ผู้แต่งตั้งชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน คือข้อใด ข้อใดมีหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามที่ได้รับแต่งตั้ง หรือมอบหมาย มาตรการทางแรงงานสัมพันธ์คือข้อใด พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเป็นพนักงานที่แต่งตั้งมาจากอะไร พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน เป็นพนักงานที่แต่งตั้งมาจากข้อใด หน้าที่หลักของคณะกรรมการลูกจ้าง คือข้อใด การเจรจาเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงาน จะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อมีการดำเนินการในกิจการในข้อใด กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใด หน้าที่ของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน คือข้อใด เมื่อมีการจ้างแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ มีส่วนเข้ามาบังคับใช้กับการจ้างแรงงานในข้อใด ในกรณีที่ไม่มีการเจรจาตามข้อเรียกร้องภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กฎหมายให้ถือว่าอย่างไร พระราชบัญญัติประกันสังคมที่ใช้บังคับปัจจุบัน คือข้อใด

ผู้แต่งตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน คือข้อใด

วัน หากไม่สามารถตกลงกันได้ การเจรจาสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่ายจะเจรจากันจนกว่าจะได้ข้อยุติ หรือไม่ประสงค์จะเจรจากันต่อไป

       

คำถามที่ 6

 

 

ถาม :

ถ้าเจรจาตกลงกันเองได้ จะต้องทำอย่างไรต่อไป?

 

 

ตอบ :

ถ้าตกลงกันได้ ให้ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือ โดยนายจ้างต้องปิดประกาศข้อตกลงฯ โดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน โดยเริ่มประกาศภายใน 3 วันนับแต่วันที่ตกลงกันได้และนายจ้างต้องเป็นผู้นำข้อตกลงฯ ไปจดทะเบียนที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด หรือที่สำนักแรงงานสัมพันธ์ ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ตกลงกันได้ หากไม่นำไปจดทะเบียนจะมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

     

คำถามที่ 7

 

 

ถาม :

ถ้าเจรจากันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไรต่อไป?

 

 

ตอบ :

ถ้ามีการเจรจากันภายใน 3 วัน และมีการเจรจากันอย่างต่อเนื่องแต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ และไม่ประสงค์จะเจรจากันเองต่อไป ให้ฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้องแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ภายใน 24 ชั่วโมงนับจากเวลาที่ไม่สามารถตกลงกันได้ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอยุติการเจรจา

 

คำถามที่ 8

 

 

ถาม :

การแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจะแจ้งได้ที่ไหน อย่างไร?

 

 

ตอบ :

กรณีที่สถานประกอบกิจการอยู่ในจังหวัดใด ให้ผู้แจ้งข้อเรียกร้องแจ้งต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานที่สำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนั้น กรณีที่อยู่ในกรุงเทพมหานครให้แจ้งที่กลุ่มงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและข้อ ขัดแย้ง สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยต้องทำเป็นหนังสือแจ้งต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่ไม่มีการเจรจากันเอง หรือมีการเจรจากันแล้วแต่ไม่สามารถตกลงกันได้

       

คำถามที่ 9

 

 

ถาม :

เมื่อแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานแล้ว ขั้นตอนจะเป็นอย่างไรต่อไป?

 

 

ตอบ :

พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจะทำหนังสือเชิญทั้งสองฝ่ายมาพบ เพื่อเจรจากันและหาแนวทางยุติข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งระยะเวลาในการไกล่เกลี่ยตามกฎหมายกำหนดไว้ 5 วัน และเมื่อตกลงแล้วนายจ้างจะต้องนำข้อตกลงฯ ไปจดทะเบียนภายใน 15 วัน

      

คำถามที่ 10

 

 

ถาม :

ถ้ายังตกลงกันไม่ได้มีขั้นตอนอย่างไรต่อไป?

 

 

ตอบ :

ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทแรงงานขึ้นและเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ไม่สามารถตกลงกัน ได้และครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด 5 วันแล้ว หากนายจ้างประสงค์จะใช้สิทธิ์ปิดงานหรือลูกจ้างประสงค์จะใช้สิทธิ์นัดหยุด งานก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้ โดยจะต้องแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งและพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบเป็น หนังสือ ก่อนจะใช้สิทธิ์นัดหยุดงาน หรือปิดงาน อย่างน้อย 24 ชั่วโมง

 

คำถามที่ 11

 

 

ถาม :

ถ้าเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยเกิน 5 วันแล้ว แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ลูกจ้างหรือนายจ้างต้องนัดหยุดงาน หรือปิดงานหรือไม่?

 

 

ตอบ :

แม้ว่าพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานไกล่เกลี่ยครบกำหนด 5 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ หากนายจ้างไม่ประสงค์จะปิดงาน หรือลูกจ้างไม่ประสงค์จะนัดหยุดงานจะเจรจากันเองหรือพนักงานประนอมข้อพิพาท แรงงานไกล่เกลี่ยต่อไปเพื่อให้ได้ข้อยุติก็สามารถทำได้ หรือทั้งสองฝ่ายจะสมัครใจร่วมกันตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน เพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานดังกล่าว

 

คำถามที่ 12

 

 

ถาม :

ระหว่างนัดหยุดงานหรือปิดงาน ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างหรือไม่?

 

 

ตอบ :

ลูกจ้างที่ใช้สิทธิ์นัดหยุดงานหรือถูกนายจ้างใช้สิทธิ์ปิดงานจะไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง เนื่องจากไม่มีการทำงานเกิดขึ้น

 

คำถามที่ 13

 

 

ถาม :

การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน คืออะไร?

 

 

ตอบ :

เป็นวิธียุติข้อพิพาทแรงงาน โดยคู่กรณีร่วมกันเลือกคนกลางโดยสมัครใจ ให้ทำหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่คู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้โดย คู่กรณีมีอิสระที่จะเลือกตัวผู้ชี้ขาดและจำนวนผู้ชี้ขาด

       

คำถามที่ 14

 

 

ถาม :

มีข้อห้ามในการนัดหยุดงานหรือปิดงานหรือไม่อย่างไร?

 

 

ตอบ :

กฎหมายกำหนดมิให้นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในกรณีดังต่อไปนี้

1.    เมื่อยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่ออีกผ่ายฟนึ่งหรือได้แจ้งข้อเรียกร้องแล้ว  แต่ข้อพิพาทแรงงานนั้นไม่เป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้

2.    เมื่อฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสหภาพการจ้างได้ปฏิบัติตามข้อตกลง  ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ข้อตกลงมีผลใช้บังคับ

3.    เมื่ออยู่ระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์

4.    เมื่ออยู่ระหว่างการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานไม่ว่ากรณีจะเป็น ประการใด ห้ามมิให้นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงาน  โดยมิได้แจ้งเป้นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและอีกฝ่ายหนึ่งทราบ ล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่ที่รับแจ้ง

    

 

คำถามที่ 15

 

 

ถาม :

มีสถานประกอบกิจการใดบ้างที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์นัดหยุดงานหรือปิดงานเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น?

 

 

ตอบ :

กฎหมายกำหนดมิให้นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในกรณีดังต่อไปนี้

1.    การรถไฟ

2.    การท่าเรือ

3.    การโทรศัพท์หรือการโทรคมนาคม

4.    การผลิตหรือจำหน่ายพลังงานหรือกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชน

5.    การประปา

6.    การผลิดหรือการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง

7.    กิจการโรงพยาบาลหรือกิจการสถานพยาบาล

8.    กิจการอื่นที่กำหนดในกระทรวง ได้แก่

8.1  กิจการทุกประเภทของรัฐวิสาหกิจ ตามกฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ

8.2  กิจการวิทยาลัยเอกชนและโรงเรียนราษฎร์

8.3  กิจการสหกรณ์

8.4  กิจการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมตลอดถึงกิจการบริหารเสริมการขนส่ง หรือเกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง ณ สถานีขนส่ง ท่าเทียบเรือ ท่าอากาศยาน และกิจการท่องเที่ยว

8.5  กิจการจำหน่ายน้ำมันเชื่อเพลิง

พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์(ครส.) พิจารณาวินิจฉัยและแจ้งผลให้ทั้งสองฝ่ายทราบภายใน 30 วัน  ซึ่งเมื่ออยู่ระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กิจการ ดังกล่าวเป็นต้น  จึงไม่สามารถใช้สิทธิ์นัดหยุดงานหรือปิดงานได้

 

คำถามที่ 16

 

 

ถาม :

เอกสารที่ใช้ในการขอจดทะเบียนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างประกอบด้วยอะไรบ้าง?

 

 

ตอบ :

กฎหมายกำหนดมิให้นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในกรณีดังต่อไปนี้

1.    ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง พร้อมสำเนารวม 4 ฉบับ

2.    สำเนาหนังสือแจ้งข้อเรียกร้องของผู้แจ้งพร้อมหลักฐานการแต่งตั้งผู้แทนในการเจรจาของทั้งสองฝ่าย

3.    แบบคำขอจดทะเบียนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยนายจ้างมีหน้าที่นำข้อตกลงฯ ไปจดทะเบียน ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองจังหวัดทุกจังหวัด หรือในเขตกรุงเทพฯ ณ สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วจะนำส่งให้แก่ผู้แทนในการเจรจาทั้งสองฝ่ายต่อไป

ผู้แต่งตั้งชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน คือข้อใด

ขั้นต่อมาก็คือ นายจ้างและลูกจ้าง จะต้องตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานขึ้นคนหนึ่ง หรือหลายคนก็ได้ เพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานนั้น แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ กฎหมายจึงกําหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จัดตั้งสํานักงานผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานขึ้น มีอํานาจหน้าที่จัดทําบัญชีรายชื่อและคุณสมบัติของ ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเพื่อเสนอให้ ...

ข้อใดมีหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามที่ได้รับแต่งตั้ง หรือมอบหมาย

มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) วินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา ๒๓ (๒) ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๓๕ (๔) (๓) ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมาย

มาตรการทางแรงงานสัมพันธ์คือข้อใด

การใช้มาตรการทางแรงงานสัมพันธ์ เป็นมาตรการหนึ่ง ที่ลูกจ้างนายจ้างอาจนํามาใช้ หลังจาก ผ่านขั้นตอนการพิจารณาระงับข้อพิพาทแรงงานคือการเจรจา การไกล่เกลี่ย จากพนักงานประนอมข้อพิพาท แรงงานมาแล้ว แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ นายจ้างและลูกจ้างไม่มีความประสงค์จะตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาท แรงงาน แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะใช้มาตรการทาง ...

พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเป็นพนักงานที่แต่งตั้งมาจากอะไร

พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน คือ พนักงานของกระทรวงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ใช้อํานาจตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 6 มีคําสั่งแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง คือ ตั้งแต่อธิบดี ลงไปจนถึงข้าราชการพลเรือนสามัญระดับกลาง ให้ทําหน้าที่เป็นพนักงานประนอม ข้อพิพาทแรงงาน มีระดับต่างกัน ตั้งแต่สูงสุด คือระดับประเทศ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf