สิ่ง ที่ ต้อง กระทำ ก่อน ตัดสินใจ เชื่อถือ ข้อมูล ข่าวสาร จาก สื่อ โฆษณา

ความรู้

อิทธิพลของสื่อโฆษณาต่อผู้บริโภค

เพราะเหตุใดสื่อโฆษณาจึงมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค

สื่อโฆษณาเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่นำพาข่าวสารที่ผู้โฆษณาต้องการโน้มน้าวใจผู้บริโภคให้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและเกิดความเชื่อคล้อยตามและต้องการในสินค้า สื่อโฆษณาในปัจจุบันมีทั้งสื่อโฆษณาที่สร้างสรรค์และสื่อโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงหากผู้บริโภคหลงเชื่อหรือตกเป็นเหยื่อของสื่อโฆษณาที่ไม่สร้างสรรค์จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค

ความหมายของโฆษณา

การโฆษณา คือ การสื่อสารข้อมูลจากผู้โฆษณาไปยังผู้บริโภคเพื่อโน้มน้าวใจให้เชื่อและเกิดความคล้อยตาม ในชีวิตประจำวันโฆษณาที่ผู้รับสารคุ้นเคยคือการโฆษณาขายสินค้าและบริการซึ่งผู้จำหน่ายจะเลือกใช้สื่อต่างๆเป็นช่องทางการสื่อสาร

สื่อโฆษณา คือ เครื่องมือทางการตลาดที่มีหน้าที่นำข่าวสารที่ผู้โฆษณาต้องการให้ผู้บริโภคได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและเกิดความต้องการในสินค้า

สื่อโฆษณาที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค

1. โทรทัศน์ โทรทัศน์เป็นสื่อโฆษณาที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ดีที่สุด เพราะจะต้องใช้ทั้งประสาทตาประสาทหูไปพร้อม ๆ กัน เกิดการรับรู้ได้ง่าย เพราะมีทั้งภาพและเสียงที่เคลื่อนไหวได้ สามารถกระตุ้นความสนใจจากเนื้อหาเรื่องราวของโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอและชักจูงใจให้ซื้อสินค้า

2. สื่ออินเทอร์เน็ต ปัจจุบันสื่อโฆษณาอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นจะให้ความสนใจสูง เนื่องจากอินเทอร์เน็ตสามารถติดตัวไปทุกหนแห่งพร้อมโทรศัพท์มือถืออินเทอร์เน็ตจึงกลายเป็นแหล่งโฆษณาสินค้าที่สำคัญ ยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกที่ทุกเวลา

3. วิทยุ เป็นสื่อโฆษณาที่ครอบคลุมผู้บริโภคในวงกว้างการโฆษณาสินค้าทางสื่อวิทยุสามารถชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้เรื่องราวของสินค้า

4. สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่สามารถนำข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับได้อย่างกว้างขวาง ปัจจุบันโฆษณาสิ่งพิมพ์จะเป็นที่นิยมในผู้บริโภค เนื่องจากสามารถออกแบบได้ถูกใจผู้บริโภคด้วยรูปแบบ สีสัน และวิธีการนำเสนอ

อิทธิพลของสื่อโฆษณาที่มีผลต่อสุขภาพ

1. ด้านสุขภาพ ในท้องตลาด ผู้ผลิตได้ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับร่างกายจำนวนมากทำให้เกิดการแข่งขันสูง ผู้ผลิตที่มีคุณธรรมจะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพแต่ผู้ผลิตบางรายหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่าคำนึงถึงสุขภาพของประชาชน จึงผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน คุณภาพต่ำ และใช้การโฆษณาให้ผู้บริโภคหลวงเชื่อว่าสินค้าของตนมีคุณภาพ ซึ่งหากผู้บริโภคเชื่อถือของโฆษณาเหล่านั้นและซื้อสินค้าดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายได้

ตัวอย่างโฆษณาเกินจริง

2. ด้านสุขภาพจิต หากผู้บริโภคมีการพิจารณาไตร่ตรองข้อมูลข่าวสารจากสื่อโฆษณาอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้ามักจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ตรงตามคำโฆษณา ตรงกับความคาดหวังของตน ย่อมส่งผลให้เกิดความพึงพอใจและมีความสุขในทางตรงกันข้ามหากผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าโดยเชื่อคำโฆษณาไม่ได้ไตร่ตรอง ไม่ได้ผลเป็นจริงตามที่ผู้ผลิตโฆษณา นอกจากก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพแล้วยังทำให้ผู้บริโภคไม่พอใจจึงเกิดความวิตกกังวลเครียดหรือเสียใจกับการตัดสินใจที่ผ่านมาได้

หลักการพิจารณาสื่อโฆษณาเพื่อการบริโภค

1. การศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ก่อนตัดสินใจเชื่อถือข้อมูลข่าวสารจากสื่อโฆษณาผู้บริโภคควรศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าข้อมูลข่าวสารที่ผู้ผลิตนำเสนอเป็นข้อเท็จจริง

2. การใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์สื่อ ผู้บริโภคสื่อควรพิจารณาสื่อโฆษณาด้วยความเป็นเหตุและผล และความเป็นไปได้โดยคำนึงถึงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความเป็นจริง ไม่หลงเชื่อโฆษณาชวนเชื่อที่ใช้ข้อความเกินความเป็นจริง

สื่อโฆษณาเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่นำพาข่างสารที่ผู้โฆษณาต้องการให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและเกิดความต้องการในสินค้า สื่อโฆษณาในปัจจุบันมีทั้งสื่อโฆษณาที่สร้างสรรค์ และสื่อโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ผู้บริโภคควรพิจารณาคิดไตร่ตรองก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าให้ดีเพื่อจะได้สินค้าตรงตามความต้องการของตนเอง

อ้างอิงรูปภาพ : ภาพหน้าปก / ภาพประกอบที่ 1 / ภาพประกอบที่ 2 / ภาพประกอบที่ 3 โดยนักเขียน / ภาพประกอบที่ 4

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์

Digital Citizen

  • 30 ต.ค. 62
  • 44890

Fake News ลวงให้เชื่อ หลอกให้แชร์

หลายคนคงเคยมีประสบการณ์หรือได้รับผลกระทบจากข่าวลวง ข้อมูลไม่จริง ที่เรียกว่า Fake News มาบ้างแล้ว...

เมื่อมีอินเทอร์เน็ต ทุกคนเป็นได้ทั้งผู้รับและผู้ผลิตข่าวสารข้อมูล เขียนแล้วโพสต์ รับมาแล้วแชร์ต่อไป นอกจากจะมีข่าวสารข้อมูลที่เป็นความจริงเป็นประโยชน์เแล้ว ยังมีเนื้อหาที่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว โน้มน้าวชักจูง โฆษณาชวนเชื่อ เนื้อหามุ่งโจมตีฝ่ายตรงข้าม สร้างความแตกแยกชิงชัง ความเข้าใจผิดต่าง ๆ ข้อมูลทั้งจริงและไม่จริง ยากจะตรวจสอบหรือค้นหาต้นตอ อาจมีคนตั้งใจทำเนื้อหาข้อมูลเท็จขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง บางคนรับมาแล้วแชร์เนื้อหาผิด ๆ นั้นออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ (Misinformation) 


Fake News คืออะไร

คำว่า Fake News อาจจะดูแคบเกินไป เพราะอันที่จริงแล้ว Fake News ไม่ได้หมายถึงข่าวที่ไม่จริงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่เป็นความจริงด้วย Claire Wardle จาก First Draft1  ซึ่งเป็นองค์กรทำงานต่อต้านข่าวลวงและข้อมูลเท็จเพื่อสร้างความไว้วางใจและความจริงในยุคดิจิทัล ทำงานร่วมกับหน่วยงานหลายแห่งทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนา ในระดับสากล รวมถึงเฟซบุ๊กด้วย บอกว่า การที่จะเข้าใจระบบนิเวศของการส่งต่อหรือแชร์ข้อมูลข่าวสารผิด ๆ ออกไปนั้น ควรจะต้องทำความเข้าใจกับประเภทของข่าวสารข้อมูลเท็จ แรงจูงใจของคนทำ และเนื้อหาเหล่านั้นแพร่กระจายไปได้อย่างไร

Claire ตั้งข้อสังเกตถึงประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัญหาที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ และพยายามแบ่งประเภทของ Fake News ซึ่งมีตั้งแต่เรื่องไม่จริงที่ทำขึ้นมาให้ตลก เสียดสี เพื่อความสนุกสนาน ซึ่งผู้รับก็ทราบดีว่าเป็นเรื่องไม่จริงแต่ก็อยากจะอ่านและแชร์กันขำ ๆ ซึ่งหากคนหรือกลุ่มคนที่โดนล้อหรือเสียดสีนั้นไม่ขำด้วย รู้สึกอาย ถูกดูหมิ่น ถูกประจาน ถูกเกลียดชัง ก็จะกลายเป็น Cyberbullying หรือ Hate Speechได้

อีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ เนื้อหาที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด ซึ่งอาจทำโดยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ บางครั้งมีการแอบอ้างเอาบุคคลมีชื่อเสียงหรือน่าเชื่อถือว่าเป็นคนพูดหรือรับรองสิ่งนั้นสิ่งนี้ ยังมีการนำข้อมูลหลากหลายมาเชื่อมโยงกันทั้งที่ในความเป็นจริงอาจจะไม่เกี่ยวข้องกันเลย เช่น นำงานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกันไปเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าบางอย่างเพื่อมุ่งหวังประโยชน์ในการขายสินค้าได้มากขึ้น การนำภาพเก่าหรือภาพของเหตุการณ์อื่นมาใส่ในเหตุการณ์เดียวกัน ทำให้ผู้รับเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือเหตุการณ์เดียวกัน ที่แย่ที่สุดคือเนื้อหาที่ตั้งใจตัดต่อ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ คลิปเสียง คลิปวีดีโอ ไม่ว่าจะทำเพื่อความสนุกสนาน สร้างความเชื่อ หรือเพื่อผลประโยชน์ต่าง ๆ ถือเป็นข้อมูลเท็จที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคมโดยรวม ทั้งยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วย

ผลกระทบของ Fake News

  • ผู้รับได้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด อาจส่งผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น แชร์ข้อมูลว่าดื่มน้ำมะนาวช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ผู้ป่วยอาจเลิกไปรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดกับหมอ ทำให้มะเร็งลุกลามถึงขั้นเสียชีวิต
  • ผู้รับเกิดความตระหนกตกใจ เช่น ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับภัยพิบัติ หรือโรคระบาดต่าง ๆ อาจทำให้ผู้คนแตกตื่น แห่กักตุนของกินของใช้ หรือไปเข้าคิวฉีดวัคซีนป้องกันโรคซึ่งไม่เกิดขึ้นจริง ข่าวการเมืองหรือนโยบายของรัฐที่อาจทำให้หุ้นขึ้นหรือลง นักลงทุนเทขายหุ้นหรือซื้อเพื่อเก็งกำไร
  • ผู้ถูกแอบอ้างได้รับความเสียหาย เช่น ถูกล้อเลียน ดูหมิ่น กลั่นแกล้งรังแก (bully) เพราะข้อมูลเท็จที่เกิดจากการตัดต่อให้ดูตลกขบขัน ถูกเกลียดชังจากข้อมูลเท็จเชิงใส่ร้ายป้ายสี หรือตัวอย่างข่าวดาราดังป่วยหนักใกล้เสียชีวิต ทำให้ประชาชนสงสาร มิจฉาชีพฉกฉวยโอกาสเรี่ยไรเงินช่วยเหลือครอบครัวดาราดัง
  • ข้อมูลที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เช่น ข้อมูลเท็จทางด้านการเมือง ข่าวสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาจนำไปสู่ความไม่สงบสุขในสังคม สร้างปัญหาระหว่างประเทศได้

การตรวจสอบเบื้องต้น

  • ตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าวสารข้อมูล เช่น สำนักข่าว หน่วยงาน หรือชื่อผู้ให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ หลาย ๆ แหล่งก็ยิ่งดี
  • ตรวจสอบแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ เช่น หน่วยราชการหรือหน่วยงานที่น่าจะเกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลนั้นๆ เพื่อยืนยันว่ามีเรื่องหรือเหตุการณ์ดังกล่าวจริง เช่น ถ้าเป็นเรื่องโรคระบาด ก็ควรตรวจสอบไปที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลต่าง ๆ ว่ามีข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างหรือไม่
  • ตรวจสอบหาต้นตอของข่าว บางครั้งข่าวเท็จอาจเป็นข่าวเก่าที่เคยเกิดขึ้นแล้ว หรือใช้ข้อมูลจากข่าวเก่ามาเล่าใหม่เพื่อให้เกิดความแตกตื่นหรือเพื่อประโยชน์แอบแฝง จึงควรสืบค้นภาพเก่าหรือข่าวเก่ามาเปรียบเทียบกันก่อนที่จะเชื่อและแชร์
  • อาจสอบถามผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โดยตรง หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น รายการชัวร์ก่อนแชร์ โดย สำนักข่าวไทย อสมท. เป็นสื่อกลางนำเรื่องที่แชร์กันมากบนสื่อโซเชียลไปถามผู้รู้มาตอบให้ในรายการและเผยแพร่ในเฟซบุ๊ก SureAndShare
  • ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยังได้เปิด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) เพื่อเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งในการช่วยตรวจสอบหรือแจ้งข่าวที่มีผลกระทบต่อคนในวงกว้าง สำหรับการแจ้งหรือตรวจสอบ เมื่อพบข่าวปลอมหรือน่าสงสัย ไปที่ 
    • ​​เฟซบุ๊ก //www.facebook.com/AntiFakeNewsCenter/ 
    • ไลน์ @antifakenewscenter 
    • ทวิตเตอร์ www.twitter.com/AFNCThailand 
    • เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com

ส่วน ไทยเซิร์ตภายใต้ ETDA ได้ให้ข้อแนะนำในการสังเกตเรื่องนี้ คือ

  1. ดูความน่าเชื่อถือของเนื้อหาและการอ้างอิง ควรอ้างอิงที่มา ข้อมูลที่กล่าวถึงอย่างชัดเจน เช่น สถานที่ เวลา บุคคลที่สามที่กล่าวถึง หากไม่ระบุข้อมูลใด ๆ อาจะเป็นไปได้ว่าตั้งใจเผยแพร่ข่าวปลอม
  2. ตั้งข้อสังเกตเบื้องต้น ว่ามีเว็บไซต์หรือแหล่งข่าวอื่นที่มีข่าวในลักษณะเดียวกันหรือไม่ แหล่งข่าวได้มีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำเสนอข่าวหรือไม่
  3. เช็กภาพจากข่าวเก่า ข่าวปลอมอาจใส่ภาพจากข่าวเก่าให้ดูน่าเชื่อถือ สามารถนำ "ภาพ" มาค้นหาข้อมูลจาก TinEye หรือ Googleโหมดค้นรูป อย่างไรก็ตามอาจตรวจสอบได้ในบางกรณีเท่านั้น
  4. ตรวจสอบชื่อข่าวหรือเนื้อความในข่าวมาค้นหาใน Search Engine อาจพบเว็บไซต์แจ้งเตือนว่า ข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม หรือเมื่อพิจารณาดูวันที่เผยแพร่ข่าว อาจพบว่าเป็นข่าวจริง แต่เผยแพร่แล้วเมื่ออดีต
  5. สอบถามหน่วยงานหรือสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ เช่น  ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย หรือ ศูนย์ข่าวชัวก่อนแแชร์ สำนักข่าวไทย ให้ช่วยตรวจสอบแหล่งที่มาเพื่อความมั่นใจ

ปัจจุบัน โซเชียลมีเดียชั้นนำก็มีช่องทางให้ผู้ใช้สามารถแจ้ง หากพบข่าวปลอมหรือข้อมูลเท็จ ดูตัวอย่างการแจ้งข่าวปลอมได้ที่ thcert.co/S7ACML 

ทั้งนี้ หากผู้ใช้พบและพิจารณาแล้วเห็นว่า น่าจะเป็นข่าวปลอมแต่ยังไม่แน่ใจ ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันความผิดพลาด ควรหลีกเลี่ยงการแชร์ เพื่อลดผลกระทบจากความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

นอกจากนั้น ผู้ที่ผลิตข่าวเท็จ บิดเบือน และนำเผยแพร่บนโซเชียลยังเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 คือนำข้อความเท็จเข้าระบบคอมพิวเตอร์ อันก่อให้เกิดความเสียหาย สร้างความตื่นตระหนก กระทบต่อสังคม มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ส่งต่อข้อมูลเท็จนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ ก็ถือว่ามีความผิดเท่ากับผู้กระทำผิดข้างต้นและมีอัตราโทษเช่นเดียวกัน ทั้งนี้หากข้อมูลนั้นทำให้บุคคล องค์กร หน่วยงาน เสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ก็ยังอาจจะได้รับโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกด้วย

ข้อมูลในโลกออนไลน์มีมาก เคลื่อนไหวเร็ว โดยผู้ใช้ทุกคนที่สามารถผลิตใหม่และผลิตซ้ำ ทั้งเรื่องจริงและเรื่องเท็จ ยากแก่การตรวจสอบอย่างเท่าทันสถานการณ์ ผู้ใช้สื่อทุกคนจึงควรมีภูมิคุ้มกันตนเองในการรับข่าวสารข้อมูล ตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกใช้ เลือกแชร์ พัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองเท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง ข้อมูลเท็จ หรือผู้อยู่เบื้องหลังที่ต้องการแสวงหาประโยชน์จากความตื่นรับข้อมูลข่าวสารของเราเอง

รายการอ้างอิง
1 //firstdraftnews.org/fake-news-complicated/

พัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองเท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง ข้อมูลเท็จ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf