ขั้น เตรียม หยุด เพลง มี ลักษณะ การ นับ จังหวะ เพลง อย่างไร

คลิกทำแบบทดสอบก่อนเรียน
หรือ สแกน QR  Code ทำข้อสอบ

การร้องโน้ตเบื้องต้น

1111111ก่อนจะปฏิบัติเครื่องดนตรีหรือร้องเพลง ต้องเข้าใจหลักการของทฤษฎีดนตรี เพื่อจะได้นำไปสู่การปฏิบัติได้ถูกต้อง  การเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจกับเครื่องหมายทางดนตรีในระดับพื้นฐาน  ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่มีความสำคัญมากอาจเปรียบเทียบได้กับ พยัญชนะ  สระ และวรรณยุกต์  อันเป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการเขียนและการอ่านภาษาไทยซึ่งใช้สอนผู้เริ่มเรียน  เครื่องหมายทางดนตรีที่นำเสนอนี้เป็นเครื่องหมายในระดับพื้นฐานทางดนตรีสากล  ซึ่งมีรูปแบบและชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้

ฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้นทm

1111111ตัวโน้ต   เป็นระบบการบันทึกแทนเสียงดนตรีที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 โดย กีโด เดอ อเรซ์โซ (Guido d’ Arezzo, 995-1050) บาทหลวงชาวอิตาเลียน ต่อมาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสมบูรณ์อย่างที่เราได้พบเห็นและใช้กันในปัจจุบัน
ตัวโน้ตสามารถบอกหรือสื่อให้นักดนตรีทราบถึงความสั้น – ยาว, สูง – ต่ำ ของระดับเสียงเราจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของตัวโน้ตดนตรี (Music Notation)

1111111111ชื่อตัวโน้ตหรืออักษรดนตรี (Alphabet  of  sound)  ใช้เรียงลำดับจากเสียงสูงไปเสียงต่ำนิยมใช้  2  ระบบได้แก่  ระบบอังกฤษ คือ  C   D    E     F    G    A    B    และระบบอิตาลี  คือ  Do    Re    Me    Fa    So    La    Ti

1111111111บรรทัด   5 เส้น  หมายถึง เส้นขนานแนวนอน  5  เส้นซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญในการบันทึกโน้ตดนตรีสากลในปัจจุบัน (ณัชชา โสคติยานุรักษ์, 2550: 34)  ใช้กำหนด

ระดับเสียงสูง-ต่ำของตัวโน้ต  ในการนับให้นับเส้นล่างสุดเป็นเส้นที่ 1 แล้วเรียงลำดับไปจนถึงเส้นที่ 5 และนับจากช่องล่างสุดเป็นช่องที่ 1 แล้วเรียงลำดับไปจนถึงช่องที่  4

 

บรรทัด  5  เส้น

ตัวเลขแสดงเส้นของบรรทัด  5  เส้น

ตัวเลขแสดงช่องของบรรทัด  5  เส้น

                  2.1  เส้นน้อย (Ledger line) เมื่อนำตัวโน้ตทั้งคาบเส้นและในช่องมาเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูงหรือเสียงสูงลงมาเสียงต่ำพบว่าสามารถบันทึกตัวโน้ต
ได้เพียง 11 ตัวเท่านั้น  หากต้องการบันทึกตัวโน้ตเพิ่มเติมให้มีเสียงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าบรรทัด  5  เส้นนั้นต้องใช้เส้นที่ต่อขึ้นไปหรือลงมาจากบรรทัด 5 เส้น เรียกเส้นนี้ว่า
“เส้นน้อย” ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นสั้น ๆ ขนานไปกับบรรทัด  5  เส้น และมีช่องห่างระหว่างเส้นเท่ากันดังภาพ

1111111111

1111111111กุญแจประจำหลักเสียง  เป็นเครื่องหมายกำหนดช่วงเสียงดนตรี  เช่น  กุญแจโซลกำหนดเสียงสูง  กุญแจฟากำหนดช่วงเสียงต่ำ  เป็นต้น

                                           กุญแจโซล                                         กุญแจฟา

11111111113.1  กุญแจโซล  เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้สำหรับบันทึกระดับเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับกลางถึงสูง ภาษาอังกฤษเรียก “จี เคลฟ”(G Clef) หรือ “เทร็บเบิ้ล เครฟ” (Treble Clef) โดยทั่วไปเรียกว่า “กุญแจโซล” ในการเขียนกุญแจโซลบันทึกโดยหัวกุญแจให้คาบเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น โน้ตทุกตัวที่คาบอยู่บนเส้นที่  2 ของบรรทัด 5 เส้น จะมีเสียงเดียวกับชื่อกุญแจคือ “โซล”

11111111113.2  กุญแจฟา  เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้สำหรับบันทึกระดับเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับต่ำ ภาษาอังกฤษเรียก “เอฟ เคลฟ” (F Clef) หรือ “เบส เครฟ” (Bass Clef) โดยทั่ว ๆ ไปมักเรียกว่า “กุญแจฟา” ในการเขียนกุญแจฟาเขียนโดยหัวกุญแจให้คาบเส้นที่   4 ของบรรทัด  5  เส้น โน้ตทุกตัวที่คาบอยู่บนเส้นที่  4  ของบรรทัด  5  เส้น จะมีเสียงเดียวกับชื่อกุญแจคือ  “ฟา”


1111111111เครื่องหมายกำหนดจังหวะ เป็นเครื่องหมายใช้เขียนทำนองเพลง ตัวเลขด้านบน  หมายถึง จำนวนจังหวะใน  1 ห้องเพลง ตัวเลขด้านล่าง  หมายถึง ชนิดของตัวโน้ตที่เป็นเกณฑ์  1  จังหวะ  ความหมายของตัวเลขด้านล่างที่สัมพันธ์กับโน้ตดังนี้

หมายถึงในหนึ่งห้องมี สองจังหวะ โดยโน้ตตัวดำมีค่าเท่ากับ 1 จังหวะ

111111111111111เลข  2  ตัวบน   หมายถึง  ในหนึ่งห้องเพลงมี    2    จังหวะ
111111111111111เลข  4  ตัวล่าง  หมายถึง   โน้ตตัวดำมีค่าเท่ากับ   1  จังหวะ

  หมายถึงในหนึ่งห้องมี สี่จังหวะ โดยโน้ตตัวดำมีค่าเท่ากับ 1 จังหวะ

111111111111111เลข  4  ตัวบน   หมายถึง  ในหนึ่งห้องเพลงมี    4    จังหวะ
111111111111111เลข  4  ตัวล่าง  หมายถึง   โน้ตตัวดำมีค่าเท่ากับ   1  จังหวะ

  หมายถึงในหนึ่งห้องมีสองจังหวะ โดยโน้ตตัวขาวมีค่าเท่ากับ 1 จังหวะ 

  111111111111111เลข  2  ตัวบน   หมายถึง  ในหนึ่งห้องเพลงมี    2    จังหวะ
111111111111111  เลข  2  ตัวล่าง   หมายถึง  โน้ตตัวขาวมีค่าเท่ากับ   1  จังหวะ

 หมายถึงในหนึ่งห้องมีหกจังหวะ โดยโน้ตตัวเขบ็ต  1  ชั้น  มีค่าเท่ากับ 1 จังหวะ

 

  111111111111111เลข  6  ตัวบน   หมายถึง  ในหนึ่งห้องเพลงมี    6    จังหวะ
111111111111111  เลข  8  ตัวล่าง   หมายถึง  โน้ตตัวเขบ็ต  1  ชั้นมีค่าเท่ากับ   1  จังหวะ

 

1111111111โน้ต (Note) คือ เครื่องหมายที่สามารถปฏิบัติโดยการออกเสียง ในที่นี้หมายถึง“โน้ตสากล”   โรเจอร์ คาเมน (Roger Kamien) ได้กล่าวถึงส่วนประกอบของโน้ตไว้ดังนี้

11111111115.1.  ส่วนประกอบของโน้ต  ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของโน้ตคือส่วนที่เรียกว่า “หัวโน้ต (Note Head)”  มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับฟองไข่สอดคล้องกับภาษา
ต้นแบบที่เรียกว่า  “โอวอล์  (Oval)”  มีอยู่  2  รูปแบบ คือ รูปแบบที่  1  เป็นหัวโน้ตที่ไม่ระบายสี  ภาษาต้นแบบเรียกว่า “ไวท์ โอวอล์  (White Oval)” ส่วนรูปแบบที่   2 นั้นเป็นหัวโน้ตที่ระบายสีทึบ ภาษาต้นแบบเรียกว่า “แบล๊ค โอวอล์ (Black Oval)”  ส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่งมีลักษณะเป็นเส้นตรงในแนวดิ่ง เมื่ออยู่ด้านขวาของหัวโน้ตจะชี้ขึ้นทาง
ด้านบน และเมื่ออยู่ทางด้านซ้ายของหัวโน้ตจะชี้ลงทางด้านล่าง ภาษาต้นแบบเรียกว่า  “สเทิม  (Stem)”

ส่วนประกอบของโน้ต

                      5.2.   ชื่อของลักษณะต่าง ๆ  โดยทั่วไปมีลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1111111111111111111111

111Whole note              เรียกว่า     ตัวกลม

11111111111111111111 1

1    1Half  note                 เรียกว่า      ตัวขาว

111111111111111111111

11     Quarter  note           เรียกว่า     ตัวดำ

111111111111111111111

1     1Eighth  note              เรียกว่า     ตัวเขบ็ต 1 ชั้น

111111111111111111111

111  Sixteenth  note         เรียกว่า     ตัวเขบ็ต 2 ชั้น


แผนผังแสดงความสัมพันธ์ของตัวโน้ต
 

ภาพที่  6  แผนผังแสดงความสัมพันธ์ของตัวโน้ต
( ที่มา :  ณัชชา  โสคติยานุรักษ์, 2545 )

1111111111การเพิ่มค่าตัวโน้ตหรือค่าตัวหยุดให้ยาวขึ้นสามารถทำได้   3  วิธีดังนี้
11111111116.1.   โน้ตประจุด  (Dotted note)  เป็นการเพิ่มอัตราจังหวะของตัวโน้ตโดยการประจุด  (.) เพิ่มเข้าไปด้านหลังของตัวโน้ตที่ต้องการเพิ่มอัตราจังหวะ  จุด  (.)  ที่นำมาประหลังตัวโน้ตจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของตัวโน้ตข้างหน้าแล้วรวมกัน ดังตัวอย่าง

 ภาพที่   7  โน้ตประจุด

11111111116.2.  การใช้เครื่องหมายโยงเสียง  การโยงเสียงจะทำให้อัตราจังหวะของตัวโน้ตเพิ่มขึ้นตามอัตราจังหวะของตัวโน้ตที่ถูกโยงโดยใช้เส้นโค้ง   (    

   ,       
         )   โยงระหว่างตัวโน้ตที่ต้องการจะเพิ่มอัตราของจังหวะ  การโยงเส้นโค้งสามารถโยงตัวโน้ตที่อยู่ต่างห้องกันได้
การโยงเสียงมี  2  ลักษณะ  คือ
111111111111116.2.1  การโยงเสียงชนิดที่เรียกว่า  “ทาย (Tie)”  คือ  การโยงเสียงตัวโน้ต
ที่อยู่ในบรรทัดเดียวกันหรือช่องเดียวกัน  เพื่อให้เสียงยาวออกไป  ดังตัวอย่าง

111111111111116.2.2  การโยงเสียงชนิดที่เรียกว่าสเลอร์  (Slur) คือ  การรวมจังหวะตัวโน้ตที่อยู่ต่างเส้นของบรรทัดหรืออยู่ในช่องต่างกัน ดังตัวอย่าง

11111111116.3  การใช้สัญลักษณ์เฟอร์มาตา  (Fermata) สัญลักษณ์เฟอร์มาตามีลักษณะเป็นเส้นโค้งครึ่งวงกลม  มีจุดอยู่เหนือตัวโน้ตหรือตัวหยุด  เฟอร์มาตาจะทำให้โน้ตหรือตัวหยุดมีค่าที่ยาวกว่าค่าที่แท้จริง  แต่ค่าจะมากหรือน้อยเท่าใดไม่กำหนดขึ้นอยู่กับผู้ควบคุมวงดนตรีหรือนักดนตรี

 

1111111111จังหวะ  หมายถึง  ช่วงเวลาที่ดำเนินอยู่ในขณะที่บรรเลงดนตรี  จังหวะมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของทำนองและแนวประสานให้มีความสัมพันธ์กัน  การเดินของจังหวะจะดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอจึงเปรียบเทียบจังหวะเหมือนกับเวลาหรือชีพจรของดนตรี (สมนึก  อุ่นแก้ว,2549,หน้า 1)  จังหวะแบ่งออกเป็น  3  ประเภทดังนี้
11111111117.1  จังหวะเคาะ  (Beat)   หมายถึงจังหวะที่เคาะอย่างสม่ำเสมอเพื่อใช้ยึดเป็นหลักในการบรรเลงดนตรี หรือการขับร้อง โดยปกติมักปฏิบัติโดยการเคาะจังหวะด้วยเท้าเมื่อเล่นดนตรี เช่น เคาะเท้า 1 ครั้งคือ 1 จังหวะเพื่อวัดค่าความยาวของตัวโน้ต เป็นต้น
การเคาะจังหวะแต่ละครั้งจะมีลักษณะดังนี้
111111111111117.1.1  จังหวะตก  (Down Beat)  คือจุดที่ตกกระทบ
11111111111111
7.1.2  จังหวะยก  (Up  Beat)  คือช่วงที่ถอยห่างออกจากกันถึงจุดที่เริ่มตกกระทบ  สามารถปฏิบัติได้หลายวิธีดังนี้

การเคาะจังหวะด้วยเท้า

ภาพที่    8    แสดงการเคาะจังหวะตกและจังหวะยก
( ที่มา :  อัญชลี  เมฆวิบูลย์ , 2558 )

ภาพที่  9  การเคาะ  1  จังหวะ

ภาพที่   10   การเคาะ  2  จังหวะ

ภาพที่   11  การเคาะ  4  จังหวะ
( ที่มา :  อัญชลี  เมฆวิบูลย์ , 2558 )

                           7.1.3  จังหวะหนัก (Strong beat) หมายถึงจังหวะที่หนักกว่าจังหวะอื่น ๆ ภายในห้องเพลงเดียวกันมีหลายกลุ่ม เช่น
                                     7.1.3.1  กลุ่ม 2 จังหวะ (Duple Meter) คือ จังหวะหนักอยู่
ที่จังหวะที่  1  จังหวะที่  2  เป็นจังหวะ
เบา

                                     7.1.3.2   กลุ่ม 3 จังหวะ (Triple Meter)  คือจังหวะหนักอยู่ที่จังหวะที่  1  จังหวะที่  2,3  เป็นจังหวะเบา

 จังหวะที่  2  และ  4   เป็นจังหวะเบา

11111111117.2  จังหวะลีลา  (Rhythm)   เช่น  ช่าช่าช่า  รุมบ้า  แทงโก้  เป็นต้น
31111111117.3  จังหวะเทมโป้  (Tempo)   เป็นอัตราจังหวะในเพลง  Classic

1111111111ในบทเพลงจะมีตัวหยุดเพื่อใช้ในการพักทำนองเพื่อจบวรรคเพลงหรือเพื่อให้เพลงมีสีสันมากขึ้น  “ตัวหยุด” (Rest)  หมายถึง สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเงียบเสียงดนตรีหรือเสียงร้องแต่อัตราจังหวะยังคงดำเนินไปตลอด ตัวหยุดจะถูกเขียนลงบนบรรทัด 5 เส้น เช่นเดียวกับตัวโน้ต มีลักษณะต่างกันดังนี้

11111111111.  ตัวหยุดโน้ตตัวกลม (Whole rest) มีความยาวจังหวะเท่ากับโน้ตตัวกลมแต่ไม่ต้องออกเสียงหรือปฏิบัติ

 

11111111112.  ตัวหยุดโน้ตตัวขาว (Half  rest)  มีความยาวจังหวะเท่ากับโน้ตตัวขาวแต่ไม่ต้องออกเสียงหรือปฏิบัติ

 

11111111113.  ตัวหยุดโน้ตตัวดำ (Quarter  rest)  มีความยาวจังหวะเท่ากับโน้ตตัวดำแต่ไม่ต้องออกเสียงหรือปฏิบัติ

 

11111111114.  ตัวหยุดโน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth rest)   มีความยาวจังหวะเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้นแต่ไม่ต้องออกเสียงหรือปฏิบัติ

 

11111111115.  ตัวหยุดโน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น (Sixteenth rest)  มีความยาวจังหวะเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้นแต่ไม่ต้องออกเสียงหรือปฏิบัติ

                     

      

1111111111เส้นกั้นห้อง   เป็นเส้นตรงแนวดิ่งเพื่อใช้ในการแบ่งห้องเพลง โดยเขียนลงมาในแนวดิ่งทำให้เกิดห้องเพลง  (Measure)

                        9.1  เครื่องหมายจบตอน  (Double line) มีลักษณะเป็นเส้นคู่  ใช้เขียนปิดห้องเพลงเพื่อแสดงให้รู้ถึงการจบตอนของบทเพลง

                          9.2  เครื่องหมายจบบทเพลง  (Fine)   เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็น
เส้นคู่ที่ประกอบด้วยเส้นบางและเส้นหนา ใช้เขียนปิดห้องเพลงสุดท้ายของบทเพลง
เพื่อแสดงให้รู้ถึงการจบบทเพลง

                         9.3   เครื่องหมายย้อน  (Repeat Marks) เป็นเครื่องหมายที่ใช้เมื่อมีความประสงค์ที่จะบรรเลงหรือร้องซ้ำในตอนใดตอนหนึ่งของบทเพลง  มีลักษณะเป็นเส้นคู่ที่ประกอบด้วยเส้นหนาและเส้นบางมีจุด  2  จุดประกบอยู่ทางเส้นด้านข้าง

 

11111111111เครื่องหมายแปลงเสียง  เป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการยกเสียงของโน้ตให้สูงขึ้น  ลดระดับเสียงของโน้ตให้ต่ำลง  เครื่องหมายแปลงเสียงสำคัญ  5  ชนิด  ดังนี้

111111111110.1  เครื่องหมาย  

  อ่านว่า ดับเบิ้ลชาร์ป (Double Sharp) คือเครื่องหมายที่มีผลทำให้ตัวโน้ตใดก็ตามที่มีเครื่องหมายนี้ วางอยู่ข้างหน้า โน้ตตัวนั้นจะถูกเลื่อนเสียงให้สูงขึ้นหนึ่งเสียง (1 Tone) ตัวอย่างเช่น  ในบทเพลงหนึ่งเราต้องการให้  A   มีระดับเสียงเพิ่มขึ้นหนึ่งเสียง  เราก็ต้องกำกับด้วยเครื่องหมายดับเบิ้ลชาร์ปหน้าตัว  A  แล้วอ่านเป็น  B เป็นต้น

 

111111111110.2  เครื่องหมาย 

  อ่านว่า  ชาร์ป  (Sharp)  คือ  เครื่องหมายที่ใช้แปลงเสียงให้สูงขึ้นกว่าเดิมครึ่งเสียง  ตัวอย่างเช่น  ในบทเพลงหนึ่งเราต้องการให้  G  มีระดับเสียงเพิ่มขึ้นครึ่งเสียง  เราก็ต้องกำกับด้วยเครื่องหมายชาร์ปหน้าตัว  G  แล้วอ่านเป็น  G ชาร์ป   เป็นต้น

111111111110.3  เครื่องหมาย     

  อ่านว่า  ดับเบิ้ลแฟลต  (Double Flat)  คือเครื่องหมายที่มีผลทำให้โน้ตตัวใดก็ตามที่มีเครื่องหมายนี้ วางอยู่ข้างหน้า โน้ตตัวนั้นจะถูกเลื่อนเสียงให้ต่ำลงหนึ่งเสียง   (1 Tone) ตัวอย่าง  เช่น  ในบทเพลงหนึ่งเราต้องการให้  A  มีระดับเสียงลดลงหนึ่งเสียง  เราก็ต้องกำกับด้วยเครื่องหมายดับเบิ้ลแฟลตหน้าตัว  A  แล้วอ่านเป็น  G  เป็นต้น

111111111110.4  เครื่องหมาย     

   อ่านว่า  แฟลต (Flat) คือเครื่องหมายที่ใช้แปลงเสียงให้ต่ำลงกว่าเสียงปกติครึ่งเสียง  ตัวอย่าง  เช่น  ในบทเพลงหนึ่งเราต้องการให้  B  มีระดับเสียงต่ำลงมาครึ่งเสียง  เราก็ต้องกำกับด้วยเครื่องหมายแฟลตหน้าตัว  B  แล้วอ่านเป็น  B  แฟลต  เป็นต้น

111111111110.5  เครื่องหมาย   

  อ่านว่า  เนเจอรัล  (Natural)  คือ  เครื่องหมายที่ใช้แปลงเสียงให้กลับมาอยู่ในสภาพเสียงปกติ  คือ ให้มีเสียงต่ำลงมาครึ่งเสียงอันเนื่องมาจากเครื่องหมายแฟลต  หรือให้มีเสียงสูงขึ้นครึ่งเสียงอันเนื่องมาจากเครื่องหมายชาร์ป ตัวอย่างเช่น  เสียง  C  ถูกกำหนดให้ต่ำกว่าปกติครึ่งเสียงโดยเครื่องหมายแฟลตอยู่ที่หลังกุญแจประจำหลัก  เมื่อเราต้องการให้เสียง  C  อยู่ในสภาพเดิม  ก็ต้องกำกับด้วยเครื่องหมายเนเจอรัลหน้าตัว  C  อ่านเป็น  C เนเจอรัล  เป็นต้น

                

1111111111สัญลักษณ์ทางดนตรีและศัพท์ทางดนตรี  เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องบันทึกประกอบกับโน้ตดนตรีด้วย  เครื่องหมายเหล่านี้สามารถใช้แทนศัพท์บางคำ  หรือแทนคำสั่งยาว  ๆ  ได้เป็นอย่างดี  นักดนตรีจำเป็นต้องรู้จักและจดจำ (ประสิทธิ์  เลียวศิริพงศ์,2533,100)  ในบทเพลงแต่ละเพลง  การที่จะเล่นดนตรีหรือร้องเพลงไปตามโน้ตนั้นจะต้องรู้ความหมายของสัญลักษณ์และศัพท์ต่างๆ  ที่จะพบในบทเพลง  ดังนี้

เครื่องหมาย คำอ่าน ความหมาย
p. เปียอาโน (Piano) เบา               
f. ฟอร์เต้  (Forte) ดัง
Fine ฟิเน่  (Fine) จบบทเพลง
 
เครเซนโด   (Crescendo) ค่อย ๆ เร่งเสียงให้ดังขึ้นทีละน้อย
 
เดเครเซนโด  ( Decrescendo) ค่อยๆ ลดเสียงให้เบาลงทีละน้อย
D.S. ดัลเซกโน (Dal Segno Sign) ให้กลับไปเล่นที่เครื่องหมาย
 
โคดา (Coda  Sign) บอกท่อนจบของบทเพลง
 
รีพีท (Repeat Sign) บรรเลงซ้ำในห้องเพลงที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายย้อนกลับอีก
1 รอบ
 
ฟอร์มาต้า การบรรเลงแบบยึดเสียงออกไปไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของโน้ตตัวข้างหน้า

แบบฝึกหัดที่  1

คลิกทำแบบทดสอบหลังเรียน
หรือ สแกน QR  Code ทำข้อสอบ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf