นของพระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงแต่งตั้ง "สภาที่ปรึกษาในพระองค์" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "รัฐมนตรีสภา" ประกอบด้วย เสนาบดี หรือผู้แทน กับผู้ที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รวมกันไม่น้อยกว่า 12 คน จุดประสงค์เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาและคอยทัดทานอำนาจพระมหากษัตริย์ แต่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาดังกล่าวไม่ได้บรรลุจุดประสงค์ที่ทรงหวังไว้ เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ไม่กล้าโต้แย้งพระราชดำริ คณะที่ปรึกษาส่วนใหญ่มักพอใจที่จะปฏิบัติตามมากกว่าที่จะแสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงแต่งตั้ง "องคมนตรีสภา" ขึ้นอีก ประกอบด้วยสมาชิกเมื่อแรกตั้งถึง 49 คน มีทั้งสามัญชน ตั้งแต่ชั้นหลวงถึงเจ้าพระยา และพระราชวงศ์ องคมนตรีสภานี้อยู่ในฐานะรองจากรัฐมนตรีสภา เพราะข้อความที่ปรึกษา และตกลงกันในองคมนตรีสภาแล้วจะต้องนำเข้าที่ประชุมรัฐมนตรีสภาก่อนแล้วจึงจะ เสนอเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ

             2) การปกครองส่วนภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ยกเลิกการปกครอง หัวเมือง และให้เปลี่ยนแปลงเป็นการปกครองส่วนภูมิภาคโดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ขึ้น เพื่อจัดการปกครองเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ดังนี้
                          (1) มณฑลเทศาภิบาล ประกอบด้วยเมืองตั้งแต่ 2 เมืองขึ้นไป มีสมุหเทศาภิบาล ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งไปปกครองดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ
                          (2) เมือง ประกอบด้วยอำเภอหลายอำเภอ มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ ขึ้นตรงต่อข้าหลวงเทศาภิบาล
                          (3) อำเภอ ประกอบด้วยท้องที่หลาย ๆ ตำบล มีนายอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบ
                          (4) ตำบล ประกอบด้วยท้องที่ 10 - 20 หมู่บ้าน มีกำนันซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
                          (5) หมู่บ้าน ประกอบด้วยบ้านเรือนประมาณ 10 บ้านขึ้นไป มีราษฎรอาศัยประมาณ 100 คน เป็นหน่วยปกครองที่เล็กที่สุด มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกเลิก มณฑลเทศาภิบาล และเปลี่ยน เมือง เป็น จังหวัด
             3) การปกครองส่วนท้องถิ่น  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้อง ถิ่นในรูปสุขาภิบาล ซึ่งมีหน้าที่คล้ายเทศบาลในปัจจุบัน เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2440 โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) ขึ้นบังคับใช้ในกรุงเทพฯ ต่อมาใน ร.ศ.124 (พ.ศ. 2448) ได้ขยายไปที่ท่าฉลอม ปรากฏว่าดำเนินการได้ผลดีเป็นอย่างมาก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ร.ศ.127 (พ.ศ.2451) ขึ้น โดยแบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ประเภท คือ สุขาภิบาลเมืองและสุขาภิบาลตำบล ท้องถิ่นใดเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลประเภทใด ก็ให้ประกาศตั้งสุขาภิบาลในท้องถิ่นนั้น

             แม้ว่าการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์จะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระราชกรณียกิจบางประการของพระมหากษัตริย์ก็ถือได้ว่าเป็นการปูพื้นฐาน การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงดำเนินการดังต่อไปนี้

             1) การเลิกทาส ทรงประกาศเลิกทาสเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2417 นโยบายการเลิกทาสของพระองค์นั้นเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทัดเทียมกัน อันเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
             2) การสนับสนุนการศึกษา ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้มีโอกาสเล่าเรียน ศึกษาหาความรู้ ตั้งทุนพระราชทาน ส่งผู้มีความสามารถไปศึกษาต่อต่างประเทศ จากการสนับสนุนการศึกษาอย่างกว้างขวางนี้ นับได้ว่าเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการปกครองประเทศสู่ระบอบ ประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
             3) การปฏิรูปการปกครอง ทรงเปิดโอกาสให้ข้าราชการมีส่วนรับผิดชอบในการบริหารมากขึ้น ทรงสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งสุขาภิบาล ทำให้ประชาชนธรรมดามีส่วนและมีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารการปกครอง ตามหลักการประชาธิปไตยที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนในการปกครองบ้านเมือง

             ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีการส่งเสริมการศึกษาให้แพร่หลาย มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง และสนับสนุนให้ทุนหลวงโดยส่งนักเรียนไปเรียนในต่างประเทศ มีการศึกษาภาคบังคับ โดยกำหนดว่าเด็กที่มีอายุครบเกณฑ์ 7 ปี ต้องเข้ารับการศึกษาขั้นประถมศึกษา ทำให้ประชาชนมีการศึกษาเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงนิยมระบอบ ประชาธิปไตย โดยได้ทรงตั้ง "เมืองสมมุติดุสิตธานี" ขึ้นในบริเวณวังพญาไท จำลองรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีรัฐธรรมนูญการปกครองลักษณะนคราภิบาล ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง และให้ข้าราชบริพารสมมุติตนเองเป็นราษฎรของดุสิตธานี มีการจัดตั้งสภาการเมืองและเปิดโอกาสให้ราษฎรสมมุติใช้สิทธิใช้เสียงแบบ ประชาธิปไตย เป็นเสมือนการฝึกหัดการปกครองแบบประชาธิปไตย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่นักหนังสือพิมพ์ ในระหว่างเสด็จเยี่ยมเยียนสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2474 ว่า พระองค์ทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชน เพราะทรงเห็นว่าคนไทยมีการศึกษาดีขึ้น มีความคิดอ่าน และสนใจทางการเมืองมากขึ้น เมื่อเสด็จกลับมา พระองค์ทรงมอบให้พระศรีวิสารวาจา ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงการต่างประเทศ และนายเรมอน สตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น แต่ดำเนินการไม่ทันแล้วเสร็จ ก็มีการปฏิวัติขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ที่มา : //rattika402.blogspot.com/p/5.html

รัชกาลที่5ปฏิรูปอะไรบ้าง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปประเทศให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ ปรับปรุงระบบศาล ปฏิรูประบบราชการ รวมศูนย์อำนาจการเมืองการปกครองไว้ที่ส่วนกลาง ทรงประกาศเลิกทาส สร้างทางรถไฟและระบบคมนาคมทันสมัย จัดตั้งหน่วยงานไปรษณีย์โทรเลข การปฏิรูปให้ทันสมัยในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ได้ทำแบบเร่งรีบ และใช้เวลายาวนานถึง 35 ...

ข้อใดคือการปฏิรูปทางสังคมที่สำคัญที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 5

เนื่องในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปทางด้านต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยขึ้น จึงผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านสังคมด้วยเช่นกันคือการยกเลิกทาส โดยแผนการปฏิรูปสังคมในเรื่องของการเลิกทาสนั้นก็ได้มีการออกประกาศพระราชบัญญัติต่าง ๆ ในการยกเลิกทาส เช่น การมีธงประจำชาติครั้งแรก การออกประกาศพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุ ...

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลดีอย่างไร

4) ผลของการปฏิรูปการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการเมืองการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้เกิดผลดังนี้ 1) ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในราชอาณาจักร ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐเดียว ทั้งนี้ เป็นผลคือจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์ราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ 2) รัฐบาลไทยมี ...

รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนกลางด้วยวิธีใด

๒) การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑล ๆ หนึ่ง โดยมี ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลนี้เป็นการ รวมอำนาจการปกครองทั้งด้านการเมือง และเศรษฐกิจเข้าสู่ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf