รามเกียรติ์มีที่มาจากแหล่งใด

ผลวิจัยปรากฏว่า เมื่อนิทานแพร่กระจายจากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่งนั้น ย่อมเปลี่ยนแปลงในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ คือ เปลี่ยนรายละเอียด เพิ่มความ ลดความ สลับความ และสับสนความ

ในด้านการเปลี่ยนรายละเอียด ผู้วิจัยพบว่ามักเกิดในอนุภาคที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมและในอนุภาคที่เป็นวิธีการประกอบพฤติกรรม จุดแห่งการเปลี่ยนแปลงมักเกิดในตอนเริ่มเรื่อง ตอนที่เป็นข้อต่อของเรื่อง และตอนจบเรื่อง ทั้งนี้เพราะผู้เล่ามีจินตนาการที่จะดัดแปลงเรื่องให้แปลกออกไป หรือมีเหตุผลที่จะนำรายละเอียดที่คุ้นเคยเข้ามาแทนเรื่องที่ไม่คุ้นเคย รวมทั้งเปลี่ยนเนื้อหาให้ดูสมเหตุสมผลตามทัศนะของตน

ผู้วิจัยพบว่า นิทานท้องถิ่นมีอิทธิพลสำคัญต่อการเพิ่มความ เช่นมีการเพิ่มตัวละครที่นิยมกันในท้องถิ่นเข้าไปในนิทานที่รับจากต่างถิ่น ปรากฏว่าในสำนวนอีสาน พญานาคมาเป็นผู้สร้างเมืองให้บรรพบุรุษพระราม เป็นผู้ลักพระรามลงไปบาดาล ยิ่งกว่านั้นธิดาพญานาคยังได้มาเป็นชายาของพระรามและหนุมานด้วย ในขณะเดียวกันมีการเพิ่มเหตุการณ์ที่พระเอกได้ชายาตามรายทางระหว่างที่ออกผจญภัย ซึ่งเป็นที่นิยมในนิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ ทั่วไปเข้าไปในพระรามชาดก พระรามจึงได้นางยักษ์ นางนาค นางไม้ หรือเทพธิดาเป็นชายา ในแง่นี้ จึงมีผลให้บุคลิกของพระรามผิดไปด้วย นอกจากนั้นยังมีการผนวกนิทานท้องถิ่นทั้งเรื่องโดยเฉพาะเรื่องสังข์ศิลป์ชัย เข้าไปในพระรามชาดก

ประเพณีพื้นบ้านย่อมมีส่วนกำหนดพฤติกรรมตัวละคร ในนิทานพระรามสำนวนอีสาน ปรากฏว่าเมื่อหนุมานเข้าไปในลงกา ก็จะเว้าผญาเกี้ยวสาวลงกาตามแบบหนุ่มอีสาน หรือเมื่อพระรามพระลักษมณ์กลับจากสงคราม ก็มีการจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ นอกจากนั้นตัวละครในเรื่องมักมีค่านิยม ความคิด ตลอดจนความเชื่อ เช่นเดียวกับคนท้องถิ่นนั้น ๆ

ในนิทานพระรามสำนวนท้องถิ่นมักคงไว้แต่ตัวเอกของเรื่อง คือ พระราม ทศกัณฐ์ หนุมาน พาลี สุครีพ และสีดา ส่วนตัวละครปลีกย่อย เช่น พระพรต พระสัตรุต ไกยเกษี สำมนักขา และตัวละครไม่สำคัญอื่น ๆ จะถูกตัดทิ้งไป การลดตัวละครย่อมหมายถึงการลดโครงเรื่องด้วย ในช่วงสงครามจึงมีแต่ตอนลักพระรามไปบาดาล และตอนโมกขศักดิ์เท่านั้น สำนวนท้องถิ่นจึงสั้น และดำเนินความรวบรัดกว่าสำนวนพระราชนิพนธ์มาก ทั้งนี้เพราะนิทานพื้นบ้านคำนึงถึงโครงเรื่องใหญ่เพียงโครงเดียว ดังนั้นตัวละครหรือเหตุการณ์ใดที่เป็นส่วนของโครงเรื่องย่อยจะถูกลด

การสับสนความเป็นสิ่งที่พบเสมอในนิทานพระรามสำนวนท้องถิ่น คือ มีความสับสนระหว่างบทบาทของนางสีดากับนางมณโฑ ระหว่างวิธีการรักษาพิษหอกโมกขศักดิ์ หอกกบิลพัทและศรพรหมสตร์ นอกจากนั้นยังสับสนความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร ในสำนวนท้องถิ่นกล่าวว่า พระราม ทศกัณฐ์และสุครีพ มีบรรพบุรุษเดียวกัน ดังนั้นตัวละครเหล่านี้จึงเป็นพี่น้องกันหมด หรือบางสำนวน อินทรชิตกลายเป็นน้องของทศกัณฐ์ และบางสำนวนพระรามได้โอรสทศกัณฐ์มาเป็นที่ปรึกษาการสงคราม แทนที่จะเป็นพิเภกอนุชา

ในกระบวนการแพร่กระจายของนิทานนั้น มีแนวโน้มที่เนื้อหาของนิทานจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมและยุคสมัย แต่ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนั้น นิทานเรื่องหนึ่ง ๆ จะยังคงรักษาโครงเรื่องหรือเอกลักษณ์อันแสดงความเป็นตัวของตัวเองไว้ได้เสมอ ตลอดระยะเวลาแห่งการถ่ายทอดนิทาน

กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)

จิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เนื้อหา

  • 1 ประวัติรามเกียรติ์
  • 2 ตัวละครหลัก
  • 3 ดูเพิ่ม
  • 4 อ้างอิง
  • 5 หนังสืออ่านเพิ่ม
  • 6 แหล่งข้อมูลอื่น

ประวัติรามเกียรติ์

ต้นเค้าของเรื่องรามเกียรติ์มาจากเรื่องรามายณะซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียได้นำวัฒนธรรมและศาสนามาด้วย ทำให้รามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นจนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฏในหลายชาติ เช่น ไทย ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนมีวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีประจำชาติทั้งสิ้น

“รามเกียรติ์” มีเค้าจากวรรณคดีอินเดียคือมหากาพย์รามายณะที่ ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู

สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ของไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น โดยได้ทรงเลือกมาเป็นตอนๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้ฉบับของอินเดีย (รามายณะ) มาพระราชนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า "บ่อเกิดรามเกียรติ์"

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf